Psychology in Data แค่ดูรูปใน Instagram ก็รู้ว่าใครกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

Psychology in Data แค่ดูรูปใน Instagram ก็รู้ว่าใครกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

Psychology in Data Instagram เมื่อการวิเคราะห์จากรูปใน Instagram ก็สามารถบอกได้ว่าใครที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าได้แม่นยำถึง 70% อีกหนึ่งเคสในการใช้ Data ด้าน Psychology ที่อาจสามารถช่วยคนหลายร้อยล้านคนบนโลกให้รู้ตัวก่อนที่จะเป็นหนัก หรือรักษาคนที่เป็นหนักก่อนที่จะถลำลึกครับ

ในยุค Big Data ที่ไม่ว่าใครก็พยายามทั้งเก็บและวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะการมี Data ว่าสำคัญแล้ว แต่การตีความหมายที่ซ่อนอยู่ใน Data นั้นสำคัญกว่า เพราะ Data ชุดเดียวกันแต่จะมีค่ามากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ การตีความ หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ครับ

โดยเฉพาะกับ Public Data หรือ Data บน Social media ที่ใครๆต่างก็อยากจะใช้ขุมทรัพย์ Big Data แห่งนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะข้อดีคือไม่ต้องไปเริ่มเก็บหาใหม่ตั้งแต่ต้น แต่สามารถเอา Algorithm มาต่อยอดค้นหาคุณค่าที่ซ่อนอยู่เพื่อให้เกิดมูลค่าตามมา

เหมือบกับที่สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอย่าง Andrew Reece แห่งมหาวิทยาลัย Harvard University และ Massachusetts กับ Chris Danforth แห่งมหาวิทยาลัย Vermont ที่ค้นพบเบาะแสสำคัญจาก Data ที่ซ่อนอยู่ในรูปที่เราโพสลง Instagram ที่สามารถบอกได้ว่าใครกันที่กำลังจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าครับ

Psychology in Data Instagram

หนึ่งสิ่งที่เราเชื่อกันมานานว่าสีต่างๆนั้นเชื่อมโยงกับอารมณ์ของคนเรา เช่น เราเชื่อกันว่าสีที่ออกหม่นๆ ดำๆ ออกเทาๆ สีเข้มๆ บอกถึงอารมณ์ที่เศร้าหมอง หรืออารมณ์ในแง่ลบ แต่กับสีที่ออกไปทางโทนสว่าง สดใส ก็จะเกี่ยวโยงกับอารมณ์ในแง่บวกใช่มั้ยครับ แต่วันนี้สองนักวิจัยที่บอกชื่อไปข้างต้นเค้าค้นพบแล้วว่า เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ทฤษฎีอีกต่อไป แต่สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าจริงด้วย Algorithm ของ Machine-Learning ครับ

โดย Andrew Reece และ Chris Danforth ได้หาอาสาสมัครกว่า 500 คนมาร่วมทำการวิจัยโดยมีเงื่อนไขว่าทั้ง 500 คนนี้ต้องมี account instagram เป็นของตัวเอง จากนั้นก็ให้ทั้ง 500 คนตอบคำถามที่ใช้ทดสอบสภาพจิตเหมือนที่ใช้กันตามคลินิกสุขภาพจิตโดยจิตแพทย์ทั่วไปครับ

สิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้คือ มีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 170 คนที่บอกว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และในจำนวนนี้มีถึง 70 คนที่บอกว่าตัวเองกำลังรักษากับจิตแพทย์อยู่

จากนั้นก็ทำงานทดลองต่อไปกับผู้ทดลอกลุ่มใหม่ ด้วยการเอารูปบน Instagram กว่า 43,000 รูปมาวิเคราะห์ ในกลุ่มคนที่สุขภาพจิตดีเป็นปกติ นักวิจัยเลือกรูปถ่าย 100 รูปที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด และในกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า นักวิจัยก็เลือก 100 รูปภาพที่พวกเขาโพสก่อนได้รับการวินิจฉัย

Psychology in Data Instagram
Psychology in Data Instagram

โดยในการให้คะแนนนี้จะผ่านคำถามว่า รูปนี้น่าสนใจมั้ย เห็นแล้วชอบมั้ย เห็นแล้วรู้สึกมีความสุขมั้ย หรือเห็นแล้วรู้สึกเศร้ามั้ย ผ่านการให้คะแนนในแต่ละข้อตั้งแต่ 0 ถึง 5

จากนั้นนักวิจัยก็เอาแต่ละรูปมาแจกแจงผ่านเกณฑ์ต่างๆอย่าง เฉดสี ความเข้มของสี ความคมชัดของภาพ และอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจว่าแต่ละภาพนั้นมีคะแนนความสดใสมากน้อยแค่ไหน เช่น ภาพนี้ออกไปทางสีเทาหรือสีจางๆ รวมถึงการนับจำนวนใบหน้าที่ปรากฏบนรูปถ่ายผ่านโปรแกรม Face Detection ด้วยการตั้งสมมติฐานว่า จำนวนใบหน้าน่าจะเกี่ยวโยงกับระดับการเข้าสังคม และยังเอาจำนวนไลก์และคอมเมนท์มาพิจารณาอีกด้วย

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ สองนักวิจัยได้ใช้ Machine-learning ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างรูปที่โพสกับโรคซึมเศร้า และก็ได้ค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มจะโพสภาพที่มีโทนสีออกไปทาง ฟ้า เทา และสีที่มืดหม่นหรือเข้มกว่าปกติ รวมถึงยังได้รับการไลก์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนที่มีสภาวะจิตใจปกติแข็งแรงครับ

Psychology in Data Instagram

และอย่างที่เรารู้กันว่า Instagram เป็นแอพถ่ายรูปที่มี Filter ให้เลือกมากมาย ก็ทำให้พบอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มว่าจะใช้เลือกฟิวเตอร์ Inkwell และปรับรูปภาพให้ออกไปทางโทนขาวดำครับ

เมื่อเทียบกับคนที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติที่มักจะโพสรูปที่ออกไปแนวสว่างหรือมีสีสันสดใส และมักจะเลือกใช้ฟิวเตอร์ Valencia มากกว่าปกติครับ

Psychology in Data Instagram

อ่านถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าคุณคงรีบหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเปิด Instagram ดูว่ารูปล่าสุดเราใช้ Filter Inkwell หรือเปล่า และเราได้ปรับรูปให้เป็นโทนขาวดำหรือไม่กันใช่มั้ยครับ ถ้าใช่ก็ไม่ต้องรู้สึกแปลกใจ เพราะระหว่างที่เขียนบทความนี้ผมก็เปิดเช็คดูของตัวเองอีกครั้งเหมือนกัน และก็พยายามหาว่าไอ้ Filter ที่ชื่อ Valencia มันหน้าตาเป็นยังไง ทำให้ภาพเรามีโทนสีออกมาเป็นแบบไหน

วางโทรศัพท์แล้วกลับมาสู่เนื้อหาต่ออีกครั้ง จากการวิเคราะห์ Data ที่ซ่อนอยู่ในรูปก็ทำให้พบอีกว่าการให้คะแนนรูปภาพของคนเราว่ารูปไหนที่เห็นแล้วสุขหรือเศร้าไม่ได้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด แต่จำนวนใบหน้าของคนที่ปรากฏบนภาพถ่ายกลับสะท้อนถึงภาวะโรคซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด เพราะคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มว่าจะมีหน้าคนอยู่ในรูปที่โพสบน Instagram น้อยกว่าคนที่มีสภาวะจิตใจดีเป็นปกติ

เพราะคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ามักจะมีอาการสนใจแต่เรื่องของตัวเอง พูดถึงแต่ตัวเอง จนพฤติกรรมแบบนี้อาจสะท้อนไปถึงภาพถ่ายที่โพสเน้นแต่ตัวเองเป็นหลัก ไม่ค่อยมีคนอื่นร่วมด้วย แต่คำถามสำคัญคือ ถ้าสิ่งนี้เป็นสัญญาที่บ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้าในคนได้ ความนิยมในการถ่ายภาพ Selfie ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าคนทุกวันนี้มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้ามากอย่างเห็นได้ชัด

Psychology in Data Instagram

Selfie อาจหมายถึง Sad Selfie หรือต้องเรียกใหม่ว่า Sadfie ก็ได้ครับ

แล้วจากการวิจัยนี้ที่ใช้การวิเคราะห์รูปถ่ายที่โพสบน Instagram ก็ทำให้สามารถบอกได้ว่าใครกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้าได้แม่นยำถึง 70% เมื่อเทียบกับการใช้แบบสอบถามที่ใช้ทดสอบสุขภาพจิตใจเป็นมาตรฐานในวันนี้ นั่นหมายความว่าการค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้กำลังจะเปลี่ยนวิธีการค้นพบ และเข้าถึงผู้ที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก เพียงแต่ใช้ public data หรือ data จาก social media อย่าง Instagram ก็สามารถบอกได้ว่าใครกันนะที่กำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า

เป็นอย่างไรครับกับการใช้ Big Data ในด้านการแพทย์ในสาขา Psychology ที่อาจจะช่วยคนอีกหลายร้อยล้านคนให้ไม่ต้องจมอยู่กับภาวะซึมเศร้าคนเดียวอีกต่อไป Psychology in Data Instagram

อ่านบทความที่เกี่ยวกับการใช้ Data ต่อ https://www.everydaymarketing.co/tag/data/

Source:
https://www.technologyreview.com/s/602208/how-an-algorithm-learned-to-identify-depressed-individuals-by-studying-their-instagram/
https://arxiv.org/abs/1608.03282

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

2 thoughts on “Psychology in Data แค่ดูรูปใน Instagram ก็รู้ว่าใครกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

  1. ใต้รูป Ryan ประโยคที่ว่า “ คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ามีโนวแน้มว่าจะใช้เลือกฟิวเตอร์ Inkwell“

    โนวแน้ม > แนวโน้ม

    ผมก็ผวนตามเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่