Data Research Insight สำรวจจักรวาลเบอร์เกอร์ By Social listening
เบอร์เกอร์ ขนมปังแทรกด้วยเนื้อและผักหลายชนิด หนึ่งในอาหารที่เป็นขวัญใจผู้บริโภคหลากหลายช่วงวันและเผ่าพันธุ์ ในบทความ Data Research Insight นี้เราจะพามาสำรวจจักรวาลเบอร์เกอร์ผ่านมิติมุมมองต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารชนิดนี้กันค่ะ
โดยการใช้ Social listening tool อย่าง Mandala หนึ่งในสปอนเซอร์ ผู้ใหญ่ใจดีที่เอื้อเฟื้อให้ทีมการตลาดวันละตอนได้ใช้ประโยชน์ แปลง Data พลิกแพลงตะแคงออกมาเป็น Insight เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และบุคคลทั่วไปทุกคน เข้าถึงการทำ Data Research Insight และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้
บทความนี้จะเป็นไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้
และในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ
- ตัว Keyword ที่ใช้คือ เบอร์เกอร์ เบอร์เก้อ เบอเกอ เบอเก้อ และ Burger (เลือกใช้ทั้งคำที่เขียนถูกและผิด)
- ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/01/2024 – 30/06/2024 รวมทั้งสิ้น 6 เดือนย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 13,547 Mentions
ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 13,547 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โพสต์โปรโมทซีรี่ส์ TheHeartKillers ที่มีคำว่าเบอร์เกอร์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “เบอร์เกอร์” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับเบอร์เกอร์ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘เบอร์เกอร์’ มากน้อยแค่ไหน
Social Data Stat Overview
เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘เบอร์เกอร์’
- By Mention: จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง เบอร์เกอร์ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, Twitter, Instagram และ TikTok ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ กินไปเหอะ โพสต์รูปเบอร์เกอร์จากโปรฯ Burger king 29 บาทที่ไปซื้อมา
- By Engagement: ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง McDonald’s Thailand ซึ่งเป็นคลิปโฆษณา มั่งมีเบอร์เกอร์ Prosperity x Hello Kitty
- By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ Facebook เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งเป็นคลิปจาก ชี้ช่องรวย คลิปรีวิว+สัมภาษณ์พ่อค้าฝรั่งขายเบอร์เกอร์ที่ไทย
Social Data By Timeline
มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ
ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงอย่างโดดเด่นคือ Facebook โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่ในแพลตฟอร์มนี้จะมาจากแบรนด์ Fast Food ชื่อดัง เช่น McDonalds ที่ทำคอนเทนต์โปรโมชั่นได้ดี ติดอันดับโพสต์ที่ได้รับ Engagement สูงหลายโพสต์ รวมไปถึงคอนเทนต์รีวิว+สัมภาษณ์ร้านขายเบอร์เกอร์แบบฝั่ง SME บ้าง เช่น ร้าน Captains Corner Burgers Kebabs, ทองดีเบอร์เกอร์ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความสนใจและสนับสนุนร้านเบอร์เกอร์ร้านย่อยไม่แพ้กับแบรนด์ยักษ์ใหญ่เลย
เมื่อมาดูในแง่ของไทม์ไลน์ เราจะเห็นได้เลยว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงกลางปี มีการมีส่วนร่วมเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการอัปเดตโปรโมชั่น/ข้อมูลสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ (สังเกตได้จากรูปแบบ Content Pillar Top Post By Engagement ของ McDonalds ที่ติดอันดับหลายโพสต์) และกระแสร้านรวงต่าง ๆ ที่มาจากเพจรีวิว/ทำคอนเทนต์อาหาร
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #ชื่อแบรนด์ เป็นหลัก นอกจากนั้นก็จะเป็นชื่อโปรโมชั่น แฮซแท็กที่เกี่ยวข้องกับเบอร์เกอร์ เช่น #รีวิวอาหาร #อร่อยบอกต่อ เมื่อนำมาผนวกกับกลุ่มคำที่ที่การพูดถึงบ่อย ๆ ก็ยังเด่นชัดในเรื่องของการพูดถึงเบอร์เกอร์ ความอร่อย เมนูอื่น ๆ ที่สั่งควบคู่กันได้ เช่น ไก่ทอด
ดังนั้น ท่านใดที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือถ้าแบรนด์หรือผู้ประกอบการท่านใดที่อยากสืบเสาะ Insight ด้วยตัวคุณเอง สามารถนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลือก Keyword เพื่อดึงข้อมูลใน Social listening ได้ค่ะ
Top Post by Platform
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
- Facebook: ชี้ช่องรวย คลิปรีวิวร้านCaptain Conner Burgers Kebabs
- Twitter: @LittleBirbMame โควทแนะนำไอติมร้าน Mos Burger
- Instagram: mickey.a.np คลิปสอนทำ Mini Burger
- TikTok: bankiii คอนเทนต์ Four Cheese Lover ของ Burger King
- YouTube: McDonald’s Thailand โฆษณา มั่งมีเบอร์เกอร์ Prosperity x Hello Kitty
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับเบอร์เกอร์ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 5 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 5 หัวข้อ ดังนี้
- คำที่คนใช้เรียกเบอร์
- ประเภทขนมปัง
- ประเภทเนื้อสัตว์
- Pain Point ของเบอร์เกอร์
- เมนูอื่น ๆ ที่คนมักสั่งในร้านเบอร์เกอร์
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation เบอร์เกอร์ ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง
Insight #1 เบอร์เกอร์ เป็นคำที่คนใช้เรียกเบอร์เกอร์มากที่สุด
ถ้าให้ลองนึกถึงคำเรียกเบอร์เกอร์แบบไม่ใช่ Social listening ก็คงคาดไม่ถึงว่าจะมีคำเรียกเบอร์เกอร์มากกว่า 2 แบบ 1. เบอร์เกอร์ 2. Burger แต่ภาษาไทยดิ้นได้ร้อยแปดตลบจึงทำให้เราทราบว่า คำที่คนใช้เรียกอาหารชนิดนี้มีมากถึง 6 แบบด้วยกัน โดยทั้ง 6 แบบ มีดังต่อไปนี้
- เบอร์เกอร์ 47%
- Burger 36%
- เบอเก้อ 10%
- เบอเกอ 4%
- เบอร์เก้อ 2%
- เบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ <1%
ซึ่งทั้ง 5 คำแรกเป็นคำที่เราพบว่า 2 คำแรก เป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วกัน อย่างยิ่งในเพจของแบรนด์/อินฟลู ส่วนลำดับที่ 3-5 เป็นคำที่(อาจจะตั้งใจ)เขียนผิด ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นคำที่สื่อถึงเบอร์เกอร์ ทว่าที่น่าสนใจคือ เบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ โดยเราพบว่าเบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ เป็นคำใช้เรียกเบอร์เกอร์ที่ขายในสถานศึกษาที่มีต้นตอมาจาก TikToker: contentonetubfour ซึ่งเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากอีเทคชลบุรี
ถึงแม้ว่าสัดส่วนจะน้อยที่สุดแต่คลิปกลับมียอดวิวที่สูงถึง 8.1 ล้านในคลิปเดียว ทำให้แอคเคาท์นี้กลายเป็นดาวดังในชั่วข้ามคืน ทั้งนี้ทั้งนั้นจากการไล่ดูคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ คลิปทั้งหมดไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับเบอร์เกอร์ทุกคลิปโดยตรง แต่เพราะเป็นคำที่ไวรัล คนจึงนำมาปรับใช้ในแคปชั่นกันเป็นบางส่วน
เราสามารถนำ Insight นี้ไปปรับใช้ในการทำ SEO Content หรือหยิบยกมาเล่นให้กลายเป็นสีสันคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ของเราได้ เช่น คำแบบไหนที่คุณใช้เมื่อโพสต์ถึงเบอร์เกอร์ เป็นต้น เพื่อสร้าง Engagement และเข้าใจกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นค่ะ
Insight #2 แป้งประกบที่ไม่ได้มีเพียงแค่ขนมปังในเบอร์เกอร์
เบอร์เกอร์เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือแป้งประกอบบนล่างและจากการใช้ Social listening ก็ทำให้เราได้ Insight ประเภทขนมปังมาดังนี้ ขนมปังที่เป็นขนมปังแบบที่เราคุ้นชินกันทั่วไปมาเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วน 68% รองลงมาคือ ข้าวเหนียว 25% และข้าว 7%
จากการขุดลึกลงไป ขนมปังแบบปกติทั่วไปไม่ได้มีความแปลกใหม่มากหนักเพราะเป็นแป้งที่อยู่คู่กับเบอร์เกอร์มาอย่างช้านาน จะเรียกว่าตั้งแต่ยุคก่อกำเนิดเบอร์เกอร์ก็คงไม่ผิดจึงไม่แปลกที่จะมีการถูกพูดถึงบนโซเซียลเยอะมากที่สุด ทว่าที่น่าสนใจคือ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวและข้าว
ซึ่งเราจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนเลยคือ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวคือฝั่งไทย และเบอร์เกอร์ข้าวฝั่งเกาหลี ทั้งสองสไตล์ถูก Localized ให้เข้ากับพฤติกรรมการกินของคนพื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยม โดยเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวโดดเด่นจากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมู/ลาบหมูที่ขายใน7-11 และขนมปังที่เป็นข้าวมาจากเบอร์เกอร์สไตล์เกาหลีที่มาจากร้านคือบับ
หากอยากปรับให้เข้ากับกลุ่มผู้บริโภคต่าง ๆ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียว เบอร์เกอร์ข้าว ชูจุดเด่นเน้นกินอิ่ม อิ่มท้อง อิ่มนานก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ
Insight #3 เนื้อหมูนำโด่งในประเภทเนื้อสัตว์
มาต่อกันที่ประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดในจักรวาลเบอร์เกอร์ โดย Insight นี้จะแบ่งเป็นภาพใหญ่แบบวงกว้างก่อน ซึ่งเราพบว่า เนื้อหมู คือประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 51% รองลงมาคือเนื้อวัว 33% เนื้อไก่ 11% และปิดท้ายด้วยสัตว์ทะเล 5%
และเมื่อเจาะลึกลงมาในเนื้อแต่ละประเภทแล้วเราก็จะพบว่า หมูสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภทด้วยกันคือ
- หมูปกติ 55%
- หมูย่าง 30% – มาจากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่างที่ขายใน 7-11
- หมูกระทะ 15% – มาจากเบอร์เกอร์หมูกระทะของ Burger King
ถัดมาคือในส่วนของเนื้อวัว ในทีนี้เราพบแค่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
- เนื้อวัวปกติ 55%
- วากิว 45%
ในส่วนของเนื้อไก่ เราจะแบ่งได้อีก 3 ประเภทเช่นเดียวกันที่เจอจากการใช้ Social listening
- ไก่ปกติ 62%
- ไก่ทอด 31% – มาจากเบอร์เกอร์ไก่ทอดสไตล์หาดใหญ่ที่ขายใน 7-11
- ไก่กรอบ 7%
ในส่วนของเนื้อสัตว์ทะเล จะแบ่งได้ 2 ประเภท
- กุ้ง 69%
- ปลา 31%
Insight #4 อร่อยนะ…แต่เปื้อนมือ/ปากก็ไม่ไหว
ทีนี้เรามาดู Pain Point การกินเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคที่มีการพูดถึงบนโลกโซเซียลกันบ้างค่ะว่ามีแง่มุมไหนบ้าง เพื่อที่เราจะได้ปิดจุดอ่อน เสริมจุดเด่นให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ดีในการทานเบอร์เกอร์ โดย Social listening บอกกับเราได้ว่าปัญหาที่คนมักเจอเป็นอันดับแรกคือ กินเบอรเกอร์แล้วเปื้อนมือ เปื้อนปาก 46% เป็นปัญหาสุดคลาสิกไม่ว่าจะกินเบอร์เกอร์ที่ไทยหรือต่างประเทศก็เป็นเหมือนกันหมด สาเหตุมาจากการที่ไส้ไหลหรือซอสหกนั่นเองค่ะ
โดยกับกลุ่มคนบางส่วนที่กินเบอร์เกอร์บนรถ มือที่เลอะหรือปากที่เปื้อนเป็นอะไรที่มองดูแล้วน่าจะวิกฤต เพราะต้องใช้มือขับ หากมือเลอะแล้วไปจับพวงมาลัยคงไม่น่าดูเท่าไหร่ใช่ไหมล่ะคะ หากเราจะบอกว่า…งั้นก็ไม่ต้องกินบนรถสิ กินที่ร้านหรือไปนั่งทานดี ๆ หรือเลอะก็แค่ใช้ทิชชู่เช็ด แต่ในความเป็นจริงผู้เขียนมองว่าความสะดวกของคนเราต่างกัน บางคนอาจจะอยู่ในช่วงโมงเร่งรีบเลยต้องขับไปกินไป ติดไฟแดงก็จอดกินที (ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าเป็นการกระทำที่ดี เพราะเสี่ยงต่อเพื่อนร่วมทางแต่ก็มีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่จริง ๆ)
หากเราสามารถพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์กลุ่มคนทานเบอร์เกอร์แล้วไม่ชอบให้ไส้/ซอสเลอะเปื้อนมือก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ บางทีทิชชู่เช็ดมือ/ปากอาจจะไม่พอสำหรับคนบางกลุ่มที่รักความสะอาดอย่างมาก หากเรามีที่ให้พวกเขาได้ล้างมือ หรือผ้าเปียกเช็ดมือไว้คอยบริการด้วยก็คงทำให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดีค่ะ
รองลงมาจะเป็นขนมปังเหี่ยว 34% และเนื้อแห้ง 18% สาเหตุที่คนบ่นว่าขนมปังเหี่ยวมาจากการที่ตั้งทิ้งไว้ (ระยะเวลาของการตั้้งไว้ ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ เพราะคนไม่ได้เจาะจงถึง) แล้วพอจะกินขนมปังกลับไม่เด้งฟูเหมือนตอนแรก หรือบางคนก็บอกว่าขนมปังเหี่ยวมาตั้งแต่ทำเสร็จเลยก็มีค่ะ
ส่วนเนื้อแห้ง บริบทจะเกี่ยวเนื่องกับการเคี้ยวบาก ติดฟัน กินแล้วไม่ได้รับรสชาตินอกจากความแข็งของเนื้อ โดยสาเหตุเหล่านี้ทำให้เสียอรรถรสในการกินนั่นเองค่ะ
ที่น่าสนใจคือ Pain Point ไส้แฉะ คิดเป็น 2% เราพบว่าคนมักพูดถึงในเชิงที่ว่าขนมปัง/ไส้แฉะส่วนหนึ่งมาจากผักที่อยู่ในเบอร์เกอร์ เช่น มะเขือเทศ ซึ่งมะเขือเทศมีน้ำเป็นส่วนกอบหลัก ไม่ได้เป็นผัก/ผลไม้ที่แห้ง พอมาเจอกับขนมปังที่ดูดซึมน้ำได้จึงทำให้แป้งแฉะในลำดับถัดมาทำให้บางครั้งความอร่อยของเบอร์เกอร์มันลดน้อยลงถึงแม้ว่าจะชอบกินมะเขือเทศที่อยู่ในนั้นก็ตาม
ตรงนี้ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าการที่ผู้บริโถคเผชิญกับปัญหานี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ซื้อแล้วไม่ได้กินเลยทันที หรือสั่งเดลิเวอร์รี่แล้วต้องรอการขนส่ง ระหว่างทางจึงทำให้เบอร์เกอร์มีความแฉะจากตัวน้ำของมะเขือเทศ พอจะมากินก็เลยเจอปัญหานี้
ดังนั้น หากเราอยากแก้ไขปัญหานี้สำหรับคนที่ชอบกินมะเขือเทศแต่ต้องสั่งออนไลน์หรือสั่งกลับบ้าน ถ้าเรามีตัวเลือกในการแยกผักที่น้ำเยอะออกต่างหาก พอจะกินค่อยเอามาประกอบรวมร่างกันกับเบอร์เกอร์ส่วนอื่นก็คงจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ในเบื้องต้นค่ะ หรือใครมีไอเดียที่ดีกว่านี้ก็สามารถแชร์กันได้ค่ะ เพื่อทำให้วงการเบอร์เกอร์ไปข้างหน้ามากขึ้น!
Insight #5 เบอร์เกอร์+เฟรนช์ฟรายส์ คือ Combo ฟ้าดินแยกไม่ขาด
มาถึง Insight สุดท้ายกันแล้วกับเมนูอื่น ๆ ที่สั่งในร้านเบอร์เกอร์ เรามาดูกันว่านอกเหนือจากเบอร์เกอร์แล้วคนสั่งอะไรมากินเป็น Side dish เพิ่มบ้าง ซึ่งข้อมูลชี้ชัดออกมาว่ามี 4 เมนูด้วยกันที่คนมักสั่งคือ เฟรนช์ฟรายส์ 63% ไอติม 34% นักเก็ต% ไก่ทอด <1%
เบอร์เกอร์กับเฟรนช์ฟรายส์เป็นอะไรที่ฟ้าดินแยกกันไม่ขาดอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมถึงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฟรนช์ฟรายส์ของ Mcdonalds, Burger Kings ได้รับการพูดถึงในเชิงบวกว่าเป็นเฟรนช์ฟรายส์ที่อร่อย
ที่น่าสนใจคือ นอกจากคนจะกินไอติมเพื่อล้างปากหลังกินเบอร์เกอร์กันแล้ว ผู้บริโภคบางคนไปซื้อไอติมที่ร้านขายเบอร์เกอร์ทั้งที่ไม่ได้ต้องการซื้อเบอร์เกอร์โดย Mos Burger ได้รับการพูดถึงมากที่สุดเกี่ยวกับไอติม โดยมี Positive Sentiment ค่อนข้างมากว่าเป็นไอติมที่อร่อย (แถมเพิ่ม: จากจำนวน Mentions ทั้งหมดคนพูดถึง Mos Burger ที่ตัวไอติมมากกว่าเบอร์เกอร์ แสดงให้เห็นว่าแบรนด์นี้ดังที่ตัวไอติมมากกว่า)
ซึ่งผู้ประกอบการหรือนักการตลาดท่านใดที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความอร่อยของไอติมหรือเฟรนฟรายส์ที่ได้รับการชมว่าอร่อยก็สามารถเลือกโฟกัสไปที่แบรนด์เหล่านี้ได้แล้วไปศึกษาต่อถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์ของพวกเขาแล้วนำมาปรับปรุงกับแบรนด์ของตนก็เป็นหนึ่งทางที่สามารถทำได้เช่นกันค่ะ
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- ชี้ช่องรวย 743K Engagement
- McDonald’s 373K Engagement
- Burger King Thailand 46K Engagement
- CP Brand 37K Engagement
- วงในบอกโปร 30K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
- McDonald’s Thailand 9.1M View
- หิวบ่อย สตูดิโอ 1.6M View
- MOS BURGER TH 692K View
- TwintravelOfficial 800K View
- Natty_tyn 376K View
TOP5 Instagram channel ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- punpromotion 88K Engagement
- fahhaha_ 58K Engagement
- mickey.a.np 28K Engagement
- tid_review 26K Engagement
- talondak 15K Engagement
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- bankiii 353K Engagement
- tid_review 64K Engagement
- mickey.a.np 58K Engagement
- cokecumtoto 54K Engagement
- thefadd_official 53K Engagement
Data Research Insight สำรวจจักรวาล เบอร์เกอร์ By Social listening
Data Research Insight เบอร์เกอร์ในบทความนี้ ทำให้เราเห็นได้เลยว่า เบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่มีความหลากหลายทางความคิดของผู้คน บางคนชอบในสิ่งนี้ชอบคนไม่ชอบในสิ่งนั้น ทั้ง ๆ ที่ส่วนประกอบของอาหารก็ไม่ได้มีมากมาย แป้ง เนื้อ ผัก ซอส และปิดท้ายด้วยแป้ง แต่ความต้องการของผู้บริโภคนั้นมีมากกว่าชั้นแป้ง ผัก เนื้อ
ประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ได้ระหว่างการกิน เลอะมือ เปื้อนปาก ขนมปังเหี่ยว/นิ่ม ไส้แฉะ มองเผิน ๆ อาจเป็นสิ่งที่เราต้องเจออยู่แล้วแต่ถ้าเราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับผู้บริโภคได้ ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นการยกระดับทั้ง Branding และ Marketing ได้ดีทีเดียวค่ะ
และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘เบอร์เกอร์’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ชาวเบอร์เกอร์กันค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication
Coming soon …
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ของดอง ผัดไทย ไอศกรีม ข้าวขาหมู ข้าวแกง ข้าวเหนียวมะม่วง หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยล้าน
————————–
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.co
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
- เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
- ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ