อัปเดต Benchmark Report สำคัญเพื่อกลยุทธ์ IG Story Marketing 2023

อัปเดต Benchmark Report สำคัญเพื่อกลยุทธ์ IG Story Marketing 2023

Benchmark Report สำคัญเพื่อกลยุทธ์ IG Story Marketing 2023 

เปิดปีใหม่มาได้ซักพักแล้วนักการตลาดคงวุ่นอยู่กับการทำงานในไตรมาสแรกให้ปังกันอยู่ใช่ไหมคะ บทความวันนี้จะมาอัปเดตบรรดา Metrics ที่สำคัญเกี่ยวกับ IG Story ทั้งปี 2022 เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับปี 2023 นี้ค่ะ

เพราะในปัจจุบันการทำ Instagram marketing จะขาดการใช้ฟีเจอร์ Stories มาเป็นส่วนหนึ่งไปไม่ได้เลย ก่อนที่นักการตลาดจะคลอดเป็นกลยุทธ์ นุ่นอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเพิ่มความแกร่งให้แผนการตลาด เช่น Story frequency, Frames Per Day, Retention rate, Post Reach Rate

โดยนุ่นคัดเลือก highlight สำคัญจากรายงานตัวเต็มของ RivalIQ พร้อมใส่ข้อแนะนำสำหรับนักการตลาดค่ะ ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย

Story frequency – แบรนด์จะใช้ IG Story เฉลี่ย 11 ครั้ง/เดือน

เรามาดูภาพรวมของการใช้ฟีเจอร์ Story ของแบรนด์ที่มี Instagram account กันค่ะ เทียบระหว่างปี 2021 vs 2022 ซึ่งกราฟแสดงให้เห็นว่าแทบไม่แตกต่างเลย 

ใน 1 เดือนเหล่าแบรนด์จะขึ้นเฉลี่ย 11 ครั้ง หรือ 2 โพสต์ต่อสัปดาห์ค่ะ ถือว่าไม่บ่อยและไม่ถี่เกินนะคะ เพราะถ้าโพสต์สตอรี่ขายของทุกวันก็อาจจะโดน Unfolloew เพราะรำคาญก็เป็นได้ ทั้งนี้นักการตลาดต้องเช็กคอนเทนต์ของตัวเองอีกครั้ง 

หากไม่ใช่การขายของหรือโปรโมชั่นรัว ๆ แต่มีคอนเทนต์อื่นด้วย ขึ้นถี่กว่า 11 ครั้งก็ดีนะคะ เพราะถ้าดูสัดส่วนที่มากที่สุด 25% แบรนด์ส่วนนี้โพสต์ถี่ถึง 16.9 ครั้งในปีที่ผ่านมาเลย 

สาเหตุอาจเป็นเพราะมีสตอรี่มีลูกเล่นใหม่ ๆ เช่นใส่เพลง Q&A หรือการรีโพสต์ Reel การใส่สติ๊กเกอร์ให้ไปรวมใน Highlight ของ IG Story ตามเทศกาลต่าง ๆ ล่าสุดเลยคือเทศกาลตรุษจีนค่ะ  

แนะนำสำหรับนักการตลาด

IG Story Marketing 2023  ยังคงแนะนำความสม่ำเสมอและอัปเดตฟีเจอร์ลูกเล่นใหม่ให้ทันเทรนด์ และไม่พลาดในช่วงเทศกาลค่ะ บางทีลูกค้าอาจจะลืมไปแล้วว่ากดติดตามแบรนด์เราไว้ เพราะตวามปั่นปวนของ Algorithm ในช่วง 1-2 ปีหลังมานี้ของ Meta ถือว่าเป็นการเอาตัวเองขึ้น Highlight เข้าหาลูกค้าอีกครั้ง

อย่าลืมเลือกภาพหรือวิดีโอมาอัป Stories ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนั้น ๆ ด้วยนะคะ ^^

อะ เรามาดูกันต่อว่าใน 11 ครั้งต่อเดือนนี้ แบรนด์มัก “กี่เฟรม” ต่อครั้ง/วัน?

Frames Per Day – แบรนด์มักโพสต์ 1-3 Stories ต่อครั้ง/วัน

  • ~40% มีเพียงเฟรมเดียว
  • 1-3 เฟรมคิดเป็น ~65% ของ Stories แบรนด์
  • ~15% ของ Storiers มี 7 เฟรมขึ้นไป

อย่างที่นักการตลาดเห็นค่ะว่า จำนวน Frames หรือเรียกง่าย ๆ ว่าจำนวนโพสต์ที่อัปรวมใน 24 ชั่วโมงแบรนด์ส่วนใหญ่ขึ้นที่ 1-3 Stories จะทำให้มีความต่อเนื่องของคอนเทนต์ เพราะ 1 เฟรมจำกัดที่ 15 วินาทีเท่านั้นเองค่ะ แต่ยังสงสัยกันใช่ไหมคะว่า แล้วสรุปกี่เฟรมถึงจะเหมาะล่ะ?

เบื้องต้นคือแนะนำให้เช็กสถิติการดูสตอรี่ของแอคเคาท์แบรนด์ก่อนค่ะ ว่าคอนเทนต์แบบเดิมสามารถทำให้คนดูทุก ๆ เฟรมจนจบหรือเห็นแค่เฟรมแรกก็ปัดออกแล้ว 

หรือถ้านักการตลาดท่านใดยังไม่เคยเก็บสถิติไว้ ยังไม่เคยเริ่มต้นใช้งาน ลองอ่านสถิติด้านล่างต่อเนื่องดูว่าคนทั่วไปดูสตอรี่แบรนด์อย่างไรนะคะ 

Retention Rate – อัตราการดู Stories จนจบเฟรม

หากใครใช้ IG Story เป็นประจำเหมือนนุ่น น่าจะสังเกตเห็นเหมือนกันว่าการที่เราขึ้นเฟรมเยอะ ๆ หลายครั้งใน 24 ชั่วโมง จำนวนคนดูจะน้อยลงเรื่อย ๆ  ซะส่วนใหญ่ค่ะ ถ้าไม่ใช้คอนเทนต์ที่น่าติดตามจริง ๆ ซึ่งนี่เป็นอัตราทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกแอคเคาท์ค่ะ นักการตลาดไม่ต้องกังวลไป ถ้าดูตัวเลขจากกราฟแบบชัด ๆ ประกอบด้วยก็จะเห็นว่าเริ่มดรอปลงอย่างมากในสตอรี่ที่ 4

หมายความว่าถ้าใครยังไม่รู้ว่าควรขึ้นกี่เฟรมต่อวัน ให้ลองที่ 1-3 อย่าเพิ่งเอาข้อความสำคัญ ๆ ไปไว้ท้ายสุดนะคะ ให้ย้ายมาไว้ฮุกแรก คล้ายกับทฤษฎีการเรียก Attention ด้วย CTA หรือวิดีโอคอนเทนต์ที่ควรเรียกความสนใจได้ก่อน 8 วิค่ะ ซึ่งหลัง TikTok บูมมาก ๆ นุ่นว่าอาจจะน้อยลงเหลือแค่ 3 วิแล้วก็ได้

Reach Rate เทียบ Instagram Stories vs. Posts

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วนุ่นเชื่อว่าอาจจะเกิดคำถาม ถ้าเทียบกัน สรุปแล้วนักการตลาดควรใช้ Stories หรือ Post กันแน่นะ เรามาดู Reach Rate ที่แบ่งตามจำนวน Follower กันค่ะ

จากกราฟทุก ๆ ขนาดแอคเคาท์มีเปอร์เซ็น Post Reach ที่สูงกว่า Stories ค่ะ แบรนด์ขนาดเล็กที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 ผู้ติดตามของคุณพวกเขาจะเห็นโพสต์มากกว่า ~ 4 เท่าเลยทีเดียว

แต่ไม่ได้หมายความว่าเห็นแบบนี้แล้วจะพับแผน IG Story นะคะ เพราะการใช้สตอรี่ไม่ได้เสียเวลาอย่างที่คิด จะเริ่มจากการ Repost ของแบรนด์ก่อนแล้วเพิ่ม GIF ตกแต่งเข้าไปก็ได้ค่ะ เพิ่มยอดเอนเกจได้อีกทาง และลูกค้าบางท่านอาจไม่ใช่สายไถไทม์ไลน์เหมือนนุ่น กดเลื่อนดูแต่ Stories ด้านบนก็ยังมีค่ะ 

สุดท้ายขอปิดด้วยชี้เป้าจุดที่นักการตลาดสามารถเข้าไปเช็กหลังบ้านได้ว่าผู้ติดตามของเรามีพฤติกรรมการไถคอนเทนต์อย่างไร แล้วค่อยนำมาประกอบการตัดสินใจอีกครั้งนึงนะคะ

ทั้งหมดนี้คือ Highlight ที่นุ่นนำมาฝากกันในบทความนี้ ทั้ง Story frequency – แบรนด์จะใช้ IG Story เฉลี่ย 11 ครั้ง/เดือน ไม่ได้น้อยลงจากปี 2021 มากนัก แนะนำเช็กหลังบ้านของตัวเอง และเอาฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาใช้บ้าง และเฟรมสตอรี่ต่อวัน ไม่ควรเกิน 4 ถ้าไม่อยากให้ยอดตกค่ะ

เก็บเข้าคลังข้อมูลเอาไว้เพื่อใช้ต่อยอดให้แผนการใช้ IG Story ปี 2023 กันเยอะ ๆ นะคะ ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมคอมเมนต์เข้ามาและกดแชร์เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยน้า~ แล้วพบกันในบทความหน้าค่ะ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?