5 วิธีในการเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจออนไลน์-Online Survey

5 วิธีในการเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจออนไลน์-Online Survey

Online Surveys: แบบสำรวจออนไลน์ ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้แบรนด์ต่างๆ เข้าใจผู้บริโภค และมีส่วนช่วยในการค้นหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ =>> หากข้อมูลที่ได้มานั้นมีคุณภาพ และสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้

แต่เนื่องจาก พรบ. การเข้าถึงข้อมูล และข้อจำกัดในปัจจุบัน ทำให้มีโอกาสที่การออกแบบคำถามเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดเหล่านั้น เหนี่ยวนำไปสู่การได้ชุดข้อมูลจากแบบสำรวมที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีคุณภาพมากเพียงพอ ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมได้

ซึ่งจากจุดนี้เองค่ะ ที่เราต้องมาหาวิธีในเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้รับจากแบบสำรวจออนไลน์ โดยการวิเคราะห์หา และหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ¯\_(ツ)_/¯

credit: Top customer satisfaction survey questions to ask https://www.bazaarvoice.com/

#1 ตั้งเป้าหมายในการทำ Online Survey ให้ชัดเจน

โดยเราจะเริ่มจากการสำรวจเป้าหมายของการทำแบบสำรวจออนไลน์ในแต่ละครั้งค่ะ ว่าต้องการทำเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เพราะเมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้เราสามารถปรับแต่งคำถามให้สอดคล้อง และมีความเกี่ยวเนื่องกับความต้องการของเราได้

และในส่วนนี้ให้หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามที่มีลักษณะแบบ Fuzzy หรือมีความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่นการตั้งการให้คะแนนเป็นสเกลแบบตัวเลยต่างๆ (1 ถึง 10, 0 ถึง 5 เป็นต้น)

#2 ใช้ภาษาใน Online Survey ให้กระชับไม่กำกวม

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นประจำในการทำแบบสำรวจออนไลน์ คือการใช้คำถามที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทาง ทางด้านเทคนิค ซึ่งส่งผลให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีไม่เข้าในคำถาม ทำให้ตอบผิดพลาด หรือการให้คำศัพท์ที่กำกวมก็ส่งผลให้คุณภาพของคำตอบที่ได้จากคำถามที่มีลักษณะนี้ ไม่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้หลักการในการตั้งคำถามคือ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ “คำถามนำ” ที่เป็นเหมือนการแนะนำให้มีการตอบคำถามไปในทิศทางที่ต้องการ เช่น “คุณไม่คิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในตลาดแล้วหรือ” เป็นต้น โดยคำถามในลักษณะนี้ส่งผลให้เกิดข้อมูลที่เป็น bias เมื่อนำมาทำการวิเคราะห์ต่อ

และพยายามออกแบบ แบบสำรวจออนไลน์ของเราให้มีความสั้นและกระชับมากที่สุด เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลในแบบสำรวจ สามารถกรอกข้อมูลแล้วเสร็จได้ในเวลาไม่นาน (เนื่องจากมีผลสำรวจออกมาแล้วค่ะว่า คุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจ แปรผกผันกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำแบบสำรวจนั้น (⊙_⊙;) )

#3 ทำการตรวจสอบให้แน่ในว่า Online Survey นี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย

จากข้อ 1 ที่เราจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการทำแบบสำรวจออนไลน์ให้ชัดเจน เท่านั้นยังไม่เพียงพอค่ะ,,,,ซึ่งสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญต่อจากการกำหนดวัตถุประสงค์ของแบบสำรวจ คือการพิจารณาว่าแบบสำรวจที่เราทำออกมานี้ มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

โดยก่อนที่เราจะเริ่มใช้งานแบบสำรวจออนไลน์ ให้เราทำการทดสอบแบบสำรวจนั้นก่อน ด้วยการส่งไปให้บุคคลกลุ่มย่อย เพื่อรับคำติชม และข้อแนะนำเกี่ยวกับคำถาม และการออกแบบสำรวจโดยรวม

#4 เสนอสิ่งจูงใจในการทำแบบสำรวจ และขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถาม

การเสนอสิ่งจูงในในการทำแบบสำรวจ ยกตัวอย่างเช่น การให้ส่วนลดในสินค้าและบริการ การให้ Gift เล็กๆ น้อยๆ ตลอดจนการให้เงินเป็นการตอบแทน ช่วยเพิ่มความเต็มใจ และตั้งใจในการให้ข้อมูลของผู้กรอกแบบสำรวจออนไลน์ได้เป็นอย่างดีค่ะ^^

และเมื่อผู้ตอบแบบสำรวจกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย การกล่าวขอบคุณ หรือแสดงความขอบคุณในรูปแบบต่าง เป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมและโอกาสในการกลับมาร่วมตอบ แบบสำรวจออนไลน์ของธุรกิจเราเมื่อมีการทำแบบสำรวจใหม่อีกครั้ง

#5 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาอย่างถี่ถ้วน และจัดทำรายงานให้ชัดเจน

จากวิธีที่ 1-4 เป็นการปรับปรุงคุณภาพที่ได้จากข้อมูลแบบสำรวจออนไลน์ ผ่านการจัดทำแบบสำรวจให้ถูกต้องเหมาะสม เริ่มตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดผู้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ ตลอดจนการทำ UX หรือออกแบบแบบสำรวจออนไลน์ให้ดี ซึ่งเมื่อเราได้ข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์มาแล้ว ก็จะเข้าสู่ส่วนที่ 5 คือการวิเคราะห์ข้อมูล

5 วิธีในการเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจออนไลน์-Online Survey
credit: https://wpforms.com/survey-data-visualization-tools/

โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจต้องทำอย่างถ้วนถี่ ครอบคลุมครบทุกด้าน และไม่พิจารณาแค่เฉพาะผลลัพธ์โดยภาพรวม แต่ให้ทำการวิเคราะห์การตอบสนองของผู้เข้าสำรวจแต่ละคนด้วย เพื่อให้การจัดทำรายงานการสำรวจ และการทำ Data Visualization เป็นไปอย่างชัดเจนและรัดกุม โดยตัวรายงานที่ดีจะต้องมีความเข้าใจง่าย สื่อสารได้ครบถ้วนและตรงประเด็น

#เพิ่มเติม

และจากการที่แบบสำรวจของเราอยู่ในรูปแบบของการทำแบบสำรวจออนไลน์ การออกแบบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ (UX) จึงมีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเรามีแนวทางการออกแบบ UX ที่เหมาะสม สำหรับแบบสำรวจออนไลน์ ดังนี้ค่ะ 📈✔

  • คิดถึงการตอบสนองที่ดีบนอุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่เช่น มือถือเป็นอันดับแรก

โดยแบบสำรวจที่ดีใดๆ ก็ตามจะต้องเป็นแบบสำรวจที่ช่วยลดข้อจำกัดของตอบแบบสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ เวลา หรือสถานที่ที่ทำแบบสำรวจ ผ่านการตั้งค่าหน้าเพจของแบบสำรวจให้สามารถรองรับขนาดของหน้าจออุปกรณ์ในทุกแพลตฟอร์ม พร้อมทดสอบการใช้งานก่อนที่จะนำแบบสำรวจนั้นไปใช้

5 วิธีในการเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจออนไลน์-Online Survey
credit: How to make mobile-friendly surveys https://www.questionpro.com/blog/mobile-friendly-surveys/
  • ออกแบบหน้า UI ให้มีความเรียบง่ายมากที่สุด

การออกแบบหน้า UI ให้มีความสะอาดและเรียบง่าย เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ตอบแบบสำรวจให้ให้ความสำคัญกับคำถาม และหลีกเลี่ยงการใช้ภาพพื้นหลังที่มีลักษณะของสัญลักษณ์ของแบรนด์มากเกินไป เพื่อลดความ Bias จากอารมณ์ในการตอบแบบสำรวจ

  • สามารถใช้รูปภาพประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจของผู้ตอบแบบสอบถามได้

การใช้องค์ประกอบของรูปภาพเพิ่มเติมเช่น ปุ่ม หรือไอคอนต่างๆ ตลอดจนข้อความตัวอย่าง สามารถช่วยเพิ่มความเข้าใจ และป้องกันความผิดพลาดในการสื่อสารของคำถามได้ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้รูปภาพของโลโก้แบรนด์แทนชื่อคำตอบ แบบปุ่มแทนช่องของคำตอบแบบข้อความ เพื่อให้ง่ายต่อการทำแบบสำรวจ

  • ช่วยผู้ใช้งานในการกำหนดทิศทาง/ระยะเวลา หรือเป้าประสงค์ของแบบสำรวจ

ก่อนการให้ผู้ตอบแบบสำรวจ ทำการกรอกแบบสำรวจใดๆ ควรมีข้อความที่ระบุจำนวน sections ของแบบสำรวจ และระยะเวลาในการตอบแบบสำรวจแต่ละส่วนอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ให้ระบุวัตถุประสงค์ของแบบสำรวจแต่ละส่วน เช่น เพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้คนที่แตกต่างกัน เรามีคำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว 5 ข้อ โดยสามารถใช้แถบแสดงความคืบหน้า หรือตัวบ่งชี้เปอร์เซ็นต์เพื่อแสดงให้ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่า ทำแบบสำรวจมาไกลแค่ไหนแล้ว และต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนในการทำแบบสำรวจให้แล้วเสร็จ

  • ทดลองการใช้งานแบบสำรวจ และปรับปรุงจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ท้ายสุดแล้ว ก่อนที่จะทำการส่ง Online Survey ออกสู่สาธารณะ ให้ทำการทดสอบแบบสำรวจออนไลน์นั้นกับผู้ตอบแบบสำรวจกลุ่มย่อยก่อนเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าแบบสำรวจสามารถรองรับการแสดงผลในทุกอุปกรณ์และขนาดหน้าจอต่างๆ ได้ และเพื่อระบุปัญหาในการใช้งาน และให้แน่ใจว่าแบบสำรวจนั้นเป็นมิตรกับกรอกแบบสำรวจ (user-friendly)

โดยแบบสำรวจที่เป็นตัวทดสอบ และข้อมูลที่ได้รับมาจะเป็นเพียงตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์ โดยเราจะต้องทำการรวบรวม Feedback และดำเนินการแก้ไขตามที่ได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกรอกแบบสำรวจจากผู้ประเมินแบบสำรวจกลุ่มย่อย เพื่อเพิ่มความเหมาะสมและครบถ้วนของแบบสำรวจ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจออนไลน์-Online Survey ได้ต่อไป 🧐📰

Last but not Least…

แบบสำรวจออนไลน์ จะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีทรงคุณค่า (Valuable) ก็ต่อเมื่อ Data ที่ได้มานั้นมีคุณภาพ ตรงกลุ่มเป้าหมาย และไม่มี bias ค่ะ การปรับปรุงแบบสำรวจออนไลน์ให้มีความเหมาะสม และถูกกลุ่มเป้าหมายจึงมีความสำคัญ เพื่อไม่ให้เรากำหนดทิศทางของการทำการตลาดไปในทิศทางที่ผิดค่ะ 🤗😎

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *