7 ทริคช่วยจัดการปัญหาแอคปลอม Fake Account มิจฉาชีพ ที่สวมรอยเป็นแบรนด์

7 ทริคช่วยจัดการปัญหาแอคปลอม Fake Account มิจฉาชีพ ที่สวมรอยเป็นแบรนด์

7 ทริคช่วยจัดการปัญหา Fake Account มิจฉาชีพ ที่เลียนแบบ สวมรอยเป็นแบรนด์

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัญหา Fake Social Media Account หรือแอคเคาท์ที่พยายามเลียนแบบ หรือสวมรอยเป็นแบรนด์ค่ะ จะมีวิธีจัดการอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เกิดความเสียหายได้บ้าง 

ซึ่งนุ่นมองปัญหานี้ออกเป็นหลายมุมนะคะ อาจสร้างทั้งประโยชน์เพียงเล็กน้อย แต่สร้างปัญหาใหญ่ให้แก่แบรนด์ได้มากกว่า ทั้งนี้ในมุมของ Branding ยังไงก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ในกรณีที่เป็น Fake Social Media Accounts ที่พยายามทำให้ตัวเองดูหน้าเชื่อถือเพราะต้องการยอดขายจริง ๆ รับสินค้าโดยตรงไปขาย ลูกค้าก็โชคดีไปแบบเสี่ยง ๆ 

แต่ส่วนมากแอคเคาท์ปลอม ที่สร้างโดยมิจฉาชีพทั้งพยายามเลียนแบบแบรนด์และทำการโกงไม่ส่งของ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะกระทบกับชื่อเสียง ความน่าเชื่อแบรนด์อย่างเลี่ยงไม่ได้ค่ะ  

รายงานตัวเลข Fake Account จากแต่ละแพลตฟอร์ม:

  • Facebook: 1.3 – 1.5 พันล้าน บัญชีปลอม (ไตรมาส 4 ปี 2565)
  • Twitter: บัญชีปลอม 90,822 บัญชี (ไตรมาสที่ 4 ปี 2021) อย่างไรก็ตามหลัง Twitter มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและนโยบาย ตัวเลขอาจขยับลงมาพอสมควรค่ะ เพราะมีการระงับบัญชีเสี่ยง ๆ ออกไปเยอะมาก
  • TikTok: บัญชีปลอม 54,453,610 บัญชี (ไตรมาส 4 ปี 2565)
  • Instagram ไม่มีรายงาน

เพราะฉะนั้นมี 5 ทริคที่จะมาแนะนำนักการตลาดและคนทำแบรนด์ได้นำไปใช้ได้จริง เหมาะกับยุคที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงอินเทอร์เน็ต เสมือนลูกค้าอันเป็นที่รักของเรา เขาอยู่ใกล้มิจฉาชีพแค่ปลายนิ้วเท่านั้น 

#1 หมั่นเช็ก Social Media และข่าวสาร

ใช้ Social Listening Tools ที่สามารถอัปเดตโพสต์ที่กล่าวถึงแบรนด์ ด้วย Keyword ซึ่งจะสามารถมอนิเตอร์พร้อมติดตามเทรนด์ที่เกี่ยวข้องได้ดีมีลูกเล่นอื่น ๆ มากกว่าการใช้ Monitoring Tools ธรรมดาเพียงอย่างเดียวค่ะ โดย SME ก็สามารถเลือกแพ็คเกจที่เหมาะกับงบประมาณและการใช้งานได้หลากหลายราคา

หรือยังไม่สามารแบ่งงบประมาณทรัพยากรมาได้ก็เริ่มต้นด้วยการใช้ช่องเสิร์จของแต่ละแพลตฟอร์ม แนะนำอย่างยิ่งใน Twitter ค่ะ โดยมีคำแนะนำที่จะใช้เพื่อเสิร์จหรือตั้งเป็น Keyword บนเครื่องมือ Social Listening ดังนี้:

  • ชื่อแบรนด์
  • ชื่อสินค้า บริการ
  • ฉายา สโลแกน
  • เครื่องหมายการค้าที่สื่อถือสินค้าเรา หรือตลาดเดียวกับเรา
  • แฮชแท็ก
  • ชื่องาน Event
  • ชื่อผู้บริหาร ชื่อพรีเซนเตอร์
  • คำที่คนอาจสะกดผิด หรือตัวย่อที่เป็นไปได้ทั้งหมดข้างต้น คนไทยชอบย่อคำค่ะ เช่น หลุย หลุยวิค

#2 โพสต์เตือนภัย และปกป้องตัวเอง

วิธีที่ง่ายและทำได้รวดเร็วคือการโพสต์เตือนภัย และเป็นข้อมูลให้ลูกค้าได้เบื้องต้นเลยว่าจะสามารถแยกแอคเคาท์ของแบรนด์ กับแอคเคาท์ปลอมอย่างไรได้บ้าง ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นอย่างมาก ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเรื่องไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นก่อน เราสามารถโพสต์ปกป้องตัวเองไว้ได้เป็นด่านแรกเลยค่ะ

ตัวอย่างแจ้งเตือนเพจปลอมจากแบรนด์ดัง

ยิ่งแพลตฟอร์ม Social Media เข้าถึงได้ง่ายเท่าไหร่ก็ยิ่งสะดวกต่อมิจฉาชีพค่ะ ไม่นับรวม SMS หรือคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังเป็นภัยสังคมร้ายแรง นอกจากเตือนให้ลูกค้าระวังตัวเองแล้ว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวและแบรนด์ที่จะหานโยบายให้แบรนด์สามารถดูแลลูกค้าได้รัดกุม มีความปลอดภัยในการใช้บริการค่ะ

#3 Report Fake Account

เมื่อคุณพบบัญชีโซเชียล Fake Accounts มิจฉาชีพ ที่แอบอ้างเป็นแบรนด์ของคุณ สิ่งที่ต้องทำคือรายงานบัญชีดังกล่าวไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ลบบัญชีที่แอบอ้างเป็นเราค่ะ เพราะมันคือการละเมิดกฏของการใช้บัญชีโซเชียลมีเดียอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วจะมีปุ่มให้กด Report บริเวณหน้าโปรไฟล์นั้น และนุ่นก็รวมพิกัดมาให้ด้วยค่ะ

นอกจากนี้ Meta ยังสามารถตั้งค่า Brand Rights Protection in Business Manager และยื่น requests เพื่อลบการแอบอ้างบุคคลอื่น ได้โดยตรงใน Brand Rights Protection tool ได้เช่นกัน

#4 ใช้ Google Alerts

คอลเลกชั่นการแจ้งเตือนของ Google หรือ Google Alerts เป็นการให้บริการของกูเกิลในการแจ้งเตือนผ่านอีเมลหรือฟีด สำหรับหัวข้อที่เราต้องการติดตามหรือสนใจ ด้วย Keyword เมื่อมีข้อมูลนั้นได้รับการขึ้นบนเว็บไซต์หรือบล็อก คอนเทนต์ที่ตรงกัน จะมีแจ้งเตือนคุณเกี่ยวกับบล็อกปลอม เว็บไซต์ หรือเนื้อหาดิจิทัลอื่น ๆ ที่อาจเชื่อมโยงมาจากบัญชีโซเชียลปลอมได้ด้วยค่ะ ทั้งนี้สามารถตั้งค่าให้บัญชีโซเชียลใหม่และโพสต์ขึ้นในการแจ้งเตือนของ Google ได้เพื่อความสะดวก

อ่านวิธี Create an alert เพิ่มเติมโดย Google ได้ที่นี่ค่ะ > https://support.google.com/websearch/answer/4815696?hl=en

เริ่มต้นใช้งาน Google Alerts > https://www.google.com/alerts

#5 ขอยืนยันตัวตน เครื่องหมายถูก Verified

เพื่อที่จะรีพอร์ต Fake Account มิจฉาชีพ ที่มาสวมรอยได้เร็วขึ้น เราคงรจะมีบัตรผ่านที่ดีที่สุดบน Social Platform อย่างเครื่องหมาย Verified ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่แสดงความหน้าเชื่อถือ ใครเห็นก็จะเข้าใจตรงกันว่าแอคเคาท์นี้แหละของแบรนด์จริง เพราะยืนยันตัวตนเรียบร้อย~

ซึ่งสามารถทำตามข้อกำหนดของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ได้เลยค่ะ อย่าง Twitter ก็เพิ่งอัปเดตการจ่ายเพื่อซื้อ Twitter Blue ยืนยันตัวตนในรูปแบบการชำระเงินรายเดือนและรายปีค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TikTok >

#6 เตรียมแผนสำหรับ SOCIAL MEDIA CRISIS & ONLINE REPUTATION RISK

รีบใช้แผนปรับ Scheduled Posts หยุดคอนเทนต์ทั้งหมดชั่วคราวเมื่อมี Crisis อยู่ >

ยกเลิกตารางคอนเทนต์อื่น ๆ ไม่ให้ถูกโพสต์หากแบรนด์กำลังจะมีรถทัวร์มาจอดที่หน้าบริษัท (ดราม่า) รวมทั้งคอนเทต์ที่มีตารางโพสต์จาก Influencer ต่าง ๆ ด้วยนะคะ เพราะอาจแปลได้ว่าแบรนด์กำลังปล่อยเบลอ ไม่สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่แคร์ที่จะแก้ปัญหาให้เรียบร้อยก่อน เพราะเราควรรับทราบปัญหา แต่เลี่ยงการโต้แย้งทันทีนะคะ จับมือแอดมินไว้ดี ๆ มีสติก่อนตอบคอมเมนต์

#7 ชื่อแบรนด์และเอกลักษณ์ที่ยากจะเลียนแบบ

ข้อนี้อาจจะดูยาก หรือซับซ้อนเพราะต้องใช้เวลาและความเคยชินจาก Follower ค่ะ อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงคนที่พยายามจะเลียนแบบอย่างจริงจังก็ต้องใช้ทีมกฏหมายและทรัพยากรเฉพาะ และเพราะแบรนด์มีอะไรมากกว่าชื่อ โลโก้ ยิ่งแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมาก ๆ ผู้ติดตามหลายสิบล้าน ก็ยิ่งมีบัญชีปลอมที่เลียนแบบของคุณได้ยากขึ้นเท่านั้นค่ะ

สำหรับแบรนด์ที่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก หรือจะแยกออกด้วยจำนวน Follower ง่าย ๆ เหมือน DIOR ก็ลอง 2 วิธีนี้ค่ะ 1. มีชื่อแบรนด์ที่ดี ยังไม่ซ้ำ ไม่มีคนใช้มาก่อน และตั้งชื่อได้เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม 2. มีแคปชั่นหรือการตอบคอมเมนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือถ้ามีแอคเคาท์ปลอมมาเลียนแบบก็ตอบได้ไม่เหมือนเรา เป็นต้นค่ะ


ทั้ง 7 วิธีที่นุ่นนำมาฝากในบทความนี้ทั้งแบรนด์เล็กและแบรนด์ใหญ่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ตามจุดประสงค์ที่แตกต่างกันค่ะ เพราะเป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการ หมั่นเช็ก Social Media และข่าวสารบนสื่ออื่น ๆ ผ่านเครื่องมือ Social Listening การทำแจ้งเตือนเพื่อปกป้องชื่อเสียง ช่วยให้ลูกค้าไม่หลงเชื่อมิจฉาชีพที่สร้างแอคเคาท์ปลอมนอกจากเตือนให้ลูกค้าระวังตัวเองแล้ว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแบรนด์ที่จะหานโยบายให้แบรนด์สามารถดูแลลูกค้าได้รัดกุม มีความปลอดภัยในการใช้บริการค่ะ

นอกจากนี้ยังมีพิกัดการแจ้ง Report ของแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งแนะนำให้ขอเครื่องหมาย  Verified เพื่อยืนยันตัวตนก่อน การส่งรายงานไปยังผู้ดูแลแพลตฟอร์มจะได้มีน้ำหนักมากกว่านะคะ ปิดท้ายด้วยคำแนะนำให้มี SOCIAL MEDIA CRISIS สำรองฉุกเฉินเบื้องต้น และการเลือกชื่อแบรนด์ที่ไม่มีเหมือนใคร มีเอกลักษณ์และเป็นเจ้าแรก จะได้ตั้งชื่อแอคเคาท์ไม่ซ้ำเจ้าอื่นค่ะ หากสามารถทำวิธีไหนได้ก่อน ณ วันนี้ ก็เริ่มได้ทันทีเลยนะคะ

บทความที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่