รู้จักลูกค้าด้วย Market Segmentation พร้อมตัวอย่างละเอียด

รู้จักลูกค้าด้วย Market Segmentation พร้อมตัวอย่างละเอียด

ในการทำ Market Segmentation หลายคนอาจจะได้เจอมาในหลายตำราต่างๆ มากมาย ในวันนี้นั้นทางการตลาดวันละตอน อยากยกตัวอย่างประกอบในการแบ่ง Segementation ทั้ง 6 ประเภทที่เราอยากนำมาให้อ่านด้านล่างกันค่ะ

1) Demographic 

เป็นหนึ่งในประเภทที่คนทักจะใช้อยู่บ่อยๆ เพื่อบ่งบอกว่าพวกเขาเป็นใคร ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น B2B และ B2C ค่ะ 

B2C หลักๆแล้วทำเพื่อเข้าใจลูกค้ากลุ่มนั้นๆ ก็ประกอบไปด้วย :

  • อายุ 
  • เพศ
  • อาชีพ
  • รายได้
  • สถานะ
  • การศึกษา

ในด้านของ B2B จะมองอีกมุมเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องระหว่างธุรกิจมากขึ้น 

  • ขนาดของธุกิจ 
  • ประเภทธุรกิจ
  • ตำแหน่ง

เช่น บริษัท Software-as-a-Service (SaaS) ต้องการจะขาย software โดยที่เขาต้องรีเสิร์ชหากลุ่มลูกค้าบริษัทที่จะเข้าไปเสนอการขายด้วยการแบ่งตามหน้าที่ในองค์กร เพื่อให้หาคนที่ทำอยู่ในตำแหน่ง Marketing หรือใกล้เคียงนั้นสามารถนำซอฟท์แวร์ไปพัฒนาให้เกิดแคมเปญทางการตลาดที่ดีมากขึ้นและเขาเห็นคุณค่าของซอฟท์แวร์เราจริงๆ 

2)Geographic 

เป็นการแบ่ง segment เพื่อหาคนในอยู่ใน area ต่างๆที่มีผลต่อการต่อสินค้าและบริการของเรามากที่สุดจากการแบ่งเกณฑ์ตามประเภทต่างๆ เช่น ประเทศ เมือง รัฐ ภูมิภาค สภาพภูมิอากาศของลูกค้า เป็นต้น

ตัวอย่างการทำ

ตัวอย่างการทำ Geographic Segmentation

3)Psychographic 

มีประโยชน์มากในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการที่สร้าง impact กับลูกค้าด้วยความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียต่างๆ โดยเรามักจะคำนึงถึง “Personality” ในการแบ่ง 

เช่น ร้านธุรกิจค้าปลีกเจ้าหนึ่งแบ่งลูกค้าออกด้วย “Budget-conciousness” เพื่อคนที่มีความกังวัลเรื่องการใช้จ่าย ออกจากคนที่ไม่มีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายออกจากกัน เพื่อดูถึงพฤติกรรม ทำให้เราได้มองเห็นถึงการจัดโปรโมชั่น หรือการออก product line ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ 

4)Behavioral 

ตัวอย่างการทำ Behaviour Segmentation

การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรม (Behavioral) คือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าหรือผู้คนตามพฤติกรรม การเลือกสินค้า รูปแบบการซื้อ และการกระทำของพวกเขา การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมมักใช้สำหรับการส่งเสริมและพัมนาประสบการณ์ online และ offline เพื่อสร้างให้เห็นถึง insight ของลูกค้า สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • การรับรู้ของแบรนด์
  • พฤติกรรมการใช้งาน เช่น ร้านอาหารแห่งหนึ่งแยกพฤติกรรมการทานอาหารของลูกค้าจาก purchase patterns ของลูกค้าที่ซื้ออาหารมื้อกลางวัน และกลางคืน ทำให้ร้านได้เห็นมุมมองของ 2 กลุ่มลูกค้าต่างๆกัน ทั้งในแง่ของเมนูหรือพฤติกรรมที่ต่างกัน 
  • พฤติกรรมการซื้อ
ตัวอย่างประเภทของการแบ่งพฤติกรรมการซื้อ
  • การเข้าถึงสินค้า 
  • ความพอใจที่มีต่อสินค้า หรือบริการ
ตัวอย่างประเภทของการแบ่งลูกค้าตามความพึงพอใจ

5)Needs-based 

เป็นการแบ่งที่เอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งจะแบ่งได้ 4 ประเภทหลักๆ 

Problem-solving needs 

ข้อนี้เราจะแบ่งจากสินค้าและบริการที่เราแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ เช่นสินค้าที่ปราศจากไขมัน เพื่อตอบโจทย์คนที่กังวลเรื่องสุขภาพ

Function needs 

จากสิ่งที่ลูกค้ามองหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น ความเสี่ยงน้อยลง หรือสิ่งที่ให้เจาทำงานง่ายขึ้น เช่นการมีแอพพลิเคชั่นออกมา เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการเงินเก็บของเขาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยมานั่งทำบัญชีรายรับรายจ่าย

Emotional needs

ความต้องการทางด้านอารมณ์ที่อาจจะมาจากสิ่งที่เราไปสอบถามหรือสิ่งที่คนมักจะบ่น เช่น ช่วงโควิดที่ผ่านมา สาวๆหลายคนมักเจอปัญหาสิว ทำให้หลายๆบริษัทค่อนข้างตื่นตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆออกมา ไม่ว่าจะเป็นแมสที่ใส่แล้วสิวไม่ขึ้น หรือยาแต้มสิวต่างๆ 

6) Value (RMF)

การแบ่ง Value Segmentation เป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าหรือตามมูลค่าที่เกิดขึ้นกับบริษัท จะมีหลายวิธี เช่น การแบ่ง Lifetime value (มูลค่าตลอดอายุการใช้งาน, Potential Value (มูลค่าที่เป็นไปได้) และการแบ่ง RFM

RFM เกี่ยวข้องกับการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามความใหม่ของการซื้อครั้งล่าสุด ความถี่ในการซื้อในช่วงเวลาหนึ่ง และมูลค่าเป็นตัวเงินของการซื้อ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร บริการ และสายการบิน มักขึ้นอยู่กับการแบ่งส่วนมูลค่าในการจัดโปรโมชั่นและการตลาดต่างๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายของความพยายามในการค้นหา หรือเป็นโมเดลที่เรานำมาหา spending patterns ของลูกค้า เพื่อหาว่าใครเป็นลูกค้าที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด หลักๆแล้วเราจะใช้อยู่ 3 ส่วน สามรถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง Pareto Marketing จาก 80/20 สู่ RFM Mode ต่อได้

Recency ลูกค้าซื้อของเราครั้งล่าสุดเมื่อไหร่

Frequency ลูกค้าซื้อเราบ่อยแค่ไหน

Monetary พวกเขาจ่ายเราเท่าไหร่ 

เช่น แบรนด์เสื้อผ้าต้องการดึงลูกค้าให้กลับมาซื้ออีกครั้ง โดยการแบ่ง Grouping ลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ลูกค้าที่เข้ามาชมสินค้าบ่อยแต่ใช้จ่ายเล็กน้อย ลูกค้าที่เข้าบ่อยแต่ใช้จ่ายมาก และลูกค้าที่เข้ามาไม่บ่อยและไม่จ่าย ซึ่งนั่นก็ทำให้เราสามารถ Prioritize กลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

ด้านล่างเราอยากนำตัวอย่างการทำ Segmentation จากหลายๆแบรนด์มาฝากกัน

Starbucks

Starbucks Target Market

U.S. Health Care Market Segmentation

เป็นตัวอย่างการแบ่ง Segmentation ที่เห็ลกลุ่มลูกค้าได้ชัดเจน ละเอียด และ insightful มากๆ

Source

Source

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่