ตอบโจทย์ Marketing KPI แบบง่ายๆ ถ้าเข้าใจ IG Exploration System

ตอบโจทย์ Marketing KPI แบบง่ายๆ ถ้าเข้าใจ IG Exploration System

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าโพสที่อยู่ในช่อง Explore หรือไอคอนแว่นขยายที่อยู่ด้านซ้ายล่างนั่นรู้ใจสิ่งที่เราชอบได้ยังไง และบางคนเราไม่ได้ติดตามเขาด้วยซ้ำ ทำไมดันมาปรากฎหน้าฟีดของเราบ่อยๆ บทความนี้เราพาทุกคนมารู้จักกับแท็บนี้ว่า IG Exploration system นั้นสำคัญยังไง ทำงานอย่างไร และทำยังไงเราถึงจะมาขึ้นอยู่ในหน้า Explore แบบคนอื่นๆเขาบ้าง เพราะเป็นแท็บที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อแบรนด์แหละเหล่า influencer ทั้งหลายค่ะ วันนี้เราเอาข้อมูลดีจาก Instagram และ Sproutsocial มาให้อ่านค่ะ

สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือแท็บ Explore page คืออะไร

แท็บนี้ก็เหมือนเป็นการนำชุดคอนเทนต์ที่ถูกเลือกมาจากความสนใจแต่ละบุคคล (Personalized content) หรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับสิ่งที่เรามักจะ engaged ด้วย โดยจะถูกคละมาในรูปแบบของโพส วิดีโอ Reels หรือแม้กระทั่งไอจีสตอรี่เข้ามาอยู่ในแท็บด้านล่าง และจะเป็นไปได้ว่าหน้า Explore ของเราอาจจะมีสิทธิ์ที่ไม่ซ้ำกับเพื่อนเราเลย ถ้าใครอยากรู้ว่าไม่เหมือนกับเพื่อนจริงมั้ย ลองกดตามลูกศรด้านล่างแล้วลองเทียลกับเพื่อนดูค่ะ แล้วเราจะรู้ว่าเจ้าของไอจีนั้นมีความสนใจเรื่องอะไรอยู่

แต่ยังไม่หมดแค่นั้น เจ้าไอคอนแว่นขยายนี้ยังสามารถพาเราไปท่องคอนเท้นหลากหลายในไอจีได้อีก คือเราสามารถพิมสิ่งที่เราสนใจลงไปที่ Search bar และต้องการหา topic ที่เราสนใจ เช่น Space เค้าก็จะโชว์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดขึ้นอมาอยู่ในหมวด Top หรือเราอยากจะลองหา Accounts ที่เกี่ยวกับ Space ก็ได้ หรือจะเป็นสถานที่ เสียงเพลง หรือที่ที่คนมักจะแท็กก็ได้ แค่ยี้ก็พอเดาออกแล้วใช่มั้ยคะ ว่าถ้าแบรนด์เราขึ้นอยู่เป็นโพสแรกๆในทุกแท็บ Explore เราจะมี traffic ใหม่ๆ จาก IG users มากแค่ไหน

แล้วแท็บนี้สำคัญยังไง? ส่งผลต่อแบรนด์ในแง่ไหนบ้าง?

อย่างที่เกริ่นในประโยคสุดท้ายค่ะ ว่าอย่างแรกเลยเราจะได้ประโยชน์จาก traffic จาก Statista การคาดการณ์ว่าไอจีจะมีผู้ใช้งานเกือบ 1.3 พันล้านคนต่อเดือนในปี 2023 ค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าการที่คนใช้มากก็จะมีประโยชน์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาค่ะ

เพิ่มผู้ติดตาม: เชื่อมั้ยคะว่ามีมากกว่า 200 ล้านบัญชีที่ใช้ Explore page ตรงนี้ทุกวัน หมายความว่า อาจจะมีโอกาสถึง 50% ของผู้ใช้ไอจีที่สนใจในหมวดหมู่นั้นถูกเอาคอนเทนต์ที่น่าจะมีโอกาสปัง ดันไปยังหน้า Explore นั่นเองค่ะ ลองคิดดูว่านี่เป็นโอกาสที่จะเพิ่มผู้ติดตามของเราได้หรือยัง

เพิ่ม Engagement: แน่นอนค่ะว่าพอคอนเทนต์เรามีโอกาสคนเห็นเยอะขึ้น เราก็อาจจะได้ยอดไลค์ คอมเม้น หรือแม้แต่แชร์ไปหาคนอื่นต่ออเรื่อยๆ ยิ่งจะทำให้เราสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์และผู้ใช้ได้ดีมากขึ้นค่ะ

เพิ่มยอดขาย: เมื่อคอนเทนต์ของเราถูกดันไปอยู่ Explore page ก็เหมือนสินค้าที่ถูกวางบนหน้าชั้นสินค้าในห้างสรรพสินค้าใช่มั้ยหละคะ ยิ่งสมัยนี้ไอจีมีฟีเจอร์ Shoppable post ออกมาช่วยแบรนด์เพิ่มยอดขาย และทำให้การซื้อสินค้า seamless มากขึ้น ซึ่งมีฟีเจอร์รองรับทั้งแบบโพสและแบบวิดีโอเลย และที่สำคัญเราสามารถใช้ Ads บน Tab นี้ได้แล้วด้วย เชื่อว่ายอดขายพุ่งกระฉูดแน่นอนค่ะ

เข้าใจการทำงาน IG Exploration system เพื่อให้คอนเทนต์ถูกดันขึ้น

อย่างที่พูดมาด้านบนบางคนก็อาจจะอยากรู้แล้วว่า AI จะดันคอนเทนต์เรายังไงได้บ้าง อย่างแรกที่ต้องเข้าใจคือ IG จะใช้ระบบในการคัดเลือกคอนเทนต์จะคละมาจาก 2 Factors

Connected Recommendation : ที่จะมาจากบัญชีที่เราติดตามและเรียงจากโพสที่คล้ายกับสิ่งที่ชอบคล้ายๆกับหน้า IG Feed และมี engaged มากที่สุดหรือเป็นคอนเทนต์ที่มี sub-set กับสิ่งที่เขาชอบมากที่สุด เพื่อมาโชว์ในหน้า Explore  

Unconnected Recommendations หรือเรียกง่ายๆว่า Suggested post อันนี้จะมาจากกิจกรรมต่างๆของผู้ใช้งาน ณ ขณะนั้นและ AI ก็จะเลือกโพสที่ใกล้ๆกันเข้ามาแนะนำอีกที จะทำให้ Explore page นั้นจะเต็มไปด้วยสิ่งที่เราสนใจอยู่และจะมีทั้งสิ่งที่ IG คิดว่าเราน่าจะสนใจเพิ่มในอนาคตนั่นเองค่ะ

Candidiate Generation : ปัจจัยที่ทำให้เราขึ้นหน้า Exploration Feed

กิจกกรมของผู้ใช้ Instagram มากมายจะช่วยให้ระบบนั้นสามารถแนะนำเราได้อย่างตรงใจมากขึ้นและจะช่วยเติมเต็มกราๆระบบ AI ให้เห็นภาพเสมือนจริงกว่าเดิม ซึ่งก็จะเหมือนเมล็ดพันธุ์ชั้นดีที่ผู้เขียนหรือแบรนด์นั้นแสดงความสนใจได้อย่างชัดเจนที่ทำให้ระบบนั้นนำไปต่อยอดต่างได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

แน่นอนว่าในหนึ่งวันมีคนโพสต์ Instagram มากมาย แต่ใครหละที่จะถูกเลือก ซึ่งทาง Instagram นั้นก็ได้แบ่ง Criteria ออกมาหลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ User Account ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ทาง AI ก็จะสามารถเรียนรู้พฤติกรรมจาก account เหล่านี้ได้จากคำพูดต่างๆที่เรามักจะใช้ตอบโต้กัน เช่น เราบอกเพื่อนว่า “ทะเลของเพื่อนสวย น่าไปมาก” อย่างถัดมาคือ Media Interaction คือการที่ระบบเรียนรู้สิ่งที่เรามักจะเข้าไปดูอยู่บ่อยๆ เช่น ถ้าชอบเข้าไปดูอวกาศ ระบบก็จะแนะนำอวกาศให้เราขึ้นมา ถึงแม้การคัดเลือกจะมีอยู่หลาหลายวิธีการ แต่ด้านล่างนั้นก็คือ Interaction ที่มักจะถูกนำไปพิจรณาในการขึ้น Explore Feed ค่ะ

Post Information : คือเนื้อหาที่อยู่ในโพส ที่อาจรวมถึงแคปชั่น สถานที่ แฮชแท็กและความคิดเห็นต่างๆ ว่าเกี่ยวข้องกับ audience มากแค่ไหน

Acticity on Instagram : Explore Tab นั้นถูกออกแบบมาสำหรับเฉพาะบุคคลอยู่แล้ว การใช้ Insight Tools ของ Instagram เพื่อวิเคราะห์ดูว่าคอนเทนต์ไหนของเราถูกส่งออกไปหน้า Explore บ้าง ก็จะช่วยให้ราจับทางถูกค่ะ

Content Creator : ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เจ้าของคอนเทต์นั้นมีส่วนร่วม ถ้ายิ่งเรา interact กับประเภทคอนเท้นที่ใกล้เคียงกันก็จะส่งผลให้คะแนนในการคัดเลือกไปหน้า explore เราก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ

ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ถ้าเราเป็น Food lovers ชอบดู Reels ที่สอนทำอาหาร ชอบกดไลค์โพสเกี่ยวกับอาหาร แน่นอนค่ะว่าไอจีจะแนะนโพสที่เป็นอาหารท่ให้คุณอย่างแน่นอน หรือบางครั้งอาจจะเป็นจานที่ใส่อาหารด้วยก็เป็นไปได้ค่ะ  

ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อยากแนะนำผู้อ่านนำความรู้ที่ได้กลับไปลองทำกับคอนเทนต์ของตัวเองดู ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์คอนเทนต์ที่สามารถสร้าง Engagement ได้ จะเป็นโพสต์ที่ติดตามสถานการณ์หรือเป็นโพสที่ขึ้นต้นด้วยคำถามก็ได้เหมือนกัน อย่างถัดมาก็คือลองดู Explore page ที่มักจะขึ้นหน้าบัญชีเราบ่อยๆ ว่าเขาโพสต์คอนเทนต์แนวไหนบ้าง และมีสิ่งไหนที่เราจะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น แล้วลอง A/B testing ดูนะคะว่าเราทำได้มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญคือการโพสต์เวลาที่คอนมักจะเห็นคอนเทนต์เรา ซึ่งนั่นก็อาจจะทำให้คอนเทนต์นั้นมีโอกาสขึ้นหน้า Explore สูงเหมือนกันค่ะ ส่วนอย่างสุดท้ายคือการใช้ Paid ads ที่ให้คนเห็นในหน้า Explore มากขึ้น ส่วนตัวแล้วการทำให้คอนเทนต์เราขึ้น Explore page ก็ถือเป็น Strategy อย่างหนึ่งในการเพิ่มผู้ติดตาม เพิ่ม Engaged และสามารถนำไปสู่การสร้างยอดขายได้ เชื่อว่าถ้าทำตามนี้ได้ถือว่าค่อนข้างตอบโจทย์ KPI ของนักการตลาดในหลายๆที่เลยแหละค่ะ

อ่านบทความความของการตลอดวันละตอน เรื่องวิธีการทำ Content Strategy ยังไงให้ปังได้ที่นี่

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *