TikTok Algorithm รู้ไว้ก่อนทำแคมเปญ สร้าง Challenge

TikTok Algorithm  รู้ไว้ก่อนทำแคมเปญ สร้าง Challenge

ชั่วโมงนี้ หันไปทางไหนก็เจอแต่คนเล่น TikTok ถึงแม้เราจะไปอยู่บนแพลตฟอร์มอื่นก็แล้ว คลิปสั้นจาก TikTok ก็ยังโผล่เข้ามาใน Instagram Facebook Twitter และอื่นๆ อยู่ดี ทำให้นักการตลาดหลายๆ คนเล็งจะทำแคมเปญ Challenge ต่างๆ บนติ๊กต่อกกันเป็นจำนวนมาก วันนี้เพลินเลยจะมาแชร์เรื่อง TikTok Algorithm ให้ฟังกันก่อน ว่าเจ้าระบบหลังบ้านของแอปเค้าทำงานยังไง จะได้อุดรูรั่ว เพิ่มยอดกระแสความฮิตได้ถูกค่ะ

ก่อนอื่นถ้าคุณคิดว่า TikTok นั้นทำงานแบบ Personalization ถูกต้องแล้วค่ะ เพราะติ๊กต่อกเค้าใช้ AI และ Machine Learning ในการคัดเลือกวิดิโอต่างๆ ว่าคลิปไหนควรค่าแก่การดันให้คนเห็นเพิ่มขึ้น ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติของ Social Media Algorithm อยู่แล้ว งั้นเราไปดูในส่วนอื่นๆ ที่ทาง Analisa.io ของรวบรวมมาไว้แล้วค่ะ เนื่องจาก TikTok เป็น Social เจ้าที่เรียกได้ว่า เก็บข้อมูลแบบสุดๆ ไม่ให้ใครรู้เลยก็ว่าได้ Algorithm ทั้งหมด 7 ข้อนี้ จึงได้มาจากการทดลองของนักการตลาดทั้งหลายจากต่างประเทศค่ะ

1. ถ้าเรทการดูจบคลิปสูง คลิปจะถูกดันเพิ่ม (Completion Rate)

คลิปจะถูกดันให้คนเห็นเพิ่มขึ้นๆ ไป หากมีอัตรา Completion Rate หรือการดูจนจบคลิปสูง เพราะติ๊กต่อกจะถือว่าเนี่ยแหละคลิปที่มีคุณภาพค่ะ มากกว่าคลิปที่มียอด Likes เยอะๆ แต่มีเรทการดูจนจบต่ำค่ะ

เพราะฉะนั้นหากอยากให้แคมเปญของคุณฮิตละก็ ต้องพยายามทำให้ Challenge หรือคลิปของคุณน่าดูเข้าไว้ เพราะถ้าคนเบื่อเมื่อไร เค้าพร้อมปัดขึ้นได้ภายในเสี้ยววิ นอกจากนั้นการใช้ TikTok Influencers ก็ต้องเลือกคนที่ทำ Content สนุกๆ มี Creativity เยอะๆ เพราะคนแบบนี้จะได้ Completion Rate เยอะกว่า คนที่อาจจะหน้าตาดี แต่ Content ธรรมดาค่ะ

2. ถ้าเรทการดูซ้ำสูง คลิปจะถูกดันเพิ่ม (Rewatches)

ต้องบอกว่าคลิปส่วนมากบนติ๊กต่อกค่อนข้างเป็นเนื้อหาเชิง Creativity ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการเต้น ท่าใหม่ๆ หรือว่าจะเป็นการลอกเลียนอะไรตลกๆ ทำให้บางครั้งคนอยากจะดูซ้ำแล้วซ้ำอีก และการดูซ้ำเนี่ยแหละค่ะ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดของติ๊กต่อกว่าวิดีโอไหนควรโดน Push ให้คนเห็นเพิ่ม

เพราะฉะนั้นหากคุณอยากสร้าง Buzz บนติ๊กต่อก อย่าลืมทำ Content ที่ทำให้คนรู้สึกว้าว รู้สึกสนุก หรือแม้กระทั่งการทำให้คนรู้สึกสงสัยในครั้งแรกที่ดู จนต้องดูอีกหลายๆ ครั้งเพื่อคลายความสงสัยนั้นทิ้งไป นอกจากนี้การทำวิดีโอที่ hint ให้คนสงสัยยังสามารถเพิ่มเรทการ Comment ได้ด้วย เพราะคนที่รู้คำตอบแล้ว มักจะชอบ Comment ทิ้งไว้อย่างภูมิใจ

3. ยิ่งได้แชร์เยอะ คลิปยิ่งถูกดันสูงขึ้น (Shares)

เหมือนกับ Social Media Platform อื่นๆ เลยค่ะ ถ้ายอดแชร์ดี ระบบหลังบ้านของติ๊กต่อกก็จะพร้อมดันคลิปของคุณให้คน Discover มากขึ้น ซึ่งเหมือนอย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าติ๊กต่อกนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องแชร์ มากกว่ายอด Like และ Comment 

4. ยิ่ง Clip/Sound ถูกเซฟเป็น Favorite ยิ่งเพิ่มการตอกย้ำของแบรนด์

หากใครกำลังทำแคมเปญบนติ๊กต่อกบอกเลยว่าถ้า Clip/Sound ของคุณถูกเซฟเป็น Favorite นั่นหมายถึงมันจะช่วยเพิ่มอัตราการตอกย้ำของแบรนด์ให้กับคนที่เซฟไว้ นั่นก็เพราะ Algorithm ของติ๊กต่อกจะยิ่งแสดงผลคลิปในแคมเปญที่ใช้ Sound เดียวกันมากขึ้น ทำให้คนเห็นแบรนด์ของคุณซ้ำๆ ผ่านคลิปของ Creator คนอื่นๆ จนจำได้

เพราะฉะนั้นหากคุณกำลังทำแคมเปญบนติ๊กต่อก ข้อควรระวังก็คือการ Duplicate ของ Original Sound ที่อาจถูกอัปโหลดใหม่โดย User คนอื่นๆ ค่ะ

5. ใช้ Hashtag และ Sound ที่ดังอยู่แล้วจะโตได้เร็วกว่า

การใช้ Sound หรือติด Hashtag ที่ขึ้นเทรนด์อยู่แล้วจะสามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงของคนได้เร็วกว่าการสร้างOriginal Content ใหม่ เนื่องจาก Algorithm ของติ๊กต่อกมีการตรวจสอบเพลงและ Hashtag ฮิตยอดนิยมอยู่ตลอด ทำให้คลิปใหม่ที่ใช้ Hashtag หรือเพลงดัง สามารถโตได้ไวกว่า 

เพราะฉะนั้นหากกำลังทำแคมเปญใหม่แบบ Originalเห็นทีจะต้องเริ่มจากการใช้ดาวติ๊กต่อกหลายๆ คนในการสร้างกระแสให้ Hashtag หรือ Sound เกิดก่อนในช่วงแรกค่ะ 

6. การ Tag Location สามารถจำกัดการเห็น ได้แบบ  Specific มากขึ้น

จากการทดลองพบว่าการติด Tag Location เข้าไปในคลิปบนติ๊กต่อกนั้น จะทำให้คลิปแสดงผลกับคนใน Location เดียวกันเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อดีกับธุรกิจขนาดเล็ก–กลางที่ต้องการสื่อสารกับคนในระดับ Local เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากคนระดับ Local ได้ชมและเกิด Feedback ที่ดี คลิปของคุณจะถูกดันในวงกว้างมากขึ้นค่ะ

7. ยอด Like และยอด Comment ช่วยเรื่อง Visibility แต่ไม่ช่วยเพิ่ม Engagement 

อย่างที่บอกว่ายอด Like และยอด Comment บนติ๊กต่อกนั้นให้ค่าค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับ Metrics วัดค่าอื่นๆ ข้างต้นที่เพลินกล่าวมาแล้วค่ะ เพราะการที่คุณได้ยอด Like และยอด Comment สูงๆ ติ๊กต่อกอาจช่วยดันเพียงให้คลิปของคุณนั้นถูกเห็นในวงกว้างขึ้น แต่คลิปของคุณจะไม่ถูกเห็นโดยคนที่มัก Engage กับคลิปอื่นๆ บนติ๊กต่อก เพราะถ้าคุณอยากได้ Engagement เพิ่ม คลิปจากแคมเปญของคุณจะต้องตอบโจทย์ Algorithm ที่เพลินเล่าให้ฟังข้างบนแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็น เรทการดูจบสูงๆ การถูกดูซ้ำบ่อยๆ หรือแม้กระทั่งการถูกเซฟโพสต์เป็นต้น 

ทั้งหมดนี้ก็คือ TikTok Algorithm ที่เพลินสรุปมาให้ค่ะ อย่าลืมว่า ยังไม่มีการประกาศถึงระบบหลังบ้านของติ๊กต่อกอย่างเป็นทางการ และทั้งหมดนี้เป็นเพียงการทดสอบการใช้งานบนแพลตฟอร์มของติ๊กต่อกที่ทาง analisa.io รวมมาไว้แล้วเท่านั้น ยังไงก็ลองปรับใช้งานในแคมเปญบนติ๊กต่อกครั้งหน้าของคุณดูนะคะ

ใครที่สนใจอยากอ่านเกี่ยวกับ Idea การทำ TikTok Marketing เพิ่มเติม คลิกได้เลยค่ะ ส่วนใครที่กำลังทำ Twitter Marketing อยู่ด้วย อย่าพลาดเรื่อง Twitter Algorithm นะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่