TOWS Matrix – สิ่งที่ควรทำต่อจากการวิเคราะห์ SWOT Analysis

TOWS Matrix – สิ่งที่ควรทำต่อจากการวิเคราะห์ SWOT Analysis

ในฐานะนักการตลาดเพลินเชื่อว่าทุกท่านต้องรู้จัก SWOT Analysis กันดีอยู่แล้ว แต่รู้ไหมคะว่าเค้ามี TOWS Matrix ที่ควรทำต่อจากการ SWOT ด้วยนะ ซึ่งข้อดีของการทำ Matrix นี้เสริมจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและสภาพแวดล้อมภายนอกก็คือ การที่เราจะได้บทสรุปเป็นกลยุทธ์หรือ Marketing tactics ว่าเราจะ Action อย่างไรต่อจากการวิเคราะห์ SWOT นั่นเองค่ะ

หากหลายท่านสงสัยเพลินจะบอกว่า TOWS เนี่ยไม่ได้เป็น Abbreviation หรือตัวยย่อของกลุ่มคำไหนแบบ SWOT ที่เป็นตัวย่อมาจาก Strengths / Weaknesses / Opportunities และ Threats หรอกนะคะ แต่จริงๆ มันเหมือนเป็นการกลับคำ SWOT จากหลังไปหน้ามากกว่า ซึ่งโมเดลนี้ดูพัฒนาขึ้นมาโดยศาสตราจารย์ชาวอเมริกาด้าน Business ท่านนึงนามว่า Heinz Weirich เพื่อยกระดับการวิเคราะห์ SWOT ให้เป็นเรื่องที่ Practical มากขึ้นหรือจับต้องได้ Action ต่อไปได้ ไม่ใช่แค่วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งออกมาลอยๆ แล้วมานั่งสงสัยว่าต้องทำอะไร ยังไงต่อค่ะ

ทำไมต้องวิเคราะห์ TOWS ต่อจาก SWOT?

อย่างที่บอกไปตะกี้ว่าการทำ TOWS นั้นมันเหมือนการ ‘ยกระดับ’ จากแค่วิเคราะห์ SWOT เพราะมันจะช่วยในการหากลยุทธ์ให้เราเอาไปแก้เกมในจุดที่ SWOT บอกว่าเราอ่อน อีกทั้งยังช่วยหากลยุทธ์ในการผลักดันในจุดที่เราแกร่งให้แกร่งขึ้นได้ด้วย ซึ่งเอาจริงๆ ก็เหมือนการวางแพลน ว่าตรงไหนเราควรรุก ตรงไหนเราควรรับจากทั้ง 4 Factors ของ SWOT Analysis ค่ะ

ข้อดีอีกอย่างนึงของการทำ Matrix นี้ต่อก็คือ การที่ทำให้บริษัทหรือทีมวางแผนได้เข้าใจสภาวะองค์กรได้อย่างลึกซึ้งขึ้น ทำให้เกิดการ Brainstorm และ Ideas มากมายที่หลายครั้งอาจจะไม่ได้มีแค่ไอเดียในกรอบ แต่มีไอเดียนอกกรอบเข้ามาเสริมอยู่ตลอด ทั้งนี้จึงทำให้องค์กรหรือแบรนด์รู้จัก Potential ของตัวเอง และบริหารจุดยืนของตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยค่ะ

TOWS Matrix

การทำ Matrix ของ TOWS ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะเข้าใจ เพราะหลักๆ มันคือการจับคู่จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยงเข้าด้วยกันเป็น 4 คู่ นั่นก็คือ

  • จุดแข็งภายในองค์กร & โอกาสภายนอกองค์กร (S-O) – หลังจากวิเคราะห์ S กับ O ใน SWOT Analysis แล้ว ให้เรานั่งวิเคราะห์ต่อว่า แล้วโอกาสไหนที่จุดแข็งของเราจะรุกต่อได้ดี? หรือเราจะใช้จุดแข็งเราหาประโยนช์จากโอกาสภายนอกได้ยังไงนั้นเองค่ะ ซึ่งมันก็จะออกมาเป็นกลยุทธ์เชิงรุก เช่น หากโรงพยาบาลของเรามีความน่าเชื่อถือด้านผ่าตัดบอลลูนเพราะมีหมอดัง (S) แล้วตลาดภายนอกยังไม่มีโรงพยาบาลไหนที่เป็น Top of mind (O) เราก็จะสร้างชื่อเสียงให้โรงพยาบาลของเราด้วยหมอที่เรามี จนกลายเป็นว่าถ้าคนจะผ่าตัดบอลลูนต้องมาที่นี่เท่านั้น (S-O) เป็นต้น
  • จุดแข็งภายในองค์กร & ความเสี่ยงภายนอกองค์กร (S-W) – ข้อนี้เราต้องมาดูว่าเราจะใช้จุดแข็งในการหลบหลีกความเสี่ยงภายนอกได้อย่างไรบ้าง หรือถ้าหลบไม่ได้ เราก็ต้องคิดว่าเราจะลดการกระทบกับความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้นนั้นให้น้อยที่สุดได้อย่างไร เช่น หากโรงพยาบาลของเรามีความน่าเชื่อถือด้านผ่าตัดบอลลูนเพราะมีหมอดัง (S) แต่มีเทคโนโลยีใหม่ในการผ่าตัดกำลังมาแถมแผลเล็กกว่า (T) เราก็ใช้กลยุทธ์ที่บอกให้คนรู้ว่า เทคโนโลยีใหม่จะมาสู้ความเก๋าที่ผ่ามาแล้วพันกว่าเคสได้อย่างไร (S-T) เป็นต้น
  • จุดอ่อนภายในองค์กร & โอกาสภายนอกองค์กร (W-O) – ตรงนี้จะเป็นในส่วนของการวางกลยุทธ์เพื่ออาศัยโอกาสภายนอกในการเอาชนะหรือลดจุดอ่อนของแบรนด์ตัวเองลง เช่น หากจุดอ่อนของโรงพยาบาลเราคือเราดังอยู่แค่แผนกบอลลูนกระเพาะอย่างเดียว (W) แต่สมมุติว่าคนที่ผ่าตัดบอลลูนกระเพาะแล้วมีแนวโน้มจะเป็นเนื้อหน้าท้องไม่เฟิร์มด้วย (O) โรงพยาบาลก็อาจจะเริ่มผลักดันความเชี่ยวชาญไปสู่แผนกยกกระชับสัดส่วนเพิ่ม หรือแผนกฟื้นฟูร่างกาย กายภาพเพิ่ม แล้วค่อยๆ ไล่ไปทีละนิด (W-O)
  • จุดอ่อนภายในองค์กร & ความเสี่ยงภายนอกองค์กร (W-T) – ข้อสุดท้ายคือส่วนของการหาวิธีลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อจุดอ่อนกับความเสี่ยงมาเจอกัน เช่น หากจุดอ่อนของโรงพยาบาลเราคือเราดังอยู่แค่แผนกบอลลูนกระเพาะอย่างเดียว (W) คนมีตัวเลือกในการรักษามากขึ้นโดยไม่ต้องทำบอลลูนก็ได้ (T) เราก็ต้องวางแผนตั้งรับว่าเราจะรับมือกับความเสี่ยงนี้อย่างไร จะเร่งสร้างชื่อให้แผนกอื่นๆ ก่อนที่กระแสความเสี่ยงจะเริ่มบูมไหม หรือเราต้องลด Size โรงพยาบาลลง หรือลองดูตัวเลือกใหม่ๆ ให้เป็นหนึ่งในการรักษาในโรงพยาบาลไปด้วยเลยดี เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเองค่ะ
TOWS Matrix Table
Source: TOWS Model Table

ข้อนึงที่ต้อง Note กันก่อนลงมือตำตาราง TOWS ก็คือ ต้องลงมือวิเคราะห์ให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมองดูว่า S/W/O/T อันไหนที่เอามา Match เพื่อแก้เกมกันได้ ซึ่ง Strength ข้อเดียวอาจจะถูกใช้แก้เกมในหลายๆ ข้อก็ได้นะคะ ส่วนข้างบนที่เพลินเขียนเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้นักการตลาดเห็นภาพมากขึ้นเท่านั้น และต้องบอกว่าการทำ TOWS Matrix จะดีและแข็งแรงมากขึ้นถ้าได้ Brainstorm กับหลายๆ คนหรือหลายๆ แผนก เพราะมันจะได้ Perspective จากหลายๆ มุม ในการ Predict และคาดคะเนความเสี่ยงหรือโอกาสในอนาคตมากขึ้นค่ะ

รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมลองเอา Apply ใช้กับแบรนด์หรือธุรกิจของตัวเองดูนะคะ ยิ่งในสภาวะที่ไม่แน่นอนแบบนี้ การคาดคะเน และเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรตัวเองจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก แถมเมื่อลงมือทำ Matrix จนได้ Direction หรือกลยุทธ์ที่ทำได้จริงแล้ว ก็จะเป็นการบริหาร Employees หรือพนักงานให้ Effective วิธีนึงด้วย เพราะพนักงานก็จะไม่นั่งจับนู้นที นี่ทีอีก แต่เป็นการกระจายกลยุทธ์แต่ละช่องให้แต่ละทีมรับไปดูแลพร้อมๆ กันเลยนั่นเองค่ะ ยังไงก็อย่าลืมลองวิเคราะห์กันดูนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่