Clubhouse Monetization – ไอเดียขายของและข้อควรระวัง

Clubhouse Monetization – ไอเดียขายของและข้อควรระวัง

ช่วงนี้ไปหมดแล้วค่ะเวลาที่มี ทุ่มให้กับ Clubhouse อย่างหนักหน่วง เดี๋ยวเข้าห้องนั้น ออกห้องนี้เป็นว่าเล่น แถมยังไม่พอ เพลินสามารถอยู่ในแอปได้เป็นชั่วโมงๆ ด้วย ซึ่งหลังจากที่เราเคยเขียนเรื่อง Clubhouse Marketing ในแง่ของ B2B ไปแล้ว วันนี้เรามาลงในส่วนของ Clubhouse Monetization หรือการทำเงิน ไอเดียการหาเงิน ไปพร้อมๆ กับข้อควรระวังที่เพลินสังเกตได้จากการสิงอยู่ใน Social Media ยอดฮิตนี้มาได้ 1-2 อาทิตย์แล้วค่ะ

ทวนกันอีกครั้งสำหรับ Clubhouse ที่หลายคนอาจจะได้ยินแต่ยังไม่ได้มีโอกาสเล่น เนื่องจากใช้สมาร์ทโฟนระบบ Android แล้วไม่มี iPad หรืออะไรที่เป็น iOS ให้สามารถเอามา Login เล่นได้นะคะ Clubhouse ก็คือ Social Media น้องใหม่ ที่ยึดหลักการที่ว่า คนเล่นออนไลน์ยังไงก็ยังคงต้องการความเป็น Human อยู่ในนั้น ก็เลยออกมาเป็นแอปโซเชียลที่ให้คน Interact กันผ่าน Audio หรือการพูดเพื่อสนทนากันนั้นเองค่ะ บอกเลยว่ามันไม่ต่างอะไรการทำ Group Call แบบไม่เห็นหน้า เพียงแต่ว่า เราสามารถพูดหรือฟังร่วมกันกับคนอื่นๆ ที่เราไม่รู้จักได้ด้วยนั่นเองค่ะ

ปัจจุบัน Clubhouse กลายเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านดอลล่าร์ไปแล้วพร้อมกับยอด Download ต่อวันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในช่วงที่ Elon Musk ก้าวเข้าสู่ Clubhouse ในปลายเดือนมกราคม 2021 ที่ผ่านมาแล้วละก็ เรียกได้ว่าการ Download กระโดดพุ่งขึ้นมากทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง จาก Users กว่า 3 ล้านคนไปสู่ 5 ล้านคนในระยะเวลาไม่กี่วันค่ะ

ปัจจุบันข้อมูลจาก Backlink แจ้งว่า Clubhouse มียอดดาวน์โหลดไปแล้วทั้งหมด 10 ล้านคน ซึ่งหากเปิดให้กับผู้ใช้งาน Android เมื่อไร จำนวนการโหลดน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยค่ะ

Clubhouse Monetization

หลังจากที่บูมต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ก็มีหลายคนตั้งคำถามว่าแล้ว Clubhouse จะทำเงินยังไงจากแพลตฟอร์มแบบนี้ ในเมื่อภาพก็มองไม่เห็น วิดีโอก็ดูไม่ได้ เพราะอย่างที่เพลินบอก ว่ามันเป็นเหมือนการที่เราคุย Group Call ในห้องใหญ่ๆ เท่านั้น ซึ่งเจ้าของแบรนด์ก็ไม่ปล่อยให้เราสงสัยนาน เพราะเค้าบอกแล้วว่า Monetization ของเค้าหลังจากนี้ คือการเปิด Subscription-Model ซึ่งเป็นการหาเงินจาก Consumers มากกว่า Advertisers ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว Ticket-Pass เข้ามารับฟังหรือ Subscribe ไปยาวๆ เหมือน Spotify ก็ตาม

ฟังแบบนี้ ก็เริ่มเห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง เพราะสำหรับเพลินแล้ว เพลินคิดว่า Model การทำ Subscription สำหรับโซเชียลมีเดีย ค่อนข้างเสี่ยงว่าคนจะไม่ยอมจ่าย ยิ่งคนที่เริ่มใช้แรกๆ แล้วรู้สึกไม่ได้อะไรจากคลับเฮ้าส์แล้วละก็ จะให้มายอมเสียเงินอีก ก็กลัวจะเสียเงินไปเปล่าๆ เปลี่ยๆ แต่หากคลับเฮ้าส์ตั้งตัวเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเข้าฟัง Specialist Content แบบ Exclusive เหมือน Netflix ที่มีหนังหรือซีรี่ส์เฉพาะแล้วละก็ อาจจะเป็นแง่ดีในการดึงคนเข้ามาเรื่อยๆ ค่ะ นอกจากนี้ หากแพลตฟอร์มอื่นๆ เริ่มที่จะทำฟีเจอร์เดียวกันแล้วเปิดให้ใช้งานฟรีละก็ บอกเลยว่าคลับเฮ้าส์แบบ Subscription ก็น่าเป็นห่วงค่ะ

ไอเดียหาเงินจาก Clubhouse ในฐานะคนใช้งานหรือแบรนด์

นอกจากจะต้องรอดูว่า Subscription model ของคลับเฮ้าส์จะเป็นแบบไหน แบ่งให้ Speaker ยังไง เท่าไร กี่เปอร์เซน สิ่งที่ Speaker หรือแบรนด์ทำได้ในวันนี้ ก็คือการคิดเสมอว่า Clubhouse เหมือนคลื่นวิทยุ ได้ยินแต่เสียง ไม่ได้เห็นหน้าหรือ Gesture ท่าทางอื่นๆ ประกอบ ดังนั้นการเน้นย้ำเรื่อง Tone ของเสียงสูงเสียงต่ำ จังหวะต่างๆ จึงจำเป็นมาก ข้อได้เปรียบก็คือ เหล่าคนที่เป็น DJ มาก่อน เพราะสามารถจัดรายการพูดคุยแบบสดๆ พร้อมกับ Entertain คนแบบไม่เห็นท่าทางได้ ดังนั้นหากแบรนด์ใดสนใจอยากทำเงินจากคลับเฮ้าส์ อาจจะลองจัดห้องแบบจัดคลื่นวิทยุดู มี DJ มี Sound ประกอบมี Jingle แทรกหรือการทำโฆษณา Audio เข้าช่วงขอบคุณสปอร์นเซอร์เป็นต้น

นอกจากการโฆษณาผ่านเสียงแล้ว ก็ยังมีไอเดียในเรื่องของการสร้าง Credibility ให้กับแบรนด์ด้วย โดยไอเดียหลักๆ ก็คือการแสดงตัวของเหล่า CEO ผู้บริหาร ที่สามารถออกโรงแสดงวิศัยทัศน์กว้างไกล Build Expertise พร้อมขโมยหัวใจคนไปได้ผ่านการพูด ให้ความรู้ หรือแชร์ประสบการณ์ต่างๆ กับผู้คนด้วยค่ะ

นอกจาก Membership ของคลับเฮ้าส์ที่แบรนด์จะทำแล้ว เราเองก็สามารถสร้างบัญชีสำหรับคนที่ยอมจ่ายเงินได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งหากเราเป็นคนที่ใครก็อยากฟัง อยากติดตามได้แล้ว เราก็สามารถสร้างกลุ่มแบบ Closed Room ที่รับเฉพาะคนจ่ายเงินเข้ามาฟังเฮฮาหรือ Networking ร่วมกันได้นั่นเอง เช่น กลุ่ม Entrepreneur หรือกลุ่มเฉพาะอะไรบางอย่างนั่นเองค่ะ หรือหากจะไม่ได้เก็บเป็น Membership ก็สามารถทำเป็นการเก็บเงินแบบเฉพาะค่าเข้าเป็นห้องๆ เป็น Topic ไปแบบ Entrance Fee ค่ะ

ไอเดียต่อมาคือการ Sponsored Content ที่เน้นการขาย Vision องค์กรมากกว่าแค่การขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งสิ่งที่ทำได้คือการให้ Moderator และเหล่า Speaker เปลี่ยน Profile Pics ให้เป็นรูปของแบรนด์ โลโก้ ฯลฯ พร้อมๆ กัน ก็เป็นอะไรที่สร้างสีสัน แถมมีเรื่องให้คุยได้เยอะมากกว่า หลังจากนั้นค่อยเนียนๆ Tie-in สินค้าเข้าไปเวลาพูดคุยค่ะ

ข้อควรระวังการทำ Clubhouse Marketing

เพราะ Clubhouse ยังไม่ให้คน Record หรือเก็บบันทึกการพูดคุยได้ ทำให้สิ่งที่เราลงเงินไป เหมือนอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นหากเราพูดอะไรไปแล้ว ก็ไม่สามารถเอามา Replay หรือ Rerun ได้อีก ดังนั้นก็คล้ายกับ คลื่น Radio ทั่วไปค่ะ เน้นการเปิด Jingle ของแบรนด์ย้ำๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนหน้าใหม่ได้ยินสิ่งที่เราพูดด้วย หรือไม่ก็จ้างคนทำสรุปในสิ่งที่เราพูด อาจจะเป็นทีม PR หรือสำนักข่าว ให้ช่วยเอาสิ่งที่เราเล่า ไปขยี้ ไปสรุปแล้วลงข่าวให้อีกที เป็นการ record ในทางนั้นแทน

อีกหนึ่งข้อที่ควรระวังก็คือ การเล่าเรื่องที่ยากเกินความสามารถคนจินตนาการได้ค่ะ เพราะหลาย CEO ต่างก็เน้นเล่าเรื่องทางการ พูดถึงกลยุทธ์ หนึ่ง สอง สาม สี่ ที่หลายครั้งอาจจะต้องอาศัยรูป Slides ประกอบ พอภาพหายไปคนก็เข้าถึงยาก ฟังแล้วงง ฟังแล้วหลง เลยรู้สึกว่า ไม่อยากติดตามเนื้อหาที่ย่อยยากแล้ว เป็นต้นค่ะ จะเห็นได้ว่ากลุ่มห้องที่เน้นเฮฮา ดารา เซเลบ เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลังๆ มานี้ด้วย

ต่อเนื่องจากความเฮฮา ก็ต้องขอระวังเรื่องคำพูด ภาษาที่ใช้ Harassment Bully รวมไปถึงการ Body Shaming ต่างๆ นาๆ ที่บางทีอารมณ์มันพาไป เผลอพูดไปไม่รู้ตัว คิดว่าสนิทกับ Speaker เลยพูดได้ แต่คนฟังอยู่อาจจะรู้สึกและคิดไม่ตรงกับเราได้ ดังนั้นสติเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าหลงระเริงไปกับความฮามาก จนกลายเป็นการด่า วาจารุนแรงเกินไป หรือล่งงเกิน ไม่อย่างนั้นจะเกินดราม่าได้จ้ะ

ข้อควรระวังสุดท้ายก็คือ การที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า คนที่ยกมือขึ้นมาขอพูดเค้าจะถามอะไร ไม่สามารถ Inbox คุยกันได้ก่อน ทำให้เราไม่รู้เลยว่าคนที่ยกมือมานั้นจะมาป่วนหรือจะถามอะไรที่เรากระอักกระอ่วนไหม อย่างประเด็นการเมืองหรือความเห็นในเรื่อง Sensitive ที่หลายครั้งแบรนด์หรือ Influencers ดารา อยากเลี่ยงเองก็ตามทีค่ะ ดังนั้นเรื่องของการตอบโต้แบบ LIVE สดทันทีก็ควรเตรียมความพร้อมให้ดีๆ ก็จัดห้องและเปิด Panel ให้คนถามนะคะ

เอาเป็นว่าการตลาดวันละตอนของเราเองมีคลับเฮ้าส์เหมือนกันนะ แต่ว่ายังไม่เคยจัดห้องพูดคุยอะไรจริงจัง มีแต่คุณหนุ่ย เจ้าของเพจเนี่ยแหละ ที่เข้าออก Speaker ห้องนั่นห้องนี้ตลอด ใครอยากฟังก็สามารถเข้าไปตามกันได้ค่ะ วันนี้หวังว่า IDEA การทำเงินเหล่านี้จะมีประโยนช์ต่อใครหลายๆ คน ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ เชื่อว่าคนไทยมี Creativity มากมายอยู่แล้ว รอชมกันต่อไปยาวๆ จ้า

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

One thought on “Clubhouse Monetization – ไอเดียขายของและข้อควรระวัง

  1. ขอบคุณบทความนี้ ที่ทำให้ได้ความรู้และเพิ่มเติมสิ่งที่อยากรู้ได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งมีคำถามและคำตอบอยู่ในใจแล้ว แต่ก็ยังอยากหาเสียงสนับสนุนคำตอบของเราอีกครั้งฺ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน