เทคนิคการทำ Tiktok Marketing ด้วย 5 กลยุทธ์จากแบรนด์และ Content Creator

เทคนิคการทำ Tiktok Marketing ด้วย  5 กลยุทธ์จากแบรนด์และ Content Creator
tiktok user growth 2022
Cr.sproutsocial.com

เรียกได้ว่า Tiktok ในตอนนี้เป็นหนึ่งใน Mainstream Platform ที่มีจำนวน User เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลยครับ ตั้งแต่ปี 2018 ด้วยจุดแข็งที่มีการใช้คอนเทนต์แบบ Short-Video ที่ทำให้การสื่อสารค่อนข้างครบรส ที่ดูสนุกและให้ความบันเทิงกับเราได้อย่างดีเลย ซึ่งสิ่งนี้เองก็ทำให้ Tiktok กลายเป็นช่องทางที่หลายแบรนด์มองสำหรับการสร้างโอกาสในการทำการตลาดด้วย วันนี้ผมเลยมี 5 กลยุทธ์ในการทำ Tiktok Marketing ที่ Crack ได้จาก Contentn Creator ใน Tiktok มาเล่าให้ฟังกันครับ

5 เทคนิคในการทำ Tiktok Marketing Strategy

1.ความสม่ำเสมอในการลงคอนเทนต์

Poppi Cider Soda
Cr.Popi

Poppi แบรนด์เครื่องดื่ม Cider Soda เป็นแบรนด์ที่เริ่มต้นการทำการตลาดและมีการเติบโตของธุรกิจมาจากการทำ Tiktok เป็นหลัก โดยมีคุณ Poppi เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น ทั้งในฐานะ Founder และ Content Creator

แบรนด์ Poppi มีวิดีโอที่มียอดวิวใน Tiktok สูงถึง 29.8 ล้านวิว แบบ Organic ซึ่งถือว่าเป็นวิดีโอที่มีความ Viral สูงพอสมควรในฐานะแบรนด์

เบื้องหลังของความสำเร็จนั้นทางแบรนด์ได้ออกมาเผยเคล็ดลับของการ Viral และเติบโตอย่าง Organic คือ การมีคอนเทนต์ที่น่าสนใจเข้าถึงง่าย และการลงคอนเทนต์ที่สม่ำเสมอ

โดยในส่วนของคอนเทนต์ ทางแบรนด์มีการสื่อสารเนื้อหาที่ค่อนไปทางการพูดถึงตัวสินค้า กระบวนการผลิต รวมไปถึงการแนะนำ หรือการให้คำใบ้รสชาติใหม่ๆที่กำลังจะออกมาวางขาย ที่ให้ลูกค้าได้รู้จักและใกล้ชิดกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

และในส่วนของการลงคอนเทนต์ที่สม่ำเสมอ เริ่มต้นจากทางแบรนด์ได้มีการ Research และพบว่าความถี่ในการลงคอนเทนต์ของแบรนด์คู่แข่งโดยเฉลี่ยประมาณ 0.79 ต่อวัน หมายความว่ามีการลงคอนเทนต์อย่างน้อย 6-7 ครั้งต่อสัปดาห์ ทาง Poppi จึงมีการลงคอนเทนต์ที่มากกว่าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.2 ครั้งต่อวัน

ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้แบรนด์มีโอกาสถูกมองเห็นได้มากกว่าแบรนด์คู่แข่ง เพราะมีจำนวนคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและยังมีปริมาณที่มากกว่า ส่งผลให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในการสร้าง Awareness และ Engagement ได้อย่างดีเลยครับ

2.การสร้างความบันเทิง

ยกตัวอย่างกรณีของ Duolingo แอพพลิเคชั่นสอนภาษาที่ถือเป็น แบรนด์ครีเอเตอร์ที่ใช้ Tiktok เป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าเป็นอันดับต้นๆของ Platform ที่มีกระแสตอบรับจากลูกค้าและผู้ชมที่ค่อนข้างดี

ด้วยเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่มีนกฮูกตัวสีเขียวมาสคอตประจำแบรนด์ ทำอะไรตลกๆสนุกๆ ผ่านการเล่นมุขเกี่ยวกับการใช้ภาษาหรือการสื่อสาร รวมไปถึงคอนเทนต์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนั้น ด้วยคอนเทนต์แนวนี้ทำให้แบรนด์มียอดวิวเฉลี่ยต่อคลิปอยู่หลักล้านวิวเลยทีเดียวครับ ถือว่าเยอะมากๆเลยครับ

จากภาพด้านบน ผมใช้ Similarweb เข้าไปดู Traffic การเข้า Website ของ Duolingo ดูครับ ก็พบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปในหน้าเว็ปเป็นกลุ่มอายุ 18-24 ปี มากที่สุดถึง 30.15 % รองลองมาเป็นกลุ่ม 25-34 ปี ที่ 29.47%

ถือว่าการทำ Duoling ลงมาทำการตลาดใน Tiktok ก็ถือเป็นการสร้าง Awareness และ Engagement ที่จะนำไปสู่โอกาสในการใช้บริการได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายครับ ในการตีตลาดกลุ่ม Gen Z เพราะจากข้อมูลที่ผมเคยได้อ่านมากว่า 65% ของกลุ่ม Gen Z เล่น Social Media เพื่อความบันเทิงเป็นหลักครับ

ซึ่งผมมองว่า การสร้างความบันเทิงนี้ เป็นส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของ Tiktok เลยก็ว่าได้ครับ คนส่วนใหญ่ที่เล่น Tiktok กันคือ การต้องการความบันเทิงกันอยู่แล้วและเป็นสิ่งที่Tiktok ต้องการผลักดันและนำเสนอตัวเองในรูปแบบนี้ด้วยครับ

ดังนั้นหากเนื้อหาของแบรนด์เราสามาถให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าได้ จุดนี้จะเป็นจุดแข็งหนึ่งที่ดึงดูดให้ลูกค้ามา Engagement กับเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ

3.การสร้างความเฉพาะเจาะจงของคอนเทนต์

คุณ Emma Chieppor หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Excel Dictionary บน TikTok เป็นหนึ่งใน Content Creator ที่แชร์เคล็ดลับสำหรับการใช้ Excel แบบง่ายๆ ที่มีผู้ติดตามสูงถึง 2.1 ล้านคน

โดยเนื้อหาของ Excel Dictionary จะเน้นไปในการแชร์ Tips หรือเทคนิคการใช้ Excel ที่เราอาจไม่เคยรู้ หรือเป็นการจำลองสถานการณ์ Excel สามารถแก้ไขปัญหาให้เราได้อย่าง Professional โดยเราสามารถดูคอนเทนต์ของเธอได้จากแฮชแท๊ก #ExcelTips ที่มียอดคนดูกว่า 646 ล้านวิว

ความเฉพาะตัวของคุณ Emma บ่งบอกกับกลุ่มคนให้สามารถคาดหวังในสิ่งที่เธอกำลังนำเสนอได้หากเข้ามาใน Tiktok ของเธอ จนกลายเป็น Top of mind ของคนใน Tiktok หากต้องการความรู้ใหม่ๆ หรือ การใช้ Excel ที่ถูกต้อง

จุดนี้สะท้อนให้เห็นว่า Tiktok ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Platform การให้ความบันเทิงในรูปแบบกว้างๆอย่างเดียว ในมุมของการทำธุรกิจหรือแบรนด์ก็สามารถสร้างความสนใจเฉพาะกลุ่มให้มาเป็นฐานลูกค้าของตัวเองได้เช่นกัน เพียงแค่ปรับให้การสื่อสารของแบรนด์ตรงกับลักษณะที่ตอบโจทย์พฤติกรรมการเสพคอนเทนต์บน Tiktok ของกลุ่มเป้าหมายครับ

ซึ่งหากเราสามารถทำตรงจุดนี้ได้ การสื่อสารของแบรนด์จะมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมีฐานแฟนคลับที่เป็นผู้ติดตาม ที่เป็นเครดิต และยอด Engagement ของเราแล้ว ความนิยมในความเฉพาะเจาะจงในคอนเทนต์ของเราจะนำพาคนที่มีความต้องการในคอนเทนต์แบบเดียวกันกลุ่มใหม่เพิ่มเข้ามาด้วยครับ

อย่างไรก็ตามการใช้เทคนิคนี้ในการทำกลยุทธ์ คุณจะต้องมีความเข้าใจในแบรนด์และแนวทางของแบรนด์ที่ชัดเจนเพื่อสื่อสารแก่นหลักที่แบรนด์ต้องการสร้าง Perception ให้กลุ่มคนดูได้อย่างชัดเจนก่อน จึงจะสามารถสร้างความเข้าใจและการรับรู้ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดที่จะนึกถึงเราครับ

4.การให้ความรู้แก่ผู้ชม

‘บน Tiktok มีคนที่ดูวิดีโอใน #HowTo มากกว่า 52 พันล้านครั้ง รวมไปถึง #TipsAndTricks อีกกว่า 16 พันล้านครั้ง’

จากข้อมูลด้านบนสะท้อนให้เราเห็นว่า มีผู้ใช้งาน Tiktok สำหรับการหาความรู้และสิ่งใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆในชีวิตของตัวเองให้ง่ายและดีขึ้นด้วย โดยเราจะเห็นได้ชัดเจนจาก เทคนิคข้อที่ 3

แต่ผมอาจจะขอขยายความเพื่อเติมว่า เราอาจไม่จำเป็นจะต้องให้ความรู้เฉพาะกับสินค้าและบริการของเราเพียงอย่างเดียวก็ได้นะครับ ให้ในเรื่องที่ใกล้เคียงเรื่องเป็น Genre เดียวกันกับที่สินค้าของเรากำลังแก้ปัญหาอยู่ก็ได้นะครับ

ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ขาย wax กำจัดขนที่ปราศจากสารอันตรายอย่าง Sugardoh โดยการใช้ wax ของ Sugardoh นั้น ลักษณะพิเศษที่จำเป็นจะต้องมีทักษะในการใช้งานในระดับของร้านเสริมสวย ถึงจะสามารถใช้สินค้าได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สิ่งที่แบรนด์ทำจึงไม่ใช่เพียงแค่นำเสนอสินค้าของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขน ตั้งแต่วิธีการแบบทั่วไปและการใช้ Sugardoh ให้สามารถกำจัดขนเองได้ที่บ้าน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าและผู้ชมมีความรู้และทักษะมากพอที่จะสามารถใช้สินค้าของแบรนด์ได้เองที่บ้าน

ผมมองว่า การให้ความรู้แก่ลูกค้า หรือ ผู้ชม ของแบรนด์มีส่วนช่วยในการสร้าง Brand Awareness และการดึดดูดให้มีคนเข้ามา Engage กับแบรนด์ได้ง่ายขึ้นมาก เพราะการไม่เข้าไปนำเสนอสินค้าโดยตรงจะทำให้คนที่เข้ามาไม่มี Bias หรือ ข้อกังขา ในสินค้า แต่จะเป็นการค่อยๆทำความเข้าใจสินค้าผ่านการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแทน

นอกเหนือจากนี้ ผมมองว่านอกจากจะเป็นการดึงคนให้มารู้จักช่องทางของเราแล้ว ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาที่ลูกค้าเจอ รวมไปถึงความเป็นมืออาชีพในเรื่องนี้ของแบรนด์ด้วยครับ ผมคิดว่าสิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ได้อย่างดีเลยครับ

5.การมีความเป็นมนุษย์

ส่วนนี้จะค่อนไปที่เรื่องของการสื่อสารเป็นหลักนะครับ หลายครั้งที่แบรนด์มักจะชอบสื่อสารด้วยหมวกของความเป็นแบรนด์ จนบางครั้งทำให้มิติของการสื่อสารเป็นไปในทางเดียวจนเกินไป ไม่ค่อยมีมิติเหมือนกับเวลามนุษย์ใช้สื่อสารกันและกัน ที่จะมีมุมมอง ทัศนคติ ความคิดเห็น ตามประสบการณ์ของตนเองที่สะท้อนออกมาเป็นวิธีสื่อสารเฉพาะ

หากแบรนด์ต้องการที่จะเชื่อมโยงตัวเองให้เข้าถึงมนุษย์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น จำเป็นที่จะต้องมีมิติในการสื่อสารให้มีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นแบรนด์ที่เป็นตัวแทนการสื่อสารที่มีมิติก็ได้ครับ

เราสามารถนำคนจริงๆที่คล้ายกับแบรนด์ หรือ คนที่สัมผัสกับแบรนด์โดยตรงมาพูดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเพื่อเชื่อมโยงกับลูกค้าของเราก็ได้ครับ

ผมจะขอยกตัวอย่างกรณีของ Schuler Books ร้านหนังสืออิสระในรัฐมิชิแกนประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำคอนเทนต์ใน Tiktok โดยการทำวิดีโอให้คนที่เข้ามาในร้านหนังสือเป็นคนแนะนำหนังสือภายในร้านที่พวกเขากำลังถือ หรือ กำลังสนใจอยู่ ว่าหนังสือเล่มนั้นๆเป็นอย่างไร น่าอ่านหรือไม่ เขามีมุมมองต่อหนังสือเล่มนี้อย่างไร

วิธีการนี้ทำให้ 1 ในวิดีโอของ Schuler Books มียอดวิวถึง 16.4 ล้านและยอดไลค์ราว 3.6 ล้าน ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ ในคอนเทนต์สินค้าประเภทหนังสือ นอกจากนี้กลยุทธ์นี้ยังทำให้เกิดแฮชแท็ก #BookTok ที่เป็น Online Comunity ของคนเล่น Tiktok ไว้สำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสืออีกด้วย

นอกเหนือจากนี้ Schuler Books มีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการทำ Landing page ของร้าน มีการทำหมวดหมวด Tiktok Books ที่เป็นหนังสือที่ถูกพูดถึงใน Tiktok ขึ้นมาด้วย โดยในหน้าข้อมูลของหนังสือในเล่มนั้นๆ จะมีการนำคำพูด หรือ รีวิวจากคลิป Tiktok มาทำเป็น Customer Review เอาไว้ด้วยครับ

หากใครสนใจก็ลองเข้าไปคลิกดู Website ของทางร้านได้นะครับ

บทสรุป

เดี๋ยวนี้ Social Media Platform หรือ Digital Touchpoint ที่สามารถทำการตลาดได้มีอยู่มากมายเลยครับ โดยแต่ละ Platform ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กลุ่ม User และพฤติกรรมของกลุ่ม User ที่แตกต่างกันของไป

ซึ่งในการทำการตลาดในแต่ละ Platform ก็มีแก่นในการทำการตลาดที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือ ความเข้าใจในแบรนด์ของตัวเอง, ความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย, เป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการสื่อสาร, กลยุทธ์ของการสื่อสาร และเนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสาร

ผมมองว่า Tiktok เปรียบเหมือน 1 ในหลาย Social Media Platform ที่เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ๆที่น่าสนใจ ด้วยเอกลักษณ์ของการนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบ Short-Video ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเนื้อหานั้นต้องเข้าใจง่าย ชัดเจน และค่อนข้างกระชับ ชวนให้อยากมีส่วนร่วม

รวมไปถึงพฤติกรรมของกลุ่ม User ใน Platform ที่สนใจเรื่องของ Entertainment ที่เบาสมองก็ได้ เนื้อหาจริงจังหนักสมองก็มี เพียงแต่ ณ ปัจจุบันยังค่อนข้างหนักไปทางกลุ่มคน Gen Y,Z

ดังนั้นการทำ Tiktok Marketing จึงมีจุดที่อาจจะมีความแตกต่างจากเพื่อนอยู่บ้างในเชิง Context, Content Format และ Execution ที่เราอาจต้องทำการบ้านเพิ่มเติมหากเราต้องทำการตลาดใน Platform นี้ครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ 🙂

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการทำ การตลาดTiktok ของการตลาดวันละตอนได้ที่ คลิก

Ref.

Watcharapon Kittipodpong

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่