Personalization สร้างเมนูที่รู้ใจจากวัตถุดิบค้างสต็อก ธุรกิจร้านอาหาร

Personalization สร้างเมนูที่รู้ใจจากวัตถุดิบค้างสต็อก ธุรกิจร้านอาหาร

Case Study ธุรกิจร้านอาหารที่ทำ Personalization จากวัตถุดิบที่เหลือสต็อกว่าควรทำเมนูไหนให้ลูกค้าคนได กลายเป็นเมนูที่รู้ใจ เพิ่มกำไรและการลดของเสีย

การตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing ไม่ได้มีแค่การรู้ว่าใครชอบอะไร ใครอยากได้อะไร แล้วควรทำการตลาดหรือโปรโมชั่นแบบไหนออกไป แต่ยังสามารถไปได้ไกลกว่านั้น ด้วยการ Personalization จาก Stock Data หรือ Operation Data ที่ช่วยบริหารจัดการวัตถุดิบที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่าง Case Study ของธุรกิจร้านอาหารเครือใหญ่ ที่วัตถุดิบมีระยะเวลาจำกัด ต้องรีบผลิตสินค้าออกไปขายให้ทันก่อนจะบูดเสีย ดังนั้นเลยต้อง Optimization วัตถุดิบที่มีให้เกิดยอดขายสูงสุด ไม่อย่างนั้นก็ต้องทิ้งไป เลยต้องทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalization ให้ตรงกับวัตถุดิบที่มี ออกไปหาคนที่น่าจะชอบกินเมนูแบบนี้ นี่คืออีกระดับของการตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้า Data-Driven Marketing ครับ

ปัญหาความยากของการทำ Personalized Marketing คือการประกอบเชื่อม Customer Data ที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน ด้วยความหลากหลายของระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่เลือกใช้ได้ไม่ได้มี Techology Stack Strategy แต่แรก ทำให้ในวันนี้ที่เรารู้ว่า Data-Driven Marketing นั้นสำคัญอย่างไร ต้องมาเลือกหาระบบใหม่ให้ง่ายต่อการนำดาต้าที่มีมาใช้งาน

นั่นเลยเป็นที่มาของการใช้​ CDP Customer Data Platform ในวันนี้ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเอา Data Source ต่างๆ เข้ามากองและประกอบเข้าด้วยกัน ยังไม่พูดถึงความสามารถในการทำ Analytic หา Segmentation ต่างๆ บวกกับต้องสามารถทำ Execution หรือ Campaign จบได้ในตัวด้วยแล้ว

สรุปสั้นๆ คือธุรกิจประเภทอาหาร หรือร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการ ต้องใช้ Data จาก 3 Source หลัก

  1. Transaction Data จากพฤติกรรมการซื้อลูกค้าแต่ละคน ใครชอบสั่งอะไร ชอบซื้ออะไร ชอบกินอะไร ชอบกินเมื่อไหร่
  2. Behavior Data พฤติกรรมการใช้งานเว็บ หรือแอปของเรา ใครเคยกดอะไรบ้าง เคยเข้าผ่านช่องทางไหนบ้าง เคยอ่านอะไรบ้าง เคยจะซื้ออะไรแล้วเปลี่ยนใจไม่ซื้อ เคยคอมเมนต์ให้ฟีดแบคกับสินค้า บริการ หรืออาหารอย่างไรไว้
  3. Stock Data หรือ Operation Data ข้อมูลทรัพยากรวัตถุดิบสินค้าคงคลังที่เรามี ไม่ว่าจะวัตถุดิบอาหาร หรือคิวว่างของพนักงานเรา แต่เคสวันนี้คือธุรกิจอาหาร ซึ่งจะมีตัวแปรในเรื่องของวันหมดอายุเพิ่มเข้ามา ทำให้ต้องใช้ความสามารถการ Analytic ที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

ทั้งหมด 3 Source หลักถูกโยนเข้า CDP Customer Data Platform เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการทำ Business Optimization กับการตลาดแบบ Personalization ว่าสต็อกที่เหลือสามารถทำเมนูไหนได้บ้าง และจากเมนูดังกล่าวน่าจะเอาไปทำการตลาดหรือนำเสนอลูกค้าคนไหนถึงจะมีโอกาสซื้อมากที่สุด

เพราะถ้าส่งโปรโมชั่นทำการตลาดหว่านๆ ไปเรื่อยๆ ทุก Marketing Message ที่ส่งไปคือต้นทุนทางการตลาดทั้งนั้นเลยนะครับ

สมมติว่าคุณทำธุรกิจร้านอาหารชนิดหนึ่ง ในรูปแบบให้ลูกค้าสั่งล่วงหน้า Subscription model หรืออาจจะเป็นธุรกิจร้านอาหารทั่วไป แต่มีระบบ Member เพื่อเก็บ Customer Data อยู่ตลอดเวลา

คุณอาจจะทำ Personalized Marketing ได้แค่ในระดับอ้างอิงจากพฤติกรรมการซื้อที่เคยเกิดขึ้นแล้วคุณรู้

แต่ถ้าคุณเชื่อมดาต้าที่เป็น Digital Behavior Data ได้ว่าลูกค้าคนนี้เคยกดดูสินค้าอะไร เคยเลือกอะไรแล้วบ้าง เคยให้ฟีดแบคไว้ว่าอย่างไรบ้าง นั่นทำให้คุณจะทำการตลาดแบบรู้ใจได้ดีขึ้น การ Personalization จะมีมิติมากขึ้น ไม่ได้ดูแค่ว่าเคยกินอะไร แต่ดูลึกลงไปถึงกินแล้วชอบหรือไม่ เคยชมหรือติอะไรไว้หรือเปล่า

คุณอาจนำเสนอเมนูประเภทเดียวกันแต่เปลี่ยนวัตถุดิบให้ใหม่เป็นที่ชอบมากกว่า หรืออาจทำการตลาดด้วยเมนูเดิมอีกครั้ง แต่บอกว่ามีการปรับรสชาติให้เผ็ดน้อยลงเป็นพิเศษ เมื่อดูจากดาต้าในอดีตที่คุณเคยบอกว่าชอบเมนูนี้ แต่เผ็ดเกินไปหน่อยแบบนี้เป็นต้น

แต่คุณจะทำ Personalization ได้ขั้นสุดที่จะสามารถยกระดับการบริหารจัดการต้นทุนได้อีกขั้น ถ้าคุณสามารถเชื่อมสองด้าต้าที่ว่ามาเข้ากับ Food Stock Data หรือ Operation Data เข้าได้

คุณจะสามารถแพลนได้ว่าตอนนี้คุณมีทรัพยากรอะไรเหลือว่างเท่าไหร่ จะเอาทรัพยากรดังกล่าวไปนำเสนอกับใคร จะเห็นว่านี่คือการตลาดแบบที่ควรจะเป็นในยุค Data-Driven Marketing การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้าซึ่งทำให้ธุรกิจเพิ่มกำไรและลดต้นทุนได้ไปพร้อมกัน

สรุปสุดท้ายแล้วธุรกิจจะมีกำไรเพิ่มขึ้น ไม่ได้มาจากการแค่สร้างยอดขายให้มากขึ้นเท่าไหร่ แต่ยังหมายถึงการลดต้นทุนที่ไมจำเป็นลงไปในเวลาเดียวกัน ด้วยยอดขายเท่าเดิมคุณสามารถหากำไรเพิ่มเติมได้ง่ายๆ

คงพอเห็นภาพว่าทำไมเราถึงต้องพยายามใช้ดาต้าให้มากขึ้นในปีนี้ ทำไมเราถึงควรต้องเริ่มวางแผนเชื่อมดาต้าจากระบบต่างๆ ในบริษัทเข้าด้วยกัน เพราะนี่คือ Strategy สำคัญ ที่ถ้าคุณทำคู่แข่งจะไม่มีทางรู้ได้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เหมือนกับการตลาดโลกเก่าที่แข่งขันกันแค่โฆษณาอย่างเดียวอีกต่อไป เห็นปุ๊บก็รู้ว่าคุณกำลังทำอะไร

และเช่นเดียวกัน คู่แข่งคุณก็อาจเริ่มทำไปแล้ว เพียงแต่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง กว่าจะรู้อีกทีก็ตอนที่เขาสะสมทั้ง Customer Data ได้มากมายจนสามารถทำ Data Monetization กลายเป็น New S Curve ใหม่ของธุรกิจเรียบร้อยครับ

อ่าน Case Study ของการใช้ CDP และ Personalization ในการตลาดวันละตอนเพิ่มเติม https://www.everydaymarketing.co/tag/cdp/

Source: https://segment.com/customers/daily-harvest/ 

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *