Data Research Insight ครัวซองต์ By Social listening
เปิดจักรวาล Data Research Insight ครัวซองต์ ที่ไม่ใช่แค่ครัวซองต์ธรรมดา ๆ อีกต่อไป หนึ่งในเมนูที่ใครหลายคนต้องรู้จัก สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านเบเกอรี่ หรือคาเฟ่ และร้านอาหาร อยากให้ลองอ่านรีพอร์ตเล่มนี้ เพราะมันจะช่วยให้ทุกคนได้เห็นครัวซองต์ในมิติที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การกินครัวซองต์ของคนไทย ประเภทของครัวซองต์ที่ถูกนำไปทำให้มีความวาไรตี้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เห็นถึงโอกาสที่ธุรกิจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้นั่นเองครับ
ซึ่งในรีพอร์ตเล่มนี้เราจะใช้ข้อมูลจาก Social Listening Tools ที่ทำหน้าที่ช่วยรวบรวม Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ครัวซองต์’ อย่างเจาะจง แล้วค่อยลงลึกในการเจาะข้อมูลในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับครัวซองต์
นี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมากให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอน
และโปรเจค #
ซึ่งในการหา Data insight เราจะใช้ 8 ขั้นตอนกับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมา
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้
- ตัว Keyword ที่ใช้คือ ครัวซอง, คัวซอง และ Croissant
- ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/09/2023 – 31/08/2024 รวมทั้งสิ้น 11 เดือนย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 11,795 Mentions
ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 11,795 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วครับ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data กันก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน
อย่างโพสต์ “ออกคอลใหม่ แอบหิวอีกละ เหมือนครัวซอง” ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “ครัวซอง” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อน
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดของแต่ละคน
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการ Cleansing Data เสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับครัวซองต์ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเอง
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่า ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘ครัวซองต์’ มากน้อยแค่ไหน
Social Data Stat Overview
เรามาดูในมิติของแพลตฟอร์มที่แบ่งเป็น Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อน เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘ครัวซองต์’
- By Mention: จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง ครัวซองต์ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ Instagram, TikTok, X, และ YouTube ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ เชื่อกู กูแดกมาแล้ว ซึ่งโพสต์วิดีโอการลองไปกิน Flat Croissant หรือครัวซองต์แบบแบน
- By Engagement: ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง Ping.pantira ที่เป็นคลิปวิดิดีโอกินครัวซองต์ใหญ่ยักษ์
- By Engagement ignore YouTube view: เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งก็เป็นคลิปกินครัวซองต์ใหญ่ยักษ์จากช่อง Ping.pantira เหมือนกัน
Social Data By Timeline
มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงอย่างโดดเด่นคือ TikTok และ Instagram โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะมาจากดาราและอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง คุณหมาก ปริญ โพสต์รูปตัวเองในไอจีกินครัวซองต์ หรือ foodie.munchies เพจไอจีที่จะรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารก็มารีวิว Flat Croissant
แสดงให้เห็นว่าอินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลในการดึงดูดให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมใน Content ที่เกี่ยวข้องกับครัวซองต์ แล้วถ้าหากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าครัวซองต์ที่มี Engagement เยอะจะไม่ใช่ครัวซองที่มีลักษณะและรูปทรงแบบธรรมดาอีกด้วย
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #Croissant เป็นหลัก เ นอกจากนั้นก็จะเป็นประเภทของครัวซองต์และสถาน เช่น Timberring ที่เป็นหนึ่งในประเภทของครัวซองต์ที่มีลักษณะเป็นวงกลม และ #คาเฟ่เมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนยังคงต้องการหาร้านตามสถานที่ต่าง ๆ
ดังนั้น สำหรับใครที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ และหากจะโปรโมทร้านของตัวเองก็ต้องติดแท็กทั้งประเภทสินค้า และโลเคชั่นของร้านด้วยเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือถ้าแบรนด์หรือผู้ประกอบการท่านใดที่อยากสืบเสาะ Insight ด้วยตัวคุณเอง สามารถนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลือก Keyword เพื่อดึงข้อมูลใน Social listening ได้
Top Post by Platform
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
- Facebook: เชื่อกู กูแดกมาแล้ว วิดีโออินฟลูมาลองกิน Flat Croissant
- X: Places two Go โพสต์ ทวิตร้าน La Cabra Bakery มาเปิดสาขาแรกในไทย
- Instagram: mark_prin คุณหมาก ปริญโพสต์รูปกินครัวซองต์ในไอจี
- TikTok: Ping.pantira โพสต์วิดิโอตัวเองกินครัวซองต์ไซส์ยักษ์
- YouTube: Ping.pantira โพสต์วิดิโอตัวเองกินครัวซองต์ไซส์ยักษ์
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับโต๊ะจีนว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลนั่นเอง ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราก็ต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง มีประเด็นไหนที่น่าสนใจ และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูล และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนครับ ซึ่งใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation โต๊ะจีน ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ครับ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง
Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 11,795 Mentions คลีนข้อมูลที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงครัวซองต์ จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้จากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการ
- ประเภทของครัวซองต์ 37%
- รสชาติของทุกประเภท 44%
- ช่วงราคาของครัวซองต์ 7%
- เมนูที่คนมักจะสั่งมากินคู่กับครัวซองต์ 7%
- พฤติกรรมในการกินครัวซองต์ 5%
Insight #1 Multiverse ครัวซองต์เกินควบคุมไปแล้ว
โดยในส่วนแรงจะขอเริ่มจากประเภทของครัวซองต์โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่มีลักษณะภายนอกหรือกระบวนการทำมีความคล้ายกัน และประเภทที่มีลักษณะภายนอกหรือกระบวนการทำที่แตกต่างกัน โดยจากการใช้ Social Listening พบว่าประเภทที่แตกต่างกันถูกพูดถึงกว่า 55% และประเภทที่คล้ายกัน 45% ซึ่งมีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยทางผู้เขียนจะขอลงลึกในแต่ละประเภทในส่วนถัดไป
โดยในประเภทที่คล้ายกันจะเห็นว่าหากมองเพียงแค่ลักษณะภาย เรายังคงมองออกว่าเป็นครัวซองต์ ซึ่งแบ่งได้อีก 3 แบบตามไซส์ คือ ธรรมดา, จิ๋ว, และใหญ่ยักษ์ โดยพบว่าแบบธรรมมดามาเป็นอันดับหนึ่ง 80% รองลงมาคือแบบจิ๋ว 17% และอันดับสุดท้ายคือ ใหญ่ยักษ์ 3% จะเห็นว่าแบบธรรมดามาเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นเมนูพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี
แต่ความน่าสนใจคือ ไซส์ใหญ่ยักษ์ที่ถึงแม้ว่าจะมาเป็นอันดับสุดท้าย แต่หากมองในแง่ Engagement จะพบว่าครัวซองต์ไซส์นี้กลับได้รับความสนใจเป็นอย่าง ซึ่งก็อาจจะอนุมานได้ว่า หากร้านต้องการที่จะสร้างความแตกต่างที่ไม่ได้เน้นเรื่องรสชาติ ก็สามารถใช้เรื่องไซส์หรือขนาดมาเป็นจุดขายได้เช่นกัน
และในประเภทที่แตกต่างกัน จะเห็นเลยว่าถ้ามองจากภายนอก หลายคนคงไม่รู้ว่าขนมเหล่านี้มีความเป็นครัวซองต์อยู่แม้จะเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของครัวซองต์มากขึ้น โดย 5 อันดับที่ถูกพูดถึงมากที่สุกคือ Timberring 50%, Flat (ครัวซองต์แบบแบน) 28%, Cruffin (ครัวซองต์+ Muffin) 5%, Taiyaki (ใช้แป้งครัวซองต์) 5% และ Croffle (ครัวซองต์+วัฟเฟิล) 5%
จากข้อมูลก็สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการก็สามารถดึงครัวซองต์บางประเภทไปทำเมนู Signature หรือ เมนูตามโอกาสพิเศษต่าง เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับร้าน (Brand Fresh) และก็สามารถนำมาเป็นจุดขายของร้านก็ได้เหมือนกันครับ
Insight #2 รสชาติของครัวซองต์จากทุก Multiverse
โดยในส่วนนี้ทางผู้เขียนได้เห็นรสชาติที่ค่อนข้างจะหลากหลาย จึงได้จุดกลุ่มแล้วแบ่งเป็น 4 รสชาติหลัก โดยพบว่ารสหวานมาเป็นอันดับหนึ่ง 39% รองลงมาคือรสธรรมดา (Plain) 35% และ รสชาติพิเศษ 17% รสคาว 9% ตามลำดับ โดยทางผู้เขียนจะขอลงลึกใน 3 รสชาติคือ หวาน คาว และพิเศษ เพื่อใหเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยขอเริ่มจากรสหวาน โดยรสที่พบมาก 5 อันดับ คือช็อกโกแลต 37%, อัลมอนด์ 25%, สตรอว์เบอร์รี่ 17%, ชาเขียว 17% และคุกกี้ 9% ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่จะทำครัวซองต์รสหวานก็จะต้องมีเมนูที่มีรสชาติแบบนี้อย่างน้อย 2-3 เมนู นอกจากนี้จะเห็นว่าทุกรสชาติสามาถปรับให้เข้ากับครัวซองต์ได้หลากหลายประเภท หากสามารถผสมผสานกับรสชาติเหล่านี้ก็สามารถที่จะเพิ่มความหลากของครัวซองต์ได้เหมือนกัน
ในส่วนของรสคาวจะเห็นว่าแฮมชีสมาเป็นอันดับที่หนึ่ง 61% ซึ่งมากกว่าครึ่งของรสคาวทั้งหมด แสดงว่าหากร้านไหนที่ต้องการทำรสคาวก็จำเป็นที่จะต้องมีรสชาตินี้ไว้ในร้านด้วยเช่นกัน และจะสังเกตุเห็นว่ารสคาวนั้นส่วนใหญ่จะมาจากครัวซองต์ประเภทธรรมดาที่มีลักษณะปกติทั่วไป ซึ่งต่างจากรสหวานที่มีหลากหลายประเภทมากกว่า ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ร้านจะนำรสคาวไปผสมผสานกับครัวซองต์ประเภทอื่น ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างนั่นเอง
ในส่วนของรสชาติพิเศษที่แยกออกมาจากรสอื่น ๆ ก็เพราะในรสชาตินี้เป็นรสชาติที่แต่ละร้านเป็นคนคิดขึ้นเองและจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งบางเมนูก็กลายเป็น Signature ของร้าน บางเมนูก็มีตามเทศกาลที่สำคัญ หรือแม้แต่การ Collaboration กับแบรนด์อื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความน่าตื่นเต้นและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้อีกด้วย
Insight #3 ครัวซองต์กินกับอะไรก็ไม่ผิด
เมนูกินคู่กับครัวซองต์ที่มาเป็นอันดับก็คงหนีไม่พ้นกาแฟ 42% แต่ที่น่าสนใจคือ ซุปเห็ดทรัฟเฟิล 39% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพูดถึงร้าน Copper ที่ไม่ใช่ร้าน Bekery สะท้อนให้เห็นว่าการที่มีเมนูที่กินคู่กันที่นอกเหนือจากเครื่องดื่มอาจจะสามารถสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามของกินคู่กันก็ยังคงเป็นเครื่องดื่ม ดังนั้นการทำ Cross-selling ระหว่างครัวซองตืกับเครื่องดื่มก็ยังคงเป็นวิธีที่ช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
Insight #4 ความคุ้มค่าที่ไม่ใช่แค่คุ้มราคา
ในส่วนของช่วงราคาพบว่า ราคาที่ต่ำกว่า 50 บาท มาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่ 42% รองลงมาคือ 50-100 บาท 39% 101-150 บาท 23% 151-200 บาท 4% มากกว่า 200 บาท 3% ตามลำดับ ถึงแม้ว่าราคาที่ต่ำกว่า 50 บาท จะมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าเรามองในปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะพบว่าในช่วงราคาที่ต่ำกว่า 50% ตัวครัวซองต์ส่วนใหญ๋จะขายตามห้าง Supermarket หรือร้านทั่วไป
ซึ่งต่างจากช่วงราคาตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป ซึ่งมีจุดร่วมคล้าย ๆ กัน จากในภาพจะเห็นเลยว่าในช่วงราคาที่เหลือหากรวมกันก็จะมีสัดส่วนมากถึง 58% ความน่าสนใจคือทุกช่วงราคามมีปัจจัยที่เหมือนกันอยู่คือ ความใส่ใจในวัตถุดิบที่สะท้อนผ่านตัวครัวซองต์ บรรยากาศของร้าน และความแปลกใหม่ของตัวครัวซองต์
ซึ่งก็บอกได้ว่าช่วงราคาก็สามารถที่จะแบ่งกลุ่มลูกค้าได้นั่นเอง ดังนั้นถ้าเป็นกลุ่มแรกก็จะเน้นในเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ถ้าในกลุ่มที่ 2 จะต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ประเด็น เพราะคนกลุ่มนี้ได้มองข้ามการเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับราคาไปแล้ว แต่เป็นการเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับแทนนั่นเอง
Insight #5 พฤติกรรมในการกินครัวซองต์
ในส่วนของพฤติกรรมจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักคือ ลักษณะการซื้อและมื้อที่ทาน โดยในลักษณะการซื้อจะพบว่าส่วนใหญ่คนยังมาทานครัวซองต์ที่ร้าน 83% ในขณะที่การสั่งกลับมีอยู่ 17% สะท้อนว่าการให้ความสำคัญกับหน้าร้านยังคงมีความสำคัญ ซึ่งในส่วนนี้ก็มีสอดคล้องกับช่วงราคาตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปด้วยเหมือนกัน ดังนั้นผู้ประกอบการที่อยากให้คนมาทานที่ร้านก็ควรให้ความสำคัญกับอีก 2 ปัจจัยที่บอกในข้างต้นเหมือนกัน
ในส่วนของมื้อที่ทาน มื้อเช้ามาเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็น 75% รองลงมาคือมื้อบ่าย 14% และมื้อเย็น 11% สะท้อนให้เห็นว่าการทานมื้อเช้าของผู้บริโภคอาจต้องการความรวดเร็วและง่ายในการทาน ซึ่งอาจนำไปปรับใช้กับการวางกลุ่มเป้าหมายของร้าน เช่นอยากจะเจาะกลุ่มพนักงานที่เร่งรีบในตอนเช้า ต้องมีลักษณะร้านยังไง ช่วงราคาต้องเท่าไหร่เป็นต้น หรือการนำไปวางแผนยิง Ad ถ้าคนทานมื้อเช้าบ่อยควรยิง Ad เวลากี่โมง ซึ่งก็จะช่วยให้ผลัพธ์มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- Copper Beyond Buffet 34.1K Engagement
- Cafe Story รีวิวคาเฟ่ ทุกวัน 21.4K Engagement
- KANOMPRANG 19.6K Engagement
- เชื่อกู กูแดกมาแล้ว 17.1K Engagement
- Mine สะใภ้ตุรกี 13.1K Engagement
TOP5 Instagram Account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- mark_prin 184.2K Engagement
- kanomprangofficial 91.8K Engagement
- eatleklek 66.9K Engagement
- jamesboulangerie 62.9K Engagement
- foodie.munchies 48.3K Engagement
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- ping.pantira 292.9K Engagement
- shibacook 196.8K Engagement
- happybeingsai 111.8K Engagement
- gingubchun 43.4K Engagement
- ninebenzchannel 39.9K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
- Ping.pantira 2.20M View
- Go Went Go 353.5K View
- รีวิว อารายก๊อน 191.3K View
- FoodballStylee 45.2K View
- Lydia Sarunrat Deane 12.9K View
Data Research Insight ครัวซองต์ แอนด์ เดอะ มัลติเวิร์ส
ทั้งหมดนี้คือ Data Research Insight ครัวซองต์ โดยเราจะเห็นเลยว่าแค่ครัวซองต์แบบธรรมดา ๆ มันคงจะไม่น่าสนใจอีกต่อไป เพราะมันมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น Influencer รสชาติ ราคา สถานที่ ฯลฯ ดังนั้นผู้ประกอบอาจจะต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อที่จะให้ร้านของตัวเองนั้นแตกต่างแต่ก็ต้องโดนใจด้วยเหมือนกัน
และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘ครัวซองต์’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ครัวซองต์กันครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคน แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication
Coming Soon….
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > #Dataอร่อยร้อยร้าน
_ _ _ _ _
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยครับ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาครับ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
- เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
- ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
Loading…ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่