3 ข้อควรระวังที่นักการตลาดต้องรู้ ก่อนเริ่มทำ NFT Marketing

3 ข้อควรระวังที่นักการตลาดต้องรู้ ก่อนเริ่มทำ NFT Marketing

เหรียญมีสองด้านฉันใด NFT ที่ดูดีก็มีสองด้านฉันนั้น บทความนี้จะพาเพื่อนๆ นักการตลาดในการตลาดวันละตอนได้รู้จักแง่มุมที่ควรระวังและกลโกงต่างๆ ก่อนจะเริ่มต้นทำการตลาดด้วย NFT Marketing ให้ได้มากกว่าเสียครับ

กลโกงและข้อควรระวังก่อนเริ่มทำ NFT Marketing ข้อที่ 1 – คนส่วนมากติดดอย คนส่วนน้อยกำไร และโกงซึ่งหน้าแต่จับมาลงโทษไม่ได้

แน่นอนว่าอะไรที่เป็นกระแสร้อนแรง ก็ย่อมดึงดูดทั้งคนดีและคนไม่ดีเข้ามา ลองมาดูตัวอย่างกลโกงที่เกิดขึ้นในโลก NFT กันดีกว่าครับ เพื่อที่เราจะได้ลงทุนอย่างรู้เท่าทันด้วยความระวังและเข้าใจ

เพราะถ้าเวลามีใครบอกว่าสิ่งนั้นดีมากจนรู้สึกเหมือนว่า Too Good To Be True หรือที่แปลเป็นไทยฟังดูดีเกินไป ขอให้คุณลองคิดใหม่ดูอีกด้านว่า คนที่บอกว่า NFT ดีอย่างโน้นอย่างนี้นั้นได้ประโยชน์จากการที่มีคนเข้าไปลงทุนใน NFT หรือเปล่า?

ถ้าใช่คุณจะได้ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเขาถึงเชียร์ NFT มากมาย แต่ถ้าไม่ได้ประโยชน์อะไรก็ต้องลองพิจารณาเพิ่มเติมว่า จริงๆ แล้วเขามีความเข้าใจจริงๆ หรือแค่ฟังจากกูรูผู้ได้ประโยชน์พูดมาจนต้องพูดตามเพราะไม่อยากเอาท์กระแสนั้น

เพราะมีรายงานว่าการซื้อขายผลงาน NFT ส่วนใหญ่กว่า 90% นั้นเกิดขึ้นจากนักลงทุนหรือคนที่ซื้อขาย NFT จริงๆ แค่ 10% เท่านั้น

มีรายงานว่าในระหว่างปี 2021 มีผลงาน NFT เปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของไปมากกว่า 3 ล้านครั้ง แต่ก็เป็นการสลับหมุนเวียนซื้อขายไปมาในกลุ่มคนที่มีจำนวน 360,000 คนเท่านั้นเอง

ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ถือครองเหรียญคริปโทในปีก่อน ที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าสามร้อยล้านคน ถ้านับเป็นเปอร์เซนต์ก็แค่ 0.12% เท่านั้นเองครับ

จนถึงขึ้นมีนักวิจารณ์บางคนออกมาบอกว่า NFT ก็ไม่ต่างจากแชร์ลูกโซ่หลอกลวงดีๆ นั่นแหละ ศินปินบางคนถึงกับเอ่ยปากว่า NFT มันดีตรงที่เราสามารถสร้างอะไรขึ้นไปก็ได้ แล้วเราก็ทำให้มันพิเศษด้วยสร้างความจำกัดแบบปลอมๆ บน Blockchain ขึ้นมาได้ และก็ดูเหมือนคนมากมายจะเชื่อในสิ่งนั้น ถ้าที่ในความเป็นจริงแล้วตัวศิลปินผู้สร้างอาจจะทำอะไรเพิ่มเติมอีกแค่เล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็ปล่อยเป็นคอลเลคชั่นใหม่ออกมา หรืออาจจะหักลำเปลี่ยนคำพูดทำซ้ำคอลเลคชั่นเดิมเพราะหวังผลประโยชน์มากขึ้นครับ

ซึ่งความน่าแปลกใจคือมีคนมากมายเชื่อในความจำกัดแบบปลอมๆ นั้นขึ้นมาด้วย ผิดกับงานศิลปะแบบเดิมที่การจะสร้างผลงานสักชิ้นต้องใช้ความพยายามขึ้นมาอย่างมหาศาล จากนั้นก็อาจจะทุบทำลายแป้นพิมพ์ หรือแบบจริงๆ เพื่อไม่ให้สามารถทำซ้ำแบบเดิมขึ้นมาได้อีกจริงๆ ครับ

และนั่นก็ก่อให้เกิดการปั่นกระแสมากมายจนทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยกาวเข้ามา ที่ขายต่อได้กำไรก็ดี แต่ก็มีไม่น้อยที่ขายต่อไม่ออกแล้วก็ดอยยาวไปเยอะมากในต่างประเทศ

ส่วนคนที่ไม่อินกับเรื่อง NFT ก็บอกในเชิงดูแคลนว่า ยังไงเสียผลงาน NFT ก็สามารถก๊อปเอาไปใช้ต่อได้ ไม่ว่าจะเพลง ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรืออะไรก็ตาม สามารถเอาไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท นั่นคือสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งคิดกับ NFT ในวันนี้

ซึ่งก็มีบางคนออกมาแชร์ความกังวลว่า เจ้า NFT และคริปโทดูเหมือนจะเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่มากขึ้นทุกวัน ไม่ใช่แค่ในระดับบุคคล แต่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาค เหมือนที่เราเริ่มเห็นบางประเทศออกข่าวว่าซื้อ Bitcoin เป็นสินทรัพย์สำรองของประเทศ นั่นหมายความว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นกับคริปโทสกุลที่รัฐบาลบางประเทศถือ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ถือครองเป็นมูลค่ามหาศาล ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ซึ่งแบบนี้ก็อาจจะบอกได้ว่า คริปโทอาจจะเป็นสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งหน้าก็เป็นได้

หรือดูจากตัวอย่างง่ายๆ จาก Stable coin อย่าง UST ที่ออกเหรียญมาโดยอ้างว่าพวกเขาใช้เงินดอลลาร์หนุนหลังแบบ 1 ต่อ 1 เพื่อสร้างความมั่นใจในการถือครอง และพอเหรียญนี้ได้หลุด Peg ที่กำหนดไว้ก็ก่อให้เกิดการเทขายจนราคาร่วงกราว

ส่งผลให้มีหลายคนขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาล ก่อให้เกิดผลกระทบถึงเหรียญถัดมานั่นก็คือ Luna ซึ่งมีคนจำนวนมากฆ่าตัวตายจากมูลค่าของเหรียญที่หายไปจนแทบจะเป็นศูนย์ในระยะเวลาสั้นมากๆ ไม่กี่วันเท่านั้นเอง

ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ก็มาจากการที่ Digital Asset ขาดหน่วยงานควบคุมทางด้านกฏหมายที่ชัดเจน ขาดหน่วยงานภาครัฐเข้ามากำกับดูแล ผู้มีอำนาจก็ไม่ทันโลกใบใหม่ของทั้งคริปโทและ NFT อย่างถ่องแท้พอที่จะตามได้ทันครับ

เพราะนั่นหมายความว่าถ้าเมื่อไหร่เกิดการโกงขึ้นบนโลกของคริปโทหรือ NFT ก็จะไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน ถ้าผู้สร้างเหรียญคิดจะ Rug Pull เหรียญตัวเองออกไปจนทำให้มูลค่าร่วงจนเหลือศูนย์ ซึ่งก็มีให้เห็นแม้แต่ในบ้านเรา ก็ยากที่จะนำตัวคนผิดมาลงโทษได้ เพราะไม่มีกฏหมายกำกับดูแลที่ไล่ตามเทคโนโลยีได้ทัน คนโกงก็ลอยชายรวยไปสบายๆ จากการโกงคนมากมายแต่ก็ทำอะไรคนเหล่านี้ตามกฏหมายไม่ได้ครับ

Source
https://www.nature.com/articles/s41598-021-00053-8.pdf
https://blog.chainalysis.com/reports/2022-crypto-crime-report-preview-nft-wash-trading-money-laundering/
https://www.businessofbusiness.com/articles/the-backlash-against-nfts-one-artist-says-theyre-a-classic-ponzi-scheme-fraud-theft-crypto/
https://www.stephendiehl.com/blog/disconnect.html

2. Mint เอง ซื้อเอง ขายเอง ระวังหลงกลโกงปั่นกระแส NFT

Photo: https://www.ultcube88.com/en/cryptopunks-nft%E4%BB%A5%E8%B6%85%E8%BF%875%E4%BA%BF%E7%BE%8E%E5%85%83%E7%9A%84%E4%BB%B7%E6%A0%BC-%E5%87%BA%E5%94%AE/

เราคงเคยเห็นข่าว PR ทำนองว่ามีการประมูลซื้อผลงาน NFT ไปในราคามหาศาล แต่พอสืบดูว่าใครเป็นคนซื้อไปจาก Public key พบว่ามีความเชื่อมโยงกับคนที่โอนคริปโตให้ซื้อ สรุปคือ Mint เอง ซื้อเอง ชงเอง PR เอง ปั่นกระแสกันเองครับ

ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในบ้านเรา แต่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาก่อนหน้าพักใหญ่เหมือนกัน ในเดือนตุลาคมปี 2020 มีการซื้อขายผลงาน NFT ที่ชื่อว่า CryptoPunk #9998 ในราคา 532 ล้านดอลลาร์

ซึ่งตอนแรกก็กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่พอสืบไปสาวมาไล่ตาม Blockchain ไปถึงพบว่า คนซื้อและคนขายคือคนๆ เดียวกัน

เรียกได้ว่าเอากระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา จึงกลายเป็นโป๊ะแตกครั้งใหญ่ในวงการ NFT ครั้งหนึ่ง

หรือ Melania Trump อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ก็ได้ทำการประมูลซื้อผลงาน NFT ของตัวเองเธอเช่นกัน หลังจากเปิดให้ประมูลมาเดือนกว่าแล้วยังไม่มีใครมาประมูลไป ซึ่งเป็นคิดเป็นมูลค่ากว่า 180,000 ดอลลาร์ในเวลานั้น

สรุปได้ว่า Mint เอง ซื้อเอง และสุดท้ายก็โป๊ะแตกเหมือนกันอีกราย ดังนั้นก่อนจะเชื่อข่าวว่าผลงาน NFT ชิ้นไหนจาก Collection ใดถูกซื้อขายเป็นมูลค่ามหาศาล ให้ลองติดตามดูก่อนว่าเงินคริปโทที่นำมาซื้อขายนั้นได้มาจาก Wallet ของใครกันแน่

Source:
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-10-29/here-s-a-532-million-nft-trade-that-wasn-t-what-it-appeared
https://fortune.com/2022/02/16/melania-trump-nft-auction/
https://news.artnet.com/market/did-melania-trump-buy-her-own-nft-2071931

3. Digital Permanence เลือก Wallet ผิด ติดจนวันตาย

ข้อควรระวังเมื่อจะทำ NFT Marketing เลือก Account หรือ Wallet ให้ชัวร์ ว่าไม่เคยทำอะไรเสื่อมเสียให้สาวถึงได้มาก่อนบน Blockchain

เพราะคุณสมบัติหลักของ Blockchain คือเขียนได้แต่ลบไม่ได้ และก็แก้ไม่ได้ นั่นคือประโยชน์ของ Blockchain ที่เหนือว่า Digital และ Internet ใดที่เคยเป็นมาในอดีต ที่ผู้ควบคุม Server สามารถแก้ไข Digital Data ได้ตามใจ

แต่ในขณะเดียวกันมันก็หมายความว่า ถ้าเราทำผิดแค่ครั้งเดียวก็จะถูกฝังไว้อย่างถาวรแบบตลอดกาลและตลอดไป นั่นหมายความว่าความผิดเราจะถูกบันทึกไว้แบบนั้น ไม่สามารถกลับมาแก้ไขหรือลบล้างมันได้ ดังนั้นก่อนจะทำ NFT Marketing ใด ขอให้แน่ใจก่อนว่ามันจะไม่เป็นการทำให้เราต้องเสียชื่อเสียงต่อแบรนด์ในอนาคต

เหมือนที่ McDonald’s เคยพลาด ตอนทำแคมเปญการตลาด  NFT กับ McRib แซนวิชครั้งแรกตอนปลายปี 2021

แคมเปญนี้ดูดีเหมือนแคมเปญการตลาดปกติที่ทำมา และก็มีการแจก NFT ให้กับคนร่วมกิจกรรมตามสูตรสำเร็จ ซึ่งผลงาน NFT ที่แจกก็ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่ แต่เป็นแจกไฟล์วิดีโอสีทองอลังกาล ที่เป็นการ์ด NFT รูป McRib แซนวิช กินไม่ได้แต่เอาไว้โชว์เท่ห์ๆ ได้

แต่ความซวยดันมาเกิดขึ้นเพราะเมื่อมีคนพบว่า Account หรือ Wallet ที่ Mint งาน NFT McRib แซนวิชขึ้นมาดันมีข้อความเหยียดผิวซ่อนอยู่ และด้วยความที่ข้อมูลดังกล่าวถูกบันทึกบนระบบ Blockchain นั่นหมายความว่าข้อความดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้แบบนั้นตลอดกาลและตลาดไป

ไม่มีทางที่แบรนด์จะลบข้อความดังกล่าวออกจากสารระบบได้ ยกเว้นจะปิดอินเทอร์เน็ตทั่วโลกไป ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ยิ่งกว่า

ดังนั้นนักการตลาดคนไหนคิดจะทำการตลาดด้วย NFT หรือ NFT Marketing พึงระวังให้ดีว่าอะไรก็ตามที่บันทึกไว้บน Blockchain นั้นเขียนได้แต่ลบไม่ได้ นั่นหมายความว่าถ้ามีอะไรผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว มันก็จะกลายเป็นตราบาปของแบรนด์ไปตลอดกาล

ก่อนจะเลือกใช้ Account ไหนหรือ Wallet ใด Mint ผลงาน NFT ของแบรนด์หรือกระทำการใดก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับแบรนด์หรือมีชื่อแบรนด์ออกไป ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะไม่มีอะไรเสียหายที่จะสาวกลับมาเชื่อมโยงถึงแบรนด์ได้ ไม่อย่างนั้นคุณคงจะมีอะไรมากมายให้แบรนด์เสียได้กว่าที่คิดครับ

เหมือนที่ครั้งหนึ่งนิตยสาร Time Magazine เคยประกาศข่าวว่าจะ Drop NFT แต่กลายเป็นว่าผลงานส่วนใหญ่กว่า 5,000 ชิ้น ถูก bot เก็บผลงานไปเกลี้ยง ดูเป็นการ Drop ที่ไม่จริงใจและถูกจับโป๊ะได้ง่ายเมื่อข้อมูลถูกเก็บบนเทคโนโลยี Blockchain ครับ

สรุปถ้าลงทุนทำ NFT Marketing แล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า Account หรือ Wallet ที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญการตลาดนั้นของแบรนด์เรา ไม่เคยทำอะไรด่างพร้อยให้เสื่อมเสียแบรนด์ได้ในอนาคตครับ

Source
https://www.nbcnews.com/pop-culture/pop-culture-news/mcrib-back-mcdonalds-also-nft-rcna4277
https://www.coindesk.com/business/2021/12/11/mcdonalds-mcrib-nft-project-links-to-racial-slur-recorded-on-blockchain/
https://www.coindesk.com/business/2021/09/23/chaotic-time-magazine-nft-launch-sends-gas-fees-spiraling/

สรุป 3 ข้อควรระวังก่อนเริ่มทำ NFT Marketing และรู้เท่าทันกลโกงก่อนสาย

แม้การลงทุนทำ NFT Marketing อาจดูเป็นกระแสที่มาแรงในปีนี้ หลายแบรนด์ทำไปแล้วโดยหวังผลเรื่อง PR เป็นหลัก มากกว่าจะต่อยอดอะไรบางอย่างที่ดีต่อแบรนด์และธุรกิจจริงๆ ในระยะยาว ซึ่งข้อแรกเราอาจถูกคนที่ได้ประโยชน์จาก NFT ปั่นหัวด้วยตัวเลขที่ดูเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ามองในภาพรวมกลายเป็นคนจำนวนมากที่ติดดอยกว่าคนส่วนน้อยมากๆ ที่ทำกำไรได้

ข้อควรระวังถัดมาคือก่อนจะลงทุนใน NFT Collection หรือ Creator ใด ให้ลองสืบสาวดูดีๆ ก่อนว่ามีการปั่นกระแสหรือราคามาก่อนหรือไม่ ไม่อย่างนั้นคุณอาจชีช้ำใจเพราะลงเงินไปแล้ว หรืออาจเสียท่าให้คู่แข่งที่พยายามหลอกให้คุณเข้ามาดอยตาม

สุดท้ายคือจำไว้ว่าบนโลกของ Blockchain ซึ่งคริปโทและ NFT ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างมาจากเทคโนโลยีพื้นฐานนั้น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกแล้วนั้นลบและแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะทำอะไรพึงระวังไว้ว่าบนโลกของ Blockchain นั้นโปร่งใสและตรวจสอบย้อนหลังได้แบบสุดๆ

และนั่นหมายความว่าถ้าคุณทำอะไรไม่ได้ไว้มันจะอยู่ตลอดกาลและตลอดไป อย่าคิดทำการตลาด NFT Marketing แบบมักง่าย เพราะมันอาจทำให้แบรนด์คุณต้องเสียหายไปตลอดกาลครับ

แต่ถ้ามั่นใจว่า NFT คือสิ่งที่ใช่สำหรับแบรนด์เรา ก็ลงทุนอย่างรู้เท่าทัน และก็อย่าลืมทำให้เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์ในระยะยาว มากกว่าแค่การสร้างกระแสข่าว PR ชั่วคราวที่ดังสองสามวันแล้วก็หายไปในอากาศครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับการตลาด NFT Marketing ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/nft/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่