5 Topic Conversation บน Twitter เกี่ยวกับความหลากหลาย LGBTQIA+

5 Topic Conversation บน Twitter เกี่ยวกับความหลากหลาย LGBTQIA+

Twitter เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านการพูดคุยที่เกี่ยวกับเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชุมชน LGBTQIA+ หรือ Pride Month เพิ่มขึ้นถึง 76% 1 โดยผู้คนในชุมชนและผู้ที่สนับสนุนต่างเข้ามาบนทวิตเตอร์เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุนกันและกัน รวมถึงการพูดคุยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ Netflix แนวโรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง Heartstopper หรือการเฉลิมฉลองโมเม้นต์ในช่วงเวลาที่กล้าหาญ

ทวิตเตอร์ คือ ภาพสะท้อนของวัฒนธรรมและสิ่งที่มีความสำคัญต่อผู้คนในประเทศนั้น ๆ ผ่านการทวีตนับล้านใน
ทุก ๆ วัน จากรายงานเทรนด์ทวิตเตอร์ในประเทศไทยปี 2564 2 พบว่ามีเทรนด์และการพูดคุยที่มีความสำคัญอยู่จำนวนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยให้ความสนใจในเรื่องราวของโลกรอบตัวและความปรารถนาที่อยากจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวกเพิ่มมากขึ้น

ละครทีวีแนวซีรีส์วายได้รับความนิยมและเข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปิดใจยอมรับในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และท้าทายต่อสถานภาพของใครหลายๆ คน จากรายงานเทรนด์ทวิตเตอร์ในประเทศไทย ปี 2564 พบว่าการพูดคุยเกี่ยวกับซีรีส์วายเพิ่มสูงขึ้น 400% และยังพบอีกว่าคนไทยกระตือรือร้นในการสร้างความแตกต่างทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับ Me and My Country เพิ่มขึ้นถึง 260% ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นการพูดคุยที่เกี่ยวกับสิทธิของชาว LGBTQIA+ 

ในปีนี้ทวิตเตอร์ขอร่วมฉลอง Pride Month ด้วยแฮชแท็ก #รักก็คือรัก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาชุมชน LGBTQIA+ ได้สร้างความก้าวหน้าในเรื่องต่างๆ ไปมาก แต่ก็ยังพบกับความท้าทายเรื่องของการการโดนกีดกันหรือลดสถานะของผู้คนในชุมชน ดังนั้นแฮชแท็ก #รักก็คือรัก จึงเป็นตัวแทนของการเรียกร้องให้คนในชุมชนได้ใช้พื้นที่บนทวิตเตอร์ในการแสดงออกได้อย่างเปิดเผย

5 ประเด็นการพูดคุยของคนไทยที่ขับเคลื่อนเกี่ยวกับ LGBTQIA+ มีดังนี้

1. สร้างการตระหนักรู้

คนไทยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชาว LGBTQIA+ นอกเหนือจาก #PrideMonth แล้ว คนไทยยังมีความพยายามสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับชุมชนนี้และเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ผู้คนเข้ามาบนทวิตเตอร์เพื่อเชื่อมต่อและพูดคุยกันแบบเปิดใจ ทุกวันนี้พวกเขากำลังพยายามที่จะก้าวข้ามอดีตและหวังที่จะทำให้การพูดคุยของพวกเขากลายเป็นเรื่องราวปกติเหมือนกับคนอื่นๆ

2. การให้ความรู้กับคนในชุมชน

Twitter เป็นสถานที่ในการเข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ทั้งการพูดคุยในเรื่องของความหมายของคำศัพท์ยอดฮิตและวิธีการใช้คำศัพท์ซึ่งเป็นการช่วยให้ความรู้กับผู้คนในชุมชนทวิตเตอร์ในวงกว้าง การพูดคุยที่เกี่ยวกับการเคารพในเพศสภาพของผู้อื่นและการพูดคุยกันในเชิงลึกถึงเรื่องของการแบ่งแยกเพศในสังคมไทยเป็นเพียงเรื่องหนึ่ง
ในหลาย ๆ หัวข้อสำคัญที่คนไทยมักจะหยิบยกมาพูดคุยกันอยู่เสมอบนทวิตเตอร์

3. การออกมาเรียกร้องสิทธิ

การพูดคุยบนทวิตเตอร์เกี่ยวกับประเด็นการเรียกร้องให้การสมรสของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายและเรื่องความเท่าเทียม ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะในช่วง #PrideMonth เท่านั้น แต่ประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญต่อใครหลายๆ คนและเป็นหัวข้อที่มีการพูดคุยและเรียกร้องอย่างต่อเนื่องจากผู้คนที่ต้องการที่จะขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใน
เชิงบวกตลอดทั้งปี

4. แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว

https://twitter.com/melon1ps/status/1533780237934219265

ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ที่คนไทยเข้ามาเปิดใจพูดคุยถึงเกี่ยวกับเพศสภาพของตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมา เป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยในทุกเรื่องและรอบด้าน และมีคนพร้อมที่จะรับฟังเสมอ คนไทยมักแบ่งปันประสบการณ์บนทวิตเตอร์ถึงการเปิดเผยเพศสภาพของตัวเองกับคนในครอบครัว และเพื่อน ๆ

ตลอดจนปฏิกิริยาที่พวกเขาได้รับหลังจากที่ได้พูดออกไป ในทางกลับกัน การพูดคุยเหล่านั้นกำลังทำหน้าที่ช่วยเหลือและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นในชุมชนให้เกิดความรู้สึกซื่อสัตย์กับเพศสภาพของตัวเอง และกล้าที่จะบอกความจริงกับคนที่ใกล้ชิดกับพวกเขาที่สุด

5. การสนับสนุนซึ่งกันและกันในชุมชน

https://twitter.com/babybearwaldorf/status/1310083349227204608

ผู้คนจากทุกสาขาอาชีพต่างก็เข้ามาร่วมวงในการพูดคุยเหล่านี้และแบ่งปันเรื่องราวทั้งด้านดีและร้าย ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ ๆ ให้การยอมรับถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของคนในชุมชน ให้คำแนะนำรวมถึงให้ความสนับสนุนกันและกัน ทวิตเตอร์จึงกลายเป็นสถานที่ที่ช่วยให้กำลังใจแบบเรียลไทม์ของใครหลายๆ คน 

ควบคุมประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์ด้วยตัวคุณเอง

จุดประสงค์ของทวิตเตอร์คือการให้บริการการพูดคุยสาธารณะ และข้อบังคับของทวิตเตอร์สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพูดคุยสาธารณะได้โดยปราศจากพฤติกรรมที่จะขัดขวางไม่ให้ผู้คนแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง อาทิ นโยบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงถึงความเกลียดชังที่ไม่อนุญาตให้ผู้คนส่งเสริมความรุนแรง โจมตีกันโดยตรง หรือข่มเหงผู้อื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ เพศ อัตลักษณ์ทางเพศและอื่นๆ 

ไม่นานมานี้ ทวิตเตอร์ได้เปิดตัวการรายงานการละเมิดข้อบังคับของทวิตเตอร์แบบใหม่ที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถรายงานเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและไม่พึงประสงค์ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ได้ทำการทดสอบระบบในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี
ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนของรายงานที่สามารถดำเนินการได้เพิ่มขึ้นกว่า 50%

ซึ่งทีมงานของทวิตเตอร์มีความตั้งใจในการเข้าถึงผู้คนในกลุ่มผู้หญิง กลุ่มคนผิวสี และผู้คนจากชุมชน LGBTQIA+ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวิจัยและในทุกกระบวนการของการออกแบบระบบการรายงานแบบใหม่ในครั้งนี้

ตัวอย่างของวิธีอันหลากหลายในการควบคุมประสบการณ์การใช้งานทวิตเตอร์ มีดังนี้

  • ตั้งค่าบทการพูดคุย โดยเลือกได้ว่าจะให้ใครสามารถตอบกลับทวีตของคุณได้บ้าง เพื่อให้คุณเข้าไปมีส่วนร่วม
    ในการพูดคุยที่มีความหมายได้มากขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการตอบกลับที่ไม่พึงปรารถนา
  • ซ่อนข้อความตอบกลับ ที่คุณรู้สึกว่าเป็นการตอบที่ออกนอกประเด็น เป็นสแปม หรือเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการพูดคุยของคุณได้ 
  • ซ่อนคำ ประโยค ชื่อผู้ใช้งาน อีโมจิ และแฮชแท็กที่อาจจะเป็นการทำร้ายจิตใจและอาจจะก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่สะดวกใจในการใช้ทวิตเตอร์
  • ฟีเจอร์การบล็อคแอคเคาท์ จะช่วยจำกัดบางแอคเคาท์ไม่สามารถติดต่อกับบุคคลใดๆ ช่วยป้องกันไม่ให้เห็นทวีตและเป็นผู้ติดตามได้

ในเดือนมิถุนายนนี้ ผู้คนได้มาร่วมกันเฉลิมฉลองพาเหรด #PrideMonth ทั่วทั้งภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นการไปร่วมงานด้วยตัวเองหรือผ่านออนไลน์ แต่อย่าลืมว่าการสนับสนุนชุมชน LGBTQIA+ นั้นเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ เดือน ไม่เฉพาะแค่เดือนมิถุนายนเท่านั้น

1 ข้อมูลจาก Brandwatch, ทวีตทั่วโลก 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2564 เปรียบเทียบกับ 1 ม.ค. -31 พ.ค. 2565
2 ข้อมูลจาก การเติบโตของบทสนทนา เปรียบเทียบระหว่าง ม.ค. 2563- ม.ค. 2564 กับ ก.ค. 2561 – ธ.ค. 2562. รายงาน Circus Social เพื่อทวิตเตอร์ บทสนทนาเทรนด์ทวิตเตอร์ ข้อมูลจาก Brandwatch ก.ค. 2561 – มิ.ย. 2564

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน