คู่มืออ่าน “ตัวชี้วัด” ที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับการทำ YouTube ในปี 2022

คู่มืออ่าน “ตัวชี้วัด” ที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับการทำ YouTube ในปี 2022

มาอ่านให้รู้กันว่า ตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด ที่จำเป็นต้องรู้สำหรับการทำYouTube ในปี 2022 เพื่อรักษาคุณภาพวีดีโอและคุณภาพรายได้

ซึ่งถือว่าเป็นตัวเป็นตัวชี้วัดระดับสูงในปีนี้ มีมาตราการวัดหลักสำคัญมากๆ 2 อย่างดังนี้  

1.Increase Audiene (มาตรการวัดผู้ชม)

  • Watch time (hrs) เวลาการรับชม นับเป็นชั่วโมง
  • Views จำนวนการดู
  • Subscribers คนกดซับเพิ่มไหม
  • Subscribers WT(hours) จำนวนคนที่เป็นซับดูจำนวนกี่ชั่วโมง

จะเห็นว่าการวัดของยูทูปแบบนี้เห็นชัดได้เลยว่า ยูทูปให้ความสำคัญกับ

  • คุณภาพของวีดีโอ (เป็นอันดับแรก เพราะเน้นคุณภาพวีดีโอให้คนดูนานมากขึ้น)
  • จำนวนวิว (ให้ความสำคัญรองลงมาจาก Watch Time)

ให้ความสำคัญกับวีดีโอจริงต้องมีคนกด subscribe ในวีดีโอนั้น และยังดูด้วยว่าคนกด subscribe นั้น ดูนานแค่ไหน ความหมายคือ ช่องคุณวีดีโอคุณรักษาคุณภาพวีดีโอไว้ได้เช่นเดิมหรือไม่ หรือเปลี่ยนแนวไปจนคนกดซับไม่กด subscribe แล้ว 

2.) Increase Revenue (มาตรการวัดรายได้)

เราอย่าลืมว่า eCoSystems ของยูทูปนั้นเป็นสามเหลี่ยมทองคำดีๆนี่เอง นั่นคืออะไร 

สามเหลี่ยมทองคำแห่งยูทูปประกอบด้วย 

2.1> Creators หรือคนสร้างคอนเทนต์

2.2> Users คนเข้าชมคอนเท้นท์

2.3> Advertisers คนลงโฆษณา 

ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็น Core หลักของ eCoySystem ของยูทูป ฉะนั้นสิ่งที่ยูทูปต้องคงไว้เลยต้องประกอบด้วย ข้อ 1 + 2 คือ คุณภาพวีดีโอ และรายได้ของคนสร้างคอนเทนต์ (หากมองลึก เขายังมองว่าคุณภาพวีดีโอที่ดีคือ คุณภาพของโฆษณาที่ดี คุณภาพโฆษณาที่ดีคือ รายได้ที่ดีของ Creators)

หลักใหญ่ๆของการวัดรายได้มีดังนี้ 

  • Net Revenue ของช่องนั้นๆ หรือ Creators นั้นๆ
  • RPM ยอดรายได้ต่อการดู 1,000 ครั้ง ความหมายคือหากทุกพันครั้งมีรายได้มากขึ้นแสดงว่ามีโฆษณามากขึ้น บ่งบอกถึงคุณภาพวีดีโอที่ดี คนดูนาน และมีสิทธิ์ดูจนจบวีดีโอ 
  • Fill rate (Views/est.meneit playback) คือมีโฆษณาลงเยอะหรือไม่ มีแอดลงตลอดหรือไม่ต่อการเล่นวีดีโอ 
  • Playback-based CPM (CPM ตามการเล่น)

CPM 

ต้นทุนต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง (CPM) คือเมตริกที่แสดงจำนวนเงินที่ผู้ลงโฆษณาใช้เพื่อแสดงโฆษณาบน YouTube คุณจะเห็นเมตริก CPM ที่มีความแตกต่างกัน 2-3 รายการใน YouTube Analytics ดังนี้

  • CPM: ต้นทุนที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายสำหรับการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง ระบบจะนับทุกครั้งที่มีการแสดงโฆษณา
  • CPM ตามการเล่น: ต้นทุนที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายสำหรับการเล่นวิดีโอที่มีการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง

ทั้งสองเมตริกท์ข้างต้น YouTube จะดูอัตราการเติบโตใน 90 วันและดูว่า Growth Rate เป็นกี่ % เพื่อวัดคุณภาพของช่องคุณและรายได้ของคุณ ซึ่ง 90 วัน นั่นก็คือ 1 ควอเตอร์นั่นเอง ฉะนั้นเราจะเห็นว่าบางควอเตอร์วิวเท่ากันแต่รายได้สูงกว่าอีกควอเตอร์ก็เป็นไปได้ 

วันนี้มาสั้นแบบ Quick Win นำไปใช้ได้เลย คือเวลาดูสถิตเหล่านี้หรือเล่นกันดาต้าเหล่านี้ให้ดูเป็นช่วงๆ เช่น ข้อมูล 1 ปี (365วัน) 90 วัน 28 วัน และ 7 วัน และที่สำคัญดูเป็นช่วงเดือนในแต่ละเดือนเพื่อหาความต่อเนื่องของคอนเทนต์และแนวโน้มของรายได้ 

อ่านดาต้าออก เข้าใจความหมาย คุณก็ไปได้ไกลกว่าคนอื่นเสมอ จำไว้เสมอว่า ดาต้าเหมือนกันแต่การนำไปใช้และการตีความหมายของแต่ละคนต่างกัน   

ฝึกบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ แล้วคุณจะเป็นคนที่ตัดติดใจทุกอย่างด้วยดาต้า ไม่ใช่สัญชาติญาณ 

สามารถอ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับเทคนิคการทำ YouTube เพิ่มเติมได้ ที่นี่

Kaowrote Sutapakdi

ก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director Digital Media TNN 16 (www.tnnthailand.com) อดีตนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (sonp.or.th) ทำงานที่ (www.siamsport.co.th) มา 19 ปี เป็น Webmaster คนแรกของเว็บนี้ มาจากสายโปรแกรมเมอร์ แต่มาเติบโตด้านมีเดีย หรือการทำสื่อเพราะว่าชอบเรื่องการสื่อสารและติดต่อกับคน ทำงานด้านดิจิทัลมีเดียมาตลอด ก่อนยุคเกิดของ Social Media (Twitter,Facebook,Youtube,IG,TikTok) ตั้งแต่สมัยเขาเรียกเว็บไซต์ว่า New Media ผ่านมรสุม Media Disruption มาทุกยุคสมัย ตั้งแต่แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ จนถึง ทีวีดิจิทัล สู่ยุค OTT ติดต่อได้ Email:[email protected] Line : kaowrote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน