สรุปเรื่อง YouTube กับการยกระดับกลยุทธ์เนื้อหาและการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล

สรุปเรื่อง YouTube กับการยกระดับกลยุทธ์เนื้อหาและการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล

เมื่อช่วงวันที่ 19-21 เมษายนที่ผ่านมา ทาง YouTube จัดงาน YouTube classes 2022 

ยกระดับกลยุทธ์เนื้อหาและการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล

วันที่ 19 เมษายน

หัวข้อ : ยกระดับกลยุทธ์เนื้อหาและการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล

รายละเอียดเนื้อหา : รับฟังกลยุทธ์การสร้างสรรค์เนื้อหาให้ประสบความสำเร็จ และการสร้างแบรนด์ของคุณให้คนติดตามบน YouTube

ผมขอเอามาเล่าสรุปย่อๆให้ฟังกันในนี้ละกันว่ามีอะไรบ้าง ต้องบอกว่าเป็นการทำ Short Note แล้วก็ทำการเล่าให้ท่านๆที่พลาดการเข้าเรียนครั้งนี้ฟังเพื่อให้นำไปใช้ได้เลย

สำหรับท่านที่เริ่มต้นทำยูทูปเขามีข้อแนะนำดังนี้

1.   ผู้ติดตามในช่วงเริ่มต้นเราอาจจะลดลงเวลาที่เราเปลี่ยนแนวทาง

2.   มั่นใจในแนวทางของตัวเองและมั่นใจว่าคนที่อยู่กับเราคือคนที่ชอบแนวทางเราและสไตล์ของเรา

3.   นำคอมเม้นท์และคำเสนอแนะของผู้ชมมาปรับปรุงและพัฒนคอนเท้นท์ในช่องของเรา

4.   อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป

Succeed on YouTube

การจะประสบผลสำเร็จบนยูทูปให้คิดถึงสิ่งเหล่านี้

หากต้องการให้วีดีโอของคุณค้นหาได้ง่ายขึ้น และน่าสนใจยิ่งขึ้นเพ่อให้ผู้ชมคลิกเข้ามาดู ให้ลองปรับดังนี้ว่าทำให้น่าดึงดูได้มากขึ้นไหม

1.   Thumnail

2.   Titles

3.   Descriptions

4.   Card and End Screens ทำให้ครบทุกคลิป เพื่อสร้างยอดวิวให้มากขึ้น

5.   Playlist จะช่วยได้เมื่อมีวีดีโอเยอะขึ้น

6.   ปรับแต่งช่องด้วย Channel Secctions

บทย่อด้านบนเป็นการทำงานแบบที่เริ่มต้นทำแล้วก็ปรับไปใช้ไดเรื่อยๆกับทุกๆคนที่เป็นครีเอเตอร์

KEY > Made for ONLINE   (ต้องตระหนักเสมอว่าเรากำลังทำอันนี้อยู่)

ปัจจัยที่ช่วยให้การทำคลิปสำเร็จ

มาดูว่าหลักๆ ที่จะช่วยเราได้ในการทำคลิปมีอะไรบ้างที่สำคัญ

1.สร้างช่องของคุณ

2.ช่วยให้ผู้ชมหาคุณพบ

3.ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

1.สร้างช่องของคุณ

อย่างแรกตอนเริ่มต้นช่องคือ กำหนดพันธกิจของช่อง อย่ายากเกินไป แล้วก็ต้องทำให้ได้ ทาง YouTube ยกตัวอย่างช่องของ Bie The SKA พันธกิจของช่องนี้คือ “รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ”

ฉนั้นใครที่กดซับช่องบี้ไว้ก็จะเห็นว่าเขาได้ทำตามพันธกิจที่เขาได้ตั้งเอาไว้ได้เป็นอย่างดี  

(เห็นไหมครับว่า ไม่ต้องตั้งยากและเป็นไปได้และเจ้าของช่องเองก็ทำคอนเท้นท์เองก็ทำคอนเท้นท์ออกมาได้เรื่อยๆ)

2.ช่วยให้ผู้ชมหาคุณพบ

หาช่องว่างให้เจอระหว่าง คอนเท้นท์ที่คนดูชอบ กับสิ่งี่เราอยากทำ แล้วก็ต้องดูคู่แข่งด้วยว่า เขาเล่นเรื่องอะไร หาจุดลงตัวให้ได้ เรียกว่า Find The Gap ให้เจอ

3.ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

สารที่จะสื่อหรือคอนเท้นท์ที่จะสื่อ สำคัญพอกับการสื่อสาร หรือรูปแบบของการนำเสนอในวีดีโอนั่นเอง

เล่าเรื่องอย่างไร สคริปท์เป็นแบบไหน น่าติดตาม น่าดึงดูดทุกๆนาทีของคลิปหรือไม่ อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่หลายคนมโนเองว่าวีดีโอตัวเองดี แต่ไม่มีคนดู ฉนั้นกลับไปดูาต้าหลังบ้าน แล้วปรับปรุงซะ

ถัดมา YouTube Classes 2022 ยังได้เล่าให้ฟังด้วยว่า เราควรทำการจัดโปรแกรมอย่างมีเป้าหมาย หรือการทำ Content Schedule/ Content Pillar ให้ชัด เพื่อจะได้ตอบโจทย์แฟนที่เป็นซับที่คอยดูเรา

ทฤษฏี CONTENT  3 H

โดย YouTube แนะนำ ทฤษฏี CONTENT  3 H

1.HERO

2.HELP

3.HUB

โดยจะขออธิบายแต่ละคำดังนี้

Content HERO 

Content  HERO คือการหา Content ทีเป็น HERO Content มาลงในช่องเรา คอนเท้นท์ประเภทนี้นานๆจะมีสักที แต่มีทีไรแล้ว ลักษณะของสถิติจะดีทั้งยอดวิว ยอดซับ และยอดรายได้ (แล้วแต่ช่วง) 

Content HELP

Content HELP คือคอนเท้นท์ประเภทแบบ  EverGreen Content เป็นประเภทแบบที่ดูได้เรื่อยๆ ดูได้ตลอดทราฟิกก็จะมาแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ

Content HUB

Content HUB คือคอนเท้นท์หลักของช่องเราว่าเป็นแนวไหน แบบใดที่เราตั้งพันธกิจไว้ตั้งแต่ตอนแรก คอนเท้นท์แบบนี้ทราฟิกจะมาตามกำหนดการณ์การอัพโหลดของ Content เราว่ามีแผนการอัพโหลดคอนเท้นท์แบบใด คอนเท้นท์ประเภทหลักนี้ควรเป็นคอนเท้นท์ที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายไม่แพง

จากคอนเท้นท์ทุกประเภทที่ทำออกไปอย่าลืมว่า เรากำลังสร้าง

“Personal BRAND” ของเราเอง

Kaowrote Sutapakdi

ก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director Digital Media TNN 16 (www.tnnthailand.com) อดีตนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (sonp.or.th) ทำงานที่ (www.siamsport.co.th) มา 19 ปี เป็น Webmaster คนแรกของเว็บนี้ มาจากสายโปรแกรมเมอร์ แต่มาเติบโตด้านมีเดีย หรือการทำสื่อเพราะว่าชอบเรื่องการสื่อสารและติดต่อกับคน ทำงานด้านดิจิทัลมีเดียมาตลอด ก่อนยุคเกิดของ Social Media (Twitter,Facebook,Youtube,IG,TikTok) ตั้งแต่สมัยเขาเรียกเว็บไซต์ว่า New Media ผ่านมรสุม Media Disruption มาทุกยุคสมัย ตั้งแต่แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ จนถึง ทีวีดิจิทัล สู่ยุค OTT ติดต่อได้ Email:[email protected] Line : kaowrote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่