ไอเดียการตลาด – ‘กล่องสุ่ม’ สุดฮิต

ไอเดียการตลาด – ‘กล่องสุ่ม’ สุดฮิต

เคยเห็นร้านไหนที่ขาย ‘กล่องสุ่ม’ กันบ้างไหมคะ? จริงๆ ต้องบอกว่าเพลินได้ยินกล่องสุ่มมาได้ซักพักนึงแล้ว แต่ไม่ได้เอ๊ะใจมากเท่าไร ล่าสุดรู้สึกว่าทำไมหันหน้าไปร้านไหนก็มีแต่คนขายกล่องสุ่มนะ? ก็เลยลอง Search หาตัวนี้ดูเล่นๆ สรุปว่า Search เทรนด์มันพุ่งขึ้นจริงๆ พอเพลินใส่คำนี้เข้าไปใน Mandala Analytics ก็เจอ Social Talk About เกี่ยวกับเรื่องกล่องสุ่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน วันนี้เลยอดไม่ได้ ขอหยิบเรื่องไอเดียการตลาดกล่องสุ่มนี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกล่องสุ่มร่วมกันก่อน หากใครที่เคยเห็นหรือแม้กระทั่งเคยซื้อกล่องมาแล้ว ก็น่าจะรู้อยู่แล้วเนอะว่ากล่องสุ่มมันคือกล่องที่สุ่มเอาของหลายๆ อย่างมาไว้ในหนึ่งกล่อง โดยที่ลูกค้าจ่ายราคา Fixed Price มาราคานึง แต่ต้องลุ้นเอาว่าจะได้อะไรบ้างในกล่องนั้น ซึ่งเอาเข้าจริงๆ มันก็คือการซื้อ Experience ความตื่นเต้น ความลุ้น ความไม่รู้บางอย่าง ทั้งนี้ก็เพื่อเอามาสร้างเป็น Content จำพวก Unbox หรือเปิดกล่องสุ่มร่วมกับคนดูก็ได้ค่ะ

อย่างที่บอกว่าเพลินได้ลองเข้าไปหา Search Trends ของกล่องสุ่มดูแบบ 12 เดือนย้อนหลัง จนพบว่าเทรนด์การค้นหามันเพิ่มขึ้นจริงๆ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา โดยสิ่งที่คนค้นหาเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ‘กล่องสุ่มอาหารทะเล’ ที่มาแรงมากๆ จากร้านขายอาหารทะเล โดยกติกาก็คือจ่ายราคา Fixed Price ซึ่งอาจจะมีหลายราคาให้เลือกจ่ายก็ได้ เช่น จ่าย 500 ลุ้นรับว่าจะได้อาหารทะเลอะไรบ้าง ซึ่งบางคนได้ไปแล้วก็ต้องร้องว๊าว เพราะได้ปู กุ้ง หอย จนรู้สึกว่ามันคุ้มมากกับราคา 500 นั่นเองค่ะ

ถ้าหากเพลินหยุดแค่ 12 เดือนย้อนหลัง ก็คงเข้าใจไปแล้วว่าเทรนด์ กล่องสุ่ม นี้แท้จริงมาจากอาหารทะเล แต่เพลินลองดึงข้อมูลย้อนหลังไปเป็น 5 ปีด้วย จนได้เห็นอีกกราฟนึง ที่ทำให้เพลินเห็นว่าจริงๆ แล้วเทรนด์กล่องสุ่มนี้มันมีมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2019 แล้ว ซึ่งกระแสนี้มาจาก ‘ประเทศญี่ปุ่น’ ต่างหาก ที่มีกลุ่ม YouTuber ทำการสั่งกล่องสุ่มจากญี่ปุ่นเข้ามา เพื่อลุ้นของข้างในไปพร้อมๆ กับ Audience ของพวกเค้า ไม่ว่าจะเป็นร้านขายกล้องฟิล์ม ของเล่นญี่ปุ่น หรืออื่นๆ ทำให้กระแสนี้ฮิต มีแต่คนอยากลองสั่งบ้างขึ้นมาค่ะ

หลังจากนั้นถึงแม้ว่า Search Trends จะดร้อปลง แต่หากดูจากกราฟก็ต้องบอกว่าการตลาดนี้ยังมีอยู่เรื่อยๆ ไม่ได้ไปไหนเลย แถมยังกลับมาบูมในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ที่เส้นกราฟ Index แทบจะเทียบเท่ากับช่วงปี 2562 เลยด้วยซ้ำค่ะ

ถัดมาดูในส่วนของข้อมูล Social Data แบบ 12 เดือนย้อนหลังกันบ้าง ตรงนี้เพลินใช้คำว่า ‘กล่องสุ่ม’ เป็น Keyword เดียวในการดึงข้อมูลออกมาจาก Mandala Analytics โดยหากลองเปรียบเทียบกราฟดู ก็เรียกได้ว่าเส้นกราฟ Search Data กับ Social Data ใน Period 12 เดือนย้อนหลังนั้นค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกัน (17 Sept 2020 – 17 Sept 2021) โดยช่องทางหลักที่คนพูดถึงเรื่องกล่อมสุ่มมากที่สุดก็คือ Twitter ที่กวาด Mentions ไปกว่า 10,726 mentions รองลงมาแบบค่อนข้างสูสีเลยคือ Facebook (6,372 mentions) และ Instagram (6,011 mentions) ค่ะ

hashtag cloud กล่องสุ่ม

และถ้าหากเราขยับมาดูที่ Hashtag Cloud ก็จะเห็นเป็นภาพรวมกล่องสุ่ม ว่าคนพูดถึงกล่องสุ่มสินค้าแบบไหนกันบ้าง ซึ่งกล่องสุ่มที่ใน Social ฮิตและนิยมที่สุดตอนนี้ก็คือ ‘กล่องสุ่มเครื่องเขียน’ ซึ่งน่าจะเป็นอะไรที่โดนใจกลุ่มนักเรียน นักศึกษาสายออนไลน์ดิจิตอล พร้อมแชร์เนื้อหา Unbox ของตัวเองกันมากทีเดียว แต่นี่น่าประหลาดใจกว่านั้นก็คือ วันนี้มันไม่ได้มีแค่กล่องสุ่มแล้ว แต่มันยังมี ‘ซองสุ่ม’ เข้ามาเพิ่มด้วย เพียงเปลี่ยนกล่องเป็นซองก็ทำได้เหมือนกัน แต่โดยคอนเซปยังคนเป็นการลุ้นอยู่ดีว่าคุณจะได้อะไรกับราคาที่จ่ายไปค่ะ

Word cloud กล่องสุ่ม

ถัดมาเรามาดูในส่วนของ Word Cloud ก็จะเห็นสินค้าที่เป็นคำๆ มากขึ้น ให้เราคลิกเข้าไปดูได้เลยว่ามันเป็นโพสต์ประเภทไหน จนสุดท้ายก็ทำให้เพลินเข้าใจว่ากล่องสุ่มไม่ได้มีแต่อาหารทะและเครื่องเขียนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีกล่องสุ่มศิลปินไอดอลกาหลี โดยของด้านในก็จะเป็นพวกสินค้า Gift shop พวงกุญแจ สติ๊กเกอร์ ฯลฯ ไปจนถึงกล่องสุ่มตุ๊กตา และกล่องสุ่มเสื้อผ้าก็มีเช่นกัน เป็นไงละคะ เห็นเทรนด์นี้แล้ว มีแบรนด์ไหนอยากกลับไปออกกล่องสุ่มหรือซองสุ่มของตัวเองกันแล้วหรือยัง

ต้องบอกว่าเพราะ Social Listening Tools ในวันนี้ยังไม่สามารถเก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง TikTok ได้ แต่เพราะเพลินเล่น TikTok อยู่บ้าง เลยอยากมาแชร์เล็กๆ ว่าจริงๆ พวกเนื้อหาเปิดซองสุ่มตุ๊กตาของเล่นนั้นค่อนข้างเป็นที่นิยมเอามากๆ เลยล่ะค่ะ เพราะทั้งคน Unbox และคนดูก็เหมือนได้ลุ้นและขำไปพร้อมๆ กัน เช่น ในกรณีได้ตุ๊กตาหน้าตาประหลาด หรือได้ตุ๊กตาซ้ำตัวเดิม เป็นต้น ดังนั้นใครที่อยากทำ Content เรื่องสุ่มๆ นี้ นอกจาก Twitter Facebook Instagram ที่เห็นอยู่แล้ว ก็อย่าลืมทำใน TikTok ด้วยนะคะ

ส่วนเนื้อหา Content เกี่ยวกับกล่องสุ่มจะเป็นอย่างไรได้บ้าง วันนี้เพลินใช้ฟีเจอร์ Top Mentions ของ Mandala ดึงข้อมูลยอดฮิตของแต่ละแพลตฟอร์มมาให้ชมกันเป็นตัวอย่าง เผื่อแบรนด์ไหนจะเอาไปเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างเนื้อหาของตัวเองหรือพัฒนากล่องสุ่มของตัวเองต่อไป หรือจะเลือก Account influencers เหล่านี้ไปขยี้ในแคมเปญกล่องสุ่มต่อก็ได้เช่นกันค่ะ

Top post กล่องสุ่ม จากช่องทางต่างๆ

Facebook

เพจหมิง ขั้วโลก

Twitter

ส่วนมากโพสต์ใน Twitter มักจะเป็นโพสต์ที่เน้นขายของ แจกของเป็นหลัก จะไม่ใช่เชิง Content แนว Unbox เท่าไร เอาเป็นว่าเพลินหยิบ Top post มาเพื่อให้เห็นถึง Tactics การขายของแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์แล้วกันเนอะ ว่าเค้ามีลูกเล่นกับการใช้กล่องสุ่มเหล่านี้เป็นตัวดึงความสนใจอย่างไรบ้าง เช่นโพสต์นี้ การ RT หรือ Retweet เพื่อแจก หรือแม้กระทั่งเรียกยอด Followers เป็นต้นค่ะ

Instagram

Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะหนักไปทางการขาย การแจกเหมือนกับ Twitter เลย ในขณะที่ช่องทางอย่าง Facebook YouTube TikTok นั้นจะเน้นไปทาง Unbox Content เสียมากกว่าค่ะ

ตัวอย่าง กล่องสุ่ม เครื่องเขียน
ร้าน HowCute.ss

YouTube

กับช่องของคุณส้ม มารี บอกเลยว่าเค้ามีช่วงช่องสำหรับกล่องสุ่มโดยเฉพาะด้วย อย่างช่วง #มิตรรักนักสุ่ม ก็คือช่วง Unbox กล่องพร้อม Reactions ไปพร้อมๆ กับคนดูนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับกลยุทธ์การตลาดแบบกล่องสุ่ม บอกตามตรงว่าขนาดเขียนบทความนี้ไปเพลินยังอยากลองสั่งกล่องสุ่มกล้องฟิล์มมา Unbox บ้างเลย ดังนั้นถือว่าเรื่องนี้เป็น Tactics ที่ดีมาก เพลินอยากให้นักการตลาดทุกท่านลองเอาไอเดียนี้ไปปรับใช้งานกับแบรนด์สินค้าของตัวเองดูว่าจะทำอย่างไรกับไอเดียนี้ได้บ้าง นอกจากจะช่วยให้แบรนด์มีสีสันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นยอดได้ด้วย เพราะว่าการขายกล่องสุ่มอย่างที่บอกว่า เราไม่ได้ขายของอย่างเดียว แต่เราขายประสบการณ์ ขายความ Excite บางอย่างไปด้วย

อย่างในกรณีของสินค้าอาหารสดเอง ก็ยังช่วยในเรื่องของการล้างสต็อกได้ดี ไม่ต้องเทของสดที่ขายไม่ได้ทิ้งไป แต่เป็นการเอามาขายในราคาที่ถูกลงตามคุณภาพนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ดี ขอแนะนำว่าไม่ควรทำบ่อยๆ จนความ Excite มันหายไป แนะนำให้ทำนานๆ ครั้งแต่ทำแล้วปังไม่ไหว จนคนต้องรอให้แบรนด์กลับมาขายกล่องสุ่มอีกรอบแล้วแย่งกันซื้อ แบบนี้น่าจะตื่นเต้นตั้งแต่เปิดตัวเลย เพราะฉะนั้นครั้งแรกสำคัญมาก ทำให้ดี ทำให้ปัง เอาให้ Talk About สูงๆ เราก็จะได้ Earned Media หรือ WOM เพิ่มด้วย อย่างไรก็ตามครั้งต่อๆ ไปก็ทำให้ดีเหมือนเดิมนะคะ ไม่งั้นลูกค้าหายแน่นอนเลย

แอบกระซิบข้อมูล Social data ก้อนสุดท้ายจากเครื่องมือ Social จาก Mandala ว่า Sentiment กล่องสุ่มนั้น 96% ล้วน Positive แสดงให้เห็นว่ามุมมองกับการทำการตลาดเชิงนี้ ไปได้สวยมาก คนค่อนข้าง Engage กับมันในเชิงบวกทีเดียวค่ะ ส่วนในแง่ Negative นั่นเพลินไปดูแล้ว มีน้อยแต่มีนะ เช่น การได้สินค้าไปตรงปก ซึ่งไม่ได้เกิดจากที่เราจิ้มเลือกหรอก แต่เป็นการเปรียบเทียบของที่ได้จริงกับภาพที่ร้านใข้โฆษณาประมาณนึง ดังนั้นใครทำลูกเล่นนี้ก็ต้องระวังอย่าให้ลูกค้าได้ไม่คุ้มเงินนะคะ

แนะนำอีกนิดก่อนจากกันสำหรับบทความนี้ว่า กล่องสุ่มช่วงสิ้นปี เป็นไอเดียที่ดีมากๆ นะคะ ทั้ง Context ทั้ง Season อะไรมันได้มาก อย่าลืมลองนำไปปรับใช้กันนะคะทุกคน

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน