ปั้นยอดขายพุ่งด้วย 7 กลยุทธ์การตลาดกับ Creator Marketing Trend 2025
ในยุคที่ โซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นมีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคแบบเรา ๆ มาก เคยสังเกตกันไหมคะว่า? การทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจและครีเอเตอร์เขาทำงานร่วมกันยังไง? ครีเอเตอร์มีบทบาทในการสร้างเนื้อหาและเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายเเค่ไหน? ธุรกิจที่นำเสนอสินค้าผ่านมุมมองของครีเอเตอร์เขาทำยังไง? ต้องบอกว่าในพาร์ทของธุรกิจโดยเฉพาะในแพลตฟอร์ม TikTok และการโฆษณาแบบ Affiliate Marketing มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากในตอนนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ทำยังไงให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกันนะ? สรุปจากงาน MITCON 2024 ที่ผ่านมา กับ Creator Marketing Trend 2025 จับมือ สร้างยอดขาย กับ 7 ไอเดียที่ธุรกิจ
โดยคุณขจร เจียรนัยพานิชย์ (RAiNMaker) ในหัวข้อ Every possible way for business to work with creators พร้อมวิธีและกลยุทธ์ที่แบรนด์ควรรู้เมื่อต้องทำงานกับครีเอเตอร์ อัปเดทล่วงหน้าปี 2025 เนื้อหาจะเป็นยังไงมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย
Creator คืออะไร ? และ ทำไมถึงมีบทบาทจัง ?
ครีเอเตอร์ (Creator) คือคนที่สร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิดีโอ รูปภาพ หรือบทความ และเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเป็นธรรมชาติ
บทบาทที่ทำให้ Creator สำคัญในการทำธุรกิจในยุคนี้ อย่างที่รู้จักดีว่า Creator แต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบรรดาแฟนคลับต่าง ๆ ก็จะเลือกติดตามหรือเสพคอนเท้นตามที่ตัวเองชื่นชอบแตกต่างกันนออกไป นี่ก็คือเหตุผลว่าทำให้ครีเอเตอร์ถึงมีอิทธิพลและบทบาทสำคัญ เพราะพวกเขาไม่ได้แค่สร้างความบันเทิงหรือให้ข้อมูลเท่านั้นนะ
แต่ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ระหว่างผู้ติดตามกับแบรนด์ที่พวกเขาร่วมงานด้วย ทำให้การตลาดผ่านครีเอเตอร์เป็นเทรนด์ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามเลยในตอนนี้
แล้วแนวโน้ม Creator ในปี 2025 ล่ะ ?
ผู้เขียนขอสรุปแนวโน้มสำคัญที่เกี่ยวกับ Creator Marketing Trend 2025 เป็น 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
#1 การเติบโตของอุตสาหกรรม Creator
ต้องบอกว่าอุตสาหกรรม Creator ในปัจจุบันค่อยข้างเติบโตอย่างรวดเร็วเลย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสกินแคร์ที่ได้รับการตบอรับเป็นอย่างดีจากการรีวิวของเหล่า Creator เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือจริง ๆ Creator ก็คือคนธรรมดาตัวไปเป็นผู้บริโภคทั่ว ๆ ไปแบบเรานี่แหละ ซึ่งก็ไม่แปลกใจถ้าเกิดว่า Creator จะออกมารีวิวหรือเล่าสินค้าอะไรสักอย่างให้ฟัง ถ้าลองมองภาพก็จะเป็นเหมือนกับความรู้สึกเพื่อนที่รีวิวหรือป้ายยาสินค้าเราอะไรสักอย่าง
จากภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการใช้จ่ายใน 10 อุตสาหกรรมหลักในปี 2023 และคาดการณ์สำหรับปี 2024 ซึ่งจะเห็นเลยว่า ผลสำรวจผลิตภัณฑ์สกินแคร์กลายเป็นสินค้าอันดับ 1 เลยในตลาดในตอนนี้ (คาดว่าในปี 2024 จะเติบโตขึ้นถึง 46%เลยนะ) และก็ตามมาติด ๆ กับ เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามิน
ซึ่งเหตุผลที่น่าสนใจก็เหมือนที่เล่าให้ฟังค่ะว่า ครีเอเตอร์ ก็เหมือนคนทั่วไป ฟีลเพื่อนบอกต่อ และดูมีความน่าเชื่อถือจากการรีวิวเล่าให้ฟังแบบ เรียล ๆ เป็นธรรมชาติ
โดยเฉพาะในแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงในตอนนี้นั่นก็คือ TikTok ไหน ๆ ใครเคยซื้อของหรือดูรีวิวใน TikTok กันบ้างคะหรือว่าใครเป็นสายอินฟลู Creator แสดงตัวด่วนนะ
#2 สถิติการใช้งาน Social Media ในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียหลายรูปแบบ เช่น Facebook, YouTube, Line, TikTok แต่ก็ต้องบอกว่า Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่มากที่สุดอยู่ที่ 58 ล้านคน รองลงมาคือ LINE และ TikTok ที่มีผู้ใช้งานกว่า 44.3 ล้านคน YouTube 44.2 ล้านคน
#3 ผลกระทบของ ครีเอเตอร์ ต่อ ผู้บริโภค
ต้องบอกว่า ครีเอเตอร์ มีผลกระทบต่อแนวโน้มที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือเชื่อจาก User Generated Content (UGC) นั้นค่อนข้างมีอิทธิพลมาก เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่า UGC ส่วนมากก็มักมาจากผู้ใช้จริง รีวิวจริง ซึ่งในมุมของผู้บริโภคหรือลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขาสามารถเห็นประสบการณ์จริง มันดูเรียลมากกว่าการโฆษณา เพราะตัวครีเอเตอร์เองเวลารีวิวพวกเขาก็เล่าอธิบายจากสินค้าและประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับจริง
(เคล็ดลับ) การทำงานร่วมกับครีเอเตอร์ วิธีที่ธุรกิจควรรู้
7 ไอเดียให้แบรนด์ทำงานร่วมกับ Creators
1. Sponsor Post (Advertorial) ส่งสินค้าไปให้รีวิว
เป็นวิธีการส่งสินค้าให้ ครีเอเตอร์ รีวิว ตรงนี้ต้องบอกว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยในวงการ ครีเอเตอร์ เหตุผลก็เพราะว่า การรีวิวด้วยครีเอเตอร์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นกันเองมากกว่าการโฆษณาแบบโต้ง ๆ
ส่วนตัวมองว่าถ้าเกิดแบรนด์อยากร่วมงานกับกับครีเอเตอร์แบบนี้จริง ๆ ควรเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์มีอิสระในการนำเสนอความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาและไม่ควรไปบังคับให้พูดเฉพาะข้อดีของสินค้าอย่างเดียว
ตัวอย่าง รีวิวโต๊ะทำงาน
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
ให้พื้นที่ Creator ได้ใส่ไอเดียตามตัวตนของเขา | บังคับพูด Key Message จนดูไม่เป็นธรรมชาติ |
ข้อดี-ข้อเสีเป็นสิ่งที่พูดได้ตามความจริง | บังคับการใส่สีเสื้อที่ดูไม่เป็นตัวตนของ Creator |
ทำเป็นโฆษณาเกินไป |
2. Tie-in สินค้า
การ Tie-in สินค้าลงในเนื้อหาของครีเอเตอร์ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การแทรกสินค้าเข้าไปให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ครีเอเตอร์สร้าง เป็นฟีลเหมือนการโปรโมทเนียน ๆ ไม่โจ่งแจ้ง
ตรงนี้ข้อแนะนำคือแบรนด์ควรให้เนื้อหา 95% เป็นเรื่องราวของครีเอเตอร์เอง ส่วนอีก 5% เป็นการนำเสนอสินค้าอย่างเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่าง ครีเอเตอร์สาย Home Office ที่รีวิวโต๊ะทำงาน อาจแทรกการโปรโมทโต๊ะใหม่เข้าไป ในระหว่างที่อธิบายถึงประสบการณ์การใช้งานว่าเป็นยังไง ดีไหม ทำให้ผู้คนดูรู้สึกว่าสินค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของครีเอเตอร์จริง ๆ นะ ใช้จริงอยู่ทุกวัน
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
ให้พื้นที่ Creator ได้ใส่ไอเดียตามตัวตนของเขา 95% เป็นเรื่องราวของครีเอเตอร์เอง 5% เป็นการเล่าถึงสินค้าแบบเป็นธรรมชาติ | ขายอย่างเดียว Hard-sale เกินไปคนดูไม่ชอบ |
บอกว่าเป็น สอปอนเซอร์ ได้ ไม่ผิดกฎ คนดูชอบความเรียล | สินค้ากับ Story เป็นคนละเรื่องกับเรื่องราวที่เล่าในคลิป |
สินค้าเชื่อมต่อเรื่องราวที่เดียวกันกับที่เล่า |
3. Storyline
การใช้ Storyline ในการสร้างเนื้อหาคอนเท้น ก็คือการที่ให้ ครีเอเตอร์ เล่าเรื่องราวของแบรนด์ในแบบของตัวเอง (ราวของแบรนด์ในแบบของตัวเอง) ครีเอเตอร์ สามารถเล่าเรื่องแบบอิสระและแบรนด์ควรให้ข้อมูลกับครีเอเตอร์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ครีเอเตอร์มีข้อมูลในการสร้างเนื้อหาในฉบับของครีเอเตอร์เอง
4. ให้ ’ประสบการณ์’ มากกว่า (แค่) Brief
ตรงนี้จะขอเล่าว่าแบรนด์ควรให้ครีเอเตอร์ได้สัมผัสกับสินค้าและบริการจริง ๆ ทดลองใช้สินค้าจริงจะช่วยให้เนื้อหาที่ ครีเอเตอร์สร้างผลงานได้ออกมาดีกว่าการบรีฟแบบแห้ง ๆ
ตัวอย่าง แบรนด์ GQ ที่สร้าง Storyline ในการเปิดตัวกางเกงยีนส์ใหม่ผ่านประสบการณ์การใช้งานจริงของครีเอเตอร์ ด้วยการสื่อสารผ่านเรื่องราวการทำ Workshop ตรงนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นการเล่าเรื่องราวของแบรนด์ที่ช่วยให้ผู้บริโภคนั้นสามารถสัมผัสและเชื่อมโยงกับสินค้าได้ดีเลยทีเดียว ผ่านประสบการณ์และเรื่องราวของแบรนด์
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
ยิ่งแบรนด์แชร์หรือเล่าเรื่องราวมากเท่าไหร่ ครีเอเตอร์ก็จะยิ่งเข้าในและสามารถ Create สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพออกมาได้ **Story is the Key | บรีฟ ๆ แห้ง ๆ งานก็แห้ง ๆ ตามสภาพ |
ให้อิสระกับ Creator ได้ทำงานในสไตล์ของเขา | ไม่แจ้งจุดประสงค์งาน ให้คิดเอง เออเอง งานพังไม่รู้ด้วยเด้อ |
5. PR Approach
คำว่า PR เป็นเหมือนการประชาสัมพันธ์อัพเดทว่าตอนนี้เเบรนด์ ๆ นี้กำลังทำอะไรอยู่ การทำงานร่วมกับ ครีเอเตอร์ แบรนด์ควรมีความจริงใจตรงไปตรงมา มีความโปร่งใสและเน้นความร่วมมือมากกว่าการบังคับขู่เข็น
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
มีความจริงใจ ตรงไปตรงมา ให้พื้นที่กันและกัน | ตื้อไม่หยุด บังคับขู่เข็น ไม่เกรงใจ |
ถ้าแบรนด์ไม่มี Budget สามารถพูดตรง ๆ ได้ |
6. Event Support
ก็คือการที่แบรนด์เข้ามีบทบาทในการสนับสนุนในกิจกรรมหรืออีเวนต์ต่าง ๆ การสนับสนุนตรงนี้จะทำให้ ครีเอเตอร์ เขารู้สึกว่าแบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของพวกเขาจริง ๆ นะ ไม่ได้จะมาแค่จ้าง ๆ ทำ ๆ
ตัวอย่าง การสนับสนุนอุปกรณ์ในการจัดอีเวนต์ที่ทาง SONY ที่สนับสนุนกล้องถ่ายภาพให้กับครีเอเตอร์ในการจัดแคมป์ฝึกถ่ายภาพ จริง ๆ ทาง SONY ไม่จำเป็นต้องทำหรือลงทุนในการสนับสนุนเรื่องกล้องในการทำอีเว้นท์ในครั้งนี้ก็ได้ แต่ที่ SONY ทำก็เพื่อจะเป็นการบอกเหล่าครีเอเอตร์ว่าที่พวกเขาทำอยู่ดีแล้วนะ สนับสนุนให้มีการถ่ายทำคอนเท้นดี ๆ ทักษะการถ่ายภาพดี ๆ แบบนี้
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
Creator ส่วนใหญ่ยังทำคอนเท้นไม่เป็น การมีอีเว้นท์ Support ดี ๆ จะช่วยให้เขาผลิตผลงานและเติบโตได้ | อย่ามองแค่เป็นการสปอนเซอร์แล้วได้หน้า แต่ควรมองว่า สิ่งที่ทำให้ประโยชน์อะไร |
เดินคนเดียวเดินได้ไว เดินด้วยกันไปได้ไกลกว่า ค่อยเป็นแรงสนับสนุนและโอกาสดี ๆ ให้กัน | ขายแต่แบรนด์ตัวเองตอนจัดอีเว้นท์ |
7. Affiliate Program
เป็นเทรนและกระแสที่มาแรงมากตอนนี้กับการทำ Affiliate ตรงนี้การให้ค่าคอมมิชชันกับครีเอเตอร์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมและกำลังบูมมาก ๆ เลยตอนนี้
การใช้ Affiliate Program นอกจากจะช่วยให้ครีเอเตอร์มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
ต้องบอกแบบนี้ก่อนว่าธุรกิจไหนที่สามารถให้ ครีเอเตอร์ สร้างคอนเทนต์ที่ Connect กับสินค้าได้ แล้วเอาลิงก์ซื้อสินค้าไปแปะในคอนเทนต์นั้น ๆ แล้วมีคนคลิกและซื้อสินค้าผ่านลิงก์ ครีเอเตอร์ ก็จะได้รับค่าคอมมิชชัน
ตัวอย่าง ครีเอเตอร์ ใน TikTok ที่ทำคลิปรีวิวสินค้าและแปะลิงก์ซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Lazada หรือ Shopee
DO (สิ่งที่ควรทำ) | DON’T (สิ่งที่ไม่ควรทำ) |
ให้รายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน ไม่ Overclam | ไม่มี Do and Don’t |
ดูแลระบบหลังบ้านดี ๆ | บรีฟไม่ละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและกฎต่าง ๆ |
สรุป
การทำธุรกิจทุกวันนี้ไม่ได้แค่ ธุรกิจกับลูกค้า อีกต่อไปแล้ว แต่มีสิ่งที่เข้ามาเพิ่มเติมนั้นก็คือ ครีเอเตอร์ ที่เข้ามาเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนทั้งมุมของผู้ผลิตและผู้บริโภคการทำงานร่วมกับครีเอเตอร์ในยุคนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องการอยากที่จะเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพและครองใจกันไปยาว ๆ ซึ่งทางแบรนด์เองก็ควรเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ความสามารถ Potential ของพวกเขาเอง ไม่ควรไปบังคับให้เนื้อหาดูเป็นการขายจนเกินไป เน้นความจริงใจ สร้างประสบการณ์ให้ครีเอเตอร์ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว
เป็นยังไงกันบ้างคะกับ Creator Marketing Trend 2025 จับมือ สร้างยอดขาย กับ 7 ไอเดียที่ธุรกิจ ชอบกันไหม
สำหรับผู้อ่านที่น่ารักทุกคนที่อยากติดตามข่าวสารทางการตลาด และไม่อยากพลาดแหล่งรวมความรู้ดี ๆ ที่อัปเดททุกวัน สไตลด์การตลาดวันละตอนทางผู้เขียนเองก็มีช่องทางแนะนำเพิ่มเติมให้ผู้อ่านทุกท่านแวะไปทักทายพูดคุยกันได้สามารถติดตามได้ไม่ว่าจะเป็นจาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง เว็บไซต์ Twitter Instagram และ YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะการตลาดวันละตอนขอเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่ไม่ว่าจะเพศไหน อายุเท่าไหร่ ก็สามารถเเวะเข้ามาอัพเดทความรู้กันได้แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ see you ka ʕʽɞʼʔʕ•̫͡•ʔ
บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ