Emily in Paris – และเทคนิคการตลาดน่าสนใจ

Emily in Paris – และเทคนิคการตลาดน่าสนใจ

มาช้าแต่มานะ! กว่าจะมีเวลาได้ดู Original Series จาก Netflix เรื่อง Emily in Paris ก็ช้ากว่าเทรนด์ไปสองก้าวแล้ว แต่สุดท้ายเพลินก็ได้ดูจนจบ ซึ่งหลังดูจบบอกเลยว่า ก็ต้องเอา Key Takeaways มาสรุปให้ทุกคนด้วย หลายๆ คนที่ดูอาจจะพอเข้าใจและรู้แล้วแหละว่าบทเรียนด้านการตลาดผ่านซีรีส์เรื่องนี้มีอะไรบ้าง แต่วันนี้เพลินขอสรุปเป็นข้อๆ เก็บเอาไว้ เผื่อลืมแล้วกันนะคะ

Emily in Paris in Short – Spoil Alert!

ก่อนข้ามไปบทเรียนเรื่อง Marketing ขอเท้าความนิดนึงถึงเรื่อง Emily in Paris ที่บางคนอาจจะยังไม่มีเวลาดู ดูค้างไว้ หรือไม่มีแก่ใจดูจนจบว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวน่ารักๆ เล่าใน Point of View ของหญิงสาวคนนึงที่ชื่อว่า Emily เธอเป็นหญิงสาวอเมริกันแต่มีโอกาสได้ไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยเนื้องานของเธอเนี่ย ก็จะเป็นเรื่องราวการทำงานแบบ Agency ที่ดูแลแบรนด์ Luxury เป็นหลักค่ะ จริงๆ เรื่องนี้เค้าจะเน้นการเล่าเรื่อง Cultural Difference แบบ Highlight วัฒนธรรมของฝรั่งเศสเสียเยอะ ไม่ว่าจะเป็นบริบทการใช้ภาษา บทสนทนาที่ควรหรือไม่ควรพูดในสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น แต่เพราะว่า Emily ได้ทำงานที่ Agency เพลินก็เลยได้คว้าแง่คิดในส่วนของ Marketing มาสรุปให้ฟังกันค่ะ

1. Storytelling เป็นอีกหนึ่งวิธี Engage ผู้ติดตาม

ประเด็นเรื่องของ Storytelling มีมานานแล้ว แต่จะมีสักกี่แบรนด์ที่สามารถทำมันได้จริง ส่วนมากอาจจะเวิร์คกับเหล่า Influencer หรือกลุ่ม Content Blogger ทั่วไปเสียส่วนใหญ่ อย่าง Emily ที่มีการปรับเปลี่ยนชื่อ IG อย่างรวดเร็วเมื่อมาถึง Paris โดยใช้คำว่า @emilyinparis จากผู้ติดตามหลักหน่วยก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นด้วย Content แบบ Storytelling และการแชร์อะไร Local ให้กับคนทั่วไปได้เห็น ได้ฟัง ทำให้คนรู้สึกสนุกไปกับมันมากขึ้น

ดังนั้นนักการตลาดท่านใดที่กำลังบริหาร Social Media อยู่ อย่าลืมร่าง Story ของตัวเองดูว่า จะ Engage กับผู้ติดตามของเราด้วยเนื้อหาแบบไหนบ้าง เล่าเรื่องอย่างไรดี ให้คนเข้าใจง่ายและสนุกไปกับมัน อย่าแค่ขายๆ อย่างเดียว มองหา Purpose ของแบรนด์ และ Purpose ของช่องทางแต่ละอันดูค่ะ

2. คนมาเพราะภาพ แต่อยู่เพราะ Personality

สิ่งนึงที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยคือ ความน่ารักของตัวนางเอก Emily คือขนาดเราดูไป ยังยิ้มไป รู้สึกว่า Energy มา สดใส น่ารักตลอดเรื่อง ซึ่งนิสัยแบบนี้แหละคือ Personality ที่ทำให้ทั้งเราคนดู และผู้ติดตามเธอใน Instagram หลงรัก และอยากอยู่ต่อกับเธอเพื่อเสพคอนเทนต์ต่อๆ ไปเพิ่ม ถึงแม้ว่าตอนแรกจะเข้ามากดติดตามเพียงเพราะเธอสวยดีก็ตาม แต่พออยู่ๆ ไป อะ… ทัศนคติได้ น่ารักดี เป็นกันเองจัง เป็นต้นค่ะ

เพราะฉะนั้นเรื่องของ Persona ในการทำ Character ให้กับแบรนด์จึงเป็นอะไรที่จำเป็น อย่าสะเปะสะปะ ทำให้มัน Consistent ต่อเนื่อง ยิ่งเราสามารถ Personify แบรนด์ให้กลายเป็นคน มีชีวิตได้ เราก็จะยิ่งเข้าใกล้คนมากขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ เพราะคนก็จะรู้สึกว่า เค้ากำลังคุยกับคนอยู่ไม่ใช่ Robot หรือภาพนิ่งๆ ก็จะเกิดเป็น 2-ways communication ขึ้นมานั้นเอง

3. รับฟังความเห็นลูกค้าผ่าน Social Media ได้

อีกหนึ่งเทคนิคดีๆ ที่ Emily ใช้คือการถามความเห็นผู้ติดตามผ่านเครื่องมือง่ายๆ อย่าง Social Media ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น Twitter Polls หรือ Instagram ที่มีเครื่องมือให้เราครบทั้ง Polls / Questions / Quiz / Rate และอื่นๆ อย่างในฉาก Sexy or Sexist? แทนที่จะนั่งเถียงกันจนไม่ได้ทำงาน และไม่ได้ออกโฆษณา ก็ทำให้มันเป็นส่วนนึงของแคมเปญง่ายๆ แค่ปล่อยคลิป แล้วถามใน Twitter Polls ว่าคุณคิดเห็นว่ายังไง Sexy หรือ Sexist สำหรับคุณ? แค่นี้ก็กลายเป็นอีก 1 คอนเทนต์ที่จะทำให้เกิด Engagement เพิ่มขึ้นพร้อม Conversation ต่างๆ ได้ด้วยค่ะ

หากนักการตลาดท่านไหนกำลังคิดหา Content อยู่ละก็ อย่ากลัวที่จะสร้าง Polls ไม่ว่าคำถามจะเป็นเรื่อง Controversial หรือ Take side เราก็แค่ถามออกไป เปลี่ยนเรื่องเสี่ยงให้กลายเป็นเรื่องที่สังคมได้ถกเถียงและพูดคุยกันมากขึ้น ลองดูนะคะ เพราะเครื่องมือในวันนี้จากโซเชียลมีเดียต่างๆ นั้นมีมากเลย ที่จะให้เราได้ Engage กับคนได้ ถามตัวเองดูว่า วันนี้เราใช้เครื่องมือได้ครบทุกอันแล้วหรือยังค่ะ

4. สร้าง Conversational content 

ต่อเนื่องจากการใช้ Tools หรือเครื่องมือในการสร้าง Engagement ก็คือการสร้าง Conversational Content อย่างที่เพลินเคยเขียนไปก่อนหน้านี้ นั่นก็คือการสร้างคำถามในโพสต์ไปเลย จะช่วยให้คนอยากที่จะเข้ามาตอบ พูดคุยแบบอัตโนมัติ เพราะมันเป็นการสื่อสาร 2 ทางมากกว่าทางเดียว อย่างฉากที่ Emily ได้โพสต์เรื่องของสินค้าวาจา-จูน ที่นางถามเรื่องแกรมม่าของภาษาฝรั่งเศสว่าทำไมคำว่า Vagina ถึงใช้ Le ที่เป็นของเพศชาย แทนที่จะเป็น La ของเพศหญิง ลงไปในโพสต์รูปเลย ซึ่งแน่นอนว่าต่อมา จึงเกิดการเอาไปแชร์ต่อไกลถึงขนาดที่อินฟลูตัวแม่ในฝรั่งเศสอย่าง Brigitte Macron ต้องเอาไปแชร์ใน Twitter ต่อค่ะ

จะเห็นได้เลยว่า การตั้งคำถามพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ สามารถ Spin ไปไกลได้มากกว่ารูปภาพธรรมดาๆ ภาพสวยๆ ที่เข้าถึงได้ยาก อาจจะได้ได้รับ Engagement น้อยกว่าภาพที่เขียนลงไปเลย เข้าใจง่ายๆ ด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นอย่ามัว Craft ภาพให้เพอร์เฟค แต่เอาเวลาไปทุ่มกับการสร้าง Content ที่เป็น Conversation ดีกว่า เพื่อ Brand Resonance ที่ไกล ข้าม Channel มากกว่าเดิมด้วย

5. Influencers ไม่ได้สนใจแบรนด์ของเราขนาดนั้น

Emily in Paris

ข้อนี้บอกตรงๆ ว่าเป็นอะไรที่โดนใจเพลินมากๆ เพราะหลายๆ ครั้งเราเลือกใช้ Influencers ที่จริงๆ แล้วแทบไม่รู้จักแบรนด์ของเราเลย พวกเค้าไม่ได้สนใจว่าแบรนด์เราจะมาจากไหน ดียังไง แต่แคร์ถึงภาพลักษณ์ ชื่อเสียงตัวเอง และธุรกิจมากกว่า ในขณะที่คนที่เป็นสาวก แฟนคลับจริงๆ ของแบรนด์คุณนั้น ภักดีกับแบรนด์คุณสุดๆ คุณกลับมองข้ามไป ซึ่งในประเด็นนี้ เพลินคิดว่า แบรนด์ควรใส่ใจกับแฟนคลับจริงๆ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่รีวิวแบรนด์ของคุณแบบไม่ต้องขอ เพราะเค้าชอบมันจริงๆ หรือกลุ่มคนที่เค้าเป็นตัวตั้งตัวตี ตั้ง Facebook Group ขึ้นมาเพื่อเป็นสมาคมคนรักแบรนด์คุณโดยเฉพาะ กลุ่มพวกนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์มากขึ้น คุณลองคิดตามก็ได้ค่ะ ว่าหากคนที่เค้ารักเราอยู่แล้ว วันนึงรู้ว่าเราใส่ใจเค้า ลงไปคุยกับเค้า ให้สินค้าเค้าใช้เป็นคนแรกก่อนเปิดตัว แบบนี้ พวกเค้าจะรักคุณมากขึ้นแค่ไหน แล้วเราจะได้ Free media จากเค้าจำนวนกี่โพสต์? โดยที่ไม่ต้องบังคับเหมือนในหนังเลย

หากถามว่าตอนไหนในหนัง บอกเลยว่าคือตอนที่ Emily ถูกเชิญไปงาน Influencer Meetings ของแบรนด์เครื่องสำอางยี่ห้อนึง และได้มีการแจกของเป็นถุงๆ ใครเป็นอินฟลูตัวใหญ่ก็ได้ถุงใหญ่ ใครเป็นอินฟลูตัวเล็กก็ได้ถุงเล็ก แถมยังบังคับลง Minimum post 5-10 โพสต์เลยก็จะดีอีก ซึ่งในฉากก็ตลกตรงที่อินฟลูสุนัขที่มีคนติดตาม 100K ได้สินค้าถุงใหญ่ถึง 2 ถุง ทั้งๆ ที่สุนัขเป็น main celeb ที่ไม่แต่งหน้าด้วยซ้ำค่ะ เพราะฉะนั้นหากจะจ้าง Influencer ครั้งหน้า ลองมองหาคนที่มี Passion และแคร์แบรนด์คุณจริงๆ สักครั้งดู สนับสนุนเค้า ใส่ใจเค้าให้มาก เพราะ Existing Customers นี่แหละสำคัญยิ่งกว่า New ones พวกเค้าจะรู้ลึก รู้จริง แถมพูดในสิ่งที่อินฟลูทั่วไปทำให้แบรนด์คุณไม่ได้ด้วยนั่นเองค่ะ

6. Connection อยู่รอบตัวเรา อย่าพลาดโอกาส

Emily in Paris

อีกเรื่องที่หนังทำให้เราได้เห็นคือความโลกกลมของตัวละครต่างๆ เหมือนการเจอกันของแต่ละตัวละครมีความหมายเสมอ อย่างฉากที่ Emily ได้เจอกับสาวฝรั่งเศสผมบลอนด์ที่ร้านขายดอกไม้ ก็ได้พาเธอให้ไปเจอกับ Connection ในการเชื่อมต่อธุรกิจต่อๆ ไปเพิ่ม ทำให้การ Collaboration เป็นไปได้ อย่าลืมมองหาความรู้ connection จากรอบๆ ตัวเราดูนะคะ เพลินเชื่อว่ามันมีอยู่เยอะมาก เพียงแค่เราเห็น Opportunity ในการ Connect กับมันหรือเปล่าเท่านั้นค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Marketing Lessons learned จาก Original Series ชื่อดังแสนสดใสจาก Netflix อย่าลืมนำในปรับใช้กันด้วยนะคะ อย่าดูแล้วปล่อยผ่านไปเฉยๆ เพลินเองก็จะเอาไปปรับใช้กับเพจและร้านของตัวเองเช่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆ เพลินเคยถอดบทเรียนการตลาดจาก  Series เกาหลีเรื่อง Itaewon มาแล้ว ใครที่พลาดยังไม่ได้อ่าน สามารถคลิกตรงนี้ได้เลยนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *