Instagram Reels Algorithm – ทำงานยังไง?

Instagram Reels Algorithm – ทำงานยังไง?

หลังจากที่ Instagram ได้ซุ่มทำฟีเจอร์คลิปสั้นแบบ TikTok ในนาม Reels ล่าสุดในไทยเองก็เริ่มเห็นมีคนถยอยเล่นกันเพิ่มมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิปใหม่ลง Reels โดยเฉพาะหรือจะเป็นการ Save clip จากติ๊กต่อกมาลงลง Reels ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Reels นั้นเป็นอีกนึงรูปแบบคอนเทนต์ที่นักการตลาดห้ามพลาดเลยละค่ะ แล้ว Instagram Reels Algorithm หลังบ้านเค้าทำงานอย่างไร มาดูกันค่ะ

ต้องบอกว่าเบื้องหลังการทำงาน Reels Algorithm นี้นั้นเป็นบริษัท Instagram เองเนี่ยแหละที่ออกมาเล่าให้พวกเราฟัง ทั้งนี้ก็จะได้ช่วยให้พวกเราเข้าใจถึงหลักการทำงาน และสร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพออกมาได้อย่าง Effective สุดๆ นั่นเอง โดยสิ่งที่บริษัทไอจีเค้ามาแชร์นั้น ก็คือ Key Factors ที่หลังบ้านเค้าใช้ในการวัด Ranking ว่าคลิปวิดีโอคลิปไหนควรขึ้นมาในหน้า Reels Feed แนะนำให้กับ Users บ้าง? ทั้งนี้แน่นอนว่าอันดับ Ranking นี้ย่อมส่งผลต่ออัตราการเข้าถึงหรือยอด Reach ด้วยค่ะ

โดย Key Factors ที่ไอจีเค้าใช้ในการจัด Ranking ก็คือ

  1. ดูว่า User คนนี้คูคลิปจนจบไหม
  2. User คนนี้กด Like ให้กับคลิป Reels นั้นหรือเปล่า
  3. มีการ Comment ไว้บ้างไหมว่าคลิปมันน่าสนใจนะ
  4. มีการใช้เสียง Audio ของคลิป Reels นั้นทำคลิปของตัวเองเพิ่มไหม

ดังนั้นหากคลิปของเราน่าสนใจถึงขั้นมี Users หลายๆ คนดูจนจบ แน่นอนว่าระบบหลังบ้านของไอจีก็จะบันทึกแล้วว่า คนเหล่านั้นชอบเนื้อหา Content ประเภทไหน แล้วก็จะส่ง Feed ที่มีคอนเทนต์ใกล้ๆ กันไปให้อีกเรื่อยๆ ดังนั้นในฐานะนักการตลาดเองก็จำเป็นมากที่จะคอย Monitor หลังบ้านของ Reels ด้วยว่าคนชอบคลิปของเราแบบไหนมากที่สุด เพื่อที่จะเอามาขยี้ทำเพิ่มนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของยอดการรับชมคลิปจนจบแล้ว ไอจียังต้องการเพิ่มจำนวน Engagement ในแพลตฟอร์มเพิ่มด้วย ดังนั้นการใช้ Metrics อย่างพวกยอด Likes กับ Comments จึงเป็นอีกส่วนนึงในการวัด Interests ด้วยของคนด้วย เพราะฉะนั้นหาก Content Creator และนักการตลาดรู้แบบนี้แล้ว ก็ต้องรีบสร้าง Reels ที่กระตุ้นคอมเมนต์กับยอดไลค์เยอะๆ ค่ะ เพื่อคลิปใหม่ในอนาคตของเราจะมีโอกาส Suggest ขึ้นมาในหน้าฟีดของ Users กลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ที่สนใจเนื้อหาใกล้เคียงกัน แม้พวกเค้าจะไมได้ Follow เราอยู่ก็ตาม

และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ Key factor หรือ Metrics ที่ 4 เนี่ยแหละค่ะ เพราะมันคือการที่ Audio ของเราจะถูกใช้หรือเล่นโดย Users ในแพลตฟอร์มนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะ Instagram ก็พยายามที่จะเร่งการเติบโตของการใช้งาน Reels มากขึ้นด้วย ดังนั้นหากเสียง Audio ที่เราใช้มีคนชอบเยอะแล้วกดเล่นตามมากมาย ก็มีสิทธิมากที่ Clip ของเราจะถูกกระจายเผยแพร่ไปกว้างขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการเล่นของคนมากขึ้นในแพลตฟอร์มไอจีด้วย

ยังไม่พอไอจีก็ยังเผยอีกด้วยว่า นอกจากเรื่องของความน่าสนใจของเนื้อหาตาม 4 key factors ที่ว่าด้านบนแล้ว ระบบ Reels Algorithm ก็จะประเมินในส่วนของ

  • Recent Activity ของ User นั้นๆ ด้วยว่าชอบเสพเนื้อหาแบบไหนอยู่ หรือเพิ่งจะกดไลค์หรือคอมเมนต์เนื้อหาอะไรไป
  • History ของ Interaction ว่าที่ผ่านมา User นี้ได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีของใครบ้าง เช่นคุยกับเพื่อนคนไหน ไปเยี่ยม Profile หรือไปส่องแบรนด์ไหนมาบ้างและ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับ Audio ที่ใช้และความเข้าใจเนื้อหาของวิดีโอในแต่ละตาราง Pixels เฟรมภาพของวิดีโอต่างๆ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นไปได้มากว่ามันคือการใช้ระบบ AI ในการประเมินว่าคลิปๆ นึงที่ User เข้าไปดูหรือ Interact ด้วยนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น หากในคลิปมีแมวเยอะๆ ระบบก็จะยิ่งหาคลิปที่มีแมวมาให้ดูเพิ่มอีกค่ะ

สุดท้ายนี้ Instagram ยังแชร์ถึงสิ่งที่นักการตลาดและ Content Creator ทั้งหลายควรหลีกเลี่ยงเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ยอด Reach เพิ่มขึ้นนั่นก็คือ

  • อย่าปล่อย Low-quality content หรือคลิปภาพเบลอ ภาพไม่ชัด รวมไปถึงคลิปที่ติด Watermarked ซึ่งโดยนัยยะก็คือคลิปที่เซฟมาจาก TikTok แล้วยังมีลายน้ำติ๊กต่อกติดมาอยู่นั่นเอง เพราะก่อนหน้านี้ IG ได้มีประกาศเลยว่าจะ Limit ยอด Reach ของคลิปที่เซฟมาจาก TikTok ค่ะ เพราะฉะนั้นระวังด้วยนะคะ
  • อีกส่วนนึงก็คือคลิป Reels ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Politics หรือการเมืองที่เป็น Sensitive Content ต่างๆ ค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Instagram Reels Algorithm ที่ไอจีเองได้ออกมาแชร์เองเลย เพราะฉะนั้นหากเรารู้แล้วว่าระบบหลังบ้านเค้าทำงานอย่างไร แนะนำคลิป Reels ให้ Users ในแพลตฟอร์มอย่างไร ก็อย่าลืมปรับตัวตาม ทั้งนี้ก็เพื่อยอด Reach ที่ดีเพิ่มขึ้น เพลินแนะนำเลยคือให้ทำคอนเทนต์ที่คนอยากหรือสามารถ Remix เสียงหรือ Audio ของคุณต่อได้ อย่างกรณีของ Campaign Remix ล่าสุดที่ติ๊กต่อกทำที่ชื่อว่า #TikTokRemake เป็นอะไรที่ฉลาดมากๆ แถมเนียนๆ เข้ากับ Nature ของคนเล่นเนื้อหาประเภท Short Clip แบบนี้ได้ดีมากๆ ค่ะ ยังไงก็ลองดูกันนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน