UX มือใหม่ ฝึกเป็น Sprint Master

UX มือใหม่ ฝึกเป็น Sprint Master

“ sprint master ทำอะไร เกี่ยวอะไรกับ design sprint workshop กันนะ? ?”

ในบทความนี้เราจะมาพูดกันถึง การทำ Google Design Sprint ในอีกมุมนึง ซึ่งก็คือมุมของคนที่จะเป็น “ไกด์” หรือ คนพาทำเวิร์คช้อปนั้นเอง ในบทความนี้ เราจะเรียกบทบาทนี้ว่า “Sprint Master” กันนะคะ

UX Design Sprint Master
credit: Invision

ไม้โชคดีมาก ที่องค์กรสนับสนุนให้ไปเทรนคลาส Design Sprint Workshop เป็นการฝึกทำ design sprintในมุมของการเป็น sprint master กับพี่แบงค์ Apirak Panatkool แบบอัดแน่น รวมทุกหัวข้อให้จบภายใน 3 วัน พร้อมเทคนิคการเป็น facilitator ที่หาอ่านเองไม่ได้ด้วย

ก่อนอื่นอยากขอบคุณองค์กรที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้ และ พี่ๆ scrum masters และ designers ทุกท่านที่ได้ร่วมเรียนด้วยกัน พี่ๆไม่ใช่แค่เก่งอย่างเดียวนะ แต่ปล่อยมุกตลก ฮากระจายกันทั้งวัน ไม่มีเวลาให้หาวเลย 5555 ?

เอาล่ะ มาเริ่มเรื่องกัน

ไม้ก็เป็นอีกคนที่เพิ่งเข้ามาในสาย UX ไม่นาน ตอนได้ยินวิธีการต่างๆก็แอบงงตื้อไปอยู่สักพัก อ่านหนังสือ หรือบทความก็ช่วยได้พอสมควร แต่ค้นพบว่า การที่เราได้ทดลองทำเลยนั้น มันเห็นภาพชัดกว่า ประมาณว่า “ทำจริง งงจริง เข้าใจจริง ?”

และครั้งนี้ที่ได้ไปเรียน คือไม่ได้ไปในฐานะ “คนในทีม” ด้วยนะ แต่ไปเรียนโดยที่เราเองเนี่ยแหละ ต้องเป็น “คนนำทีม” พาทำ Design Sprint ให้สำเร็จ

UX Design Sprint Master

ความแตกต่างระหว่าง “คนในทีม” และ “คนนำทีม”

คนนำทีมต้องเข้าใจหลักการและจำขั้นตอนได้อย่างแม่นยำ

มันไม่ใช่แค่เราเข้าใจ และทำตามคนสอนอย่างเดียวแล้วล่ะ แต่เราต้องรู้ด้วยว่า แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำอะไร และจำขั้นตอน รวมถึงควบคุมเวลาให้ได้ด้วย

ในบทความนี้อยากพูดถึงคุณสมบัติสำคัญของการเป็น sprint master ที่ไม้ได้เรียนรู้มาจากคลาสนี้นะคะ

ความพยายามเข้าใจความคิด และมองคนให้ออก

UX Design Sprint Master
Edit: https://www.stateofdigital.com/understanding-audience-doesnt-mean-exactly-say/

อันนี้ไม้ยกไว้อันดับหนึ่งเลย เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนที่คอยประคองทีม ให้เดินไปด้วยกันได้

ในหนึ่งทีม มีคนที่มีพื้นฐานความคิดต่างกัน ทำงานต่างสายกัน คนนึงฝั่ง developer คนนึงฝั่ง business หรืออีกคนเป็น designer จะให้พูดจาภาษาเดียวกัน หรือมีมุมความคิดเหมือนกันนั้นเป็นไปได้ยากมาก นี้ยังไม่นับรวมกับโปรเจกท์จริงที่อาจมี hidden agenda หรือ KPI มาเป็นตัวแปรอื่นๆอีกนะ

เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะมีเป้าหมายเดียวกัน แต่คนๆนึง อาจมีเส้นทางที่จะเดินไปสู่จุดหมายต่างกัน แล้วเราในฐานะ sprint master จะช่วยนำพาทุกคนไปสู่จุดหมายนั้นด้วยทางเดียวกันได้ยังไงนะ ?

ไม้มองว่า การเข้าใจความคิดและเหตุผลของแต่ละคนนั้นสำคัญมาก

อย่างเช่น คนๆนี้ เค้ามีพื้นฐานชีวิตแบบนี้ ทำงานสายนี้ เค้าน่าจะคิดยังไงนะ? แล้วไอเดียที่เค้าเสนอมา ทำไมเค้าถึงเสนอแบบนั้น? เมื่อเราเข้าใจเค้า เราจะรู้ต้นตอของไอเดียนี้ และช่วยให้คนในทีมอื่นๆ เข้าใจมุมมองของคนนี้ได้

ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง หรือต้องการหาข้อสรุป หากเราสามารถให้ทุกคนอธิบายเหตุผล และความคิดของตัวเองออกมาได้ ข้อสรุปที่ได้ก็จะมาจากเหตุผลและความเข้าใจของทุกคนในทีม ทำให้เกิดการยอมรับและเป็นทีมเวิร์คมากขึ้น

คำถามสำคัญที่ไม้มักได้ยินบ่อยๆจากพี่แบงค์คือ

“เอ๊ะ ทำไมนะ?”

ทุกๆครั้งที่คนเสนอไอเดียออกมา พี่แบงค์มักจะถามถึงสาเหตุของไอเดียเพื่อเจาะให้ลึกถึงเหตุผลของไอเดียนั้นๆ วิธีนี้ เราจะได้รู้ถึงเหตุผลของแต่ละคน และหา insights หรือ hidden agenda จากคนพูดได้ เมื่อเค้าอธิบายออกมา คนอื่นๆในทีมก็จะ อ๋ออ เข้าใจล่ะว่าเค้าต้องการอะไร

UX Design Sprint Master
P’Warm is leading the session

การอ้า และ การหุบ

อ้าให้คนเงียบ สามารถพูดหรือเสนอไอเดียออกมา หรือหุบความคิดของคนที่เสียงดัง (หมายถึงคนที่เสนอไอเดียอยู่ฝ่ายเดียว จนอาจทำให้คนอื่นไม่อยากขัด ทำให้กลุ่มถูกนำด้วยไอเดียคนๆเดียว)

การอ้า ก็สามารถใช้ได้ในกรณีที่ต้องการขยายไอเดียให้ได้เยอะๆด้วย

“ในการทำ workshop ถ้าเรามัวพยายามเค้นหาของดี เราจะได้ของน้อยดังนั้นจึงต้องมีช่วงที่เราพยายามสร้างไอเดียให้เยอะก่อน ยังไม่ต้องเน้นความถูกต้อง แล้วค่อยไปเค้นเอาจากของที่ออกมาอีกที ดังนั้นจึงต้องมีส่วนของการขยายและการขมวด” พี่แบงค์, Apirak Panatkool

Sprint master พยายามให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในเวิร์คช้อปครั้งนี้ ทุกคนที่มามีความสำคัญเท่ากันหมดและเราจะเคารพในความคิดเห็นของทุกฝ่าย

เราต้องการได้ “ของดี” เพราะฉะนั้นการดึงความคิดของคนออกมาให้ได้มาก ให้ทุกคนรู้ว่าเราต้องการมัน จึงมีส่วนช่วยให้เราสามารถได้ไอเดียเยอะๆ จะได้เอาไปกรองและขมวดมาเป็นของดีที่เราต้องการ

พูดและดูเหมือนง่าย แต่ในสถานการณ์จริง มันมีตัวแปรอื่นๆ เช่น ตำแหน่งของผู้เข้าร่วม ความอาวุโส หรือนิสัยส่วนตัว เช่น บางคนไม่ชอบแสดงความเห็น

เราไม่สามารถไปบังคับใครได้ และไม่จำเป็นต้องไปบังคับขู่เข็ญให้คนพูดหรือไม่พูดด้วย จะเป็นการกดดันและทำลายบรรยากาศซะเปล่าๆะนะคะ เพียงแต่เราพยายามช่วยให้เวิร์คช้อปเดินต่อไปได้ ด้วยความสามารถและความคิดของคนในทีมเอง

หัวไว พลิกแพลงเก่ง

หรือที่พี่แบงค์เรียกว่า “สกิลการแถ” นั้นเอง ?

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น sprint master ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตอนนั้นได้ พลิกพลังด้านลบให้กลายเป็นบวก และพยายามพาทุกคนไปสู่บทสรุปของแต่ละกิจกรรมให้ได้

“สิ่งที่แย่ที่สุด คือบรรยากาศที่เป็นลบ ที่ทุกคนไม่เอาด้วยแล้ว”

แน่นอนว่าการทำงานเป็นทีม มันมักจะมีความคิดที่หลากหลาย และการเถียงไปมาที่อาจหาข้อสรุปได้ยาก บทบาทของ sprint master คือพยายามทำให้ทุกคนกลับมาเห็นภาพเดียวกันอีกครั้ง ประคองแต่ไม่ควบคุม ดึงให้ทุกคนกลับมา back on the same track เพื่อที่จะทำงานในเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

UX Design Sprint Master

มีพลัง

ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นคนบ้าพลังนะ แต่ก็ควรตื่นตัว แอคทีฟพอที่จะไม่ทำให้กลุ่มง่วงเหงา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังกินข้าวเนี่ย ทีมเราแอบมีความหนังตาหนักเล็กน้อย พี่แบงค์ก็ยังแอคทีฟอยู่ได้นะ แล้วพูดแปะไว้ว่า

“ถ้าทีมง่วง เราต้องไม่ง่วงนะครับ ?

อีกข้อนึงคือ ไม้คิดว่าคนที่นำเก่ง เค้าไม่จำเป็นต้องหรือพูดมากนะ แต่ต้องมีสกิลการพูด ที่จะคอยคุมทีมได้

สำคัญตรงเทคนิคการพูดที่ใช้ ไม้รู้สึกว่าเวลาคุยกับคนที่พูดเก่ง เค้าสามารถใช้คำพูดได้ดี

ยกตัวอย่างเช่น เวลาคนเสนอไอเดียมา แต่ดั๊นน เป็นไอเดียที่ไม่ได้เกี่ยวกับเวิร์คช้อปเลย แทนที่เราจะเมินเฉยเค้าไป เราก็อาจจะ “อื้มๆ เป็นการเสนอที่ดีนะคะ เดี๋ยวเราจะเก็บไอเดียคุณไว้ก่อน อาจจะได้ใช้ทีหลังนะ”

หลังจบคลาสนี้ ไม้เห็นถึงคุณสมบัติสำคัญของคนที่เป็น facilitator เลยว่า

“เค้าจะไม่ทิ้งไอเดียของคนในทีม”

ความคิดของทุกคนมีค่า และการเมินความคิดถือเป็นการบั่นทอนความอยากมีส่วนร่วม ลองนึกถึงตัวเราเองสิ เวลาที่เราพูดอะไรไปแล้วคนไม่สนใจฟัง เราก็ไม่อยากพูดต่อแล้วใช่มั้ยล่ะคะ

UX Design Sprint Master
credit: VectorStock

สรุป

พอจะเห็นภาพความยากของการเป็นsprint master มั้ยคะ ไม้ก็เพิ่งเคยลองเป็นครั้งแรก มันยากกว่าที่เห็นจริงๆนะ แต่มันทำให้เรามองในมุมที่กว้างขึ้น และได้พยายามเข้าใจคนพูดมากขึ้น รู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองขึ้นอีกนิด ในมุมของการทำเวิร์คช้อป ขอบคุณพี่แบงค์ที่แบ่งปันความรู้แบบไม่หวงเลย ^^

แล้วคุณผู้อ่านละคะ ใครมีประสบการณ์ทำเวิร์คช้อปและได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง มาแชร์ ตรงส่วนresponse กับบทความนี้ได้นะ ☺️ แลกเปลี่ยนกันค่า

เดี๋ยวในบทความถัดๆ ไป จะมาเขียนองค์ประกอบของ Design Sprint ที่ได้เรียนไปโดยมีหัวข้อคร่าวๆดังนี้นะคะ

  1. Starting Workshop and Ice Breaking
  2. Design Sprint VS Design Thinking
  3. “How might we” question
  4. Sprint Map
  5. Persona
  6. Note & Vote
  7. Idea Creation

ซึ่งจะเป็นในมุมของสิ่งที่ไม้ได้เรียนและเข้าใจมานะคะ ยังไงก็ฝากติดตามในบทความและจะดีมากเลย ถ้าช่วยกันเสนอมุมของคุณผู้อ่านด้วย จะเป็นประโยชน์กับ UX community เพิ่มขึ้นอีกด้วยนะคะ

สำหรับบทความนี้ สวัสดีค่ะ

อ่านบทความของน้องไม้ ผู้เขียนเรื่อง UX ก่อนหน้านี้ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/ux-writer/

Source: https://medium.com/@maimaikanapornchai/ux-%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-sprint-master-5d79b7833bee

Mai Kanapornchai

ทำงานเป็น Content Strategist ดูแลงานเขียนให้กับแอปพลิเคชัน/ สนใจด้าน UX และ UX Research / นิสิตเกียรตินิยมอักษรศาสตร์จุฬา/ วันหยุดมักไปนั่งคาเฟ่และอ่านบทความดีๆ / ชอบชาเขียวที่สุด?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่