Google เผย 5 เคล็ดลับในการสังเกตข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

Google เผย 5 เคล็ดลับในการสังเกตข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

จากเหตุการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ไหลผ่านหูผ่านตาเราไปมากมาย จริงบ้าง ลวงบ้าง ปะปนกันไป เพราะฉะนั้นการเลือกเสพข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ซึ่งทาง Google ก็เห็นความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน จึงต้องการตอกย้ำในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างจริงจัง เพื่อให้ทุกคนสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ และสามารถเลือกนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มาดูกันค่ะว่า Google มีเคล็ดลับ หรือวิธีการไหนในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เป็นจริงได้บ้าง

5 เคล็ดลับในการสังเกตข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

1.ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยเครื่องมือจาก Google 

เราสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมาแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นความจริงหรือไม่ด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก Google ที่รวบรวมเอาข้อมูล และข้อเท็จจริงต่างๆ จากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้มากกว่า 100,000 รายการ

2.อย่าเพียงแค่เชื่อในสิ่งที่คุณเห็น

บางสิ่งที่คุณเห็นนั้นอาจจะไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความจริงเสมอไป เพราะสิ่งที่คุณเห็นเช่นรูปภาพบางภาพอาจผ่านการตัดต่อ ดัดแปลง หรือตกแต่ง จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบภาพเหล่านั้นเบื้องต้นได้ง่ายๆ โดยคลิกขวาที่รูปภาพแล้วเลือก “ค้นหารูปภาพด้วย Google” (Search Google for Image) เพื่อตรวจสอบว่ารูปภาพนั้นเคยปรากฎบนโลกออนไลน์มาก่อนหรือไม่ และอยู่ในบริบทไหน การตรวจเช็กภาพแบบนี้จะทำให้คุณรู้ทันทีว่าภาพที่คุณได้มานั้นผ่านการดัดแปลงมาก่อนหรือไม่

3.ควรตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง

การเชื่อข้อมูลจากแหล่งเดียวนั้นอาจทำให้คุณได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน หรือไม่ถูกต้องได้ ทางที่ดูควรที่ตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง และควรเลือกตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลจากสำนักข่าว เป็นต้น โดยคุณสามารถตรวจสอบดูได้ว่ามีสำนักข่าวไหนบ้างที่รายงานข่าวเดียวกัน เพียงเปลี่ยนเป็นโหมดข่าวสาร หรือค้นหาหัวข้อที่ต้องการใน news.google.com แล้วคลิกไปที่การแสดงเนื้อหาแบบ Full Coverage เพื่อดูข่าวจากหลากหลายแหล่ง

4.ถามตัวเองก่อนว่า…คุณมองหาข้อมูลถูกที่หรือเปล่า?

ถ้าเราหาข้อมูลไม่ถูกที่ เราก็อาจจะไม่ได้ข้อมูลตรงใจอย่างที่ต้องการ ลองเปิดรับข้อมูลในเรื่องที่คุณสนใจและสำรวจหัวข้อต่างๆ ในเชิงลึกมากขึ้นได้จากแผงความรู้ (Knowledge Panel) ใน Google Search สำหรับวิดีโอส่วน “ข่าวด่วน” (Breaking News) ให้ค้นหาในหน้าแรกของ Youtube และชั้นวางข่าวเด่น (Top News) ก็จะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงแหล่งที่มาของข่าวที่น่าเชื่อถือได้ง่ายขึ้น

5.กระจายความรู้เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Google News Initiative ได้ร่วมมือกับสำนักข่าวทั่วโลกเพื่อช่วยผลักดันการเติบโตของแวดวงสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประการหลัก ได้แก่ การทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมข่าวเพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจ การยกระดับสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ และการผลักดันแนวคิดและแนวทางใหม่ๆ ในการนำเสนอข่าว

การรับข่าวสารอย่างรวดเร็วทำให้เราทันเหตุการณ์ต่างๆ อยู่เสมอก็จริง แต่การคัดกรองข้อมูลคุณภาพ ข้อมูลที่มั่นใจ แน่ใจแล้วว่าจริงนั้นสำคัญกว่า เพราะฉะนั้นก่อนเสพข่าว หรืออัปเดตข้อมูลใหม่แต่ละครั้งก็อย่าลืมเอาเคล็ดลับของ Google ไปใช้ดูได้นะคะ

สำหรับใครที่สนใจอ่านบทความการตลาดด้าน Digital Marketing ของการตลาดวันละตอนในแง่มุมอื่นๆ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ 

ในบทความหน้านุ่นจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

One thought on “Google เผย 5 เคล็ดลับในการสังเกตข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่