SEO Content 101 – 9 ขั้นตอนในการเขียน SEO Content

SEO Content 101 – 9 ขั้นตอนในการเขียน SEO Content

สำหรับเรื่องของ SEO นั้นแบมมีการพูดถึงไปในหลายแง่มุมแล้ว โดยบทความนี้แบมจะขอมาพูดเฉพาะเรื่องของ SEO Content เท่านั้น ถ้าอยากรู้ว่าการเขียนในรูปแบบของ SEO นั้นต่างจากรูปแบบการเขียนปกติอย่างไร แล้วมีวิธีการเขียนอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยค่ะ

SEO Content ต่างจาก Content ทั่วไปอย่างไร

ก่อนอื่นเรามาพูดถึงความแตกต่างระหว่างบทความทั่วไปกับบทความ SEO กันก่อนว่ามันต่างกันอย่างไร

จริงๆ แล้ว บทความสองประเภทนี้มีความคล้ายๆ กันอยู่ในแง่ที่ต้องเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ เขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ อ่านง่ายไม่น่าเบื่อ

แต่บทความ SEO จะต่างออกไปหน่อยก็ตรงที่นอกจากจะต้องเขียนให้ถูกใจคนแล้ว ยังจะต้องเขียนให้ถูกใจ Google ด้วย เพื่อที่ Google จะได้เข้าใจว่าบทความที่เราเขียนนั้นกำลังพูดถึงเรื่องอะไร 

พอมีคนมา Search ด้วย Keyword ที่ตรงกับบทความของเรา Google ก็จะช่วยจัดอันดับให้บทความเรามาอยู่ในหน้าแรกๆ ของการ ค้นหา ยิ่งอันดับดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนคลิกเข้ามาเจอบทความของเรามากขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น

9 ขั้นตอนในการเขียน SEO Content

ขั้นตอนที่1: การเลือก Keyword 

คีย์เวิร์ดเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญเลย เพราะนอกจากที่เป็นคำหรือ วลีที่คนมักจะใช้คนหาข้อมูลใน Google แล้วยังเป็นคีย์หลักที่จะทำให้ Google รู้ว่าบทความนี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไรด้วย

โดยเกณฑ์ในการเลือกนั้นมีอยู่หลักๆ 3 ข้อด้วยกัน

1. Relevant

อย่างแรกเลยคีย์เวิร์ดที่เราเลือกมานั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบทความที่เราจะเขียน เช่น ถ้าเราเขียนบทความเกี่ยวกับสินค้า ก็ควรจะต้องมีคำที่ระบุถึงชื่อ ยี่ห้อ หรือลักษณะของสินค้าด้วย เช่น คีย์เวิร์ดเป็น พลูวิลล่าพัทยา ก็อาจเขียนบทความเป็น 5 ที่พักพลูวิลล่าพัทยา ราคาถูก หรือ เครื่องสำอางเกาหลี ก็อาจจะเขียนบทความว่าด้วยเรื่อง รีวิวแต่งหน้าลุคหวานใสด้วยเครื่องสำอางเกาหลี เป็นต้น 

2.Search Volume

คีย์เวิร์ดที่เลือกมาใช้งานนั้นจะต้องมีปริมาณการค้นหา หรือ Search Volume อยู่พอสมควร เพราะยิ่งเข้าถึงคนอ่านได้มาก โอกาสขาย หรือโอกาสที่คนจะเข้ามาทำความรูจักเว็บไซต์ของเราก็มีมากขึ้นไปด้วย

3.Keyword Difficulty

ที่สำคัญคือเราต้องดูด้วยว่าคีย์เวิร์ดที่เราเลือกนั้นมีค่าการแข่งขันที่สูงเกินไปหรือเปล่า 

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราเพิ่งทำเว็บไซต์ใหม่ๆ การเลือกใช้คีย์เวิร์ที่มีอัตราการแข่งขันสูงก็อาจจะสู้กับเว็บใหญ่ๆ ที่เปิดมานานและมีอันดับสูงได้ยาก ดังนั้นเราจงควรเลือกคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันไม่สูงมากแล้วค่อยๆ ไต่อันดับไปจะดีกว่า

ขั้นตอนที่ 2: การใส่ keywordให้ถูกตำแหน่ง

จริงๆ แล้ว การใส่ keyword ที่ดีนั้นควรจะแตกให้กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของบทความ แต่ต้องระวังไม่ให้มากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเราเป็นพวกสแปมคีย์เวิร์ดได้

ในส่วนของตำแหน่งที่เราแนะนำให้แทรกเข้าไปนั้นมีอยู่ 5 ส่วนด้วยกัน 

1. ชื่อบทความ

ส่วนแรกก็คือชื่อบทความ เพื่อเป็นการสื่อสารให้เข้าใจกันตั้งแต่ต้นว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไรอยู่

2. ลิงก์ของบทความ

ส่วนถัดมาก็คือชื่อลิงก์ของบทความ ตรงนี้จริงๆ ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ เพราะถ้า Keyword เป็นภาษาไทย เวลาเอาลิงก์ไปโพสต์ที่อื่น จะได้ลิงก์เป็นภาษาประหลาดๆ ยาวๆ แต่ถ้าใช้เป็นภาษาอังกฤษก็จะได้ตามที่เราตั้งเลย ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะใช้ภาษาอังกฤษกันมากกว่า

3. ย่อหน้าแรก

ส่วนที่3 คือในย่อหน้าแรก หรือใน 100 คำแรกของบทความ

4. หัวข้อต่างๆ 

ถัดมาคือส่วนคือตามหัวข้อต่างๆ แต่อันนี้ไม่ได้จำเป็นต้องใส่ทุกหัวข้อนะคะ ดูตามบริบทเอา อันไหนใส่แล้วเกี่ยวข้อง ไม่ฝืนก็โอเค

5. ชื่อภาพ และ Alt Text 

ส่วนสุดท้ายคือใส่ตรงชื่อภาพ และ Alt Text

ขั้นตอนที่ 3: ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด

จากที่แบมบอกไปเมื่อขั้นตอนที่แล้วว่านอกจากตำแหน่งต่างๆ เราควรจะต้องแทรก Keyword ให้กระจายอยู่ทั่วๆ บทความ ด้วย

ทั่วๆ ในที่นี้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1-2% ของความยาวบทความ ถ้าเราเขียนบทความยาว 1000 คำ ก็ควรจะมี keyword อยู่ในบทความสัก 20 คำ ประมาณนี้ เพราะว่าถ้าน้อยเกินไป Google อาจจะเข้าใจผิดว่าเรากำลังพูดเรื่องอื่นอยู่ก็ได้ แต่ถ้ามากเกินไแ Googel ก็จะมองว่าเรากำลังสแปมคีย์เวิร์ด ดังนั้น ปริมาณ 1-2% นั้นถือว่ากำลังดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป พอให้ Google เข้าใจว่าเรากำลังพูดถึงอะไรค่ะ

ขั้นตอนที่ 4: การวางโครงสร้างให้ชัด

การจะเขียนบทความ SEO นั้นจะต้องวางโครงสร้างให้ถูกต้อง เพราะการวางโครงสร้างของบทความนอกจากจะช่วยเรื่อง SEO แล้ว ยังช่วยให้เราจับประเด็นในการเขียน และเรียงลำดับความสำคัญได้ดีขึ้นด้วย

ต้องบอกก่อนว่าเรื่องนี้เหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ทำให้หลายคนตกม้าตายกันมาแล้ว 

โดยการวางโครงสร้างคอนเทนต์เราควรเริ่มตั้งแต่ H1 ซึ่งจะเป็นชื่อบทความ และมีได้แค่อันเดียวเท่านั้น

ส่วนหัวข้อย่อยก็จะใช้ H2 และ H3 ก็จะเป็นหัวข้อย่อยของ H2 อีกทีไล่ลงมาตามลำดับความสำคัญ ขนาดของหัวข้อก็จะลดหลั่นตามกันลงมาด้วยเหมือนกัน

ขั้นตอนที่ 5: จัดวางให้อ่านง่าย

สำหรับข้อนี้ แบมคิดว่าน่าจะเป็นเทคนิคที่ทุกคนเคยใช้กันอยู่แล้ว เพราะว่าสามารถใช้ได้ดีทั้งกับการเขียนบทความทั่วไป แล้วก็บทความ SEO เลย นั่นก็คือการทำคอนเทนต์ให้อ่านง่ายขึ้น ด้วยการ

ใช้ตัวหนา ตัวเอียง 

ช่วยดึงสายตาคนอ่านได้ เป็นการเน้นความสำคัญของคำนั้น ยิ่งถ้าคำที่เน้นเป็น Focus Keyword ก็จะยิ่งดี เพราะจะทำให้ตัว Search Engine มองว่าคำนี้สำคัญ

-การใส่ตัวเลข หรือ bullet 

การใส่ตัวเลข หรือ bullet ในหัวข้อย่อยๆ จะช่วยให้บทความดูอ่านง่าย และเป็นลำดับขั้นตอนมากขึ้น ถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่คนจะอ่านบทความจนจบมากขึ้นด้วยเหมือนกัน

-การแบ่งย่อหน้า

ถือเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้บทความอ่านง่ายขึ้น ใน 1 ย่อหน้า ควรมีแค่ 1 ใจความสำคัญเท่านั้น และไม่ควรยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้คนรู้สึกขี้เกียจอ่านได้ 

-สุดท้ายคือการ quote ประโยคสำคัญๆ 

การเน้นประโยคสำคัญ หรือประโยคเด็ดๆ นั้นจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับคนอ่าน โดยอาจจะใส่ไว้ตั้งแต่ตอนต้นบทความ หรือใส่ในช่วงกลางๆ ก็ได้

ขั้นตอนที่ 6: เพิ่มความน่าสนใจด้วยสื่อที่หลากหลาย

ขั้นตอนต่อมานั้นเป็นการเพิ่มความน่าสนใจด้วยการใส่สื่ออื่นๆ เข้าไปประกอบในบทความด้วย ลองนึกภาพดูว่าถ้าเปิดมามีแต่ Text ล้วนๆ เป็นปื้นเลยเราก็คงไม่ค่อยอยากอ่านเหมือนกันจริงไหมคะ เพราะฉะนั้นลองใส่พวก รูปภาพ VDO Infographic เพื่อให้คนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น และทำให้บทความมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย

ขั้นตอนที่ 7: ตั้งชื่อไฟล์ให้ครบ

เมื่อใส่รูปแล้ว ก็อย่าลืมตั้งชื่อไฟล์ กับ Alt Text หรืออคำอธิบายภาพที่จะอยู่ใน html code ของเว็บไซต์ด้วย ซึ่งคำอธิบายภาพที่ว่านี้จะไม่ได้ถูกแสดงในหน้าเว็บ บางคนเลยไม่ค่อยใส่ใจ จึงไม่ค่อยได้ใส่คำอธิบายภาพเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งนี้ถือเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการทำ SEO ด้วยเหมือนกัน

เราใส่ Internal iink เพื่อเชื่อมโยงลิงก์ภายในเว็บไซต์เดียวกัน การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้คนอยู่ในเว็บไซต์ของเรานานขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ Search Bot เห็นความสัมพันธ์และเข้าใจเว็บเรามากขึ้นด้วยว่าเว็บเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

ส่วน External link เป็นการลิงก์จากเว็บไซต์ของเราไปยังเว็บที่มีเยื้อหาที่เกี่ยวข้อง การทำแบบนี้จะทำให้ Google เห็นความสัมพันธ์ในแง่เนื้อหาระหว่างเว็บเรากับเว็บที่เราส่งไป ยิ่งเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ มี Domain Authority สูงๆ ก็จะทำให้เว็บเราดูน่าเชื่อถือขึ้นมาในสายตา Google  ด้วย

ขั้นตอนที่ 9: ปรับแต่ง Title Tag และ Meta Description

ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเขียนบทความทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมมาปรับแต่ง Title Tag กับ Meta Description ด้วย 

Title Tag เป็นข้อมูลที่บอกว่าบทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่มีผลต่อการตัดสินใจคลิกไม่น้อย เพราะมันจะช่วยให้คนที่หารู้ว่า สิ่งนี้ใช่สิ่งที่เขากำลังหาหรือไม่ เพราะฉะนั้นเทคนิคในการเขียนตรงส่วนนี้ควรประเป็นประโยคที่สามารถตอบคำถาม หรือดึงดูดความสนใจคนอ่านได้ โดยความยาวของ Title Tag จะอยู่ที่ประมาณ 65-70 ตัวอักษร รวมเว้นวรรค 

ส่วน Meta Description จะอยู่ตรงส่วนล่าง ใต้ Title Tag ส่วนใหญ่เราจะใช้พรีวิว หรือเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความสั้นๆ แต่ชัดเจนและได้ในความ โดยความยาวของส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 160 ตัวอักษร รวมเว้นวรรค

ซึ่งใน 2 ส่วนนี้ เราก็ควรแทรก Keyword เข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะทั้งสองส่วนนี้จะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาบทความเรามากขึ้นนั่นเอง

SEO Content ส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของเราอย่างไร 

บอกเลยว่าข้อดีมีหลายอย่างเลยค่ะ คือการทำ SEO Content จะช่วยเพิ่มปริมาณเพจวิว หรือคนที่จะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น ซึ่ง Google เองก็ชอบเว็บที่มีเพจวิวเยอะๆ ด้วยเหมือนกัน 

ยิ่งเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เป็นบทความที่ทำขึ้นเอง ไม่ก็อบเว็บอื่น ตรงกับสิ่งที่คนต้องการค้นหา แล้วก็มีการ optimized หรือปรับแต่งให้ google เข้าใจว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ก็จะยิ่งช่วยให้คอนเทนต์ของเราขึ้นหน้า 1 ได้ง่ายขึ้น 

นอกจากนี้เราก็ยังสามารถเอาบทความนี้ไปสร้าง Backlink โดยเอาไปโปรโมตตามช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้อีกด้วย

และทั้งหมดนี้ก็เป็น 9 ขั้นตอนที่แบมใช้ในการเขียน SEO Content นะคะ สำหรับใครที่กำลังลองเขียน  SEO Content อยู่ก็ลองเอาขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 9 ข้อนี้เก็บไว้เป็นเช็กลิสท์ แล้วไล่ดูไปทีละข้อว่าเราทำครบหรือไม่ รับรองว่าจะทำให้การเขียน SEO Content ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ SEO แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยค่ะ

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน