Convert Click Strategy กับ 7 เทคนิคเปลี่ยนคนดูให้กลายเป็นลูกค้า P.1

Convert Click Strategy กับ 7 เทคนิคเปลี่ยนคนดูให้กลายเป็นลูกค้า P.1

มีใครที่กำลังประสบปัญหาได้ Traffic เข้ามาแล้วไม่ Convert มาเป็น Conversion หรือการซื้อสินค้าสักทีมั้ยครับ ทั้ง ๆ ที่แบรนด์ของเราอุตส่าลงทุนซื้อ Media จ้าง Influencer มาตั้งมากมาย แถมสินค้าเราก็มีดีอยู่พอตัว ทำไมถึงไม่มียอดขายมาสักที บังเอิญเบสไปเจอบทความที่พูดถึง Convert Click Strategy ที่เบสคิดว่าน่าสนใจดี

วันนี้เลยอยากมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านเพื่อเอาไปลองปรับใช้กับการทำการตลาดของทุกคนกันครับ บทความชุดนี้เบสจะขอแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตัดเนื้อหาบางส่วน หรือ รวมเป็นข้อเดียวกันจากความคิดเห็นส่วนตัว เพื่อไม่ให้เนื้อหายาวจนเกินไป และทุกคนสามารถจดจำเทคนิคในแต่ละตอนได้อย่างเต็มที่ครับ

ซึ่ง Convert Click Strategy ที่เราจะมาแชร์กันในวันนี้ เบสมองว่าจะเป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถเลือกไปปรับใช้ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะกับแบรนด์ไหนที่กำลังพยายามทำ Website eCommerce ของตัวเอง หรือ จะขายสินค้าอยู่บน Market place อย่าง Shopee หรือ Lazada

ถ้าทุกคนพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ

7 ways of Convert Click Strategy (1-5)

1.การใช้ Pop-ups

Convert Click Strategy : Pop-ups
ภาพประกอบจาก optinmonster.com

Pop-ups คือแผ่นป้ายที่จะเด้งขึ้นมาเวลาเราเข้าหน้า Website ใด ๆ เป็นอันแรก ที่ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะ Ignore มันมากที่สุด สาเหตุก็เพราะจุดประสงค์ในการเข้า Website มา คือเนื้อหาข้างใน ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหาของการใช้ Pop-ups เหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเพราะเป็นการใช้งานมันแบบผิด ๆ มากกว่า

นั่นคือ เอาไปใช้ในการสื่อสารในสิ่งที่ไม่ได้ตอบโจทย์หรือตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาใน Website ครับ

ปัจจุบันการ Tracking ข้อมูล หรือการจับ Traffic ที่ของลูกค้าว่าเข้า Website ของเรามาจากช่องทางไหน สามารถทำได้แล้วครับ หมายความว่า เราสามารถทำ Dynamic Pop-ups ที่นำเสนอสิ่งที่ตอบสนองลูกค้าแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการและพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้มากขึ้น

เช่น คนที่มาจากการดู Influencer รีวิวแล้วกดเข้ามาใน Website น่าจะเป็นกลุ่มคนที่มี % การตัดสินใจซื้อมากที่สุด คนกลุ่มนี้จึงควรเห็น Pop-ups ที่เสนอสิทธิพิเศษต่าง ๆ รวมถึง Promotion ดี ๆ เพื่อปิดการขาย

หรือ หากลูกค้าที่เข้ามาผ่านการทำ SEM สิ่งที่เราควรทำคือการมอบ Customer Review ให้ลูกค้าเห็นว่ามีคนใช้สินค้าเยอะและแบรนด์ของเรามีความน่าเชื่อถือจริง ๆ เป็นอันดับแรก แล้วค่อยสอดแทรก Promotion ใน Customer Journey ส่วนอื่น ๆ ภายใน Website ของเราเพื่อปิดการขายก็ได้

อย่างไรก็ตามเราไม่ควรขึ้น Popup มากแบบพร่ำเพรื่อจนเกินไปนะครับ จากการตั้งใจนำเสนอสิทธิพิเศษดี ๆ ให้ลูกค้าประทับใจจะกลายเป็นความรำคาญได้ เราควรวาง Customer Journey แต่พอดี อาจแค่ช่วงต้นที่เข้า Website, 15 นาทีระหว่างการใช้งาน อะไรทำนองนี้ก็ได้ครับ ให้ลูกค้าได้มีช่วงเวลาในการดูสินค้าของเราหน่อย

2.การใช้ Call to Action (CTA) ที่ดี

ใครที่นึกภาพไม่ออกว่า CTA คืออะไร ให้นึกถึงพวกปุ่มกดที่มีให้เห็นตามภาพ Artwork ในโฆษณาโปรโมชั่น หรือ คอนเทนต์ในเชิงการขายสินค้าต่าง ๆ

Convert Click Strategy : Call to action
ภาพประกอบจาก growth-hackers.net

แต่สำหรับข้อนี้ที่นำมาย้ำอีกที เพราะส่วนใหญ่จะใช้ CTA ในการ Convince ลูกค้าในทำนองเหมือน ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ามีความหลากหลายมาก รวมถึงสินค้าและบริการของเราที่อาจมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าธุรกิจในรูปแบบอื่นด้วย

เบสไม่ได้หมายความว่า การใช้คำมาตรฐานเช่น คลิกเพื่อลงทะเบียน, คลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้า อะไรพวกนี้เป็นสิ่งที่ผิดและไม่จำเป็นต้องทำนะครับ ส่วนต่าง ๆ นี้ก็อาจจะต้องมีอยู่ดี

แต่สมมุติว่า Journey ของลูกค้าเข้ามา Explore แบรนด์ของเรามากประมาณหนึ่งแล้ว การที่เราสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มนี้ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นจะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขายมากขึ้นได้นะครับ โดยอาจเป็นการขยายความจาก CTA ที่เรามีอยู่เดิมก็ได้

เช่น ลูกค้าเข้ามาคลิกดูหน้าเว็ปของเรา 2-3 Session แล้วในส่วนของ Skin Care ประเภท moisturizer แต่ยังไม่กดซื้อสินค้าสักที นั่นอาจหมายความว่าลูกค้ากำลังมีปัญหาเรื่องความชุ่มชื้นของผิว แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อสินค้าตัวไหนดีที่เหมาะกับตัวเอง

การมี CTA ว่า คลิกเพื่อซื้อสินค้า ก็เป็นสิ่งที่ลูกค้ารู้อย่างชัดเจนอยู่แล้วแต่อาจไม่ได้ช่วยทำหน้าที่ Convince ให้ปิดการขายได้ ซึ่งจริง ๆ เราสามารถใส่ CTA ที่สื่อสารกับคนกลุ่มนี้ได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นได้ เช่น คลิกเพื่อเริ่มสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวคุณวันนี้, คลิกซื้อสินค้าเหมือนลูกค้าของเรากว่า 1,000 คน, คลิกซื้อสินค้าเพื่อรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณ

ในมุมมองของเบสการคิด CTA ไม่มีกติกาและควรเปิดกว้างให้มากขึ้นครับ เพราะ CTA ไหนดีไม่ดียังไง เราสามารถทำการทดลอง A/B Testing บนหน้าเว็ปเราเองได้เรื่อย ๆ ครับ ว่า CTA ด้วย Copy แบบไหนทำให้เกิด Conversion Rate (CVR%) ได้มากกว่ากัน ก็ค่อย ๆ ปรับให้เป็นไปในแนวทางนั้นได้ครับ

หัวใจสำคัญจึงกลายมาเป็นการคิด Copy หรือประโยคใด ๆ ที่จะโดนใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้มากที่สุด ซึ่งก็อาจจะเป็นหน้าที่ของคุณ หรือ Creative Agency ที่คุณใช้บริการอยู่แล้วครับ

อีกเทคนิคสำคัญที่เบสอยากแนะนำคือ พยายามวาง CTA ให้อยู่ในจุดที่ลูกค้าสามารถมองเห็นมันได้ทันทีด้วย โดยไม่ต้อง Explore หน้าร้าน หรือ หน้า Website อะไรของเราเพิ่มเติม เพื่อให้ง่ายและสะดวกสำหรับคนที่ตั้งใจมาซื้อ หรือ มีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้าของเราให้มากที่สุดครับ

3.การทำ Landing Page ให้น่าสนใจ

จากหัวข้ออาจจะค่อนข้างกว้างไปหน่อยว่า น่าสนใจนี่น่าสนใจยังไงใช่มั้ยครับ เบสมี Concept ให้ทุกคนยึดเป็นแก่นเพื่อเอาไปลองปรับใช้ดูได้ครับ

เราสามารถเริ่มต้นจากการนำแนวคิดเรื่องของ Pop-ups ที่เบสแนะนำมาเป็นหลักได้เลยครับ คือ ลูกค้าที่เข้ามาเค้ามีพฤติกรรมสนใจอะไร ให้เรานำเสนอสิ่งนั้นกับลูกค้าของเราในหน้า Website ของเราไม่ใช่แค่ Pop-ups อย่างเดียว

ซึ่งจริง ๆ Landing page มีข้อดีที่สามารถนำเสนออะไรได้หลายอย่างกว่า Pop-ups ที่สื่อสารได้แค่เรื่องเดียวที่มีหลายข้อจำกัดมาก ดังนั้นให้มองหน้าที่ของ Landing page เป็นการ Convince ในทางอ้อมมากกว่าทางตรงที่จี้ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเลย

โดยร้อยเรียงออกมาว่า สิ่งที่ลูกค้าอยากรู้ ในการเข้า Website ของเรามามีเรื่องอะไรบ้าง ต้องเรียงลำดับเรื่องอะไรเป็นสำคัญ แต่ละเรื่องจะต้องชูในประเด็นไหน ในรูปแบบใด พยายามตอบสนองในส่วนนี้ให้ดีที่สุดครับ

เบสแนะนำให้ทุกคนลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือ ศึกษาในเรื่องของ UX/UI Design มาใช้ประกอบกับเรื่องนี้ดูก็ได้นะครับน่าจะช่วยให้การปรับน่าเว็ปของทุกคนดีขึ้นได้อีกมาเลย

4.การนำเสนอสิ่งดึงดูดใจ

ข้อนี้จะมีความคล้ายกับ ข้อ 1. -3. อยู่ มากภายใต้ Concept เดียวกันคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าที่เข้ามาให้มากที่สุดครับ แต่นอกจากนั้นแล้วในข้อนี้เบสอยากให้ทุกคนมองลงไปให้เฉพาะเจาะจงอีกหน่อย เลยอยากแนะนำแนวทางในการเลือกหยิบบริบท หรือ Context สำหรับการดึงดูดใจให้ถูกต้องและดีสำหรับแบรนด์ของเรามากยิ่งขึ้น

ถ้าให้นึกไว ๆ สิ่งที่ดึงดูดใจลูกค้าได้ย่อมเป็นสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่แบรนด์ของเราสามารถมอบให้กับลูกค้าได้อยู่แล้ว เช่น คูปองส่วนลด, การจัดส่งฟรี, การแถมสินค้า, โปรโมชั่น 1 แถม 1 ต่าง ๆ ฯลฯ

แต่อะไรล่ะที่จะเป็นตัวบอกว่าเราควรจะเลือกหยิบสิ่งไหนมาใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้การดึงดูดใจเหล่านั้นมีประสิทธิภาพที่สุด โดยที่จะไม่กระทบต้นทุนในการบริการธุรกิจและการทำการตลาดของเราด้วย

เช่น ถ้าเราทำไปเรื่อยอย่างการ ขายซื้อ 1 แถม 1 ตลอด เพื่อตอบสนองลูกค้าที่อยากประหยัดและได้โปรโมชั่นอยู่ตลอด อาจมีผลกระทบทางลบกับแบรนด์เราในระยะยาวได้ครับ

ดังนั้นนอกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้ว ทุกคนสามารถพิจารณาจากส่วนอื่นได้อีกเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับ Website ของตัวเองได้ ดังนี้ครับ

4.1 Trend

https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/summary-of-consumer-trend-2023-the-era-of-co-topia-from-tcdc/

การรู้ Trend ว่าโลกธุรกิจ การตลาด รวมไปถึงภาพรวมความสนใจของผู้บริโภคตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เราสามารถหยิบ Context เหล่านั้นมาสอดแทรกในการสร้างความน่าสนใจและดึงดูดใจให้กับหน้า Website และสินค้า/บริการของเราได้นะครับ

เช่น ถ้าในปัจจุบันคนสนใจการรักษาสิ่งแวดล้อมเยอะมาก และแบรนด์ของเราก็มี Service หรือ Operation ที่ตอบสนองต่อสิ่งนั้นอยู่เหมือนกัน เราสามารถหยิบบริบทนี้มาวางไว้ในหน้า Website ของเราได้เลย เพื่อเพิ่มการดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากช่วยอุดหนุนสินค้าของเราให้มากยิ่งขึ้นได้ครับ

4.2 กิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่ง

การคอยสังเกตว่าตอนนี้คู่แข่งของเรากำลังทำอะไรอยู่ ตอนนี้มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง แล้วเราเตรียมกลยุทธ์ในการรับมือแบบ Reverse Marketing คู่แข่งว่าไง เราสู้ด้วยอีกแบบ หรือตรงกันข้ามกัน จะช่วยให้แบรนด์ของเรามีสีสันในการทำการตลาดมากยิ่งขึ้นครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้ดูองค์ประกอบอื่น ๆ ประกอบด้วยนะครับ ว่าเป็นช่วงจังหวะที่แบรนด์ของเราควรพัก หรือ ควรสู้ เพราะจริง ๆ แต่ละแบรนด์ก็มีจังหวะในการขายสินค้าของตัวเองที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้วจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทรัพยากรเอย ทั้งช่องทางการขายเอย กำลังในการจับจ่ายของลูกค้าในเวลานั้น รวมไปถึง Product Life Cycle ของแบรนด์เราด้วย

4.3 Brand Social Voice

ส่วนตัวเบสค่อนข้างแนะนำในการหยิบบริบทตรงนี้ในการไปปรับใช้เป็นจุดดึงดูดใจเลยครับ เนื่องจากสิ่งนี้เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก End User หรือ ลูกค้าของเราโดยตรง ว่าพวกเขามีการพูดถึงสินค้า หรือ ประเด็นที่ใกล้เคียงกับสินค้าของเราอย่างไรบ้าง

การที่แบรนด์รับรู้เรื่องนี้และสามารถตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราให้ความสำคัญอยู่ จะช่วยดึงดูดให้คนเหล่านั้นหันมามองเราได้มากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องสื่อสารแค่ในหน้า Website อย่างเดียวเลยก็ได้นะครับ เราสามารถนำเรื่องนี้มาใช้ประกอบการการสื่อสารในภาพใหญ่ของแบรนด์เราทั้งหมดได้เลย

ซึ่งการที่เราจะรู้สิ่งเหล่านี้ได้เราจะต้องใช้ Social Listening tools ในการเข้าไปดึงข้อมูลนี้ออกมาครับ

โดยในประเทศไทยเราเองก็มีผู้ให้บริการสำหรับการทำ Social Listening อยู่จำนวนมากเลยครับ ทุกคนสามารถลอง Explore เพื่อเลือกใช้ดูได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ส่วนสำหรับใครที่สนใจอยากจะเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติม ทางพี่หนุ่ยก็มีคอร์สเปิดสอนอยู่นะครับ สามารถติดต่อในช่องทาง Inbox ของเพจการตลาดวันละตอนได้เลย เบสเองก็มีโอกาสได้เข้าไปเรียนด้วยเหมือนกัน แล้วคุณจะพบว่ามีโอกาสในการทำการตลาดอีกมากเลยเพียงแค่คุณใช้เครื่องมือนี้เป็นและดึงประสิทธิภาพของมันออกมาให้ได้มากที่สุด

5.การทำให้ง่ายต่อการซื้อ

“การลดกระบวนการให้มากที่สุด” เป็นประโยคเดียวที่เป็นคำตอบของเรื่องนี้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น

  • การลงทะเบียนเพื่อซื้อสินค้า เราสามารถปรับให้เป็นการลงทะเบียนโดยใช้ Gmail ก็สามารถลงทะเบียนอัตโนมัติได้เลย
  • การมีปุ่มซื้อสินค้าที่ซื้อบ่อย หรือ ซื้อสินค้าเดิมอีกครั้งได้เลย โดยที่ไม่ต้องกด Add to Cart สินค้าใหม่อีกรอบ
  • ช่องทางการชำระเงินจากการต้องเอาเลขบัญชีไปกด เป็นการสแกน QR Code แล้วโอนได้เลย พร้อมยืนยันเลข OTP เพื่อความปลอดภัย หรือ ชำระผ่านบัตรเครดิตได้

หากสินค้าของเราไม่ใช่สินค้าหายากและสามารถหาทดแทนได้จากแบรนด์อื่น ๆ การตัดสินใจเปลี่ยนไปซื้อกับเจ้าอื่น หรือ ช่องทางอื่นที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากสำหรับผู้บริโภคสมัยนี้

ดังนั้นหากเราต้องการที่จะเพิ่มโอกาสในการปิดการขายให้ได้จากลูกค้าที่อุตส่ากดเข้ามาในหน้าเว็ปของเราแล้ว การทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าเราได้ง่ายและเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเลยครับ

บทส่งท้าย

ทั้ง 7 เทคนิคที่ทุกคนได้อ่าน หรือ กำลังจะได้อ่านต่อ นี้ หากเราไม่มีทรัพยากรที่มากพอ เราไม่จำเป็นต้องทำมันทั้งหมดก็ได้นะครับ ทำเยอะ ๆ ก็ดีในแง่ของการเพิ่มโอกาสทางการขายให้แบรนด์ แต่ถ้าเยอะเกินไปก็อาจทำให้หนักตัวเราเองเปล่า ๆ แถม ROI ก็อาจจะไม่คุ้มลงทุนด้วยครับ

เลือกหยิบแค่บางอย่างที่คิดว่าน่าสนใจ และน่าจะตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราก็พอ

แล้วเจอกันอีกตอนหน้า รอติดตามดูว่าจะมีเทคนิคอะไรให้ทุกคนได้ลองไปปรับใช้ดูได้อีกบ้างนะครับ : )

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ ของการตลาดวันละตอนได้ที่ คลิก

Ref.

Watcharapon Kittipodpong

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่