‘ฝันร้าย’ มีการพูดถึงบนโซเชียลเพิ่มขึ้นในปี 2022 จริงหรือไม่

‘ฝันร้าย’ มีการพูดถึงบนโซเชียลเพิ่มขึ้นในปี 2022 จริงหรือไม่

วันนี้เราจะมาดูว่าปัญหาเรื่องการนอนหลับจาก ฝันร้าย และสิ่งที่ตามหลอกหลอนในฝันของผู้คนกันค่ะ  หลายคนคงสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวกับการตลาดยังไงหล่ะ ซึ่งปลื้มมองมันก็พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างหนึ่งที่สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ

อย่างเรื่องความเชื่อ คนก็จะอยากไปทำบุญ เพื่อให้ฝันร้ายกลายเป็นดี หรือส่งผลต่อความกลัว อาจจะฝันถึงการสูญเสีย ตื่นมาอาจจะเรียกหาประกัน แต่ถ้าเป็นปลื้ม ตื่นมาเสิร์จกูเกิลไปหนึ่งที ทำนายฝันเลขเด็ดไปเลยจ้า ล้อเล่นนะคะ ซึ่งการที่ปลื้มยกตัวอย่างนี้ก็อยากทำให้เห็นว่าความฝันมันสามารถเป็น Journey ของผู้บริโภคที่มีผลให้เกิดการซื้อก็ได้ค่ะ

สำหรับการฝันร้ายของคนเราอาจจะเกิดจากเหตุการณ์ในชีวิตในทางที่แย่ จนเก็บเอาไปฝัน ซึ่งผู้คนก็นำความฝันเล่านั้นมาเล่าสู่กันฟังบนโซเชียลต่างๆ นาๆ ในวันนี้ Brandwatch เขาได้สำรวจผู้บริโภคเกี่ยวกับการพูดคุยของคนที่นอนไม่หลับ บน Twitter Reddit และ Online Forums ตั้งแต่ปี 2019 จนถึงตอนนี้ เรามาดูกันว่ากราฟเป็นอย่างไร

'ฝันร้าย' มีการพูดถึงบนโซเชียลเพิ่มขึ้นในปี 2022 จริงหรือไม่

ดูเหมือนว่าการระบาดครั้งใหญ่จะส่งผลให้ผู้คนที่ประสบปัญหานี้เพิ่มขึ้น เพราะตั้งแต่ปี 2020 กราฟก็พุ่งสูงขึ้น และยังคงต่อเนื่องมาถึงปี 2021 อย่างมีนัยยะ ซึ่งในปีนี้ตัวเลขบนกราฟลดลงแต่ก็ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดอย่างเห็นได้ชัด และสิ่งที่ชัดเจนในรูปนี้ก็คือนิสัยการนอนของผู้คนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ค่ะ

‘ฝันร้าย’ เพิ่มขึ้นในช่วงปีใหม่

'ฝันร้าย' มีการพูดถึงบนโซเชียลเพิ่มขึ้นในปี 2022 จริงหรือไม่

ถ้าดูจากกราฟจะเห็นว่ารายงานฝันร้ายจะยังสูงอยู่ตลอดปี 2020 แต่แล้วมันก็ค่อยๆ ลดลงในปี 2021 จากนั้นกราฟก็พุ่งสูงขึ้นในเดือนมกราคม 2022 โดยที่ตัวเลขฝันร้ายไม่ลดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  แม้ว่ารายงานฝันร้ายจะลดลง 11% ในปี 2021-2022  

ชักอยากรู้แล้วสิว่าเกิดอะไรขึ้น? เพราะว่าก่อนหน้านี้อาจจะสามารถเชื่อมโยงกับโรคระบาดได้ กับการเพิ่มขึ้นของเดือนมีนาคม 2020 แต่ตอนนี้ทั่วโลกก็เริ่มปรับตัวกันได้แล้ว แน่นอนว่าโรคระบาดนี้ยังคงส่งผลกระทบอยู่  แต่ผู้อาจมีเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น เงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเก็บไปคิดไม่ตก จนกลายเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับในตอนกลางคืนก็เป็นไปได้ค่ะ

คนกำลังฝันร้ายเกี่ยวกับอะไร?

3 อันดับแรกในแง่ของปริมาณการพูดถึงจะเป็นเรื่อง ความตาย / โรงเรียนหรือการสอบ และความล้มเหลว ต่างอยู่ในจุดเดียวกันตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ไม่น่าแปลกใจเลยที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องทั่วไปที่คนมักจะฝันร้ายกันอยู่แล้วด้วย แม้ว่าปีนี้จะมีการพูดถึงที่ลดลงแต่มันก็พึ่งต้นปีเองจริงไหมคะ ส่วนความฝันเกี่ยวกับโรคระบาดอยู่อันดับท้ายๆ เลยค่ะ เมื่อเทียบกับฝันอื่นๆ 

ซึ่งความฝันเหล่านี้ หากเหล่านักการตลาดเอาไปใช้ประโยชน์ เชิงสร้างสรรค์ ก็อาจทำให้เกิดการซื้อได้นะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบริษัทประกันชีวิต สินค้าความเชื่อ ผลิตภัณฑ์ยาหรืออาหารเสริมบํารุงสมอง น่าจะเองไปใช้ได้ดีที่สุด แต่แบรนด์ๆ อื่นสามารถนำข้อมูลนี้ไปเชื่องโยงเข้ากับสินค้าได้ เช่น ธนาคาร ก็สามารถใช้ความกลัวการล้มเหลวเป็นตัวดึงให้คนมาฝากเงินหรือใช้บริการอื่นๆ กับเราก็ได้

เรื่องฝันร้ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด

'ฝันร้าย' มีการพูดถึงบนโซเชียลเพิ่มขึ้นในปี 2022 จริงหรือไม่

ฝันเกี่ยวกับสงครามเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจเมื่อเทียบปีต่อปี หรือว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ครอบงำพาดหัวข่าว โซเชียลมีเดีย และความสนใจตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้

นอกจากนี้สิ่งที่อธิบายได้ยากกว่าก็คือการฝันร้ายที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ เช่น แวมไพร์ ผี และปีศาจ สิ่งที่โดดเด่นที่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่กลัวความมืด รู้สึกถึงเคลื่อนไหว เสียงที่ไม่มีที่มา รวมถึงอาการอัมพาตขณะหลับ ซึ่งมักมีผู้ป่วยรายงานว่าเห็นปีศาจอยู่ในห้องและไม่สามารถขยับได้ หรือที่บ้านเราเรียกว่าผีอำ

ต้องบอกว่าความฝันคือจิตใต้สำนึก ปลื้มมองว่าไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้ายย่อมส่งผลต่ออารมณ์ การแสดงออก แต่พอเป็น ฝันร้าย ผู้คนจะรู้สึกว่ามันต้องถูกแก้ไข กลัวเรื่องที่ฝันจะเป็นจริงขึ้นมา พวกเขาจึงหาทางบรรเทาจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งตรงนี้มันก็ขึ้นกับว่าแบรนด์หรือนักการตลาดจะอ่านใจพวกเขาออก และตอบโจทย์ความต้องการได้ ปลื้มเองก็หวังว่านักการตลาดจะนำข้อมูลจาก Social Listening นี้ไปใช้คิดวางแผนหรือทำแคมเปญในอนาคตได้นะคะ

ส่วนใครที่สนใจอยากศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Social Listening มากขึ้น สามารถสอบถามได้ที่ [email protected] หรือศึกษาผ่านบทความ Social Listening Tools ก่อนหน้า ของการตลาดวันละตอนตรงนี้ได้เลยนะคะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน