YouTube​ Strategy​ 101 : อ่าน Data หลังบ้านอย่างไรเพื่อให้ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งกล่อง

YouTube​ Strategy​ 101 : อ่าน Data หลังบ้านอย่างไรเพื่อให้ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งกล่อง

ไม่มีคลิปแบบฟลุ๊กๆที่ได้ล้านวิวอีกต่อไป … มีแต่คลิปที่ตั้งใจทำจากดาต้าที่วิเคราะห์แล้วเท่านั้นที่จะได้ทั้งเงินและทั้งกล่อง 

การอ่านข้อมูลจาก Data Studio Youtue สำคัญอย่างไร ในปี 2022 Youtube ให้ความสำคัญกับค่าชี้วัดตัวใดและค่าไหนเราควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ อะไรคือปัจจัยในการสร้างรายได้และสร้างซับได้อย่างยั่งยืน บทความนี้มีคำตอบ 

คุณพร้อมจะรวยจากการเป็น Youtuber แล้วหรือยัง??? 

ถ้าพร้อม….

ลองอ่านบทสรุปย่อข้างล่างนี้ก่อนที่จะไปเข้าใจ Youtube Data Studio 

  1. คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
  2. อินเทอร์เน็ตบนมือถือไทยเร็วเป็นอันดับที่ 29 ของโลกในปี 2022
  3. ความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี 2022
  4. คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 18 ของโลก ในปี 2022
  5. คนไทยปี 2022 ติดอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 7 ของโลก ใช้วันละ 9.06 ชั่วโมง
  6. คนไทยในปี 2022 ใช้ Social media 81.2%
  7. คนไทยใช้โซเชียลมีเดียวันละ 2:59 ชั่วโมง
  8. คนไทยใช้ Video เป็นแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ถึง 41.7%
  9. คนไทยดูรายการทีวีทาง Streaming หรืออินเทอร์เน็ตมากถึง 97.1%
  10. การดูทีวีสดทางออนไลน์แบบ Streaming กินส่วนแบ่งการดูทีวีปกติไป 44% แล้ว
  11. โฆษณายูทูป YouTube Ad สามารถเข้าถึงคนไทยได้กว่า 42.8 ล้านคน
  12. YouTube คือแพลตฟอร์มที่คนใช้เวลาเยอะที่สุด สูงถึง 23.7 ชั่วโมงต่อเดือนนั่นคือจำนวนเวลาเฉลี่ยที่คนทั่วโลกเสียเวลาบน Youtube ใน 1 เดือน 

จากบทสรุปย่อ เราสรุปได้ว่า YouTube กลายเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่ผู้คนทั่วโลกล้วนใช้เวลาด้วยเยอะที่สุดในปี 2021-2022 สูงถึง 23.7 ชั่วโมงต่อเดือน ตามมาด้วย Facebook เป็นอันดับสอง 19.6 ชั่วโมงต่อเดือน ตามมาด้วย WhatsApp 18.6 ชั่วโมงต่อเดือน กับ Instagram 11.2 ชั่วโมงต่อเดือน 

ส่วน TikTok แย่งเวลาจากผู้คนมาได้นานถึง 19.6 ชั่วโมงเทียบเท่ากับ Facebook เรียบร้อยครับ

ข้อมูลด้านบนนี้ทั้งหมดหาอ่านได้ในเว็บนี้หล่ะ

ใจความสำคัญคืออะไร ใจความสำคัญคือ คนทั่วโลกใช้เวลาเฉลี่ยบน Youtube คือ 23.7 ชั่วโมงต่อเดือน 

แทบจะเรียกว่าใน 1 เดือน เราสูญเสียเวลา 1 วัน สำหรับการดูคลิปบน Youtube จึงไม่น่าแปลกใจที่ดาต้าบอกว่า “ โฆษณายูทูป YouTube Ad สามารถเข้าถึงคนไทยได้กว่า 42.8 ล้านคน อาจจะเรียกได้ว่าปีนี้ Corporate , Brand , SME , ONLINE Commerce ทุ่มงบโฆษณามาที่ Youtube แน่นอน  

เรามาลุยอ่านดาต้ากันดีกว่า 

1.Tab Overview  หน้า Channel Analytics

ถ้ากดมาจากหน้า Youtube Studio  ตรงที่ Go to Channel Analytics จะเป็นภาพรวมช่อง 

ถ้ากดเลือกดูวีดีโอใดๆจะเป็นภาพรวมวีดีโอนั้นๆ  หรือ Video Analyticsเพื่อวิเคราะห์วีดีโอนั้นอย่างเดียว)

แถบนี้จะบอกทุกอย่างในช่องคุณ เรียกว่าดึงข้อมูลสำคัญๆจากแต่ละแท็บมาไว้รวมกันที่เดียว

  • Views > จำนวนคนดูกี่ครั้ง ผมเข้าไปกดดูสองครั้ง เรียก 2 Views 
  • Watch time  (hours)  > จำนวนชั่วโมงคนดู นับรวมหน่วยเป็นชั่วโมง ตอนนี้คู่แข่งน่ากลัวของ 

Youtube คือ TikTok เพราะว่าใช้เวลานับหน่วยการดูเป็นชั่วโมงเหมือนกัน 

  • Subscribers > จำนวนคนกดติดตาม หรือจำนวนซับ นั่นเอง
  • Your estimated revenue > ประมาณรายได้ที่เราจะได้รับ (รายได้ตรงนี้คือของเราเลย Youtube หักส่วนของ Youtube ไปแล้ว)

ทริกในการดู 

แนะนำให้ปรับช่วงเวลาการดูเป็นช่วงๆ ดังนี้ 

  • รายอาทิตย์ 
  • รายเดือน 
  • รายสามเดือน 
  • รายหกเดือน 
  • รายหนึ่งปี 

อันนี้สำคัญมาก!!! เพราะเราจะได้ดูเทรนด์ของทุกๆ ช่วงเวลา ตามที่เราได้เลือกไว้ว่าเป็นอย่างไร 

จะทำให้เรานึกได้ หรือเข้าใจ Seasonal ของการทำคลิป ว่าช่วงใด ทำอะไร แนวโน้มเป็นแบบไหน ภาษาอ่านดาต้าเรียกว่าดูเทรนด์ เป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลง

2.Tab Reach 

หน้านี้สำคัญมากๆ สำหรับการทำคลิปลำดับต้นๆ เลย 

อันนี้ผมขอเรียกว่า Top Funnel หรือ จุด Touch Point ทุกๆ อย่างนั่นเองโดย Reach จะเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของ Title , Description , Tag  Cover Page ว่าทำงานหรือไม่ 

Title ทำงานอย่างไร?

Title คือตัวหลักเลยที่ออกไป Touch ผู้คนที่ค้นหาคลิปที่ตัวเองต้องการดู หรือต้องการหาข้อมูล  อย่าลืมว่า Youtube คือคลัง VOD (Video On Demand) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เวลาคนค้นหาสิ่งที่ต้องการ คนจะค้นหาจาก “คีย์เวิร์ด” ที่คนนั้นๆ ต้องการดูก่อนเป็นอันดับแรก

**** หากอยากอ่านละเอียดให้กลับไปอ่านบทความตอนที่ 1 YouTube​ Strategy​ 101 : อยากได้ ล้านซับ ล้านวิวมีปัจจัยอะไรบ้าง

คำอธิบายแต่ละแถบในหน้า Reach

ผมขออธิบายแต่ละแถบในหน้า Reach ดังนี้ 

  • Impressions 

คือการแสดงผลของคลิปเราว่าแสดงไปกี่ครั้งจากการค้นหาคลิปของคนตามคีย์เวิร์ดที่เขาอยากดู

  • Impressions click-through rate (CTR)

คือการคลิกเพื่อเข้ามาดูคลิปนั้นๆ จากการที่เขาหาเจอ ตัวที่วัดคุณภาพของ CTR คือ Cover Page หรือปกคลิปนั่นเอง CTR ที่ดีควร >=5%  ได้ต่ำกว่านิดหน่อยถือว่าเก่งแล้วครับ 

  • Views 

คือคนดูกี่ครั้ง ง่ายๆ ตรงตัวเลย ผมกดดู 2 ครั้งก็นับเป็น 2 View เป็นต้น

  • Unique Viewers

คือมีคนดูจริงๆกี่คน ถ้าผมดูคลิปหนึ่งไม่จบ แต่กดดู 2 ครั้ง ระบบจะนับเป็น 2 View แต่คือ 1 Unique Viewers อย่าลืมว่าเราล็อกอิน Youtube ค้างจาก Gmail ระบบจึงสามารถนับคนจริงๆ ได้ว่าคนเข้าดูจริงๆ กี่คน  

ในความเป็นจริงแล้วถ้าเราไปดูในระดับ Video Analytics เราสามารถดูได้เลยว่าคลิปนี้คนดูคือคนกลุ่มไหน อายุเท่าไหร่ ผู้ชาย ผู้หญิง 

อย่างที่เห็นครับว่าหน้านี้บอกหลายๆ อย่าง ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องอ่านดาต้าทั้งหมดให้เป็น อ่านให้เข้าใจ แล้วนำไปปรับปรุงช่องตัวเองและคลิปของตัวเอง

เมื่อเลื่อนลงมาด้านล่างอีกนิด เราจะจะเจอ Funnel ที่ผมบอกไปตอนต้น 

  • Traffic source types 

บอกว่าคลิปเราได้ Traffic มาจากส่วนไหนของ Youtube สัดส่วนเป็น % เท่าไหร่ของ View 

  • Suggested video 

อันนี้ก็ตรงตัวเลยครับหมายความว่าคลิปเราได้ Traffic มาจาก การเป็นวีดีโอแนะนำเป็นจำนวนเท่าไหร่

  • Browse features

คือการเข้าชมจากแถบหน้า Home, Subscriptions, Watch Later, Trending, Explore และฟีเจอร์การเรียกดูแบบต่างๆ 

  • Youtube Search

มาจากการค้นหาของ User เพื่อดูคลิป 

  • External 

คือจากที่อื่นเอา Embed ไปวางในเว็บไซต์ หรือที่อื่นๆ 

  • Other Youtube features 

การเข้าชมจากยูทูปที่ตรงในหมวดหมู่อื่นๆ 

ถัดมาดูที่ Funnel ด้านขวากันบ้าง

  • Impressions and how the led to watch time 

อันนี้คือ Funnel ที่แสดงให้เห็นว่า จาก Impressions ที่เราทำได้ทั้งหมด มีคนคลิกกี่ % แล้วจากการคลิกนั้น สร้างจำนวน View เท่าไหร่ แล้วจาก View ก็สามารถบอกได้ด้วยว่า นาทีเฉลี่ยที่คนดูเป็นกี่นาที (อันนี้สำคัญมากๆ คนดูนาน เราก็ได้เงินเยอะ เพราะแสดงโฆษณาได้หลายครั้ง) สุดท้ายบ่งบอกว่าจากวิวทั้งหมดสร้างเป็น Watch Time เท่าไหร่ 

ด้านล่าจะมีอีก 2 Data ที่ต้องอ่านคือ

  • Traffic source : Suggested video 

บอกว่า Traffic คลิปนี้ มาจากการแนะนำจากคลิปไหน 

  • Traffic source : Youtube Search

ตรงนี้เป็นการตรวจการบ้านของ Title ที่เราตั้งด้วย “คีย์เวิร์ด” ที่เราหาและทำนั้น สร้าง Traffic ให้เราได้จริงหรือไม่ ตรงนี้สำคัญมากๆ ดูให้ดีๆ ว่า คนมาดูคลิปเรานั้น มาด้วยคีย์เวิร์ดที่เราตั้งไว้หรือไม่ 

ภาพด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นว่าการนับว่าเป็น Impressions แสดงผลแบบไหน 

ความหมายคือ ปกคลิปแสดงผลไม่เกิน 50% ไม่นับเป็น Impressions

ความสำคัญของ CTR

มาดูความสำคัญของ CTR ว่า Key Taken มีอะไรบ้างที่เราต้องทราบและเข้าใจ 

เราควรจะต้องตั้งค่าเพื่อวัดผลของคลิปตัวเองว่าเราอยากได้ CTR เท่าไหร่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคีย์เวิร์ดที่เราทำนั้นมี Demand หรือความต้องการของตลาดไหม เช่น เราไปทำเรื่องที่คนไม่ค้นหาเลย ไม่เจอเทรนด์ใน Google Trend เลย คุณทำปกคลิปดีแค่ไหน คนดูก็ไม่มี  

ทริกอยากเก่ง 

หัดตั้งค่าตัวเลขต่างๆ เพื่อวัดผลแล้วสเกลลงไปดูว่าแต่ละ Metrics การวัดค่าวัดจากอะไร วัดอย่างไร ยังไงคุณก็สำเร็จแน่นอน 

3.Tab Engagement

แถบนี้หากเป็นการดู Channel Analytics จะเป็นภาพรวมช่องทั้งหมด บอกว่าทั้งช่องคนดูวิดีโอไปกี่ล้านวิดีโอ และบอกว่าทั้งช่องคนดูแล้วเฉลี่ยกี่นาที 

แต่หากเราไปดูเจาะวิดีโอ จะบอกว่าคุณภาพวิดีโอในคลิปนั้นๆ เป็นอย่างไร 

ถ้าเรากดไปเลือกวิดีโอใดๆ ในแถบนี้จะเป็นการวิเคราะห์วิดีโอนั้นๆ ว่า ปล่อยไปกี่วันแล้ว และสร้างวิวได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ คนดูเฉลี่ยกี่นาที และคนดูน้อยหรือมากกว่าปรกติหรือไม่ 

อันนี้ในระดับ Video Analytics ส่วนของ 

  • Audience Retention 

บ่งบอกคุณภาพวิดีโอว่า คลิปความยาว 4:06 นาที คนดูจบกี่ % วิธีการตั้งค่าเพื่อวัดผลคร่าวๆ คือ ต้องคงคนดูไว้ที่ราวๆ 30% ก่อนเข้า End Scene ก็ถือว่าเก่งมากๆ แล้ว

แถบสีเทาในกราฟคือ Traffic ปกติเทียบเฉลี่ยของวิดีโอทุกอันในช่อง เส้นสีชมพูบ่งบอกว่า วิดีโอนี้ทำหน้าที่ได้ดีหรือไม่ หรือช่วงไหนในวิดีโอ ดรอปตรงไหนอย่างไร  สามารถลากวางดูได้เลยครับ ว่าตรงนี้คลิปเราทำอะไรไม่ดี ทำไมคนออก หรือคนดรอปลงไป (ทีวีไม่มีสถิติแบบนี้ให้ดูนะครับ) ดังนั้นอย่าแปลกใจที่คนเลิกดูทีวี เพราะว่าไม่มี Tools ที่ให้คนทำคลิปได้เห็นดาต้าแล้วนำไปพัฒนาต่อได้ 

4.Tab Audience 

อย่าลืมกันนะครับว่าการอ่านดาต้ามี 2 แบบ คือ Channel Analytics และ Video Analytics 

หน้า Audience คือบอกว่ากลุ่มคนที่ดูคลิปช่องเรา หรือคลิปนั้นๆ คือใคร มีจำนวนเท่าไหร่ คนดูเก่าเท่าไหร่ แล้วสร้าง Subscriber ได้เท่าไหร่ 

  • Returning viewers 

คนดูคลิปนี้ย้อนมาดูคลิปนี้อีกไหม

  • Unique viewers 

นับแบบรายคนมีคนดูคลิปกี่คน

  • Subscribers 

คลิปนี้หรือช่องนี้เดือนนี้สร้าง Subscriber กี่คน 

ในระดับ Channel Analytics และ Video Analytics สามารถบอกได้ว่าคนดูมาจากคนที่เป็น  Subscriber หรือไม่เป็น Subscriber

เท่าที่วิเคราะห์มาคือคนดูมาจาก Subscriber จะน้อย เพราะคนดูจะมาจากคีย์เวิร์ด กับ วีดีโอแนะนำ 

แต่คนดูที่เป็น Subscriber จะดูนานกว่าคนที่ไม่ใช่ Subscriber พูดง่ายๆ แฟนพันธุ์แท้สำคัญมากๆ 

ด้านล่างของหน้านี้จะบอกว่า คนดูคลิปนี้เป็นสัดส่วนผู้ชายกี่คน ผู้หญิงกี่คน ช่วงอายุเท่าไหร่ดูเป็นกี่ % 

5.Tab Revenue

Tab Revenue หรือหน้ารายได้นั่นเอง หน้านี้จะบอกว่า เราได้รายได้เท่าไหร่ในช่องเรา และบอกรายได้ในแต่ละคลิปด้วยว่ามีรายได้เท่าไหร่จากวิวที่ได้ จำนวนชั่วโมงที่ทีคนดู 

RPM คือประมาณการรายได้ที่มีให้คลิปนั้นต่อ 1,000 View อ่านง่ายๆ จากรูปนี้คือ คนดู 1,000 View ได้เงิน 24.27 บาท ซึ่งรายได้แต่ละคลิปจะไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าคลิปนั้นๆ เป็นคีย์เวิร์ดที่คนลงโฆษณาหรือไม่ 

เป็นอย่างไรบ้างครับกับบทความนี้ เห็นหรือยังว่าการที่จะสร้างคลิปล้าน View ได้นั้นต้องทราบอะไรบ้าง และต้องอ่านดาต้าเป็นด้วย 

อ่านดาต้าเป็นไม่พอ เมื่ออ่านเสร็จแล้วต้องนำดาต้าไปปรับปรุงพัฒนาคลิปตัวเอง ช่องของตัวเองด้วยนะครับว่าต้องทำอะไร วัดผลแบบไหน ถึงจะสำเร็จได้

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้มีความฝันและความหวังการเป็น Youtuber แล้วมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ 

เมื่อเราอ่านบทความผมแล้วทั้งสองบทความ บทความหน้าจะมาพูดถึง High Level Metrics ที่ควรรู้ในการวัดค่าของ Youtube พร้อมบอกแนวทางคลิปที่วิวไม่เยอะก็ทำเงินได้สูงๆ 

อย่าพลาดกันนะครับ ชอบบทความนี้โปรดแชร์ไว้อ่านและก็ให้เพื่อนได้เห็นได้รู้ว่าบทความดีๆ มีประโยชน์หาอ่านได้จากที่นี่และที่สำคัญทำเงินได้ด้วย

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : support.google.com

Kaowrote Sutapakdi

ก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director Digital Media TNN 16 (www.tnnthailand.com) อดีตนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (sonp.or.th) ทำงานที่ (www.siamsport.co.th) มา 19 ปี เป็น Webmaster คนแรกของเว็บนี้ มาจากสายโปรแกรมเมอร์ แต่มาเติบโตด้านมีเดีย หรือการทำสื่อเพราะว่าชอบเรื่องการสื่อสารและติดต่อกับคน ทำงานด้านดิจิทัลมีเดียมาตลอด ก่อนยุคเกิดของ Social Media (Twitter,Facebook,Youtube,IG,TikTok) ตั้งแต่สมัยเขาเรียกเว็บไซต์ว่า New Media ผ่านมรสุม Media Disruption มาทุกยุคสมัย ตั้งแต่แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ จนถึง ทีวีดิจิทัล สู่ยุค OTT ติดต่อได้ Email:[email protected] Line : kaowrote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน