ทำความเข้าใจแบบไหนเรียก Fake news

ทำความเข้าใจแบบไหนเรียก Fake news

ประเด็นเรื่อง Fake news กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่นายกรัฐมนตรีประกาศสั่ง ทุกกระทรวงตั้งทีม จัดการ “Fake news” เอาผิด สื่อ และผู้มีชื่อเสียงที่จงใจบิดเบือน และสร้างข่าวปลอมจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง

วันนี้แบมเลยอยากมาพูดถึงและทำความเข้าใจกันเสียหน่อย ว่าแบบไหนถึงเรียกว่าข่าวปลอม แบบไหนถึงเข้าขั้นการบิดเบือน แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน 

Fake news คืออะไร?

จริงๆ แล้ว Fake news หรือข่าวลวงเนี่ยสามารถตีความได้หลายความหมาย แต่ถ้าจะให้นิยามแบบเข้าใจง่าย เห็นภาพได้ชัดตรงกันแล้วก็คงหมายถึงข่าวที่มีเนื้อหาไม่จริง หลอกลวง หรือเป็นข่าวสร้างที่สร้างสถานการณ์ รวมถึงการเขียนข่าวที่มีเจตนาปิดบังหรือแอบแฝง ในสื่อหลัก และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ โดยมีผลกระทบกับความเชื่อของคนจำนวนมาก

6 ประเภทข่าวมั่ว ดูแล้วรู้ชัวร์ว่าคือ Fake news

สำหรับประเภทของ Fake news ในบทความนี้แบมจะขอแบ่งเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาแล้วกันนะคะ ตามมาดูกันค่ะว่า เนื้อหาแบบไหนถึงจะใช่ Fake news

   1. Fabricated Content: ข่าวปลอมประเภทนี้มักจะนำเสนอข้อมูลที่ไม่จริงทั้งหมด โดยหวังให้คนส่วนใหญ่ตื่นกลัวและเข้าใจผิด กว่าจะรู้ตัว ก็แชร์กันไปจนทั่วแล้ว

ที่มา: mgronline

 2. Manipulated Content: จะสังเกตได้ว่าเนื้อหาของข่าวปลอมรูปแบบนี้จะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ถึงแม้จะมีข้อมูลหรือภาพจริงอยู่บ้าง แต่ข้อมูลนั้นก็ไม่ได้รับการรับรอง หรือไม่ถูกต้อง 100% 

   3. Imposter Content: ข่าวประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นในแนวแอบอ้าง โดยมีการระบุแหล่งข่าวและมักมีภาพบุคคลจริงมาอ้างอิงเพื่อความน่าเชื่อถือ จึงทำให้คนเชื่อและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย 

ที่มา: komchadluek

4. Misleading Content: ข่าวที่นำเสนอข้อมูลชี้นำเพื่อโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พบบ่อยในข่าวการเมือง โดยอาจจะมาในลักษณะ Propaganda โดยแฝงข้อมูลที่มีเจตนาโจมตีฝ่ายตรงข้ามแบบเนียนๆ ก็ได้เช่นกัน

   5. False context of connection: ข่าวที่ใช้ภาพหรือพาดหัวไม่ตรงกับเนื้อหาที่ถูกต้อง เช่น ใช้รูปเหตุการณ์ในอดีต มาสร้างความแตกตื่น หรือพาดหัวข่าวแนว Clickbait แบบเกินจริง เพื่อดึงดูดความสนใจให้เราคลิกเข้าไปอ่าน เช่น ตะลึง!! อึ้ง!! คาดไม่ถึง!! ไม่น่าเชื่อ!! เป็นต้น

ที่มา: thairath

6. Satire and Parody: คอนเทนต์ประเภทนี้ถือเป็นข่าวปลอมที่เป็นพิษเป็นภัยน้อยที่สุด เพราะไม่ได้มีเจตนาจะหลอกให้เชื่อ แต่เป็นการสร้างข่าวออกมาเพื่อเสียดสี ล้อเลียน มากกว่า ถึงแม้จะไม่มีเจตนาในการหลอก แต่ก็อาจจะมีบางคนหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่าลืมใช้วิจารณญาณในการอ่านกันด้วยนะคะ

สังเกตยังไงว่าแบบไหนคือข่าวปลอม

อย่างที่เรารู้กันดีว่าโลกเดี๋ยวนี้นั้นหมุนไปไวมาก วันๆ นึงเราอาจจะได้รับข่าวสารมากมายหลายสิบข่าวในเวลาไล่เลี่ยกัน คำถามคือ…แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าข่าวไหนปลอมเปลือก? 

ก่อนอื่นตั้งสติให้มั่นก่อน เพราะวันนี้แบมจะมาบอกจุดสังเกตจับโป๊ะข่าวปลอมกันค่ะ

ตรวจสอบแหล่งอ้างอิง: ต้องมีแหล่งข่าวอ้างอิงที่ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้

สังเกต Url: เว็บข่าวปลอมมักมี Url ที่คล้ายของจริง แต่มีการปรับตัวสะกดเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบ

– ดูวันที่และเวลา: ตรวจสอบวันที่ เวลา และลำดับเหตุการณ์ว่ามีความสมเหตุสมผล และต่อเนื่องกันหรือไม่

อ่านให้ละเอียด: ส่วนมากข่าวปลอมมักจะเรียบเรียงเนื้อข่าววกวน และสะกดคำผิด

– เช็กจากแหล่งข่าวอื่น: อย่าลืมตรวจสอบดูรายงานเรื่องเดียวกันจากแหล่งข่าวอื่นๆ ด้วยว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่

เดี๋ยวนี้ข่าวปลอมมีออกมาให้เห็นผ่านหู ผ่านตาอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่าลืมเช็กให้ชัวร์ทุกครั้งก่อนแชร์นะคะ เราจะได้ไม่ถูกเหมารวมว่าเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อและแพร่กระจาย Fake news

แต่ถ้าใครพยายามเปลี่ยน Fact ให้เป็น Fake ล่ะก็สงสัยคงต้องฟาดกันหน่อย เพราะหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว แบมมั่นใจว่าอันไหน Fact อันไหน Fake ยังไงเพื่อนๆ ก็ดูออก จริงไหมคะ? ^

Source : http://eprints.lse.ac.uk/73015/

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่