The War of Search Result :TikTok Search vs Google Search  vs YouTube Search

The War of Search Result :TikTok Search vs Google Search  vs YouTube Search

วันนี้มาในหัวข้อใหญ่สะเทือนทั้งโลกเลยคือ ผลการค้นหา “คีย์เวิร์ด” ของแต่ละแพลตฟอร์มเป็นอย่างไรตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเราได้รู้จัก “อากู๋” หรือ  Google Search เป็นอย่างดีว่าค้นอะไรก็เจอ เอาง่ายๆ เจอยันป้ายทะเบียนรถ 

แต่การมาของ TikTok Search จะทำให้สมรภูมิ Search Engine ในบ้านเราเปลี่ยนไป และก็แน่นอน เมื่อพฤติกรรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน คนทำคอนเทนต์ เจ้าของสินค้า เอเจนซี่ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและก็การวางแผนสื่อกันใหม่ด้วย หรือ เอาง่ายๆ เลยคือ ทำตัว Media Plan กันใหม่หมดเลยล่ะ

ประเทศไทยเป็นประเทศ Google นะครับ คือใช้ Google ในการค้นหา 98.37% แต่เพื่อนๆ เห็นอะไรไหมครับ  YOY (Year on Year) การใชงาน Google Search ลดลง 0.91% และในรายงานนี้ไม่มีสัดส่วนของ ผลการค้นหาของ TikTok Search ผมว่าปีหน้าต้องมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

ผมสอนเรื่อง Media Landscape  ผมจะเป็นคนที่ทำสไลด์บ่อยมากเพราะว่าหลังการเกิดขึ้นของ TikTok นั้น Media Landscape เปลี่ยนไปเยอะมากๆ

ปัจจัยหลักที่ลูกค้าเลือกดูคอนเทนต์ของเราในแต่ละแพลตฟอร์ม 

ทีนี้เรามาดูกันครับว่าผลการค้นหาแต่ละแพลฟอร์ม มีหน้าตาอย่างไร และแสดงผลแบบไหน อะไรเป็นปัจจัยหลักให้ลูกค้าเลือกดูคอนเทนต์ของเรา 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนคุ้นเคยกับ  Google Search มาก แทบจะเรียกว่าหลับตาก็ใช้งานเป็นและเข้าใจในการค้นหาของ Google

ผมขอไล่เรียงดังนี้ สมมุติผมค้นคีย์เวิร์ดคำว่า “รองเท้าสีขาวผู้หญิง” 

ทุกคนคงคุ้นเคยกับผลการค้นหาอยู่แล้ว ซึ่งหน้าแรกของผลการค้หาของ Google นั้นมีมูลค่ามหาศาลและทุกๆ คนต้องการให้สินค้า หรือบริการของตัวเองติดหน้าแรกอยู่แล้ว 

ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่อันดับแรกๆ จะต้องถูกประมูลหรือทำการ Biding เพื่อติดอันดับ และแน่นอนสิ่งนี้มีให้ใช้บริการใน Google AdWords (ในภาพมีทั้งภาพและราคาพร้อมเว็บพร้อมขายของ มีให้ใช้ใน Google Shopping) 

ขออธิบายดังนี้ว่าอันดับแรกๆ จะเป็นอันดับที่ต้องซื้อโฆษณา (มีบริการใน Google AdWords) 

ส่วนอันดับถัดๆ ลงมาก็แสดงตาม Quality Content ของเว็บไซต์ต่างๆ วัดจากจำนวนคนเข้าอ่าน คนอ่านนานแค่ไหน อ่านกี่หน้า 

และสิ่งที่เราจะเห็นคือคำว่า และผู้คนค้นหา นั้นคือ Related Keywords หรือคำที่คนค้นอื่นๆนอกจากคำที่เราต้องการค้นหานั่นเอง ซึ่งคำเหล่านี้เราก็สามารถเอาไปทำ Google SEO ได้เช่นเดียวกัน 

 แน่นอนครับว่า Google และ YouTube เป็นเจ้าของเดียวกัน แต่สิ่งที่เราเข้าใจ YouTube คือ Video Platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ 

การแสดงผลของ YouTube ก็จะคล้ายกับ Google คือ อันดับต้นๆ เราสามารถซื้อโฆษณาได้ซึ่งเรียกว่า Display Ads ก็จะถูกวางไว้อันดับต้นๆ ตามค่า Bidding ที่เราจ่ายไป ซึ่งไม่แน่เสมอไปว่าจ่ายเยอะกว่าจะได้อันดับต้นๆ นะครับ เพราะสุดท้ายแล้ว YouTube ก็วัดตัว Quality Video เช่นเดียวกันครับ 

ส่วนอันดับถัดๆ ลงมาก็แสดงผลตาม Quality ของวีดีโอ ซึ่งวัดจาก จำนวนวิว จำนวนชั่วโมงคนดู และก็ค่าอื่นๆ ที่เรามองไม่เห็น เช่น CTR (Click Through Rate จาก Cover Page) 

หากเราสังเกตให้ดี YouTube Search เริ่มเอา Shorts มาแสดงผลแล้ว 

หลายๆ ท่านอาจจะจังไม่ชินกับ TikTok Search ซึ่งผมหวังว่าอีกหน่อยท่านก็จะชินและเข้าใจให้เร็วเพราะว่า Media Landscape เปลี่ยนไปแล้วหลังการมาของ TikTok เพราะปัจจุบน ณ ตอนนี้คือ  Quater 4 Year 2022 คนไทยใช้ TikTok 45.8 ล้านคน 

มาดูกันว่ามันแสดงผลอย่างไร 

  • อันดับแรก

เลยที่อยากให้ดูคือ การค้นคีย์เวิร์ดของผม จะเห็นว่าช่องค้นหาของ TikTok ทำหน้าที่เหมือนกุเกิลเลยคือมี Auto Spelling ให้คนใช้เพื่อไม่ต้องพิมพ์เอง หรือ มีบอกให้รู้ด้วยว่า มีคำอื่นที่คนค้นไหม 

  • อันดับที่สอง 

การแสดงผล ทุกคอนเทนต์แสดงผลเป็นวีดีโอ และเมื่อกดเข้าไปดูคอนเทนต์ก็ดูในแพลตฟอร์มตัวเอง ไม่ลิ้งก์ออกไปข้างนอก 

  • Google Serch ลิงค์ไปเว็บอื่น 
  • YouTube Search อยู่ในแพลตฟอร์มตัวเอง
  • TikTok Search อยู่ในแพลตฟอร์มตัวเอง
  • อันดับที่สาม 

Content TikTok ที่แสดงผลให้เห็นเป็น Short Video PlatForm ซึ่งผมบอกเลยว่าเป็นคอนเทนต์ที่พร้อมป้ายยา หมายความว่าคุณเข้าไปดูปุ๊บ พร้อมที่เชื่อในคอนเทนต์นั้นๆ ได้ทันที เพราะคอนเทนต์ดูง่าย ดูจบไว 

  • อันดับที่สี่ 

จะเห็นว่าแท็บการทำงานของผลการค้นหา มีฟังก์ชั่นอื่นให้เรียกดูเหมือน Google Search ที่มีทั้ง ทั้งหมด รูปภาพ ข่าวสาร วีดิโอ แผนที่ Shopping หนังสือ และเครื่องมือ 

แต่สำหรับ TIKTOK มีดังนี้ ยอดนิยม ผู้ใช้ วีดีโอ เสียง ร้านค้า LIVE แฮชแท็ก

ผมอยากให้ดูแฮชแท็ก ซึ่งตรงนี้บอกด้วยว่ามีการดู (Video Views) ในแต่ละแฮชแท็กเยอะแค่ไหน ซึ่งเป็นความต่างจาก Google ไม่ได้บอกตรงนี้ (ซึ่งตอนเริ่มต้นช่วงแรกๆของ Google มีบอกค่านี้ด้วย หลังๆอยากเห็นค่านี้ต้องไปดูใน Google Keyword Planner หรือ เครื่องมืออื่นๆ ที่บางเครื่องมือต้องจ่ายตังค์ แต่ TIkTok ให้ดูฟรีๆ) 

หลังจากเราเห็นยอดวิว เราก็จะรู้ว่าคอนเทนต์มีความต้องการใน  คีย์เวิร์ดนั้นๆ มากแค่ไหน หากเราทำคอนเท้นท์ หรือเราทำ Digital Marketing ตรงนี้เป็นตัวบ่งบอกความต้องการลูกค้า ที่รอให้เราไปเสิร์ฟต้องการของเขา 

Kaowrote Sutapakdi

ก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director Digital Media TNN 16 (www.tnnthailand.com) อดีตนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (sonp.or.th) ทำงานที่ (www.siamsport.co.th) มา 19 ปี เป็น Webmaster คนแรกของเว็บนี้ มาจากสายโปรแกรมเมอร์ แต่มาเติบโตด้านมีเดีย หรือการทำสื่อเพราะว่าชอบเรื่องการสื่อสารและติดต่อกับคน ทำงานด้านดิจิทัลมีเดียมาตลอด ก่อนยุคเกิดของ Social Media (Twitter,Facebook,Youtube,IG,TikTok) ตั้งแต่สมัยเขาเรียกเว็บไซต์ว่า New Media ผ่านมรสุม Media Disruption มาทุกยุคสมัย ตั้งแต่แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ จนถึง ทีวีดิจิทัล สู่ยุค OTT ติดต่อได้ Email:[email protected] Line : kaowrote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน