เทคนิคใช้ Email Marketing เพิ่ม ROI แบบ Growth Hacking ตอนที่ 2

เทคนิคใช้ Email Marketing เพิ่ม ROI แบบ Growth Hacking ตอนที่ 2

จากบทความที่แล้วอย่าง เทคนิคใช้ Email Marketing เพิ่ม ROI แบบ Growth Hacking ตอนที่ 1 บทความนี้จะมาแชร์เทคนิคให้ทุกคนได้อ่านกันต่อครับ

เทคนิคใช้อีเมล์แบบ Growth Hacking (2)

4.Gamification

หรือทุกคนสามารถเรียกอีกอย่างว่า Interactive Email ครับ โดยจุดประสงค์ของเทคนิคนี้ก็คือการทำให้เกิดการตอบโต้ในอีเมล์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ และสามารถโน้มน้าวให้ลูกค้าสนใจในแบรนด์ / สินค้ามากยิ่งขึ้นด้วย

ตรงนี้ให้ทุกคนลองนึกภาพเวลาเราเล่นกิจกรรมบน Social Media ที่เรา ๆ เคยเห็นกันก็ได้ครับ ที่หลายเพจ Official ชวนให้เราร่วมโต้ตอบหรือแลกเปลี่ยนความิดเห็นผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อลุ้นรับของรางวัลบางอย่าง หรือ อาจจะเป็นเรื่องของการกระตุ้นความสนใจจากสื่งที่แบรนด์กำลังจะปล่อยออกมาก็ได้

ซึ่งจริง ๆ แล้วในฝั่งของการทำ Email Marketing ก็ทำได้เหมือนกันครับ

โดยเราสามารถชักชวนให้ลูกค้าที่เห็นอีเมล์มามี Engagment ได้ผ่านข้อกำหนดบางอย่างเหมือนกับการเล่นกิจกรรมเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น

  • การให้สิทธิ์และเชิญชวนเข้าร่วมการจับฉลากเพื่อลุ้นรางวันพิเศษ ที่เรียกว่า Raffles
  • การเชิญชวนให้ร่วมทำแบบทดสอบเพื่อแลกกับโอกาสได้รับรางวัล
  • การสร้าง Mini Game และมอบของรางวัลให้กับผู้ชนะที่ทำคะแนนได้สูงสุด พร้อมแนบกระดาน Leaderboard เพื่อให้รู้ว่าคนที่มีคะแนนเยอะที่สุดตอนนี้คือใคร
  • การนับถอยหลังการปล่อยคอนเทนต์บางอย่างที่น่าจับตามอง และให้ลงทะเบียนเพื่อมีโอกาสได้รับสิทธิ์รู้เรื่องนั้นหรือสัมผัสสินค้าที่กำลังออกใหม่ก่อนใคร
Gamification Email Marketing in Growth Hacking
ภาพประกอบจาก OptiMonk.com

จริง ๆ ยังมีวิธีการยิบย่อยอีกมากจากเทคนิค Gamification แต่เบสคิดว่าหลัก ๆ แล้วทุกคนสามารถจำเรื่องของการวางกลไกและเงื่อนไขในการเข้าร่วมเอาไว้ก็ได้ครับ ให้ลองสมมตุิตัวเองอยู่เสมอว่า ถ้าเราเป็นคนได้รับอีเมล์นี้ กิจกรรมแบบไหนที่เราอยากเข้าร่วม ของรางวัลแบบไหนที่เราจะยอมแลกเวลาของเราเพื่อไปเล่นด้วย

จากสถิติในเชิงพฤติกรรมแล้ว คนที่เปิดเช็คอีเมล์ก็เหมือนผู้บริโภคทั่วไปที่สนใจที่จะรับในสิ่งที่อีเมล์ให้ประโยชน์มาอยู่แล้วเพียงแต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางอย่าง เลยทำให้เบสคิดว่าเทคนิคนี้จะ Effective มากที่สุด ขึ้นอยู่กับ 2 เงื่อนไขครับ

1.รางวัลนั้นน่าสนใจมากพอที่ลูกค้าจะเสียเวลาให้กับเรา และ/หรือ เงื่อนไขหรือขั้นตอนในการร่วมกิจกรรมจะต้องไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไปจนทำให้ลูกค้ารู้สึกขี้เกียจที่จะมาร่วมเล่นด้วย

2.แบรนด์ของเราจะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกน่าเชื่อถือมากพอ ตั้งแต่เนื้อหา ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร การจัดวางตัวหนังสือ การแนบ Digital Asset ทั้งหมดเพื่อยืนยันการมีตัวตนของแบรนด์ ไม่งั้นลูกค้าอาจจะคิดว่าอีเมล์ของเราเป็น Spam ไปก็ได้ครับ

5.Segmentation and Personalize

เทคนิคนี้จะพูดถึงเรื่องของการส่งอีเมล์แบบไปให้ถูกกลุ่ม และสื่อสารให้ถูกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายแบรนด์มักพลาดกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการหาลูกค้าใหม่ครับ

แค่ชื่อเทคนิคก็บอกอยู่แล้วว่าคือการ Segementation ดังนั้นในลำดับแรกเราควรจะรู้ก่อนครับว่า สำหรับแบรนด์ของเรา เราจะแบ่งลูกค้าของเราออกเป็นกลุ่มโดยใช้เกณฑ์อะไร และแบ่งออกได้เป็นกี่กลุ่ม อีกทั้งเรายังจะต้องรู้ด้วยว่าคนแต่ละกลุ่มที่เราแบ่งไปนั้นพวกเขามีความสนใจหรือพฤติกรรมอย่างไรบ้าง

นำไปสู่การที่เราจะเลือกสื่อสารแบบ Personalize ในแต่ละ Segement เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมและความต้องการของพวกเขามากที่สุดครับ ซึ่งการแบ่งในรูปแบบนี้ทุกคนสามารถนำหลักการของการทำ RFM มาใช้ก็ได้นะครับ (หากใครไม่รู้ว่า RFM คืออะไรสามารถเข้าไปอ่านในบทความที่พี่หนุ่ยเขียนไว้อย่างละเอียดได้เลย ที่นี่ ครับ)

ยกตัวอย่างเช่น

แบรนด์ของเรากำลังต้องการส่งอีเมล์ให้กับลูกค้าที่เพิ่งมาลงทะเบียนเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรา อีเมล์ที่เราควรส่งไปคือข้อมูลที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจสินค้าและบริการของเราได้ง่ายและกระชับที่สุด ไปจนถึงการให้สิทธิ์ส่วนลดพิเศษเฉพาะลูกค้าใหม่เพื่อปิดการขายให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์จากแบรนด์ให้ไวที่สุด

ทังนี้ก็เพื่อที่จะได้เปลี่ยนจากลูกค้าที่สนใจ เป็นลูกค้าที่เคยใช้สินค้ากับแบรนด์

หรือ ในกรณีที่พวกเขาเป็น ลูกค้าที่เคยใช้สินค้ากับแบรนด์แล้ว การส่งส่วนลดพิเศษเป็นรวม ๆ ทั่วไปก็อาจจะไม่ดีนักเพราจะทำให้ลูกค้าติดภาพว่าเราเป็นแบรนด์ที่ลดตลอดเวลาที่อาจทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของเราในราคาปกติได้

ดังนั้นสิ่งที่เราทำอาจเป็น การเสนอสินค้าที่น่าสนใจที่จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกันกับสินค้าและบริการของลูกค้าแล้วจะสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้อย่างดียิ่งขึ้นแทนก็ได้ครับ

นอกจากนี้เทคนิคนี้เรายังสามารถนำไปต่อยอดด้วยการทำ A/B Testing เพื่อทำการทดลองและทดสอบในการทำความเข้าใจลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพฤติกรรม ความสนใจในสินค้า ไปจนถึงความ Loyalty ในแบรนด์เลยก็สามารถทำได้ครับ

เพียงแค่เราเข้าใจว่าเรากำลังสื่อสารอยู่กับลูกค้ากลุ่มไหนเพื่อให้ไม่พลาดที่จะเก็บเป็นข้อมูลเอาไว้ก็พอครับ

RFM Model
RFM Model

6.Topic Cluster

เทคนิคนี้เป็นไปตามชื่อเลยครับ นั่นคือการเพิ่มประเด็น หรือ เพิ่ม Topic ที่ทำให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ที่จะตอบโต้ Email ของเรามากกว่าแค่ดู ที่อาจต้องอาศัยความเข้าใจในสินค้าและบริการของเราเอง การเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ ๆ รวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าของเราด้วยครับ ว่าพวกเขากำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่ในขณะนี้

เพื่อให้เราสามารถมอบให้กับลูกค้าของเราได้อย่างดี

โดยเราจะเน้นเรื่องของการสร้างประเด็นและให้ลูกค้าสนใจที่อยากจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากแบรนด์เรา ด้วยการทำให้ลูกค้าเข้าใจว่านี่คือเรื่องใหม่ หรือ ส่วนขยายที่ลูกค้าสามารถอ่านได้เพิ่มเติมหากสนใจ หรือ อยากที่จะรู้ตอนต่อไป จากเนื้อหาในอีเมล์ที่เราส่งให้

จนเลือกกด Hyperlink ที่เราวางไว้เพื่อไปยัง Landing page หรือ หน้าบทความที่เราเซ็ตไว้

Growth Hacking more topic
ภาพประกอบจาก growth-hackers.net

ยกตัวอย่างจากภาพด้านบนเลยครับ เราจะเห็นว่าโดยผิวเผินเป็นอีเมล์ที่แบรนด์ส่งมาขอบคุณที่ลูกค้าให้ความสนใจในแบรนด์และซื้อสินค้าจากทางแบรนด์

(จริง ๆ แล้วในบทความเอามาใส่เป็นตัวอย่างให้กับเทคนิคที่ 5 แต่ส่วนตัวเบสคิดว่าเอามาใช้กับเทคนิคที่ 6 จะเห็นภาพได้ชัดเจนมากกว่าครับ)

แต่ในส่วนล่างของอีเมล์ก็ได้มีการ Hint หรือ Raise ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับผิวพรรณ หรือ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจบางอย่างออกมาเป็น Bullet สั้น ๆ ที่ช่วยทำหน้าที่กระตุ้นให้คนที่สนใจในสินค้าหรือบริการของเรารู้สึกอยากกด Read More เพื่อเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

เบสคิดว่าจุดที่สำคัญที่สุดคือ การเขียนอีเมล์ให้น่าดึงดูดที่จะรู้ และการเขียนคอนเทนต์จากบทความหลักของเราให้มาอยู่ในรูปของการเกริ่นนำแบบสั้น ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ซึ่งใครที่เก่งเรื่องการเขียนคำ Copy ต่าง ๆ จะค่อนข้างได้เปรียบมากครับ

หรือหากข้อมูลที่อ่านต่อของเรามี Potential มากจริง ๆ ก็มีพลังพอที่จะทำให้คนคลิกแล้วเช่นกันครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Trend ใหม่ที่กำลังมา, เรื่องใหม่ที่ลูกค้าจะต้องเจอ หรือ รับมือ หรือ Insight เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ คนจะคลิกเยอะมากเป็นพิเศษเลยครับ

นอกจากนี้สำหรับใครที่กำลังทำ SEO ควบคู่ไปกับการทำ Email Marketing เบสมองว่าเทคนิคนี้ค่อนข้างเหมาะในการนำไปปรับใช้มากเลยครับ เพราะน่าจะเปรียบเหมือนการสร้าง Traffic ที่ดีให้กับหน้าบทความ SEO ของเราเพื่อเพิ่ม Performance ให้ดันบทความของเราขึ้นมาอันดับต้น ๆ ของ Search Engine ได้อีกด้วย

แล้วเราก็มาถึงข้อ 7. กันแล้วนะครับ โดยส่วนตัวเบสคิดว่า เทคนิคนี้อาจจะไม่ได้เป็นเทคนิคที่นำมาปรับใช้ในเชิงกลยุทธ์เชิงรุกสักเท่าไรแต่ก็เป็นเรื่องที่ช่วยให้การทำ Email Marketing ของคุณมีประสิทธิภาพมากครับ

7.Collect Engagement Data

ตามชื่อตรงตัวเลยก็คือการเก็บข้อมูล Engagement ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการที่เราทำ Email Marketing ไปหาลูกค้าของเราทุกคนครับ

โดยทั่วไปข้อมูลที่คนนิยมเก็บกันจะเป็นส่วนของ อัตราการเปิดอ่านอีเมล์ (Open rate%), จำนวนหรืออัตราการคลิกลิ้งค์ในอีเมล์ (Click tracking / Click rate%), อัตราการติดตามให้มีการส่งอีเมล์ หรือ อัตราการยกเลิกส่งอีเมล์ (Subscribe rate%, Unsubscribe rate%) และ อัตราการซื้อสินค้า/ลงทะเบียนต่าง ๆ (Conversion rate%)

ซึ่งจริง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและแบรนด์ของทุกคนแหละครับว่าเป็นแบบไหน อย่างไร และทุกคนอย่างรู้ข้อมูลในส่วนไหนบ้างที่จำเป็นที่จะต้องเอาไปใช้ต่อเพื่อการต่อยอดในการทำการตลาด ที่หากเรารู้ก่อนที่จะทำแคมเปญก็จะเป็นการดีที่หลังจบแคมเปญจะทำให้ข้อมูลที่เรามีรอบด้านมากขึ้นและไม่ตกหล่นในส่วนไหนไปครับ

โดยการทำ Email Marketing โดยปกติเราจะต้องทำผ่านเครื่องมือทางการตลาดอย่าง MarTech อยู่แล้ว ซึ่งในเบื้องต้นเบสแนะนำเป็น Mailchimp ก่อนก็ได้นะครับ ซึ่งในแพลตฟอร์มจะมี Stat ให้เราดูเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์แคมเปญของเราอยู่ด้วยเหมือนกัน

ทั้งนี้ก็เพื่อการวัดผลและวัดประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่เราได้ทำลงไปว่า Work หรือ ไม่ Work เพื่อที่จะเราจะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมของเราให้ดียิ่งขึ้นไปครับ

นอกจากนี้แล้วอย่าลืมแชร์วิธีการ เนื้อหาที่สื่อสาร สำหรับการทำ Email Marketing ที่ Work ให้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอหรือการขายสินค้า (เช่น Salesman) ด้วยนะครับ

การแชร์ข้อมูลกันภายในองค์กร เพื่อให้ทุก ๆ คนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ และวิธีการใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ทั้งองค์กรสามารถสร้างประโยชน์ให้กับแบรนด์ของเราได้อย่างมหาศาลเลยครับ

บทส่งท้าย

และทั้งหมดนี้ก็คือ 7 เทคนิคการทำ Email Marketing โดยการใช้วิธีคิดแบบ Growth Hacking มาปรับใช้ครับ

ส่วนตัวเบสไม่อยากให้ทุกคนยึดติดกับคำว่า Growth Hacking มากจนเกินไปนะครับ แต่อยากให้ทุกคนได้มีโอกาสทำความรู้จักและวางเอาไว้ในเรื่องของหลักการในการคิดในส่วนของการทำ Design Thinking หรือ Strategic Thinking มากกว่า ซึ่งหัวใจหลักก็คือการเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคจริงๆ มากกว่าการเข้าใจไปเอง

ซึ่งจริง ๆ ก็มี Elements อีกหลายอย่างที่น่าสนใจมาก ไว้มีโอกาสเบสจะมาเล่าให้ทุกคนได้อ่านกันอย่างละเอียดอีกทีนะครับ แล้วเจอกันบทความหน้านะครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบ : )

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับการตลาดวันละตอนได้ที่ คลิก

Ref.

Watcharapon Kittipodpong

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่