อยากขึ้นหน้าฟีดต้องรู้! TikTok Algorithm 2022 ทำงานอย่างไร?

อยากขึ้นหน้าฟีดต้องรู้! TikTok Algorithm 2022 ทำงานอย่างไร?

อยากขึ้นหน้าฟีดต้องรู้! TikTok Algorithm 2022 ทำงานอย่างไร?

จากสถิติการใช้งาน TikTok  มีจำนวนผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 240 ล้านคนต่อเดือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้ทั่วโลก  ซึ่ง TikTok ยังครองความเป็นอันดับ 1 ของการเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วงสองปีที่ผ่านมาอีกด้วยค่ะ นักการตลาดหลาย ๆ คนเองก็คงได้ลุยแพลตฟอร์มนี้กันไม่น้อยแน่นอนเลย 

รวมทั้งคนที่ส่องแพลตฟอร์มนี้อยู่แต่ยังไม่มั่นใจนัก นุ่นเลยขอมาแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยว TikTok Algorithm ในบทความนี้ค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นไปพร้อมกันนะคะว่า TikTok Algorithm คือระบบแนะนำและนำเสนอวิดีโอที่จะเล่นบนหน้า For You ของผู้ใช้งาน นักการตลาดลองกดเข้า TikTok แล้วสังเกตคลิปที่โชว์บนหน้าฟีดได้เลยค่ะ นั่นแหละคือสิ่งที่อัลกอริทึมจับให้

มี Content แบบไหนบ้างที่ไม่รวมอยู่ในอัลกอริทึม TikTok

ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจการทำงานง่าย ๆ ของอัลกอริทึม เรามาดูกันก่อนว่ามี Content แบบไหนบ้างที่นักการตลาดควรเว้นระยะห่าง หรือเลี่ยงถ้าทำได้เพราะจะทำให้ถูกปิดกั้น อีกทั้งยังไม่ช่วยให้อัลกอริทึมจับ Content ไปขึ้นฟีดของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มค่ะ

หรือที่เห็นกันบ่อยที่ Creator ใส่ #อย่าปิดกั้นการมองเห็น #ขึ้นฟีดเถอะ นุ่นคิดว่าอาจจะช่วยได้ไม่ 100% ยังไงลองเปลี่ยนมาไม่อัปคอนเทนต์ตามนี้กันนะคะ :

  • Content ที่ถูกอัปซ้ำ หรือ Duplicated content 
  • Content ที่เคยไถเจอไปแล้วก่อนหน้า
  • Content ที่อัลกอริทึมตั้งค่าสถานะเป็น spam เช่นเห็นเลือด มีด เป็นต้นค่ะ
  • Content ที่ขัดต่อกฏชุมชนการใช้ TikTok

Content เหล่านี้จะเสี่ยงถูกปิดการมองเห็น และทำให้ อัลกอริทึม TikTok ไม่จับขึ้นฟีด

แต่ก็มีข่าวดีสำหรับใครที่กังวลว่าคลิปจะไม่ขึ้นฟีดเพราะมี Follower ไม่เยอะด้วย เพราะ TikTok ไม่ได้อ้างอิงตามจำนวนผู้ติดตามหรือคอนเทนต์เก่า ๆ ที่ได้ Engagement สูง ๆ มาก่อนค่ะ แม้ว่าแอคเคาท์ที่มีผู้ติดตามเยอะจะมีโอกาสสร้าง Engage มากกว่า แต่ก็อย่างที่เห็นว่าการเติบโตของ TikTok สามารถพุ่งเป็นอันดับต้น ๆ ได้ขนาดนี้เพราะให้โอกาสคลิปที่สร้างสรรค์ใหม่ ๆ พร้อมเทรนด์ล่าสุดเสมอ นุ่นเชื่อว่านักการตลาดน่าจะลองผลิตคอนเทนต์ดูก่อน เหมือนกับหลายแบรนด์ออนไลน์ที่สามารถสร้างยอดขายพันล้านผ่าน TikTok ได้ค่ะ

เพื่อเป็นไกด์ให้นักการนักการตลาดและนักผลิตคอนเทนต์เรามาเริ่มประเด็นสำคัญว่าจะทำให้ยังไงให้ TikTok Algorithm จับเราดีล่ะ มีตัวช่วยอะไรที่ยังไม่เคยปรับไหม มาเช็กไปพร้อมกันนะคะ

วิเคราะห์ TikTok Algorithm ว่าทำงานอย่างไร?

อย่างที่ทราบกันดีว่า Social Media Platform มักเก็บความลับเกี่ยวกับอัลกอริทึมไว้อยู่แล้ว แต่ก็สามารถวิเคราะห์ได้เบื้องต้นจากสถิติ และบทความจาก TikTok ที่ทีมงาน TikTok เป็นคนเขียนเองค่ะ

ฟีด For You บน TikTok แต่ละ user จะได้เห็นคอนเทนต์ไม่ซ้ำกัน เรียงลำดับไม่เหมือนกันค่ะ จะแสดงผลตามความสนใจและไม่สนใจของผู้ใช้งาน เช่นการกดไลค์ คอมเมนต์ติดตาม หรือรับชมบ่อย ๆ เสิร์ช รวมทั้งคอนเทนต์ที่เรากด ‘ไม่สนใจ’ สามารถสรุปได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ดังนี้ :

1. User interactions : อัลกอริทึม TikTok ทำงานคล้าย อัลกอริธึม Instagram ในด้านการอ้างอิงจากการโต้ตอบของผู้ใช้กับ Content ในแอปที่แสดงถึงความชอบ ติดตาม และไม่สนใจค่ะ เช่น :

  • Account ที่ติดตาม
  • Comment ที่เคยโพสต์พูดคุยกับ creators
  • Video content ที่กดไลค์หรือแชร์
  • Video content ที่เพิ่มเป็น “favorites”
  • Video content ที่คุณดูจนจบ หรือดูวนหลายรอบ
  • Account ที่คุณ hide หรือ block ไว้
  • Video content ที่กด “not interested”
  • Video content ที่กด “report”

2. Video information : อัลกอริทึม TikTok จะพยายามทำความเข้าใจว่า Video Content นี้เกี่ยวกับอะไรเบื้องต้นค่ะ นักการตลาดสามารถตั้งค่าข้อมูลเหล่านี้ให้สอดคล้องกับการทำงานของน้องอัลกอริทึมได้ :

  • Captions
  • Sounds เพลงฮิตบน TikTok
  • Hashtags
  • Effects 
  • Trending topics อื่น ๆ

3. Device and account settings Algorithm คือการทำงานที่เป็นแบบระบบ ดังนั้นเราควรตั้งค่าให้น้องเรียนรู้และเข้าใจตัวเราเบื้องต้นก่อน โดยการตั้งค่าที่ TikTok เพื่อให้แน่ใจว่าระบบได้รับการปรับให้เหมาะสมได้จริง ดังนี้ :

  • การตั้งค่าภาษา
  • การตั้งค่าประเทศที่ตั้ง 
  • ประเภทอุปกรณ์
  • หมวดหมู่ความสนใจ จากการตั้งค่าก่อนใช้งานครั้งแรก


นี้คือทั้งหมดที่นุ่นอยากนำมาแชร์นักการตลาดในวันนี้ค่ะ ถ้าอยากให้ Video Content ขึ้นหน้าฟีด For You ต้องรู้เกี่ยวกับ TikTok Algorithm 2022 เบื้องต้น และได้เข้าใจบทความวิเคราะห์ว่าน้องทำงานอย่างไร จะได้นำไปปรับให้คอนเทนต์ปังบนแพลตฟอร์มนี้ไม่ยากค่ะ ในบทความหน้านุ่นจะเอาเคล็ดลับเอาใจ TikTok Algorithm ฉบับล่าสุดมาฝากเพิ่มเติมอีก อย่าลืมติดตามเพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง เว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนไว้ได้เลยนะคะ

source

source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่