Bounce rate สูง ทำยังไงให้น้อยลง?

Bounce rate สูง ทำยังไงให้น้อยลง?

หากวันนี้เรายังไม่ได้สนใจเว็บไซต์ของแบรนด์เราเองมากพอ แนะนำเลยว่าต้องกลับไป Monitor แล้วค่ะ ว่าที่ผ่านมาเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนบ้านในโลกออนไลน์ของเรานั้นมี Performance เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งใน Report เราก็คงจะได้เห็นตัวเลขมากมาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอัตราการตีกลับที่เป็นหนึ่งใน Factor ที่จะวัดว่าเว็บของเรานั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ แล้วถ้าหากว่าอัตราการตีกลับหรือ Bounce rate สูง ละก็ลองดู 6 วิธีจาก Monster Insights กันค่ะว่าจะลดตัวเลขนี้อย่างไรได้บ้าง?

อัตราการตีกลับหรือ Bounce rate ก็คือจำนวนของการออกจากเว็บไซต์หลัง Visitors หรือคนทั่วไปเข้าเว็บเรามาแล้วกดออกเลยโดยที่ยังไม่ทันได้ทำอะไรกับเว็บเราเลยสักอย่าง หรืออาจจะแค่เป็นการเข้ามาเลื่อน Mouse สองสามทีเพื่อดูว่าเนื้อหาในหน้าลิ้งค์ที่ตัวเองกดเข้ามานั้นคืออะไร ถ้าไม่ใช่อย่างที่ต้องการก็กด Back ทันทีโดยที่ยังไม่ได้ทำ Action ในเว็บใดๆ หรือกดไปดู Menu หน้าอื่นๆ ในเว็บของเราต่อนั่นเองค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้ นักการตลาดก็คงจะเห็นภาพกันรางๆ แล้วว่า ปัจจัยหลักๆ ของการเพิ่มหรือลด Bounce rate สูง แน่นอนว่าต้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์และเนื้อหานอกเว็บไซต์ที่พา Visitors หรือคนทั่วไปเข้าเว็บด้วย ถ้าคำโปรยด้านนอกบอกว่า ‘สรุปดราม่าดาราสาว’ ทำให้คนคลิกเข้าเว็บมา แต่เมื่อเข้ามาแล้วกลับพบว่า เนื้อหาด้านในไม่ได้เป็นอย่างที่คำโปรยด้านหน้าบอกเอาไว้หรือตรงกับความคาดหวังของผู้อ่าน แน่นอนว่าถ้าเป็นเรา เราก็กดออกจากเว็บนั้น แล้วยิ่งถ้ามีคนที่กดเข้ามาแล้วกดออกเยอะมากๆ โดยไม่ได้ทำ Action อะไรในเว็บเลย อัตราการตีกลับของเว็บก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ

6 วิธีการลด Bounce rate สูง

1. เพิ่ม Speed ของเว็บไซต์

ความเร็วของเว็บไซต์ส่งผลต่อ Bounce rate สูง หรือต่ำได้

อันดับแรกก่อนข้ามไปที่เนื้อหาในเว็บไซต์ อย่างแรกที่เราต้องทำเลยก็คือ การดูว่าเว็บของเรามีความเร็วหรือ Speed อยู่ที่เท่าไรในการโชว์เนื้อหา เคยไหมคะ ที่กดเข้าลิ้งค์นึงแล้วนั่งรอมันโหลด หมุนๆ ไม่มาสักที พอเจอแบบนี้แล้วพวกเราทำอะไรกันเป็นอย่างถัดไปคะ? แน่นอนว่าเป็นการกดปิดเว็บ ไปเข้าเว็บอื่นแทนใช่ไหม? ดังนั้นก่อนจะก้าวกระโดดข้ามไปจี้ทีม Content ให้เขียนเนื้อหาให้โดนใจคนอ่าน ต้องกลับมาจี้ทีมหลังบ้านเว็บ คนทำเว็บใดๆ ก่อนว่าทำไมเว็บเราถึงโหลดช้าขนาดนี้ค่ะ

โดยปกติทั่วไปแล้วเวลาคนกดลิ้งค์เข้าเว็บใดเว็บนึง ความคาดหวังว่าเว็บจะเปิดเนื้อหาขึ้นมาทันทีอยู่ทีราวๆ 2 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นหากคุณลองเข้าเว็บของแบรนด์คุณเองแล้วพบว่ามันช้ากว่า 2 วินาทีละก็ ต้องรีบแก้ไขปัญหาโดยด่วนแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการ Optimize เรื่องของรูปภาพบนเว็บ / การเปลี่ยน Host เว็บไซต์ / ตรวจจราดูพวก Web Plug-in อะไรเหล่านี้เพิ่มเติม

2. ทำเนื้อหาที่คนอยากอ่าน

หลังจากที่เราแก้ไขเรื่องเว็บโหลดนานเสร็จแล้ว ต่อมาก็มาลุยกับเรื่องของเนื้อหาภายในเว็บได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ SEO อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันด้วย เพราะการที่เรารู้และเข้าใจว่าคนจะพิมพ์ Search หาเรื่องแบบนี้ด้วยคำแบบไหน แล้วหยิบ Keywords นั้นมาเป็นชื่อเรื่องและเขียนเนื้อหาข้างใน อย่างไรซะก็เป็นการทำเนื้อหาที่คนอยากอ่าน

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องระวังอย่าให้ Keywords ที่เราเลือกใช้มันกว้างเกินไปนัก เช่น หากเพลินเลือกใช้คำว่า กลยุทธ์การตลาด เป็น Keyword หลักสำหรับบทความในการตลาดวันละตอน ฟังเร็วๆ เหมือนจะดีและไม่มีอะไรผิดเพี้ยน แต่ถ้าดูกว้างขึ้นมาอีกหน่อยก็จะเห็นว่า มีอีกกี่เว็บละที่ใช้ ‘กลยุทธ์การตลาดเป็น Keyword ยังไม่พอ เวลาคนทั่วไปทำการหาสิ่งตัวเองอยากรู้ เค้าก็จะไม่พิมพ์ ‘กลยุทธ์การตลาด’ เฉยๆ แต่จะทำการพิมพ์อย่าง ‘วิธีการทำการตลาดในอินสตาแกรม’ ที่เจาะลง Intention มากขึ้นนั่นเองค่ะ ใครที่สนใจอยากอ่านเรื่องของ SEO เพิ่มเติม คลิกตรงนี้ได้เลยนะคะ

3. จัด Call-to-action และ Journey ให้ชัดเจน

ทำ Call-to-action ในเว็บไซต์ให้ชัดเจน

เมื่อเราจัดเนื้อหาด้านในดีแล้ว ต่อมาก็ต้องดูในส่วนของ Journey หรือ Sitemap ภายในเว็บด้วยว่าเราอยากให้ลูกค้าหรือ Visitors ของเราดูหน้านี้แล้วไปหน้าไหนต่ออีก? อย่างถ้าหากเราใส่ใน Call-to-action ว่า ‘ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษ’ แล้วมีคนสนใจอยากได้แล้ว แต่พอเข้ามาในเว็บไซต์ กลับมองดูแล้วงงๆ ไม่รู้ว่าจะต้องคลิกหรือกดปุ่มตรงไหนถึงจะลงทะเบียนได้ แบบนี้คนก็อาจจะถอดใจแล้วกดออกจากเว็บของเราได้เช่นกันค่ะ

นอกจากนี้สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ คำโปรยที่เราสามารถทำให้มันตรงไปตรงมา ไม่ต้องอ้อมหลายทิศทางให้มาก เช่น โหลดฟรี > คลิกตรงนี้ เป็นต้น ให้คนรู้เลยว่ามันฟรีและมันกดตรงนี้ ถ้าจะเสียเงินได้อะไร แล้วกดตรงไหน ถ้าทำให้ชัดเจนแบบนี้ได้รับรองว่า Bounce rate สูง นั้นลดลงแน่นอนค่ะ

4. ลองทำ A/B Testing ดู

หากเราลองปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่างในเว็บแล้ว แต่ Performance ของเว็บยังไม่ออกมาดีเท่าที่ควร นอกจากจะเริ่มหาว่าคนกดออกที่หน้าไหนแล้ว ยังต้องเริ่มทำ A/B Testing เพิ่มเติมด้วย ว่าแล้วคนชอบอะไร แบบไหนกันแน่? ตรงนี้แนะนำว่าลองให้หมดเลยค่ะ ตั้งแต่ภาพในหน้า Homepage / ปุ่ม Call-to-action / สี หรืออื่นๆ ว่าทำอะไรแบบไหนที่คนจะคลิกไปต่อในเว็บของเรามากกว่า ซึ่งเรื่องของการทำ A/B Testing บนเว็บนั้น เพลินก็ได้เคยเขียนไปแล้วว่าควรทำ Testing ตรงไหนบ้าง ลองอ่านดูเพิ่มเติมตรงนี้ได้เลยค่ะ

5. ใช้ Incentive ในการล่อคนให้กลับมา

หลายครั้งเราจะจำได้ว่าเว็บอันนี้เคยเข้าแล้ว ไม่มีอะไรเลยหรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของฉันเลย ทำให้เราไม่อยากกดเข้ามาในเว็บนั้นอีก ดังนั้นหากเราปรับปรุงเว็บไซต์ของเราเสร็จแล้ว อย่าลืมที่จะพยายามพาคนที่ไม่ประทับใจเว็บของเราในช่วงแรกกลับมาอีกครั้งนึง ซึ่งวิธีในการพาพวกเค้ากลับมาก็คือ การใช้ Incentive ล่อใจอะไรบ้างอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเพื่อรับของแจกเล็กๆ น้อยๆ หรือว่าจะเป็นเรื่องของ Coupon ส่วนลด / Coupon ส่งฟรีในการซื้อของครั้งถัดไปที่เข้ามาสั่งในออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้มันก็เป็นการตอบแล้วว่า Visitors เข้าเว็บเราเพื่อทำ Action อะไรไม่ให้ Bounce rate สูงค่ะ

6. รู้จักใช้ Internal Links

Internal links เป็นอีกเรื่องนึงที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญขณะเขียนบทความในเว็บหรือ Blog เพราะมันสามารถดึงให้ Visitors หรือคนที่เข้าเว็บไซต์ของเราแล้ว วนอยู่ในเว็บของเราต่อเนื่องไปอีกไม่ออกไปไหนอย่างรวดเร็ว มีการกดคลิก ทำ Action ไปหน้าอื่นๆ บ้าง ซึ่งแน่นอนว่ามีผลโดยตรงกับอัตราการตีกลับของเว็บเรา ดังนั้นหากเราเขียนเนื้อหาตรงไหนที่มันเชื่อมโยงกับเนื้อหาอื่นๆ ในเว็บได้ ก็ให้ใส่ Internal Links ลงไป แต่ต้องมั่นใจว่าเนื้อหาที่โยงไปนั้นเกี่ยวข้องกันจริงๆ และไม่พยายามยัด Internal links ให้เลอะเทอะหรือกระจัดกระจายมากไปในหนึ่งบทความค่ะ ซึ่งการทำ Links ต่างๆ ในเว็บนั้นส่งผลต่อการทำ SEO Marketing ด้วย << ตัวอย่างแบบนี้ก็คือการทำ Internal links เหมือนกันค่ะ

และทั้งหมดนี้ก็คือ 6 วิธีการลด Bounce rate สูงในน้อยลง ที่สำคัญคืออย่าปล่อยเว็บที่เป็นเหมือนบ้านของเราไว้รกร้าง อยู่เฉยๆ กลับไปดูแลและปรับปรุงมันบ้างนะคะ คอยอัพเดทอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ หรือถ้าไม่รู้ว่าคนชอบอะไรแบบไหน ก็อย่างที่บอกในข้อ 4. ว่า ลองทำเลยค่ะ A/B Testing อย่าเลือกกันเองแค่ในทีมหรือเจ้าของแบรนด์เลือกเองเท่านั้น เพิ่มความเป็น Customer First เข้าไป ช่วยได้ค่ะ ลองดูนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่