เปรียบเทียบ​ Short-Form vs. Long-Form​ ​Content​ เลือกใช้แบบไหนให้ใช้ตอบโจทย์​กลุ่มเป้าหมาย​ดี? 

เปรียบเทียบ​ Short-Form vs. Long-Form​ ​Content​ เลือกใช้แบบไหนให้ใช้ตอบโจทย์​กลุ่มเป้าหมาย​ดี? 

Content​ is​ King​ ยังคงเป็น​ประโยคที่ใช้ได้จริงอยู่​เสมอ​ ดังนั้น​ หลายๆ​ ธุรกิจ​จึงหันมาให้ความสนใจในการวางแผนกลยุทธ์​ในแง่ของเนื้อหา​กันมากขึ้นด้วย

ถึงแม้ว่าผู้คนจะหันมาสนใจในเรื่องของ​ Content​ Marketing​ กันมากขึ้น​ แต่ก็ยังมีส่วนที่ยังคงเข้าใจผิดกันอยู่อีกหลายอย่าง​ นักการตลาดส่วนหนึ่งก็บอกว่าเนื้อหายิ่งยาวยิ่งดี​ อีกส่วนหนึ่งก็บอกว่าเดี๋ยวนี้ใครจะอ่านเนื้อหายาวๆ​ กัน​ ยิ่งสั้นยิ่งดึงดูด​คนให้หยุดสายตาได้มากกว่าต่างหาก! 

เมื่อเสียงแตกออกเป็นสองขั้วแบบนี้​ แล้วเราควรจะเลือกเชื่อทฤษฎี​ไห​น​ จะต้องเขียนให้สั้น​ หรือจะเขียนให้ยาวดี? ​… บทความนี้แบมมีคำตอบค่ะ

Short-​Form​ Content​ VS.​ Long-​Form​ Content​

ก่อนที่เราจะไปกำหนดเรื่องความยาวของเนื้อหาว่าจะเขียนแบบสั้นหรือแบบยาว​ เรามาลองดูความหมาย​ หรือคำนิยามของการเขียนทั้ง​ 2 แบบนี้ดูก่อนว่าแต่ละรูปแบบนั้นมีลักษณะ​เฉพาะอย่างไรบ้าง

Short​-Form​ Content​ การเขียน​เนื้อหา​แบบสั้น​

Short​-Form​ Content​ ส่วนใหญ่​มักมีเนื้อหาที่มีความยาวน้อยกว่า 1,000 คำ ซึ่งเนื้อหา​ หรือรายละเอียดส่วนใหญ่จะเป็นการแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ​ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปที่กระชับ​ อ่านง่าย​ ได้ใจความ​ แทนการเจาะลึก​ หรือลงรายละเอียดมากจนเกินไป

รูปแบบทั่วไปของ​ Short-Form​ Content​ ประกอบด้วย:

  • โพสต์บล็อกสั้น
  • บทความข่าว
  • อินโฟกราฟิก
  • แคปชันบนแพลตฟอร์ม​โซเชียล​มีเดีย​ต่างๆ

ข้อดี

ซึ่งข้อดีของ​เนื้อหาประเภทนี้​ ก็คือมีเนื้อหาที่ไม่หนักเกินไปสำหรับผู้อ่าน ส่วนใหญ่มักเป็นการสื่อสารในประเด็นเดียว​ จึงทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านจนจบและทำความเข้าใจได้โดยใช้เวลาไม่นาน​ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบคอนเทนต์​ที่เหมาะกับอุปกรณ์​เคลื่อนที่ต่างๆ ด้วยเหตุนี้​ Short​-Form​ Content​ จึงมีประสิทธิภาพมากบนแพลตฟอร์ม​โซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้​ในฝั่งของผู้เขียนเอง​ การเขียน​ Short​-Form​ Content​ นั้นก็ใช้เวลาและทรัพยากร​น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหาแบบยาว 

ข้อเสีย

สำหรับ​ข้อเสียของ​การเขียน​แบบ​ Short​-Form​ Content​ นั้น​ เนื่องจากเป็นการเขียนในรูปแบบสั้น​ จึงทำให้ไม่สามารถเขียนได้อย่างครอบคลุมในทุกประเด็น​ นอกจากนี้ยังยากต่อการเจาะลึก​ หรือลงรายละเอียดต่างๆ​ ของเนื้อหาด้วย

และเนื่องจากเหตุผลข้างต้น​ จึงทำให้คุณภาพของเนื้อหาในรูปแบบ​​ Short​-Form​ Content​ มีไม่มากเท่าหากเทียบกับ Long​-Form​ Content​ หมายความว่าความสนใจของผู้อ่านและประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง

ตัวอย่าง Infographic แบบ Short-Form Content

Long​-Form​ Content​ การเขียน​เนื้อหา​แบบยาว

Long​-Form​ Content​ มักจะมีความยาวมากกว่า 1,000 คำ โดยส่วนมากจะเป็นเนื้อหาที่ลงลึกในรายละเอียด​ โดยมีหัวข้อย่อยๆ​ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหาเหล่านั้น

รูปแบบทั่วไปของ​ Long​-Form​ Content​ ประกอบด้วย:

  • โพสต์บล็อกที่ละเอียดและยาว 
  • Evergreen Content
  • คู่มือและแบบฝึกหัด
  • E-book

สำหรับ​ Long​-Form​ Content​​ นั้นถือเป็นประเภทของเนื้อหาที่สามารถ​ดึงดูดผู้อ่านได้อย่างแท้จริง​ เนื่องจากหัวข้อที่ครอบคลุมในเชิงลึก ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเนื้อหาที่อ่านอย่างรวดเร็ว แต่เป็นเนื้อหาที่มุ่งให้ความรู้​ หรือต้องการตอบคำถามแบบเฉพาะ​เจาะลงในหัวข้อนั้นๆ​ 

ซึ่งถ้าหากเราเขียนบทความให้ครอบคลุม​และสามารถตอบโจทย์​ในการค้นหาของ​กลุ่ม​เป้าหมาย​ได้​ ก็จะส่งผลต่อ​การทำ​ SEO​ อีกทั้งยังช่วยให้บทความของเราติดอันดับต้นๆ​ ของหน้าการ​ค้นหา​บน​ Search​ Engine​ ได้

ข้อดี

โดยทั่วไปแล้ว​ Long​-Form​ Content​ มักจะสามารถทำอันดับได้ดีกว่าใน​หน้าการค้นหา เนื่องจาก​ Search​ Engine​ จะมองว่าเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพ​ เนื่องจากครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกมากกว่า รวมถึง​การเขียนเนื้อหาแบบยาวนั้นมักจะได้​ Backlink​ มากกว่าเนื้อหารูปแบบสั้น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอันดับของหน้าเว็บไซต์​ได้ดีกว่า

นอกจากนี้​การเขียนในรูปแบบ​ Long​-Form​ Content​ นั้นจะมีอัตรา Conversion สูงกว่าของเนื้อหาแบบสั้น สาเหตุหลักก็มาจากความสนใจของคนอ่านและความตั้งใจในการเข้าอ่านนั่นเองค่ะ

ข้อเสีย

ในทางกลับกัน ข้อเสียของ​ Long​-Form​ Content​ ก็คือต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้นในการเขียนแต่ละบทความ​ ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล​ การคัดกรอง​ การเรียบเรียง​ ไปจนกระทั่งการเขียน​ 

นอกจากนี้บทความในลักษณะ​ Long​-Form​ Content​ มักจะแสดงผลในอุปกรณ์​เคลื่อนที่ได้ไม่ค่อย​ดีนัก​ เนื่องจากความยาวของตัวเนื้อหา​ ทำให้อ่านยาก​ ดูลายตา​ และเพิ่มความสร้างสรรค์​ลงไปได้ยากด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างบทความ Long-Form Content

ความยาวของเนื้อหามีความสำคัญหรือไม่

คำถามนี้เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่มักถูกถามกันมากในกลุ่มคนทำ SEO และนักการตลาดว่า​ ความยาวของบทความ​นั้นมีความสำคัญหรือไม่ในการทำ​ SEO

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็คงต้องบอกว่าความยาวของเนื้อหามีความสำคัญ​ แต่ก็ไม่ใช่ว่ายิ่งยาวมากก็จะยิ่งดี​ เพราะถ้าเขียนยาว​ แต่เขียนวกไปวนมา​ ไม่ตอบ​โจทย์​การค้นหาของกลุ่มเป้าหมาย​ แบบนี้ถึงจะยาวแต่ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

ทางที่ดีเราควรเลือกความสั้น-ยาวของเนื้อหาให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม​ รูปแบบ​การนำเสนอ​ วัตถุประสงค์​ และหัวข้อในการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญ​ แล้วจึงค่อยนำเรื่องความสั้น-ยาวของเนื้อหามาเป็นปัจจัยเสริม​ เพื่อบทความที่เราเขียนจะได้สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย​อย่าง​มีประสิทธิภาพ​มากที่สุด​

และสิ่งที่สำคั​ญที่สุดคือเราต้องสร้างเนื้อหาที่ตอบคำถามค้นหาได้ดีที่สุด และแน่นอนว่าไม่จำเป็น​ต้องเป็นเนื้อหาในรูปแบบ​ Long​-Form​ Content​ เสมอไป

4 ปัจจัย​ในการตัดสินใจว่าจะใช้ Short​-Form​ Content​ หรือ​ Long​-Form​ Content​ ดี? 

ความจริงแล้ว​ การจะทำ​ Content​ Strategy​ ให้ประสบความสำเร็จนั้น​ เราควรต้องสร้างความสมดุลในการเขียนทั้งแบบสั้นและแบบยาว​ เพื่อให้เรามีคอนเทน​ต์ที่หลากหลาย​ และสามารถตอบ​โจทย์​ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

ลองมาดูกันว่า​ 4 ปัจจัยในการช่วยเลือกว่าคอนเทนต์​ไหนควรเป็นแบบสั้น​ หรือแบบยาวนั้นจะมีอะไรบ้าง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ถ้าเราไม่รู้ว่าเรากำลังจะไปที่ไหน เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะไปที่นั่นได้อย่างไร… จริงไหมคะ? 

เพราะฉะนั้นอย่างแรกที่ต้องทำก่อนที่จะเขียนบทความ​ ไม่ใช่การตั้งคำถามว่าบทความนี้เราควรเขียนให้สั้นหรือยาว​ แต่ต้องเป็นการตั้งเป้าหมาย​ก่อนว่าบทความที่เราจะเขียนนั้นต้องการสื่อสารอะไร​ กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาอ่านเป็นใคร​ แล้วจึงค่อยมาคิดหาวิธีในการนำเสนอว่าเขียนอย่างไรให้ดึงดูดผู้อ่าน

ตัวอย่างเช่น ถ้าเป้าหมายของเราเป็นการสร้าง Awareness ให้กับ Product ใหม่​ ก็อาจจะเลือกสื่อสารถึงสมาชิก​ หรือลูกค้าเก่าด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ​อย่าง​ Email Marketing​ ที่ค่อนข้างสั้นแต่ตรงประเด็น​ ประกอบกับการโพสต์​ในช่องทางโซเชียล​มีเดียเพื่อให้ลูกค้าใหม่​ หรือกลุ่มเป้าหมายรับรู้​ เป็นต้น

ในทางกลับกัน หากเป้าหมายของเราคือการจัดอันดับใน Google เราก็จำเป็นต้องใช้เนื้อหาแบบยาว​ เป็นต้น

ความต้องการในการค้นหา

ก่อนจะตัดสินใจว่าจะทำเป็นเนื้อหาแบบสั้นหรือยาว​ เราจะต้องทำความเข้าใจจุดประสงค์ของผู้อ่านก่อนว่าเขาต้องการค้นหาอะไร​ เพื่อที่เราจะได้ไปหาข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราต้องการ​ ก่อนจะนำมาเขียนลงรายละเอียดเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเพื่อตอบคำถามผู้อ่านในขั้นตอนสุดท้าย

ซึ่งถ้าจุดประสงค์ของผู้อ่านคือการเรียนรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติม โดยปกติแล้วคุณจะต้องสร้างเนื้อหาที่มีรูปแบบยาว แต่ถ้าพวกเขาต้องการความบันเทิงหรือติดตามข่าวสารล่าสุดของคุณ การเขียนแบบสั้นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

กลุ่มเป้าหมาย

การ​รู้จัก​กลุ่มเป้าหมาย​ หรือผู้อ่านของตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ​ เพราะเราจะได้เอาข้อมูล​ Insight​ ของคนกลุ่มนี้มากำหนด​ Content​ Strategy​ ในการสร้างประเภทของเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านของเรามากที่สุด​ เพราะเนื้อหาที่แตกต่างกันก็ย่อมตอบสนองวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันด้วย

ซึ่งในขณะเดียวกัน​เราจะต้องตอบคำถาม​ให้ได้ด้วยว่าเนื้อหาประเภทไหนที่ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของ​กลุ่ม​เป้าหมายได้ดีที่สุดบนโซเชียมีเดีย​ รวมไปถึง​เนื้อหาประเภทใดมี​ Bounce Rate ต่ำและระยะเวลาเซสชันสูงสุด

ยิ่งถ้าเราสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกจากผู้อ่านของคุณได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีอาวุธมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไปในกลยุทธ์ของเรามากขึ้น​เท่านั้น

ดูปริมาณการแข่งขัน

การพิจารณาและวิเคราะห์ว่าคู่แข่งของเรากำลังทำอะไรอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น​ในแง่ของรูปแบบที่คู่แข่ง​เราใช้และความยาวของเนื้อหาที่พวกเขากำลังทำอยู่

ถ้าหากเรากำลังจะทำคอนเทนต์​โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อยู่ในอันดับแรกๆ​ ของการจัดอันดับบน SERP แล้วล่ะก็สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ก็คือตอนนี้เรากำลังแข่งขันกับอะไรและกลยุทธ์​ไหนที่ใช้ได้ผลกับคู่แข่งของเราบ้าง

สำหรับในฝั่งเนื้อหาบนโซเชียล​เราสามารถ​ใช้เครื่องมือติดตามโซเชียลมีเดีย​ ในการเปรียบเทียบว่าเนื้อหาของเรากับคู่แข่งได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างการใช้เครื่องมือติดตามโซเชียลมีเดีย

สรุป

แม้ในส่วนความสั้นยาวของเนื้อหานั้น​จะเป็นสิ่งที่นักการตลาดควรใส่ใจก็จริง​ แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ต้องกังวลมากจนเกินไปนัก​ 

เพราะสิ่งที่เราควรให้น้ำหนักมากกว่าก็คือวัตถุประสงค์​ในการสื่อสาร​ กลุ่มเป้าหมายหลักว่าเรากำลังส่งสารถือใคร​ และรายละเอียด​ในสารนั้นสามารถตอบคำถามและความต้องการของผู้อ่านได้อย่าครบถ้วนหรือไม่​ 

จากนั้นจึงค่อยมาพิจารณา​เรื่องความยาวของเนื้อหา​ และแพลตฟอร์ม​ที่จะลงเป็นลำดับสุดท้าย​ จะทำให้บทความของเราเป็นบทความคุณภาพดี​ ที่มีประสิทธิภาพ​

สำหรับใครที่สนใจบทความเกี่ยวกับ Content อีก สามารถคลิกเข้าไปเลือก Topics อื่นๆ ที่นี่เลยค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

ที่มา: www.semrush.com

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน