7 Guideline เริ่มทำ Content Live Streaming ให้ปัง ตกคนดูและเหมาะกับบริบทไทย

7 Guideline เริ่มทำ Content Live Streaming ให้ปัง ตกคนดูและเหมาะกับบริบทไทย

7 Guideline เริ่มทำ Content Live Streaming ให้ปัง ตกคนดูให้อยู่ทั้งไลฟ์  และเหมาะกับบริบทไทย

นักการตลาดทราบไหมคะว่าทุกวันนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบ 1 ใน 3 ใช้เวลาไปกับการดู Video Live Stream อย่างน้อยหนึ่ง 1 รายการต่ออาทิตย์ เท่ากับว่าเป็นอีกคอนเทนต์ที่ไม่ควรเทซะทีเดียว แค่ต้องลองทำตามไกด์ไลน์เพื่อปรับให้เข้ากับธุรกิจของนักการตลาดค่ะ

มีทั้งหมด 7 ข้อเป็นการเริ่มต้นแต่จะเห็นผลลัพย์บางอย่างแน่นอน มาเริ่มกันเลยค่ะ

1. รู้ว่าตอนนี้ Audience กำลังสนใจเรื่องอะไร

สำคัญที่สุดคือการเตรียมตัว โดยที่รู้ว่าตอนนี้อะไรคือเทรนด์ อะไรคือกระแส อะไรคือสิ่งที่คนอยากรู้ เปรียบกับการหาของมาขายที่เราต้องขายให้ตรงกับ Demand ตลาดใช่ไหมล่ะคะ กล่าวคือนักการตลาด คอนเทนต์ครีเอเตอร์จะต้องการเข้าถึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์และเข้าใจว่าผู้ชมต้องการอะไร และทำคอนเทนต์ตอบโจทย์สิ่งนั้นค่ะ

Tools ที่แนะนำให้นักการใช้เพื่อหาว่า Audience ของตัวเองกำลังอินหรือมีแนวโน้มสนใจอะไรอยู่

  1. Google Analytics: ถ้าเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ เริ่มต้นอยากให้ลองใช้หรือศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Analytics เครื่องมือนี้จะทำให้เห็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Audience เช่น demographics, พฤติกรรมการเข้าชม และสิ่งที่ผู้ชมสนใจในคอนเทนต์ เป็นต้นค่ะ
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับโซเชียลมีเดีย: หลายแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ชมกำลังสนใจอะไร และส่วนมาก ใช้ฟรีด้วยนะคะ ~ ตัวอย่างเช่น Twitter Analytics, Instagram Insights และ TikTok Analytics จะให้ข้อมูลเฉพาะแอคเคาท์ของนักการตลาด ยิ่งดีกับการวางแผนคอนเทนต์ในอนาคตมาก ๆ ค่ะ
  3. Social Listening: ใช้ได้ทั้งในแบบเชิงลึกถึง Insight จาก Social Data โดยมีคีย์เวิร์ดเป็นกุญแจหลัก และดูเทรนด์แบบเร็ว ๆ ผ่านบางฟีเจอร์เช่น Hashtag Cloud
  4. Google Trends: ใช้เครื่องมือ Google Trends เพื่อติดตามและวิเคราะห์คำเสิร์จที่กำลังได้รับความนิยมและความสนใจในช่วงนั้น หรือวิเคราะห์ย้อนหลัง
  5. ทำ Survey: สำรวจความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้ชม Audience เกี่ยวกับความพึงพอใจในคอนเทนต์ปัจจุบัน อยากให้ปรับยังไง แก้อะไร ควรเพิ่มตรงไหน
  6. การคุยกับ Audience โดยตรง: ไหน ๆ เราก็ไลฟ์อยู่แล้วก็ใช้ทางนี้แหละในการพูดคุยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการ Duet Live หรือ Live Chat

2. รูปแบบคอนเทนต์หลากหลาย ไม่จำเจ

พยายามทำให้มีความหลากหลายในคอนเทนต์ค่ะ เราอาจเป็นกูรูบิวตี้แต่มีกิจกรรมพักสมองอย่างเกมก็เปลี่ยนมาสตรีมเกม สตรีมทานอาหารพูดคุยบ้าง ขายของบ้างตามเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเราหลากหลายขึ้น หรืออาจจะบิดจากคอนเทนต์เดิม แต่เป็นรูปแบบเป็นการเล่าเรื่อง การสัมภาษณ์

หรืออาจจะลองเริ่มต้นอิงกับเทรนด์การไลฟ์สดที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อหาความหลากหลายให้ช่องของเรามากขึ้น หากมีแบบไหนที่เราถนัดก็ลุยเลยค่ะ

https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/live-streaming-trends-2023/

3. แจ้งก่อนไลฟ์ซักหน่อย หรือทำ Notice ล่วงหน้า

การตั้งไลฟ์ล่วงหน้า หรือทำภาพแจ้งเวลาให้ Follower เรารู้ว่าจะมาไลฟ์วันเวลานี้นะ นอกจากจะเรียก Attention ได้ล่วงหน้าแล้วยังถือการทำงานที่ effective ทั้งภายในองค์กรที่เป็นผู้จัดไลฟ์เอง และให้คนที่สนใจตั้งแจ้งเตือนไว้ล่วงหน้า เพราะวันนี้เราเดาในอัลกอริทึมไม่ค่อยได้เลยใช่ไหมล่ะคะ~

ภาพตัวอย่างการตั้งไลฟ์ล่วงหน้าบน​ Facebook Fanpage
ภาพตัวอย่าง คอนเทนต์แจ้งวันเวลาไลฟ์ล่วงหน้า

4. เนื้อหาความรู้ที่อินเทรนด์และใช้ได้จริง

เน้นความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงค่ะ แล้วคนจะไม่ออกจากไลฟ์คุณไปไหน แต่นุ่นไม่ได้หมายความว่าการไลฟ์สดในเชิงไลฟ์โค้ชไม่ดีนะคะ แค่อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคนค่ะ ลองเพิ่มเติม workshop หรือเนื้อหาที่นำไปปรับใช้ได้เองทันที ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่อินเทรนด์ เผลอแปปเดียวก็ดูจนจบไลฟ์โดยที่ไม่ได้คิดว่านั่งเรียนอยู่เลยค่ะ

นุ่นขอยกตัวอย่าง เลือกที่ใกล้ตัวไว้ก่อนอย่างรายการไลฟ์สด The Next Level ทุกวันพุธเวลา 3 ทุ่มตรง ที่เพจการตลาดวันละตอน ที่จะมีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงต่าง ๆ ในภาษาที่เข้าใจง่ายและมักเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายเพจอยากรู้ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมขาจรอีกด้วยค่ะ

5. ให้ผู้ชมสตรีมได้มีโอกาสมีส่วนร่วม

เรามาใช้จุดเด่นของไลฟ์สดที่เหนือกว่าคอนเทนต์รูปแบบอื่น ๆ ให้เป็นประโยชน์กันค่ะ นั้นคือการสร้างและรับรู้ Interaction ระหว่างเราและผู้ชมได้เรียลไทม์ที่สุด ดังนั้นก็ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและมีการโต้ตอบรับในคอนเทนต์จะดีที่สุดค่ะ ตัวอย่างเช่น การสร้างแบบสอบถามหรือการโหวตในรายการ การตอบคำถามของผู้ชม หรือการสร้างกิจกรรมและการแข่งขันระหว่างผู้ชม อ่านคอมเมนต์

ตัวอย่างให้เห็นภาพสั้น ๆ เป็นคลิปที่ตัดมาจากไลฟ์สด ของรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ที่มีช่อง Live Chat ให้ได้แสดงความคิดเห็นแบบสด ๆ คุณสรยุทธก็แวะเวียนอ่านเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอยู่บ่อยครั้ง ปรับเข้ากับพฤติกรรมหการเสพข่าวยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้เห็นฟีดแบ็ก พูดคุยกับผู้ชมแบบไม่ดีเลย์อีกด้วยนะคะ จากเดิมที่เรา SMS ต้องลุ้นว่าจะขึ้นจอไหม หรือถ้าผู้ประกาศข่าวอ่านก็คงผ่านไปหลายนาทีแล้ว

https://www.tiktok.com/@honeylunar888/video/7233064130448510213?_r=1&_t=8cUEFSqpgEE

6. สตรีมต้องชัด เสียงไม่ขาด ไม่สะดุดให้เสียอารมณ์

ทุกคนรู้สึกหงุดหงิดไหมคะ ถ้าเจอไลฟ์ที่ภาพไม่ค่อยชัด ในสถานการณ์ที่เรามั่นใจว่าไม่ได้มีปัญหาที่อินเทอเน็ตของเราแน่นอน เดี๋ยวนี้ความอดทนของคนเราต่ำลง สมาธิสั้นขึ้น ด้วยรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่นิยมมาก จนทำให้หลายคนมีสมาธิสั้นลงแบบไม่รู้ตัวนั่นเองค่ะ

แม้เริ่มต้นจะยังไม่มีกล้อง HDR หรือสตูจัดไฟแบบเต็มสูบเราเริ่มจากให้สัญญาณเน็ตไม่สะดุดแน่ ๆ ก่อนก็ได้ค่ะ และใช้ฟีเจอร์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มช่วยทำให้มีภาพออกมาดูดี ตกลูกค้าด้วยคอนเทนต์หลังจากมีงบก็นำมาพัฒนาส่วนอื่น ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น

7. เข้าใจวิธีการไลฟ์ และฟีเจอร์ไลฟ์พื้นฐาน

นุ่นย่อส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการไลฟ์บนแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่ต้องทราบพื้นฐาน เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความแตกต่างในวิธีการสตรีมและฟีเจอร์ที่มีให้บริการสำหรับการสตรีม ทั้งนี้ควรอัปเดตข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้ง ณ เวลาที่นักการตลาดเริ่มใช้นะคะ

  1. Facebook Live:
    • สตรีมไลฟ์บนโพสต์, หน้าแฟนเพจ, หรือกลุ่ม
    • ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นบนคอมเมนต์แบบเรียลไทม์ กดไลก์ เลิฟ โกรธ หัวเราะ
    • มีฟีเจอร์ Crossposting เพื่อสตรีมลงในหลายหน้าแฟนเพจพร้อมกัน
    • เราสามารถกลับมาดูวิดีโอ Live Record ทั้งหมดได้หลังสตรีมสิ้นสุด
  2. Instagram Live:
    • สตรีมไลฟ์ได้ผ่าน Instagram Stories และถูกลบหลังจบสตรีม
    • สามารถส่งข้อความและแสดงความคิดเห็นผ่านคอมเมนต์แบบเรียลไทม์
    • สามารถเชิญคนอื่นเข้าร่วมในไลฟ์เราได้
    • สตรีมสามารถบันทึกเป็นวิดีโอ Reel ได้
  3. YouTube Live:
    • สตรีมไลฟ์บนช่อง YouTube และสามารถเรียกดูย้อนหลังได้
    • จะกำหนดเป็นสตรีมสาธารณะหรือสตรีมส่วนตัวก็ได้
    • ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นและส่งข้อความในคอมเมนต์แบบเรียลไทม์
    • มีฟีเจอร์ Super Chat ที่ช่วยสนับสนุนผู้สตรีมด้วยการโดเนทเงินระหว่างมีสตรีม
  4. Twitter Live (Twitter Spaces):
    • สตรีมเสียงสดใน Twitter ผ่านฟีเจอร์ Twitter Spaces
    • ผู้ฟังสามารถเข้าร่วมการสนทนาและแสดงความคิดเห็นผ่านข้อความหรือเสียง
    • สามารถเชิญแอคเคาท์อื่นให้เข้าร่วมในสตรีมและเป็นส่วนของการสนทนาได้
    • มีสปีคเกอร์ได้จำกัด โฮสต์จะเป็นผู้รับ-ส่งไมค์ แต่ไม่จำกัดจำนวนผู้ฟัง แบบปัง ๆ แต่ไม่รู้ว่าผู้บริหารจะหาเรื่องเก็บค่าบริการเร็ว ๆ นี้หรือไม่
    • (ติ่งเกาหลีชอบใช้ไว้เม้ามอย แจ้งข่าวสาร นัดรวมสตรีม หรือด่ากัน)
  5. TikTok Live:
    • ใส่ตระกร้าได้หากอยู่ในเงื่อนไข
    • ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นและส่งข้อความในช่องคอมเมนต์แบบเรียลไทม์
    • มีฟีเจอร์การให้ของขวัญ (gifts) ซึ่งผู้ชมสามารถสนับสนุนผู้สตรีมได้
    • มีการอัปเดตค่อนข้างบ่อย เช็กบนเว็บไซต์ของ TikTok ได้โดยตรงค่ะ
  6. Twitch Live:
    • Twitch มีฟีเจอร์ที่ถูกใจทั้งคนสตรีมและคนดูสตรีมเยอะเลย เช่น Bits ที่ให้ผู้ชมสามารถสนับสนุนโดยการส่งของขวัญในระหว่างสตรีม
    • ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นและส่งข้อความในแชทของ Twitch
    • สามารถสตรีมเกมหรือคอนเทนต์อื่นๆ ที่คุณต้องการผ่านซอฟต์แวร์การสตรีม เช่น OBS Studio, Streamlabs OBS หรือ XSplit แต่ก็ถือว่าสะดวกกับเกมเมอร์มาก ๆ ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด

ปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะ

ทั้งหมดนี้คือ 7 Guideline เริ่มทำ Content Live Streaming ให้ปัง ตกคนดูให้อยู่ทั้งไลฟ์ เหมาะกับ Beginning ค่ะ และถ้าหากเริ่มมาซักพักแล้ว อย่าลืมนำ Stat จากไลฟ์ก่อน ๆ มากางข้อมูลแล้ววิเคราะห์ถึงแนวทางคอนเทนต์ในอนาคตว่าควรจะเน้นไปทางไหน หัวข้ออะไรที่กลุ่มเป้าหมายของเราให้ความสนใจเป็นพิเศษบ้าง และเรียงลำดับ จัดหมวดหมู่เอาไว้ค่ะ

สำหรับนุ่นคิดว่าสำคัญหมดทั้ง 7 ข้อและไม่ยากเกินไป ให้นักการตลาดเลือกเฉพาะแพลตฟอร์มที่จะใช้ขึ้นมาก่อนก็ได้เช่นกันนะคะ และหากมีความเห็นอยากแชร์ สามารถคอมเมนต์เข้ามาเพิ่มเติมได้เลยค่ะ นุ่นรออ่านน้า~

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน