เคล็ดลับกลยุทธ์ที่ Netflix เอาชนะคู่แข่ง

เคล็ดลับกลยุทธ์ที่ Netflix เอาชนะคู่แข่ง

เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ปังๆ ก็ต้องยอมรับว่า Netflix สามารถ เอาชนะคู่แข่งมา ได้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาด้วยกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมของเขา นั่นก็คือการใช้ social listening เข้ามาช่วย เดี๋ยววันนี้ปลื้มมาเล่าวิธีที่ Netflix นำ Insights จากการพูดคุยของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์บนโซเชียลแล้วนำเอามาใช้ประโยชน์กับคอนเทนต์ มีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้างเรามาดูกันค่ะ

ก่อนหน้านี้ในปี 2011 ฐานลูกค้าของ Netflix มีสมาชิกเพียง 22 ล้านคน และเขาได้เติบโตอย่างมากในปี 2020 ที่ผ่านมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านคน นอกจากนี้ 37% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ต่างก็ชื่นชมวิธีการนำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการทำการตลาดที่ยอดเยี่ยมของ Netflix กันอีกด้วย 

วิธีที่ Netflix ใช้ Social Listening เพื่อ เอาชนะคู่แข่ง

1. สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า 

Netflix พยายามอย่างมากที่จะรับฟังเสียงของผู้ชมบน Social Media โดยเขาพยายามติดตามกระแส ติดตามเทรนด์ Pop Culture อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ใช้กระแสนั้นๆ เอามาทำคอนเทนต์หรือสร้างกิจกรรมให้ผู้ชมได้เข้ามามีส่วนร่วม ร่วมกันการทำโพลในสตอรี่ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างเขากับผู้ชม และสามารถรับฟังผู้ชมได้ดีมากๆ

เคล็ดลับกลยุทธ์ที่ Netflix เอาชนะคู่แข่ง

จากการที่เขาได้ทำโพลและใช้ Social Listening ทำให้ Netflix กล้าที่จะโพสต์แนะนำภาพยนตร์ช่วงเวลามื้อค่ำนี้ให้กับผู้คน นั่นก็เพราะเขามั่นใจว่าภาพยนตร์ที่แนะนำนั้นจะตรงใจผู้ชม

อีกทั้ง Netflix ยังใช้ภาษาที่เป็นกันเองมากๆ ในการโพสต์คอนเทนต์ โดยรูปแบบคอนเทนต์จะตัดฉากในหนังมาทำมีมซะส่วนใหญ่ เนื่องจากว่าแบรนด์ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้ชม Gen Y บนโซเชียล ที่บอกถึงแนวโน้มที่คนรุ่นมิลเลนเนียลชื่นชอบ ก็เพื่อที่แบรนด์จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ชมผ่านคอนเทนต์ของเขา

เคล็ดลับกลยุทธ์ที่ Netflix เอาชนะคู่แข่ง

นอกจากนี้ Netflix ยังเป็นแบรนด์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางและใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้กลุ่มติดตามของเขา โดยเขาใช้ Social Listening ในการค้นหาที่ผู้คนพูดถึงแบรนด์ และตอบกลับอย่างเฉียบแหลม เพราะมันจะช่วยให้ผู้ที่ติดตามเขารู้สึกเหมือนกำลังพูดคุยกับเพื่อนและรู้สึกว่าแบรนด์ให้ความสำคัญกับพวกเขา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้แบรนด์มีฐานแฟนที่เหนียวแน่นมากขึ้นจริงๆ ค่ะ

2. การตลาดแบบมีม

อย่างที่ปลื้มได้บอกไปเมื่อข้างต้นว่า Netflix นิยมทำคอนเทนต์โดยการใช้มีมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเขาบอกการใช้การตลาดแบบมีมทำให้พวกเขาคิดออกนอกกรอบกับการสร้างแบรนด์แบบเดิมๆ เพราะว่ามีมเป็นโอกาสในการมีส่วนร่วมกับผู้ชม ทั้งยังสามารถสื่อสารความรู้สึกและสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล หลังจากการที่แบรนด์ได้เห็นว่ามีมในภาพยนตร์เรื่อง Birdbox ที่โด่งดังบน Twitter ทำให้การตลาดแบบมีมกลายเป็นความสำเร็จสำหรับพวกเขา

เพราะแบรนด์เขายังตระหนักเสมอว่าการตลาดไม่ใช่แค่เพียงโพสต์และแชร์คอนเทนต์เท่านั้น แต่ต้องสังเกตและรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าด้วย นี่เป็นวิธีการใช้ Social Listening แบบง่ายๆ ที่ชาญฉลาดมากของ Netflix ซึ่งปลื้มคิดว่าเมื่อเรารู้ว่าผู้ชมสนใจคอนเทนต์รูปแบบไหน ก็จะทำให้ผลตอบรับดียิ่งขึ้นไปอีกเท่านั้น และ Netflix ก็แสดงให้เห็นแล้วด้วยค่ะ

3. ตอบสนองความต้องการของผู้ชม : Socks DIY | Netflix

Socks DIY เป็นถุงเท้าที่ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยหยุดการเล่นของหนังใน Netflix เมื่อเราเผลอหลับนั่นเอง เพราะบางปลื้มเองเวลาดูหนังไปยาวๆ ตาก็ปิดไปเอง ส่วนทีวีก็เปิดไว้ทั้งคืน ซึ่งปัญหาที่ปลื้มประสบอยู่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ Netflix ได้รับ Insights จากผู้ชมมาเหมือนกันค่ะ รวมถึงเวลาที่พวกเขาตื่นมาหนังกลับเล่นไปเรื่อยๆ จนเราไม่รู้ว่าเราดูถึงตอนไหนแล้ว มีใครเป็นเหมือนกันบ้างคะ ทั้งหมดนี้ก็เลยเป็นเหตุผลที่ Netflix นำเสนอไอเดีย DIY นี้ขึ้นมานั่นเองค่ะ

ต้องบอกว่าการแก้ปัญหาโดย Socks DIY ของ Netflix ผู้ชมสามารถทำเองได้ที่บ้าน ซึ่งดูได้จากวิดีโอด้านบนที่สอนวิธีทำถุงเท้า DIY ก็ได้ค่ะ วิดีโอนี้ได้รับความนิยมอย่างมากเป็นผลให้ได้รับคำชมมากมายและยังได้รับรางวัลสำหรับการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับวิธีการใช้ประโยชน์จาก social listening ฉบับ Netflix เขาพร้อมที่รับฟังลูกค้าจริงๆ ถึงได้ เอาชนะคู่แข่ง มาได้หลายปี เขาเริ่มตั้งแต่ติดตามความรู้สึกของผู้ชมและผลักดันการตลาดของตนเองจากสิ่งที่ผู้ชมต้องการมากที่สุด อีกทั้งแบรนด์ได้พยายามดูข้อมูลเชิงลึกในทุกๆ ครั้งที่คิดจะสร้างซีรีส์หรือภาพยนตร์ใหม่ ว่าควรเป็นแนวไหน เพื่อที่จะได้มีผู้เข้าชมเยอะๆ นั่นเท่ากับว่ารายได้ของแบรนด์ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปอีกเช่นกันค่ะ 

ซึ่งปลื้มขอแนะนำผู้จัดภาพยนตร์ไทยและละครไทยเลย เพราะตอนนี้ทางเลือกของการรับชมมีเยอะมาก ดังนั้นการที่เราปรับบทไปตามความต้องการของผู้ชมได้ เราก็ได้ Feedback ดีๆ กลับมาแน่นอนค่ะ และสำหรับนักการตลาดที่กำลังอ่านอยู่อาจจะต้องเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ Social Listening เพิ่มกันแล้วนะคะ จากแบรนด์ตัวอย่าง Netflix ก็ทำให้เราเห็นแล้วว่าประโยชน์ในการใช้ข้อมูลจาก social listening มันคุ้มค่าขนาดไหน

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source : https://www.radarr.com/blog/how-netflix-uses-social-listening/

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน