5 จิตวิทยาการตลาด ที่จะช่วยเพิ่ม Awareness และ Brand Trust

5 จิตวิทยาการตลาด ที่จะช่วยเพิ่ม Awareness และ Brand Trust

หลายครั้งในช่วงนึงของจังหวะชีวิต มันต้องมีบ้างแหละที่เราคิดว่า ‘ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ต้องได้ด้วยกล’ วันนี้เพลินจะมาแชร์ 5 จิตวิทยาการตลาด ที่จะสามารถช่วยเพิ่ม Brand Awareness และ Brand Trust ได้ ตั้งแต่ชั่วขณะแรกที่ลูกค้าเห็น Content หรือโฆษณาของเราผ่านช่องทางต่างๆ เลยค่ะ 

เพลินเชื่อว่าหลายๆ คนเคยเป็น เวลาไถ Feed ไปเรื่อย แล้วสะดุดที่ภาพสวยหรือโฆษณาอะไรที่มันดึงดูด บางทีเราติดตามคนที่เราชอบ แล้วเราเห็นเค้าใช้พอไร ปากก็อาจจะบ่นว่า ‘โหย โฆษณาอีกแล้ว’ แต่พอไปเดินช้อปปิ้งหรือ Online Shopping อยู่คนเดียวแล้วเจอ Ads สินค้านั้นเด้งมา ใจก็จะเริ่มคิดลังเลแล้วว่าา ‘ว่าจะซื้อดีไหม’ เพราะใช้แล้วจะได้เหมือน Lisa BLACKPINK หรืออินฟลูคนอื่น ถือใช้ไม่อายใคร แบรนด์ดูดี อินฟลูดังๆ ใช้กัน เป็นต้นค่ะ

และถ้าคุณเป็นนักการตลาดด้วย อย่าลืมความรู้สึกลังเลเหล่านั้นแล้วนำมาปรับใช้กับร้านหรือแบรนด์ของเราเองกันบ้างค่ะ วันนี้ Psychological Factors มีทั้งหมด 5 อย่างที่เราแตกย่อยออกมาให้แล้วว่าเพราะอะไรเราถึงมั่นใจในแบรนด์ใหม่แบรนด์นี้ แต่ไม่ใช่กับอีกแบรนด์นึง แล้วทำไมเราถึงยอมดูโฆษณาตัวนี้จนจบ แต่กด Exit หรือ Skip ทันทีหลัง 5 วิกับโฆษณาอีกอัน ไปเริ่มกันที่ Factor แรกเลยค่ะ

1. สี

อย่างที่เราหลายคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่า สมองคนนั้นจำเรื่องภาพและสีได้ง่าย Fun facts ก็คือ สมองของคนเราตัดสินสินค้าหรือแบรนด์ผ่านสีแบบไม่รู้ตัวสูงถึง 90% และนักช้อปกว่า 85% เลือกซื้อสินค้าตามโทนสีสวยงามตรงใจค่ะ

ดังนั้นการเลือกสีที่สวย เข้ากัน ซึ่งอาจจะเป็นโทนสีตาม Corporate Image หรือ CI ก็ได้ เพียงแต่แค่ทำ Visual ทั้งหมดให้เข้ากันจนอดใจหยุดดูหน่อยไม่ได้ค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่าสีนั้นส่งผลโดยตรงต่อ Perception ที่ลูกค้าจะมองมาที่แบรนด์ของเรา ถ้าเราใช้สีโทน CI แล้วมันดูแก่ ก็ลองปรับให้เป็นโทนที่เบาขึ้น อย่างสีเดียวกันในโทนพาสเทล แล้วแซมลงไปแค่โลโก้ที่เป็นสีหลัก แค่นี้ก็จะเปลี่ยน Mood โดยรวมได้แล้ว

ทริคของการเลือกใช้สีก็คือ นอกจากสี CI ตามแบรนด์หรือโทนที่เราคุมมาตลอดแล้วนั้น อาจจะลองมองโทนสีใกล้เคียงเพิ่ม เหมือน CI เป็น Primary Palette แล้วมีสีสำรอง ที่สามารถสื่อและบอกตัวตน (Personality) ของแบรนด์ได้เพิ่มเป็น Secondary Palette เข้าไปในการทำภาพการสื่อสารอื่นๆ นั่นเองค่ะ

[Check เทรนด์สีปี 2021 จากเว็บ Shutterstock ที่ใช้ AI วัดผลมาแล้วว่าฮิต]

2. Social Influence หรือ Social Proof

อย่า Under estimate พลังโซเชียลเด็ดขาดค่ะ เราอาจจะลองถามตัวเองดูก็ได้ว่า เราเคยตัดสินใจซื้อของและบริการต่างๆ ตามโซเชียลไปแล้วเท่าไร ไหนจะจังหวัดที่ต้องไป เพราะทำไมช่วงนี้คนแห่กันไปบ่อยจัง เห็นขึ้น Feed แบบถี่ๆ แล้วโรงแรมสุดฮิตที่ทุกคนต้องไปเมื่อไปเกาะสมุยหรือหัวหินอีก กระเป๋าแบบนี้ที่ทุกคนหิ้วกัน หรือคำพูดอย่าง ‘ใครๆ ก็มากินที่นี่’ ‘เค้าบอกอร่อยกัน’ ก็สื่อได้แล้วว่าสมองของเราโดนพลังโซเชียลเล่นงานไปเต็มๆ ค่ะ

ดังนั้นการที่เราใช้เครื่องมือ Social ในการสื่อสาร จึงจำเป็นที่จะต้องทำมันอย่างต่อเนื่องและ Consistent แบบนั้นอยู่ตลอด พยายามอย่าขาด อย่าหาย เพราะในจังหวะที่คุณหายไป Algorithm ของโซเชียลก็จะเล่นงานเราด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การโพสต์แบบ Consistent เป็นประจำยังจะช่วยเสริม Credibility ให้แบรนด์ของเราด้วย เมื่อคนเข้ามาเพจหรือบัญชีของเรา แล้วเจอว่า Last Post ของเราคือเมื่อเดือนที่แล้ว คนอาจคิดว่าแบรนด์เราได้รับผลกระทบจาก COVID19 ไปแล้วหรือเปล่า เป็นต้นค่ะ

อีกเรื่องของพลังโซเชียลคือการใช้ Influencer-Driven เพราะ Fun Facts ก็คือนักช้อป 81% เลือกซื้อของใช้และบริการต่างๆ จากการเห็นว่าเพื่อนหรือคนที่ทำงานเค้าลงภาพเหล่านั้นบน Social เลยทำบ้าง แบบมันเป็นไปเอง ตามคาเฟ่ ไปบ้างเป็นต้น และ 71% มีแนวโน้มที่จะซื้อของเมื่อเพื่อนหรือคนรู้จักแนะนำมาให้ซื้อนั่นเองค่ะ ดังนั้นใครที่ยังไม่เคยลงทุนกับรีวิว Micro/Nano ลองพิจารณาดูได้นะคะ

3. ความโปร่งใส

แน่นอนว่าความโปร่งใสย่อมมาคู่กับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว แต่หน้าที่ของเราก็คือ ต้องทำให้ลูกค้ารับรู้ด้วยว่า เราโปร่งใสและสื่อสัตย์ต่อเค้า มีรายละเอียดอะไรก็บอกหมด ไม่หมกเม็ดค่ะ อย่างเพลินเองขายเสื้อผ้า Plus Size เพลินก็จะกะขนาดที่ใส่แล้วสวยให้ มากกว่าการที่ว่าจริงๆ แล้วเสื้อผ้าของเพลินใส่ได้ถึงอกเท่าไร เช่นเสื้อแบรนด์ของเพลินหน้าอก Max อยู่ที่ 46 นิ้ว เพลินก็จะบอกว่าเสื้อตัวนี้ใส่ได้ถึงอก 45 นิ้ว เพื่อให้ลูกค้าใส่ได้แบบสบายๆ ไม่ต้องตึงมากนั่นเองค่ะ

จิตวิทยาการตลาด

อีกเรื่องนึงก็คือความเสมอต้น เสมอปลาย และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าผ่านคุณภาพ ราคาและอื่นๆ อยู่ตลอด ทั้งหมดนี้ก็ช่วยเพิ่มความโปร่งใสได้ด้วย ลองดูนะคะ

4. Visual Storytelling

หลังจากที่เราได้ยินเรื่องของ Storytelling ไปเยอะมาก คำถามต่อมาคือเราได้จับมันมาลงมือทำแบบใน Practical แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มจากไหน เพลินแนะนำเลยว่าให้เริ่มจาก Story ของลูกค้าที่เป็น Potential Target ของเราว่าเค้ามีชีวิตยังไง Lifestyle แบบไหนบ้าง รวมไปถึงภาพลักษณ์ทางสังคมที่พวกเค้าอยู่ด้วย เพราะภาพที่สื่อออกไป จะ Reflect สไตล์และตัวตนของพวกเค้า แต่อย่าลืมว่าฐานะจริงๆ กับความต้องการจะเป็นไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องของ Emotion อย่างการที่พนักงานออฟฟิศมีไฮโซหรือชมพู่ อารยาเป็นไอดอลจึงเป็นอีกหนึ่ง Factor สำคัญในการคำนึงถึงค่ะ

จิตวิทยาการตลาด

Fun Facts ก็คือผู้คนจะจำภาพที่พวกเค้าเห็นและตรงกับพวกเขาได้สูงถึง 80% ดังนั้นอย่าลืมคำนึงถึง Visual Storytelling ว่าพวกเค้าใช้ชีวิตแบบไหน ไลฟ์สไตล์ยังไงด้วยนะคะ

5. Experience ที่ดี

อย่างที่เพลินบอกไปว่า การสร้าง Experience ย่อมทำให้คนจำแบรนด์ของเราได้ ไม่ว่าจะด้วยภาพลักษณ์ที่ดี คุณภาพ ราคา Content บนโซเชียลและประสบการณ์จากทุก Touchpoints ที่พวกเค้ามี Interaction กับแบรนด์ ดังนั้นการรักษามาตรฐานทุกอย่างเอาไว้ให้มั่นคงย่อมเป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่เวลาที่เราโพสต์เนื้อหาเป็นประจำไปจนถึงความโปร่งใสที่แบรนด์ของเรามีให้กับเค้าค่ะ

จิตวิทยาการตลาด

Fun Facts ก็คือ ลูกค้ากว่า 86% ยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น หากพวกเค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น และเทรนด์ใน 2020 พบว่า ราคาเป็นเรื่องรองไปเลย ถ้าสิ่งที่ได้กลับมามันคุ้ม รู้สึกดีจนไม่สามารถประเมินออกมาเป็นราคาได้นั่นเองค่ะ

จะเห็นได้ว่า 5 จิตวิทยาการตลาด ที่เพลินสรุปมาให้นั้น เป็นเรื่องง่ายที่อาศัยความจริงใจและความต่อเนื่องสม่ำเสมอเข้ามาช่วย ใครที่ยังไม่เคยลองเลือกโทนสีที่บ่งบอก Personality แล้วใช้แต่สีแบรนด์ อย่าลืมลองเปลี่ยนดูบ้าง ใครที่ยังไม่เคยใช้ Influencer ลองลงทุนในส่วนนี้เพิ่ม เพราะ Social Proof พิสูจน์ได้แล้วจากตัวคุณเองที่เคยไปปตามคาเฟ่หลังจากดูโพสต์ไอจีสตอรี่ของคนอื่นๆ และที่สำคัญคือ Transparency และ Consistency ทำมันให้สม่ำเสมอ รักษามาตรฐาน จริงใจ แค่นี้ก็จะช่วยเพิ่ม Awareness และ Brand Trust ได้แล้วค่ะ

ใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยกกับการสร้าง Brand Trust เพิ่มคลิก

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *