UX Writer เขียนอย่างไรให้คนอยากดาวน์โหลด Case study จาก Google Duo SMS Invites

UX Writer เขียนอย่างไรให้คนอยากดาวน์โหลด Case study จาก Google Duo SMS Invites

“คำพูดมันสำคัญขนาดนั้นเชียวหรอ?”

“การเขียนก็เหมือนๆ กันแหละ พออ่านรู้เรื่องก็น่าจะใช้ได้”

หลายๆ คำถามมักเกิดขึ้นในใจ เรื่องความสำคัญของการใช้คำพูดที่ดี ที่มัดใจคน มันได้ผลในเชิงปฏิบัติ หรือแค่ความคิดสวยหรูนะ?

วันนี้ไม้มีตัวอย่าง UX Writer Case Study ที่น่าสนใจมากๆ จากบริษัทระดับโลกอย่าง Google มาให้อ่านกันค่ะ

ก่อนอื่นอาจจะเคยอ่านกันไปบ้างเรื่อง แนวทางการเขียนนะคะ หากอยากอ่านเพิ่มเติม… แว๊บไปอ่านได้ที่ เทคนิคการเขียน UX Writing Best Practices

ตัวอย่างนี้มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่ไม่แน่ใจว่ากลุ่มผู้ใช้ของเค้าเนี่ย จะมีการตอบสนองต่อข้อความเชิญชวนแบบไหนบ้าง ทาง Google เลยใช้การเทสเข้ามาช่วยทำให้มั่นใจในการเลือกข้อความมากขึ้น

พวกเขาทดสอบมาแล้ว ว่า การเลือกใช้ข้อความให้ถูก มีผลอย่างมหาศาลกับการทำให้ลูกค้ามาใช้สินค้าเพิ่มขึ้นจริง

Google Duo: SMS Invites Text Experiments

ทาง Google ได้ทำการทดสอบเรื่องคำพูด โดยครั้งนี้ได้ทำการทดลองกับโปรดักส์ที่ชื่อว่า Google Duo โดยมีเป้าหมายของการสำรวจเพื่อดูว่า “ข้อความแบบไหนที่ทำให้คนดาวน์โหลด google duo มากที่สุด?”

ข้อความที่แตกต่างกัน 5 แบบ จะถูกส่งไปหาผู้ใช้หลายๆ คน โดยกำหนดตีมข้อความไว้ว่า ข้อความนี้จะเป็นข้อความเสมือน เพื่อนสนิทส่งข้อความชวนเพื่อนอีกคนให้มาวิดีโอคอลกันด้วย Google Duo

ลองมาทายกันค่ะ ว่าข้อความไหนจะทำให้คนโหลด Google Duo มากที่สุด

ux writer case study google duo sms invites
credit: https://www.youtube.com/watch?v=TO3t5XYhWuA&list=PLBOt6LdtB4wChqDa86t4Ra-b83p47BPlv&index=2&t=310s

A: I tried calling you on Duo but you’re not on it yet!!

B: Get Duo so we can video chat on Andriod & IOS anytime.

C: I just heard about Google Duo for video chatting. Let’s try it!

D: Let’s video chat on Duo.

E: Add me on Duo so we can video chat.

คิดว่าอันไหนที่จะดึงดูดคนให้โหลด Google Duo เยอะสุดคะ?

ติ้ก ต้อก …

เฉลย

ux writer case study google duo sms invites

ข้อความที่สามารถทำให้คนมาดาวน์โหลดเยอะที่สุดคือ ข้อ E ค่า

มีใครเดาถูกบ้างมั้ยเอ่ย?

ผู้บรรยายคลิปนี้ เค้าให้เหตุผลว่า ที่ E แตกต่างจากข้อความอื่นและทำให้คนชอบนั้นเป็นเพราะว่า คำว่า “Add me” ที่ขึ้นต้นประโยคนั้น เป็น ‘social speaker’ หรือคำพูดที่คนใช้กันเป็นประจำบนช่องทางโซเชียลมีเดีย

ข้อความ E ให้น้ำหนักกับการกระทำของผู้ใช้ โดยใช้คำว่า “Add me” หรือภาษาไทยก็ “มาเป็นเพื่อนกัน!” ที่กระตุ้นให้คนพุ่งความสนใจไปที่ “การเพิ่มเพื่อน” (เป้าหมายหลักที่ทีม Google ต้องการ) ไม่ใช่การขายสินค้าอย่าง Google Duo

ส่วนเหตุผลข้ออื่น เช่น

ข้อ B จะขึ้นต้นด้วย Google Duo เลย จะดูเป็นการเน้นตัวสินค้ามากไปหน่อย เลยทำให้คนไม่สนใจ

ข้อ A นี้ยิ่งแล้วใหญ่ ส่งข้อความไปประมาณว่า “ฉันพยายามโทรหาเธอทาง Google Duo นะ แต่เธอยังไม่ได้สมัครเลย!!”

ไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่คะแนนแบบ A จะติดลบ เพราะถ้าเราได้รับข้อความแบบนี้ คงจะตกใจไม่น้อย (ให้ทุกคนลองจินตนาการว่า อยู่ๆ ก็ได้รับข้อความประมาณนี้เด้งมาทาง SMS คงจะงงน่าดู)

อ่านมาถึงตรงนี้ เริ่มเห็นความสำคัญของการใช้คำพูดกันบ้างรึยังคะ?

มาสรุปข้อคิดที่เราได้จากผลทดสอบนี้กันดีกว่า

Key Takeaways

  1. ใช้คำภาษาพูดที่คนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ทำให้ประโยคกระชับ
  3. ทุกคำพูดควรสื่อใจความสำคัญออกมา

สำหรับบทความ UX Writer Case Study นี้ ใครคิดว่าเป็นประโยชน์ อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ หรือมาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้นะคะ

ท่านไหนมีบทความด้าน UX Writing เจ๋งๆ กระซิบมาบอกไม้บ้างนะคะ ?

อ่านบทความเรื่อง Ux Writer ก่อนหน้าของคุณไม้ต่อ https://www.everydaymarketing.co/tag/ux-writer/

Source: https://medium.com/@maimaikanapornchai/sharing-case-study-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-google-duo-sms-invites-800f096d4ea1

Mai Kanapornchai

ทำงานเป็น Content Strategist ดูแลงานเขียนให้กับแอปพลิเคชัน/ สนใจด้าน UX และ UX Research / นิสิตเกียรตินิยมอักษรศาสตร์จุฬา/ วันหยุดมักไปนั่งคาเฟ่และอ่านบทความดีๆ / ชอบชาเขียวที่สุด?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่