กระบวนการทำ Performance Marketing เริ่มต้นอย่างไร ?

กระบวนการทำ Performance Marketing เริ่มต้นอย่างไร ?

หากวันนี้เราในฐานะนักการตลาดหรือผู้บริหารเห็นความสำคัญและอยากจะเริ่มทำ Performance Marketing อย่างจริงจัง เราจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีอะไรบ้าง ยากหรือต้องลงทุนยอะมั้ย และมีขั้นตอนกระบวนการใดบ้าง ?

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญที่ผมมักจะเจอจาก “ความกังวลของนักการตลาด” ในบริษัทที่เริ่มรู้จัก คันหาข้อมูล และอยากทำ Performance Marketing ซึ่งเข้าใจผิดว่ายาก ต้องลงทุนยอะ เครื่องมือต่างๆ​ ค่อนข้างซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของทีมงานปัจจุบันที่มี เช่น Facebook PixeI, Google Tag Manager หรือพวก Google Analytics 4 เป็นต้น บางรายจะหันไปจ้าง Agency ก็ยิ่งมีความกังวล กลัวว่าจะไม่เข้าใจและประสานงานกันไม่ได้กับทีมภายใน

กระบวนการทำงานสำคัญกว่าเครื่องมือ

ซึ่งจากความเชื่อส่วนตัวของผมในการทำ Performance Marketing “เครื่องมือ” นั้นมีความสำคัญเพียงไม่ถึง 20% ในขณะที่ “กระบวนการ” สำคัญมากกว่า 80%

ดังนั้นวันนี้ผมจะขอให้ลืมเรื่องเครื่องมือไปก่อน แต่จะมาอธิบายกระบวนการทำ Performance Marketing เบื้องต้นแบบฉบับเข้าใจง่าย ที่สามารถไปปรับใช้ได้ทันที​ ทั้งในธุรกิจออนไลน์หรือแม้กระทั่งธุรกิจออฟไลน์ก็สามารถทำได้ หลักๆมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน

ครับ

  1. ออกแบบ Full Funnel Marketing หรือ Customer Journey ให้เหมาะสมและชัดเจน
  2. หาทาง Measure และ Track KPI & Metric ในแต่ละ Funnel ต่างๆ​ ให้ครบถ้วน
  3. นำคำต่างๆ​ ที่วัดได้ มา Analyze และ Optimize ผลลัพธ์ให้เหมาะสมกับ Objective ที่สุด
  4. วิเคราะห์ผลลัพธ์ในอดีตเพื่อนำมาปรับปรุง Media Planning & Budget Allocation ในอนาคต

4​ ขั้นตอนสำคัญในการทำ Performance Marketing

ถ้าเราสามารถเข้าใจ 4 ขั้นตอน “กระบวนการ” ที่เป็น “แก่น” ในการทำ Performance Marketing นี้ได้ ไม่ว่าในยอนาคตเครื่องมือทางการตลาดจะพัฒนาไปไวหรือซับซ้อนมากขึ้นแค่ไหน เราในฐานะนักการตลาดก็ยังสามารถใช้หลักการนี้ได้อยู่ดี

1. ออกแบบ Full Funnel Marketing หรือ Customer Journey ให้เหมาะสมและชัดเจน

หลักการสำคัญแรกสุดในการทำ Performance Marketing เราในฐานะนักการตลาดต้องเข้าใจลูกค้า รวมถึงต้องเข้าใจ​ Customer Journey หรือ “เส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า” ว่ากว่าที่เขาคนนั้นจะมาตัตสินใจซื้อของจากเรา เขาเหล่านั้น รู้จักเรา​ สนใจเรา อยากได้เรา ซื้อของเรา ใช้ของเรา และ บอกต่อแทนเรา ผ่านช่องทางหรือ Media Channel ไหน

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าบางคนอาจจะรู้จักเราจาก Facebook สนใจ Content และทักเข้ามาใน Inbox และตัดสินใจซื้อโดยการ​ปิดการขายของน้องแอดมิน ในขณะที่ลูกค้าอีกคนอาจจะรู้จักเราผ่าน SEM คันหาจากความต้องการจาก Google แล้วเข้ามาดูสินค้าบน​ Website ของเราและตัดสินใจซื้อในระบบตะกร้าสินค้าด้วยตัวเองเป็นต้น

เมื่อเราเข้าใจ Customer Journey แล้วเราก็จะสามารถนำมาวางแผน Marketing Funnel หรือ “กรวยกรองทางการตลาด” ซึ่งเป็นเส้นทางการซื้อสินค้าของลูกค้าคนใดคนหนึ่งที่ตรงไปตรงมาจากบนลงล่าง โดยต้านบนของกรวยกรองทางการตลาด (Top of​ Funnel) มักจะแสดงถึงจำนวนลูกค้ำที่อยู่ในชั้นตอนการรับรู้ เพิ่งรู้จักแบรนด์ และเมื่อถูกกรองมาถึงตรงกลางของกรวย (Middle of​ Funnel) จะถูกเปลี่ยนเป็นจำนวนลูกค้าที่เริ่มสนใจตัวสินค้า คันหาข้อมูล และสุดท้ายเมื่อคนเหล่านั้นถูกกรองมาจนถึงด้านด่างของกรวย​ (Bottom of Funnel) มักจะแสดงถึงจำนวนลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อแล้วนั่นเอง สิ่งนี้เรียกว่า Marketing Funnel

ซึ่งนักการตลาดทั่วๆ​ ไปที่ไม่ใช่สาย​Performance Marketing ส่วนใหญ่แล้วจะวัดผลได้แค่ด้านบนของกรวย (Top of Funnel) และตรงกลางของกรวย (Middle of Funnel) เท่านั้น ในขณะที่ถ้เป็นหลักการ “Performance Marketing” เราจะสามารถวัดผลได้จนถึงต้านล่างสุดของกรวยกรองทางการตลาด (Bottom of Funnel) 

นั่นหมายความว่าสามารถวัดผลได้ครบทุก Funnel บนสุดถึงล่างสุดของกรวยกรองทางการตลาด ตั้งแต่คนรู้จักจนถึงขั้นตอนที่คนตัดสินใจซื้อ เราจึงเรียกหลักการนี้ว่า “Full Funnel Marketing” นั่นเอง​

2. หาทาง Measure และ Track KPI & Metric ในแต่ละ Funnel ต่างๆให้ครบถ้วน

เมื่อเราสามารถออกแบบและวางแผนเส้นทาง Full Funnel Marketing ให้กับลูกค้าของธุรกิจเราได้แล้ว แต่ถ้าเราไม่สามารถวัดออกมาเป็น “ตัวเลข” ได้ครบทุก Funnel​ตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุดของกรวยกรองทางการตลาด เราก็จะไม่สามารถใช้หลักการ Performance Marketing อย่างเต็มประสิทธิภาพได้เลย ดังนั้นกระบวนการที่สำคัญขั้นถัดมานั่นก็คือ เราต้องหาวิธีการ Measure และ Tracking วัดผลค่า KPI ต่างๆ​ ในแต่ละ Funnel ออกมาเป็น Metric หรือ “ตัวเลข” ที่แม่นยำให้ได้นั่นเอง

ตัวอย่างที่ง่ายสุดๆ น่าจะเป็นธุรกิจที่ขายของผ่านช่องทางออนไลน์ 100% และใช้เครื่องมือ Facebook ในการขายของเป็นหลักแบบ Full Funnel Marketing ตั้งแต่การยิ่งโฆษณาผ่าน Facebook Ads Manager ทำให้ลูกค้าเห็น Content โฆษณาบน​ Facebook เมื่อเขาสนใจก็กดทัก Inbox แชทมาหาน้องแอดมิน เมื่อปิดการขายและชำระเงินเสร็จสิ้น​ น้องแอดมินก็จะกดยืนยันการรับเงิน เพื่อส่งข้อมูลยอดขายครั้งนี้ว่ามาจาก Ads โฆษณาตัวไหนนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้เราจะสามารถ “วัดผลตัวเลข” ได้ครบทุก Marketing​ Funnel ตามหลักของ Performance Marketing

หรือถ้าลูกค้าทำการซื้อของผ่าน Website ที่มีการติด Facebook Pixel​ หรือ LINE Tag เอาไว้ เราก็สามารถนำช้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ เข้าหน้าสินค้า หรือกดเลือกใส่ตะกร้าสินค้า และกดชำระเงินเสร็จสิ้นมาใช้ในการวิเคราะห์ใน Google Analytics 4 ได้นั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นว่าการทำธุรกิจในรูปแบบออนไลน์ 100% ค่อนข้างง่ายและเหมาะกับการทำ Performance Marketing​ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการทำธุกิจในรูปแบบออนไลน์ผสมผสานอฟไลน์เราจะไม่สามารถใช้หลักการ Performance Marketing ได้

ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าเห็น Ads จาก Facebook แล้วมาซื้อของที่หน้าร้าน เราก็สามารถนำเบอร์​โทรศัพท์​ของลูกค้าคนนั้นๆ​ อัปโหลดกลับไปที่ Facebook เพื่อวัดผลค่า Offine Conversion ได้ หรือถ้าอยากวัดผลจำนวนลูกค้ใหม่ที่มาหน้าร้าน เราอาจจะให้ลูกค้าแจ้ง Code ที่เราออกแบบไว้ในตอนจะจ่ายเงินเพื่อวัดว่ารายการยอดขายนี้มาจากแคมเปญการตลาดในช่องทางไหนก็ได้

สรุปคือไม่ว่าเราจะวาง Customer Journey หรือ Marketing Funnel แบบไหน ออนไลน์หรืออฟไลน์ ขอแค่เรามีวิธีในการวัดผลออกมาเป็น “ตัวเลข” ได้ อาจจะใช้กล้องวงจรปิดแบบนับจำนวนคนเข้าร้านได้ จะนับจำนวนด้วยมือ จดใส่ Excel หรือสมุดจด เราก็สามารถนำมาปรับใช้กับหลักการ Performance Marketing ได้นั่นเอง

3. นำค่าต่างๆ​ ที่วัดได้ มา Analyze และ Optimize ผลลัพธ์ให้เหมาะสมกับ Objective ที่สุด

“สิ่งใดก็ตามที่วัดผลได้ ล้วนสามารถปรับปรุง แก้และพัฒนาได้” นี่คือหลักการทำการตลาดแบบ Performance​ Marketing ที่ไม่ว่าเครื่องมือทางการตลาดจะเปลี่ยนไปไวแค่ไหน แก่นแนวคิดนี้ก็จะไม่มีทางเปลี่ยน 

ดังนั้นเมื่อเราได้ “ตัวเลข” ต่างๆ​ ที่แม่นยำจากการวัดผลในแต่ละ Marketing Funnel​ แล้ว เช่นจำนวนคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ จำนวนคนคลิกดูหน้าสินค้า จำนวนคนที่กดสั่งซื้อและชำระเงินสินค้า ให้เราลองหา “อัตราการเปลี่ยนแปลง” ของตัวเลขแต่ละ Funnel หรือเรียกว่า Conversion Rate และนำมาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ในอดีตดูว่า Performance ดีขึ้นหรือว่าแย่ลง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเดือนนี้มีคนเข้าดูหน้าเว็บไชต์ 100 คน กดดูหน้าสินค้า 20 คน ดังนั้น Conversion Rate คือ 20% แต่ถ้าตัวเลข Conversion Rate เดือนที่แล้วคือ 30% แสดงว่าในเดือนนี้ Performance แย่ลงกว่าเดิม เราอาจตั้งสมมติฐานว่าหน้าเว็บไซต์มีปัญหาโหลดหน้าสินค้าได้ช้าลง หรือหน้าสินค้า UX/UI ความสวยงามหรือรายละเอียดอาจจะไม่ครบถ้วนชัดเจนเท่าเดือนที่แล้วเป็นต้น

เมื่อเราสามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจนแม่นยำ เราก็จะสามารถตั้งคำถามในการทดลองแก้ไขปัญหาและตรวจสอบได้ตรงจุด

การวิเคราะห์นี้ก็ไม่ต่างกับการที่คนเนฟิตเนสที่อยากเห็นผลลัพธ์ชัดเจนมักจะวัดค่า BMI (Body mass index) หรือที่เราเรียกกันว่า ดัชนีมวลกาย หรือวัดค่า Body fat percentage คำนวณมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อกันทุกเดือน เพื่อออกแบบแผนการออกกำลังกายในเดือนถัดไปให้มีประสิทธิภาพและตรงจุดมากยิ่งขึ้น ว่าเดือนนหน้าจะโฟกัสที่กล้ามเนื้อส่วนไหนเป็นพิเศษนั่นเอง

4. วิเคราะห์ผลลัพธ์ในอดีตเพื่อนำมาปรับปรุง Media Planning & Budget Allocation ในอนาคต

และในกระบวนการสุดท้ายของการทำ​Performance Marketing ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเราสามารถวัดผลแบบ Full Funnel​ Marketing อกมาเป็นตัวเลขได้อย่างละเอียดแม่นยำจนถึงยอดขาย เราก็จะสามารถนำผลลัพธ์ในอดีต โดยเฉพาะค่า ROAS (Return On Ads Spend) ของแต่ละช่องทางการตลาดมาใช้เพื่อปรับปรุงแผน Media Planning ใหม่สำหรับเดือนถัดไป โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบกันว่าช่องทางใด Performance แย่ที่สุด เราก็ลดงบการตลาดในเดือนหน้า และนำ Budget ส่วนนี้มาใส่กับช่องทางการตลาดที่ Performance ดีที่สุด กระบวนการนี้เรียกว่า Budget Allocation นั่นเอง

สรุป

ถ้าวันนี้นักการตลาดหรือผู้บริหารคนไหนอยากจะเริ่มนำกระบวนการ Performance​  Marketing ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ผมขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งไปโฟกัสที่ “เครื่องมือ” ทางการตลาด แต่อยากให้ลองเริ่มจากสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั่นคือการปรับ​ “กระบวนการ” ตามขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ดูนะครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องหาวิธีการ “วัดผล” ให้ครบแบบ Full Funnel Marketing​ ออกมาเป็นตัวเลขที่แม่นยำแน่นอนให้ได้

สุดท้ายนี้ผมมีความเชื่ออย่างยิ่งว่าการทำ Performance Marketing จะประสบความสำเร็จมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เวลาไปกับการลงรายละเอียดมากแค่ไหนนั่นเอง และไม่ยากเกินกว่าที่ธุรกิจไหนๆ​ จะเริ่มลองลงมือทำดูนะครับ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ​ Performance​ Marketing​ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยครับ

ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะครับ

Prin Chamroenpanich

วิทยากรและที่ปรึกษาด้าน Marketing, Digital Marketing และ Performance Marketing

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน