Social Dilemma และการโต้กลับจาก Facebook ที่ทำให้เราเข้าใจอีกด้านจากแพลตฟอร์ม

Social Dilemma และการโต้กลับจาก Facebook ที่ทำให้เราเข้าใจอีกด้านจากแพลตฟอร์ม

มีใครได้ดูหนังเรื่อง Social Dilemma บน Netflix แล้วบ้างไหมเอ่ย? เพราะว่าวันนี้ เพลินจะมาสรุป 7 ข้อที่ Facebook ออกมาโต้กลับหนังเรื่องนี้ ว่าจริงๆ แล้ว Facebook ทำงานยังไง แล้วหนังบิดเบือนการทำงานของ Facebook ไปอย่างไรบ้าง?

สำหรับคนที่ยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ที่เป็น Netflix Original Film ก็สามารถเข้าไปรับชมกันได้ โดยเพลินจะเกริ่นสั้นๆ แบบไม่สปอยว่า หนังเรื่องนี้มันเกี่ยวกับการแฉเบื้องหลังจากทำงานของ Facebook ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการที่เฟสบุ๊คทำให้คนติดยังไง หรือหาเงินยังไงต่างๆ นาๆ ร้ายแรงสุดคือการที่บอกเป็นเหตุผลว่าทำไม คนต้องรีบลบแอป Social Media เหล่านั้นทิ้งไปซะหลังดูหนังจบ

หลังจากที่หนังเรื่องนี้ออนแอร์ ก็ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ขึ้น เหมือนหลายๆ คนยังไม่เคย Aware ถึงระบบเบื้องหลังมาก่อนก็ออกมาพูดว่ามันน่ากลัวมาก จนสุดท้ายทำให้ Facebook ต้องออกมาแถลง 7 ข้อตอบโต้ ที่หนังเรื่อง Social Dilemma เข้าใจผิดและสื่อสารออกมาแบบผิดๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1. Facebook ต้องการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสร้าง Value ให้กับสังคม ไม่ใช่เพื่อทำลายสังคม

จากหนังที่พยายามจะสื่อว่า Facebook นั้นคอยสะกิดให้คนเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มยังไงให้บ่อยขึ้น ให้อยู่นานขึ้น จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่มีแต่คนติดมือถือ สังคมก้มหน้า Facebook ก็เลยต้องแย้งว่า ถ้าเค้าอยากให้คนติดเล่นเฟสบุ๊คนานๆ ทำไมในปี 2018 เค้าถึงมีการปรับการแสดงผลของ News Feed ใหม่ เพื่อให้คนเล่นเห็นแต่โพสต์สำคัญๆ แล้วเขี่ยโพสต์ขยะออกไป เพราะการเปลี่ยนหน้า Newsfeed ในครั้งนี้ส่งผลให้คนทั่วโลกเล่นเฟสบุ๊คน้อยลงถึง 50 ล้านชั่วโมงในแต่ละวัน

Social Dilemma

แถมในจุดนี้ เค้ายังมีการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญมากมายที่จะทำให้เฟสบุ๊คเนี่ยแหละ เป็นตัวกลางช่วยเหลือ สร้าง Value ให้กับสังคมในด้าน Mental Health มากกว่านี้ด้วย นอกจากนี้พวกเค้ายังได้ออก Activity Dashboard ที่ให้คนสามารถตั้งเวลาว่าเล่นแค่กี่นาทีแล้วต้องพักบ้างอีก เฟสบุ๊คก็เลยถามกลับค่ะว่า ที่ทำแบบนี้เรียกว่าเป็นการสร้าง Addiction หรือเปล่าค่ะ

2. ผู้ใช้งานไม่ใช่สินค้า

เพราะหนังมีการผู้ถึงว่าจริงๆ แล้ว User เนี่ยแหละคือสินค้า หรือจริงๆ แล้วบริษัทแบรนด์ทั้งหลายเนี่ยแหละจ่ายเงินให้เฟสบุ๊คเพื่อซื้อคนใช้งาน Facebook ก็เลยโต้กลับว่า คนใช้งานเฟสบุ๊คไม่ใช่สินค้า เพราะว่าเค้าไม่เคยขาย Data ของลูกค้าให้กับใคร แพลตฟอร์มของเฟสบุ๊คก็คือ Ads-supporting platform ที่ให้บริษัททุกขนาดสามารถลงเงินซื้อพื้นที่สื่อเพื่อเข้าถึงคนได้ และ Facebook เนี่ยแหละที่เป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจเล็กๆ ได้กำเนินขึ้น ก้าวหน้าขึ้น เพราะการยิงโฆษณาที่ง่ายกว่าเดิม 

โดยถ้าหากว่าใครอยากรู้ว่าทำไม Ads ตัวนี้มันโผล่ขึ้นมาให้เราดูนะ สามารถลองกดปุ่มจุดๆ 3 เม็ดเพื่อดู ‘Why I am seeing this ads?’ เพื่อเข้าใจว่าทำไมมากขึ้น รวมไปถึงการกด Remove เพื่อบอก Systems ว่าไม่ชอบโฆษณาแบบนี้ค่ะ

3. ระบบ Algorithm ของ Facebook ไม่ได้บ้า แต่มันเสาะหาแต่เนื้อหาที่ Relevant เท่านั้น

Social Dilemma

จุดนี้ Facebook ได้มีการพาดพิงกลับไปที่ Netflix เองด้วย หลังจากที่หนังได้กล่าวทำนองว่า Algorithm ของเฟสบุ๊คนั้นบ้าคลั่ง แต่จริงๆ แล้วการทำงานของเฟสบุ๊คก็เหมือนกับ Platform อื่นๆ แหละ ไม่ว่าจะเป็น Uber / Amazon รวมไปถึง Netflix ที่ใช้ Algorithm ในการเฟ้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือมีแนวโน้มว่าคนจะชอบเพิ่มส่งไปให้ เช่น คนที่ Social Dilemma แล้วควรจะดูเรื่องไหนต่อ เป็นต้น

4. Facebook ทำทุกอย่างเพื่อปกป้อง Data ของลูกค้า

จากข้อ 2 และกระแสที่คนเริ่มกลัวว่าข้อมูลของตัวเองถูกขายผ่านFacebook ในคำตอบโต้ครั้งนี้ Facebook ก็เลยออกมาชี้แจ้งว่า พวกเค้าได้ร่วมมือทำงานกับ Federal Trade Commission เพื่อจะปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานให้มี Safety และมี Privacy เพิ่มขึ้น

ซึ่งจริงๆ หากมองในแง่ของเครื่องมือที่เพลินใช้ประจำอย่าง Social Listening ก็ต้องบอกว่า Facebook เป็นเครื่องมือตัวเดียวที่ไม่เปิดให้เครื่องมือ Social tracking เหล่านี้เข้าไปกวาด status ของผู้ใช้งาน รวมไปถึง message อื่นๆ ที่อยู่ในบัญชีส่วนบุคคลเลยค่ะ

5. Facebook ไม่ได้เสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว (Polarization)

Social Dilemma

ในส่วนนี้ Facebook ก็ออกมาแย้งว่า ต่อให้ไม่มี Facebook เรื่องของการเสนอข้อมูลแบบถือข้าง ฝักฝ่ายหรือ Polarization ก็มีอยู่ทั่วไป แต่นั้นไม่ใช่ข้อแก้ตัวของบริษัทค่ะ เพราะ Facebook ก็ออกมาประกาศเลยว่า จริงๆ แล้วหลังบ้านเค้าเนี่ย พยายามลด Visibility ของเนื้อหาจำพวกนี้เสียด้วยซ้ำ เพราะพวกเค้าพยายามผลักดันให้คนเห็นโพสต์จากเพื่อและครอบครัวมากกว่าโพสต์ที่ฝักฝ่ายหรือการเมืองจ๋าๆ ค่ะ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงพวก Content จำพวก Clickbait หรือข้อมูลมั่วๆ ผิดๆ ด้วย

6. Facebook จะไม่แทรกแซงเรื่องการเลือกตั้ง

Social Dilemma

ในจุดนี้ก็มีการโยงกลับไปถึงการเลือกตั้งในปี 2016 ที่ Facebook มีส่วนช่วยให้ Donald Trump ชนะจนทำให้ประชาชนโอดครวญ ในวันนี้ Facebook ก็เลยบอกว่า พวกเค้าได้บทเรียนแล้ว และมีการปรับระบบข้างหลังต่างๆ เพื่อป้องกันการถูกแทรกแซงในช่วงเลือกตั้งด้วยค่ะ โดยเค้าก็มีการตั้ง Networks ทั่วโลกกว่า 100 แห่งในการทำหน้าที่นี้ รวมไปถึงการสร้าง Ads Library เพื่อให้คนสามารถเข้าถึงว่า Page ไหนยิงโฆษณาอะไรบ้าง เหมือนเป็น Transparency ไปด้วยนั่นเองค่ะ

7.  Facebook ไม่ Support ข่าวปลอม

ประเด็นนี้เกิดขึ้นหลังจากที่หนัง Social Dilemma ได้พูดถึงว่า Facebook เป็นตัวปั่นกระแสข่าวปลอม เนื้อหารุนแรงต่างๆ เพื่อแสวงหารายได้จากตรงนี้ ซึ่ง Facebook ก็ได้ออกมาบอกว่า ผิดมากๆ เพราะเค้ามี Checking Partners กว่า 70 แห่งที่ทำหน้าที่ Verify ข่าว เนื้อหาต่างๆ โดยเนื้อหาใดที่ดูตีตราว่าปลอมจากพาร์ทเนอร์เหล่านี้ ก็จะถูกลง Reach หรือการเข้าถึงทันทีใน Newsfeed ส่วนเนื้อหาที่มีความรุนแรง กดขี่อยู่เนี่ยจะไม่ผ่านการตรวจเช็คอยู่แล้ว รวมไปถึงข้อมูล ข่าวลืมปลอมๆ ช่วง COVID19 ที่ผ่านมาด้วยค่ะ

ทั้ง 7 ข้อนี้ก็คือคำตอบกลับจาก Facebook ถึงหนัง Original Film จาก Netflix ที่เฟสบุ๊คเองก็ยอบรับว่าเค้าไม่ได้ Perfect และยังเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ แต่ถ้าหากใครได้ดูทั้งหนังและอ่านคำโต้ของ Facebook ก็คงจะได้เข้าใจและเห็นภาพการทำงานของระบบดีมากยิ่งขึ้นค่ะ เพลินเองก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่าทั้งหมดนี้จริงเท็จ 100% หรือแค่ไหน นักการตลาดคิดเห็นว่าอย่างไร อย่าลืมมาแชร์กันนะคะ

อ่านเกี่ยวกับ Algorithm ของแพลตฟอร์ม Social Media อื่นๆ ที่การตลาดวันละตอนเคยสรุปไว้ >> https://www.everydaymarketing.co/?s=algorithm+

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน