ทำ​ SEO​ ต้องรู้! EEAT Factor​ เกณฑ์ประเมินคุณภาพล่าสุดจาก​ Google​

ทำ​ SEO​ ต้องรู้! EEAT Factor​ เกณฑ์ประเมินคุณภาพล่าสุดจาก​ Google​

สำหรับ​นักการตลาด​สาย​ SEO​ หลายคนคุ้นเคยกับแนวคิดของ E-A-T​ Factor ที่ใช้ในการประเมินว่าระบบการจัดอันดับการค้นหาของเราให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์หรือไม่ แต่ในตอนนี้​ Google ได้อัปเดตหลักเกณฑ์การให้คะแนนใหม่​เป็น​ EEAT​ Factor​ เพื่อประเมินผล​ลัพธ์​ของเว็บไซต์​เราให้ดียิ่งขึ้น​

มาดูกันดีกว่าว่าหลักเกณฑ์​ที่ว่านี้จะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลง​ไปบ้าง​ เพื่อเราจะได้เตรียมพร้อมในการปรับปรุง​เว็บไซต์​ได้ทัน

รู้จัก​กับ​ E-A-T factor

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ​ E-A-T Factor กันก่อนว่ามันคือ​ อัลกอริทึม ของ Google Search ที่ใช้ในการจัดอันดับ​เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ มีความถูกต้อง​ และมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั่นเอง

โดย​ E-A-T Factor​ นั้นประกอบด้วย​ 3 ส่วนหลัก ดังนี้​

  • Expertise (ความเชี่ยวชาญ)

เนื้อหา หรือคอนเทนต์จะต้องแสดงให้เห็นว่าเราเชี่ยวชาญ​ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เราเขียนจริงๆ

ยกตัวอย่างบทความจากการตลาดวันละตอน:

ยกตัวอย่างเช่น บทความ กรณีศึกษา “Singer” เพิ่มยอดขายออนไลน์ด้วยความเข้าใจ Context จากเนื้อหาแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการเอากลยุทธ์ Contextual Marketing มาใช้ในการเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้เป็นอย่างดี สังเกตได้จากตัวอย่างการนำไปใช้จริง และการแนะนำโอกาสในการนำกลยุทธ์นี้ไปต่อยอด

  • Authoritativeness (อำนาจ)

เว็บ​ไซต์ของ​เราควรต้องถูกอ้างอิงถึง หรือการได้ Backlink จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ยกตัวอย่างบทความจากการตลาดวันละตอน:

ยกตัวอย่างเช่น การที่เว็บไซต์การตลาดวันละตอนได้รับการอ้างอิงถึงในเรื่อง กลยุทธ์การทำการตลาด 2022 จากเว็บบอร์ด Snook Guru ที่มีการนำเนื้อหาบางส่วนมาพูดถึงในตัวบทความ เป็นต้น

  • Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)

ทำให้เว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือด้วยการสร้างเนื้อหาในเว็บต้องมีความสดใหม่ สม่ำเสมอ และมีความเกี่ยวข้องกันกับตัวเว็บไซต์

ยกตัวอย่างบทความจากการตลาดวันละตอน:

ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์การตลาดวันละตอนที่มีการอัปเดตเนื้อหาเกี่ยวกับการตลาดในแต่ละแง่มุมทั้งการให้ความรู้ ทฤษฏี และ Case Study อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มองว่า เนื้อหาที่นำเสนอไปนั้นมีความสดใหม่ และเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ทำ​ไม​ Google​ ต้องใช้​ E-Experience​ มาใช้เป็นตัวชี้วัดเพิ่ม

อย่างที่แบมได้บอกไปตอนต้นแล้วว่าทาง​ Google ได้อัปเดตหลักเกณฑ์ผู้ให้คะแนนคุณภาพการค้นหา​ เป็น​ EEAT​ Factor​ นี่ถือเป็นการอัปเดต​ครั้งที่สองในปี 2022 ซึ่งห่างจากการอัปเดต​ครั้งล่าสุดในเดือนกรกฎาคมเพียง​ 4​ เดือนครึ่ง​เท่านั้น 

สำหรับ​ E อีกตัวหนึ่ง​นั้น​ มาจากคำว่า​Experience หรือถ้าให้แปลตรงตัวก็คือประสบการณ์​นั่นเอง​ แต่ประสบการณ์​ในที่นี้ไม่เหมือนกับ​ UX​ หรือประสบการณ์​ของผู้ใช้งาน​ แต่​ Experience​ หมายถึง​ประสบการณ์​ของผู้เขียนต่างหาก

E-Experience ที่เพิ่มมาใน EEAT Factor

E-Experience ที่เพิ่มมาใน EEAT Factor​ นี้เป็นเหมือนตัวการันตี​ว่าผู้เขียนนั้นมีประสบการณ์​ และเข้าใจเรื่องนั้นจริงๆ​ โดยที่ตัวเนื้อหาจะเป็นสิ่งที่ทำให้​ Google​ เห็นว่า​คอนเทนต์​นั้นถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้เขียน​ในระดับหนึ่ง 

เช่น​ การแชร์ประสบการณ์​ การไปเยี่ยมชมสถานที่จริง หรือการทดลองใช้โปรแกรม​ สินค้า​ บริการ​ หรือประสบการณ์​จากการแก้ปัญหาในหัวข้อต่างๆ​ จริงๆ​ โดยมีการเขียนที่มีลำดับขั้นตอน​ อธิบายได้เข้าใจและตรงประเด็น​ ซึ่งการเขียนในลักษณะนี้จะทำให้​ Google​ สามารถแสดงผลการค้นหาได้ลึกและตรงกับความต้องการในการค้นหามากขึ้น 

ยกตัวอย่างบทความจากการตลาดวันละตอน:

ถ้าเราต้องการค้นหา​ เทคนิคการเขียน Headline​ Google จะเลือกแสดงผลเว็บไซต์ที่ตัวคอนเทนต์​นั้นถูกเล่าด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ได้ลองทำจริงแล้วจึงมาแชร์ ​ หรือเล่าจากการทดลองทำมาก่อน​ เช่น​ รูปแบบของ​ Headline​ ที่สามารถดึงความสนใจของคนอ่าน​ ในแบบที่อ่านจบแล้วสามารถ​เอาไปปรับใช้และฝึกเขียนต่อได้จริง

เพราะหน้าที่ของ Google ก็คือการการแสดงผลให้ตรงกับความต้องการของคนในการค้นหามากที่สุด​ ดังนั้นการเขียนบทความ​ในลักษณะ​นี้​จะทำให้เว็บไซต์ถูกประเมินว่ามี EEAT​ Factor ที่ดี​ ทำให้ผู้ค้นหาได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตอบโจทย์​การค้นหาได้ในเวลาเดียวกัน​ นอกจากนี้ยังทำให้เว็บไซต์​ของเรา​มีโอกาสในการไต่อันดับได้มากขึ้นด้วย

ดังนั้นถ้านักการตลาดต้องการให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับต้นๆ ก็อย่าลืมนำหลักการ​ EEAT Factor มาใช้เพื่อเป็นเกณฑ์การสร้างเนื้อหาในเว็บไซต์ด้วยนะคะ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ SEO แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยค่ะ

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

ที่มา

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *