เปิดลิสต์ 4 Marketing Strategy ที่ช่วยให้แบรนด์ปรับตัวได้เร็วก่อนใครในปี 2021

เปิดลิสต์ 4 Marketing Strategy ที่ช่วยให้แบรนด์ปรับตัวได้เร็วก่อนใครในปี 2021

นักการตลาดหลายคนอาจจะใช้เทคนิคหรือ Marketing Strategy 2021 แตกต่างกันไปตามลักษณะของแบรนด์ และปีที่ผ่านมาก็คงได้ปรับตัวกันอยู่ไม่น้อย วันนี้เราจะไม่ได้พูดถึงกลยุทธ์การตลาดตามตำรามากนัก แต่นุ่นจะขอแชร์แบบฉบับที่ปรับใช้ได้ทันที ได้ผลดีไม่แพ้กลยุทธ์อื่นๆ

ด้วยสถานการณ์และข้อจำกัดปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ลูกค้าที่ต้องปรับแพลนชีวิต แต่แบรนด์เองก็ต้องปรับตัวเองให้ถูกทางแบบที่ว่า update กันรายวัน รายอาทิตย์ก็แทบจะไม่ทัน เพราะฉะนั้นนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจควรสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า และคนในองค์กรเองด้วย ลองมาศึกษา Marketing Strategy 2021 เหล่านี้ดูร่วมกันนะคะ นุ่นเชื่อความการทำงานในองค์กร และรีพอร์ตปลายปีจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นไม่มากก็น้อยแน่นอนค่ะ  

Strategy 1: Understanding the Customer 

Cassandra Nordlund จาก Gartner ที่ปรึกษาบริหารด้าน Customer Experience ได้กล่าวว่าความเข้าใจของลูกค้า หรือรู้จักลูกค้าของเรานั้น สามารถพาแบรนด์ไปสู่การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า พัฒนาแพลน CRM ได้เป็นทอดๆโดยยึดความเป็นจริงจากคนซื้อค่ะ

ว่าง่ายๆ คือถ้าอยากทำ hyper-personalized experiences ให้ดีและเหนือกว่าคู่แข่ง นักการตลาดต้องมีความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าและพฤติกรรม “อย่างแท้จริง ไม่ใช่มโนไปเอง”

นุ่นขอนำเอาตัวอย่างแบรนด์นึงมาแชร์ให้ฟังเพิ่มเติม จากเว็บไซต์ creativetalklive.com ที่ได้สรุปเอาไว้แบบเข้าใจง่ายมากๆ ในกรณีศึกษาจาก Amazon แบรนด์ e-commerce ระดับโลกที่หลายคนรู้จักดีค่ะ

www.supplychain247.com

แบรนด์เลือกที่จะเข้าใจลูกค้าผ่านการเก็บ Data มาทั้งหมดจากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค วิธีคือเข้าไปดูประวัติการซื้อย้อนหลังของลูกค้า รวมถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น ราคา กลุ่มสินค้า ประวัติการเสิร์ช จนคลอดออกมาเป็นแคมเปญสุด Hyper Personalization 

คือ Amazon ส่งอีเมลที่ตรงใจลูกค้าคนนั้นๆ ตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง อีเมลเด้งมาตามช่วงเวลาที่เราเคยเข้าไปซื้อของซะด้วย feeling เหมือนมี BA ประจำตัวคอยโทรหาเราเวลามีสินค้ากลุ่มที่เราชอบมีคอลเลคชั่นใหม่เลยค่ะ ไม่ใช่แค่บอร์ดแคสอีเมลหา แนะนำโปรแบบรวมๆ ไปให้แล้ว และนี่คือประโยชน์ วิธีต่อยอดเมื่อเราใช้กลยุทธ์ Understanding the Customer ค่ะ

Strategy 2: Adaptive Planning

ข้อมูลจาก umapupphachai.medium.com ได้อธิบายกลยุทธ์นี้ไว้ค่ะ โดยสรุปแล้วการสร้าง adaptive capacity หรือความสามารถในการปรับตัวเนี่ย ปัจจัยพื้นฐานสำคัญสุดหนีไม่พ้นการ learning by doing จะแบรนด์เล็กหรือใหญ่ คงต้องหาเวลาให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อนประสิทธิภาพในระยะยาวนะคะ

ยกตัวอย่างการเปิดโอกาสให้บุคลากรในบริษัทของคุณเองได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ทั้งของตนเองและมุมมองใหม่ๆ จากคนอื่น หรืออาจจะข้ามไปแผนกอื่น เรียกว่าได้ learning and sharing ไปในตัว เพื่อความรู้ความเข้าใจว่างานแบบไหนที่สร้างความสมูท งานแบบไหนที่สร้างความลำบากให้คนอื่น กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มประสบการณ์ในการจัดการ crisis ที่เกิดขึ้น

ซึ่งนับเป็นปัจจัยนึงที่สำคัญ ที่จะทำให้ adaptive planning ประสบความสำเร็จได้

นอกจากวิธีข้างต้นแล้วเจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดอาจจะเลือกการเข้าคาร์ส workshop จากผู้มีประสบการณ์เพื่อนร่นระยะเวลา เพราะไม่ใช่ทุกแบรนด์จะมีเวลามาลองผิดลองถูกเพื่อได้แพลนที่ถูกต้อง แต่ต้องบอกก่อนว่าไม่มีตัวอย่างไหน หรือแพลนไหนของเจ้าอื่น จะเข้ากันได้ดี 100% แน่นอน adaptive planning จึงยังต้องมีส่วนที่พัฒนาจากสถานการณ์ของตัวแบรนด์เองเป็นสำคัญที่สุดนะคะ 

Strategy 3: Data-Driven Decisioning

Data-Driven เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราพูดกันบ่อยมากๆ กลยุทธ์การใช้ Data มาช่วยตัดสินใจเป็นสิ่งที่หลายแบรนด์ทั่วโลกเริ่มแล้วหลายปี และไม่อยากให้แบรนด์เล็กกลัวการทำ Data เลยค่ะ ยิ่งแบรนด์เล็กยิ่งทำให้สนุกขึ้น ข้อมูลมีอยู่รอบตัวรอบด้าน หยิบมากาง ณ ที่ประชุมว่าผลมันออกมาแบบนี้ ลดเวลาเถียงกันไปได้ตั้งเท่าไหร่ มีเวลาเหลือซื้อชานมไข่มุกมากินระหว่างสร้างสรรค์งานได้อีกเหลือเฟือค่ะ

Strategy 4: Strategic Cost Optimization

การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณและแผนทรัพยากรเพื่อ “ปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับมูลค่าทางธุรกิจ”

ไม่ต้องมองไปไหนไกลเลยค่ะ เอาแบบไม่ต้องคิดมาก ในมุมเจ้าของแบรนด์ กลยุทธ์นี้เริ่มทำได้ง่ายๆ จากทรัพยากรภายใน ลงทุนซื้อความรู้พนักงานทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างน้อยให้ทิศทางเดียวกัน ติดอาวุธให้เค้า แล้วเค้าจะมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะตามมา เหมือนมีเครื่องจักรเกรด A ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างจากเครื่องจักรที่ไม่ถูกสเปคกับงานอยู่แล้วค่ะ

นี่เป็นเพียงเบื้องต้นของการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณและแผนทรัพยากรเท่านั้น แต่ละแบรนด์คงมีวิธีการและเป้าหมาย แนวทางการลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง ไม่มีใครมาอินกับแบรนด์เท่าตัวเราหรอกค่ะ หวังว่านี่จะช่วยให้เห็นอะไรบางอย่างได้ชัดขึ้นเพื่อช่วยให้แบรนด์ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่มากก็น้อยนะคะ 

4 Marketing Strategy ที่นุ่นนำมาแชร์ในวันนี้เป็นเพียงตัวช่วยนึงที่ทำให้แบรนด์สามารถปรับตัวได้ก่อนใคร ยังไม่รวมถึงกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อเสริมสินค้าและบริการของแบรนด์ให้ดีไปพร้อมๆ กัน จะมามัวนั่งมองคู่แข่งอย่างเดียวไม่ได้แล้ว มอนิเตอร์ไปวันๆ copy ไปวันๆ เราก็เป็นได้แค่เบอร์สองตามก้นเขา ในเมื่อเราสามารถเป็น original ได้ก็ลุยเลยค่ะ 

Twitter : @EverydayMKT https://twitter.com/EverydayMKT  
Blockdit : การตลาดวันละตอน http://bit.ly/EveryDayMarketingBlockdit

Source:  https://modernmarketingtoday.com creativetalklive.com umapupphachai.medium.com

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน