ข้อมูลแบบไหนทำเป็น Infographics แล้วเข้าใจง่ายขึ้น?

ข้อมูลแบบไหนทำเป็น Infographics แล้วเข้าใจง่ายขึ้น?

ในยุค Content แบบนี้เพลินเชื่อว่านักการตลาดมีเนื้อหามากมายไม่สิ้นสุดที่อยากเล่า อยากแชร์ อยากโพสต์ออกมาให้คนข้างนอกได้รู้กัน แต่บางครั้งเนื้อหาบางประเภทก็บอกเล่าออกมาเฉยๆ ได้ไม่ดีพอ เพราะต้องอาศัยภาพหรือ Visual บางอย่างที่ทำให้คนฟังเข้าใจง่ายขึ้น วันนี้เพลินจะมาแชร์ประเภท Content ที่เราสามารถปรับมันเป็น Infographics ก่อนแล้วคนฟังจะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก Infographics กันอยู่แล้วเนอะ ส่วนใครที่ยังไม่รู้หรือยังไม่แน่ใจ เพลินขอ Wrap-up ตรงนี้สั้นๆ ว่ามันคือ การนำข้อมูลหรือความรู้บางอย่างมาสรุปเป็นกราฟฟิก สัญลักษณ์ แผนที่ หรือไดอะแกรม ฯลฯ อะค่ะ โดยจุดประสงค์และข้อดีหลักของการทำอินโฟกราฟิกส์ก็คือ มันทำให้คนฟังหรือคนอ่านเข้าใจข้อมูลนั้นๆ ง่ายมากขึ้น เร็วมากขึ้น แบบเห็นปุ๊ปเข้าใจภาพรวมทันที แต่แต่ละข้อมูลมันก็เหมาะกับการใช้อินโฟกราฟฟิกส์ที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ข้อมูลแบบไหนควรใช้อินโฟกราฟฟิกส์ยังไง ไปอ่านกันต่อด้านล่างเลยค่ะ

1. ข้อมูลเชิงสถิติ ตัวเลข

แน่นอนว่าข้อมูลแบบนี้นักการตลาดต้องเจอกันบ่อยมาก ไหนจะตัวเลขยอดขาย ยอด KPI และอื่นๆ อีกมากมาย จะเห็นได้เลยว่ามันเหมาะกับการแปลงตัวเลขเหล่านี้ให้กลายเป็นภาพ Visualized ง่ายๆ มาก เพราะหากให้มาเป็นตาราง Excel แบบปรืดยาวๆ มา คงมีนั่งกุมขมับกันอีกยาวเลยใช่ไหมคะ โดยตัวเลขตรงนี้ก็สามารถนำมาจัดใส่ Pie Charts / Bar Graphs หรือพวก Mapping ต่างๆ เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

2. ข้อมูลเชิง Information หรือ List

ต้องบอกว่าข้อมูลจำพวกเนื้อหายาวๆ มักจะมีแต่ตัวหนังสือไล่เรียงกันลงมา ทำให้คนอ่านถอยหนีได้ ดังนั้นหากเราไม่ได้กำลังทำเนื้อหาสำหรับสอนนักศึกษาละก็ อาจจะลองพิจารณาการใช้อินโฟกราฟฟิกและสัญลักษณ์อะไรเถือกๆ นี้ เพื่อทำให้คนอ่านไม่หลุด Attention ไปจากเราเสียก่อนดูนะคะ

3. ข้อมูลเชิง Timeline

ในชีวิตของเราต้องมีช่วงหนึ่งที่เราต้องเล่า Timeline ของตัวเองให้คนอื่นฟังอยู่บ้าง นั่นก็คือบน Resume ซึ่งจะบอกว่าการใช้อินโฟกราฟฟิกก็ช่วยเล่าได้ง่ายขึ้นตามลำดับ Chronological Order นอกจากนั้นข้อมูลจำพวกประวัติขององค์กร หรือการทำ Slide Presentation เพื่อเล่าถึง Steps ขั้นตอนต่างๆ ก็เป็นข้อมูลเชิง Timeline ที่ควรใช้ Infographics อธิบายค่ะ

4. ข้อมูลเชิง How-to และลำดับขั้นตอน

หากเราเป็นนักการตลาดแล้วต้องทำคู่มือการประกอบเครื่องปั่นจักรยานขึ้นมาเล่มนึง การที่เราเอาแต่บรรยายแบบไม่มีรูปประกอบจะทำให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปประกอบเองได้โดยยาก ตัวอย่างเช่น แบรนด์ IKEA ที่ขายเฟอร์นิเจอร์ต่อเอง ก็ทำเป็นรูปอินโฟกราฟฟิกออกมา เพื่ออธิบายแต่ละขั้นตอนว่า ต้องใช้อุปกรณ์ตัวไหน ตะปูชิ้นไหนก่อน แล้วค่อยนำมาประกอบเข้าด้วยกันจนเสร็จ เป็นต้น

5. ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ

Comparison Infographics

อีกหนึ่งรูปแบบ Content ที่ทำในรูปแบบอินโฟกราฟฟิกแล้วน่าสนใจก็คือ ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบค่ะ อย่างการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย หรือเปรียบเทียบรุ่นมือถือว่ารุ่นที่แล้วกับรุ่นใหม่แตกต่างกันอย่างไร แบบนี้ก็ทำให้คนเข้าใจได้ง่าย แถมยังสามารถหาข้อมูลด้านที่ตัวเองสนใจได้ทันทีด้วย เช่น เวลาเราอยากรู้แค่ความจุแบตของมือถือรุ่นใหม่กับรุ่นเก่าว่าต่างกันอย่างไร เราก็หาจากหัวข้อด้านซ้ายได้เลย หรือหาจากสัญลักษณ์รูปความจุแบตแค่นี้ก็ได้ข้อมูลทันที ไม่ต้องมานั่งไล่หาไปทีละย่อหน้านั่นเอง

6. ข้อมูลเชิงสถานที่

ข้อมูลจำพวกตำแหน่ง สถานที่ จังหวัดหรือประเทศ ก็จะน่าสนใจขึ้นเช่นกันหากพรีเซนท์ออกมาในรูปแบบ Infographics โดยเราต้องเลือกตาม Scale ของข้อมูลที่มีทั้งหมดก่อน ถ้าเราจะพูดถึงจังหวัดที่มี Service ของเราบริการอยู่เราก็เลือกเป็นรูปประเทศไทย แต่หาก Service ของเรามีบริการแค่ในกรุงเทพฯ ตามเขตต่างๆ เท่านั้นก็หย่น Map ให้ Scale มันแคบขึ้นเป็น Map ของกรุงเทพมหานครพอ ไม่ต้องถึงขนาดแผนที่ประเทศไทยค่ะ

7. ข้อมูลเชิงอันดับและ Grouping

Flowchart Infographics

ข้อมูลเชิงอันดับอย่าง Organization Chart หรือข้อมูลเชิง Grouping แบ่งหรือจัดประเภทสามารถใช้รูปแบบอิโฟกราฟฟิกอย่าง Flowchart เข้าช่วยเพื่ออธิบายตามลำดับลดหย่อนกันลงมา อย่างการไล่อันดับ Title > Introduction > Body > Conclusion ก็สามารถจัด Structure ผ่าน Flowchart เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ค่ะ

8. ข้อมูลสำคัญที่ต้องการเน้น

ในการทำภาพหรือ Slide Presentation หลายครั้งจะมีข้อมูลตัวเลขสำคัญที่เราอยาก Highlight ให้มันโดดเด่นขึ้นมา อย่างยอดขายที่ตกลงมากในปี 2020 ลดลงมา 34% แบบนี้ก็สามารถใช้อินโฟกราฟฟิก Bold มันขึ้นมา ให้คนรู้เลยว่าที่ Highlight เนี่ยสำคัญ นอกจากนั้นการเลือกใช้ Symbol อย่างลูกศรชี้ลงพร้อมกับสีแดง ก็จะช่วยให้คนเข้าใจได้ทันทีว่ามันคือเรื่อง Negative หรือ Urgent เร่งด่วน 34% นี้คือยอดที่ดิ่งลง ไม่ใช่ยอดที่ Positive น่าดีใจนั่นเองค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 8 รูปแบบข้อมูลที่หากนักการตลาดเอามาดัดเป็น Infographics แล้วจะทำให้คนเข้าใจข้อมูลนั่นง่ายและเร็วขึ้น ประเด็นหลักของการเลือกใช้ Visualization Techniques คือการมอง Data ที่เรามีอยู่ในมือก่อนว่ามีข้อมูลอะไรที่ต้องเล่า ต้องถ่ายทอดออกไปบ้าง เล่าเป็น Text หมดเลยคนจะหมดความสนใจไหม แล้วค่อยเลือกรูปแบบ Chart ในการเล่าจากข้อมูลที่มีอีกทีค่ะ

อย่างข้อมูลด้านเดียวหรือแกนเดียวอย่าง ‘ประเภทลูกค้าหรือ Customer Segments’ อาจจะเลือกเป็น Pie Charts หรือการทำ Flowchart เพื่อบอกว่าลูกค้ามีกี่แบบ ในขณะที่ข้อมูลที่มี 2 หรือ 3 แกนก็ต้องเลือกเป็น Matrix แทน ไม่ว่าจะเป็น Bar Graph หรือตารางเปรียบเทียบต่างๆ ค่ะ 

ข้อสำคัญคือเราต้องเข้าใจข้อมูลของเราก่อน ว่าข้อมูลที่เรามีนั้นจะเล่าแบบไหน ภาพแบบไหน สัญลักษณ์แบบไหนแล้วคนจะเข้าใจมากกว่ากัน หลังจากนั้นจึงเลือก Visualize มันออกมาค่ะ รับรองว่าสนุกและน่าสนใจกว่าเดิมแน่นอน แถมยังเอาการทำ Infographics นี้ไปประยุกต์กับ Data Visualization ได้ด้วย ลองดูกันนะคะ

Reference: https://visme.co/blog/types-of-infographics/

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *