SME ไทยปรับตัวอย่างไรให้รอดได้ในช่วง Covid-19

SME ไทยปรับตัวอย่างไรให้รอดได้ในช่วง Covid-19

ธุรกิจ SME ถือเป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการสร้างงาน การผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค รวมถึงการเป็น Supply Chain แต่นับตั้งแต่ที่เราต้องเผชิญกับโรคระบาด Covid-19 หลายต่อหลายละลอกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SME ไทยได้ล้มหายตายจากจากระบบไปมากกว่า 35% ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ก็ต้องรับศึกหนักอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ วันนี้เราจะมาดูกันว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการ SME ไทยฝ่าวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้เพื่อที่จะเติบโตต่อไปอย่างมั่นคงได้บ้าง

ต้องตรวจเช็กสภาพคล่องธุรกิจ

ก่อนที่จะไปถึงเรื่องว่าทำอย่างไรธุรกิจ SME ถึงจะรอดในวิกฤตโควิดแบบนี้เรามาเช็กสุขภาพการเงินในธุรกิจเราก่อนดีกว่า เพื่อจะได้วางแผนในการลดความเสี่ยงของการขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ในอนาคต มาลองไล่ดูตามเช็กลิสท์นี้ไปพร้อมๆ กันได้เลยนะคะ

  • ตรวจสอบสถานะเงินสดอยู่เสมอ 

โดยตรวจสอบดูว่าตอนนี้เรามีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ แล้วเงินสดที่เรามีอยู่ตอนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจเราหรือไม่ เพื่อจะได้วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนบริหารจัดการเงินสดต่อไป

  • ประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า 

SME ควรต้องประเมินความเสี่ยงโดยวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เช่นมีสินค้าค้างในสต๊อกมากเกินไปหรือมีลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อกระทันหันเป็นต้นโดยเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงและหามาตรการในการรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวกระทบกับธุรกิจน้อยที่สุด

  • สำรองเงินไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน 

ในสถานการณ์แบบนี้เราไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าในอนาคตอันใกล้คือหนึ่งเดือนหรือสองเดือนต่อจากนี้กิจการของเราจะเป็นอย่างไรเราจึงต้องเตรียมเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินไว้เสมอเพราะถ้ากระแสเงินสดติดลบคุณก็ยังมีเงินส่วนนี้เอาไว้หมุนเวียนเพื่อประคับประคองธุรกิจให้เดินต่อไปได้

  • เช็กฐานลูกค้า

เมื่อเช็กธุรกิจในฝั่งตัวเองแล้วก็อย่าลืมสำรวจฐานลูกค้าด้วยว่าในสถานการณ์แบบนี้ลูกค้าของเรายังมีกำลังซื้อเท่าเดิมอยู่ไหม หรือมีพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ปรับตัวอย่างไรให้รอด

หลังจากสำรวจสุขภาพทางธุรกิจกันไปแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการหาแนวทางเพื่อเป็นทางออกให้สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤต Covid-19 ระลอกนี้ได้ ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1.เตรียมพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์

ธุรกิจ SME จำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะตื่นตัวไม่ใช่เพียงแต่ในช่วง Covid-19 เท่านั้น แต่ต้องตื่นตัวกับทุกสถานการณ์เพื่อหาสัญญาณเตือนล่วงหน้าในการปรับแนวทางการทำธุรกิจ รวมถึงการให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม เช่น ธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นบริการ Delivery มากขึ้น มีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สัมผัส หรือมีการจัดพื้นที่แบบเว้นระยะห่างในการใช้บริการ เป็นต้น ซึ่งถ้าธุรกิจเจ้าไหนสามารถปรับตัวและลงมือทำได้ไว ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ไหน อย่างไรก็รอด

2.ช่องทางออนไลน์แหล่งรายได้สำคัญ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้ผู้คนเลือกที่จะอยู่บ้านมากกว่าการออกไปจับจ่ายใช้สอยข้างนอก เกิดเป็น New Normal ที่คนส่วนมากเคยชินกับการซื้อของผ่านช่องทาง Online ดังนั้นผู้ประกอบการ SME จึงควรต้องมีช่องทางออนไลน์ควบคู่กับการตลาดแบบ Offine เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ได้ครบทุกความต้องการของลูกค้า

3 โฟกัสสินค้าเฉพาะกลุ่ม

SME ส่วนมากมักจะเน้นจำนวนเป็นหลัก ผลิตมาก ขายมาก โดยไม่ได้โฟกัสกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหลัก ยิ่งช่วงสถานการณ์แบบนี้ด้วยแล้ว ลูกค้าทั่วไปอาจไม่ได้มีกำลังซื้อมากนัก ทำให้ความต้องการซื้อสวนทางกับปริมาณสินค้าที่อยู่ในคลังจนเกิด Over Stock และต้องเทขายสินค้าในราคาไม่คุ้มทุนในที่สุด

4 บริหารความเสี่ยงทางการเงิน

สำหรับธุรกิจ SME ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีอาจจะไม่มีปัญหามากนักแต่สำหรับธุรกิจที่มีสุขภาพทางการเงินอ่อนแอกว่าธุรกิจอื่นๆ อาจจำเป็นจะต้องบริหารและจัดหาสภาพคล่องทางการเงินเพิ่ม นอกจากนี้ยังต้องปรับโครงสร้างหนี้ลดต้นทุนตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป รวมถึงมองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อหารายได้ทดแทน

ธุรกิจจะเดินหน้าได้ ต้องอาศัย Partner ที่ดี

การที่ธุรกิจ SME เดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี Partner ที่ดีเพื่อในการช่วยสนับสนุน และประคับประคองให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้แบบไม่มีสะดุด

ซึ่งธนาคารเกียรตินาคินภัทร ก็เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิดที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SME ให้มีศักยภาพในการทำธุรกิจมากขึ้น ด้วยสินเชื่อ KKP SME ที่มีบริการทางการเงินให้เลือกหลากหลาย แถมตอบโจทย์ทุกสไตล์ของเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กตรงที่สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก อนุมัติไว ให้วงเงินสูง

  • สินเชื่อธุรกิจ KKP SME Freedom 

ให้คุณมีทางเลือกที่ดีกว่ากับเงินทุนขยายธุรกิจ แบบไม่ต้องมีหลักประกันไม่ต้องมีหลักประกัน วงเงินอนุมัติสูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนสบายแบบลดต้นลดดอก และ ฟรี! ค่าธรรมเนียม บสย.

  • สินเชื่อธุรกิจ KKP SME คูณ3 

ยิ่งขยาย ยิ่งเติบโต ด้วยวงเงินอนุมัติ สูงสุด 3 เท่าของราคาประเมินหลักประกัน ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน วงเงินอนุมัติสูงสุด 20 ล้านบาท ผ่อนสูงสุดถึง 20 ปี

  • สินเชื่อธุรกิจ KKP SME รถคูณสาม 

สู้ด้วยรถ โตไปด้วยกัน ใช้รถยนต์ในการขอสินเชื่อได้ถึง 5 คันต่อราย ผ่อนได้นานสูงสุด 60 เดือน วงเงินสูงสุด 5 เท่าของราคาประเมินรถยนต์ และ ฟรี! ค่าธรรมเนียม บสย.

  • สินเชื่อธุรกิจ KKP SME LIGHT 

ค้าขายรับเงินสดก็กู้ได้ ไม่ต้องมีทะเบียนการค้า ไม่ต้องใช้หลักประกัน สินเชื่อเพื่อคนค้าขาย ไม่ต้องมีทะเบียนการค้า ไม่ต้องใช้หลักประกันก็กู้ได้ วงเงินอนุมัติสูงสุด 8 แสนบาท ผ่อนสบายสูงสุด 72 เดือน 

  • สินเชื่อธุรกิจ KKP SME บัญชีเดียว 

ใช้อสังหาฯ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินอนุมัติ สูงสุด 3 เท่าของราคาประเมินหลักประกัน

ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี* ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย.

แม้ธนาคารเกียรินาคินภัทรอาจจะไม่ใช่แบรนด์ธนาคารเบอร์ต้นๆ ด้วยความไม่คุ้นหูคุ้นตา เลยอาจทำให้ผู้ประกอบการอาจไม่เชื่อมั่นในแบรนด์มากนัก แต่ถ้าหาข้อมูลกันดีๆ แล้วล่ะก็จะรู้ว่าแบรนด์นี้แม้จะไม่หวือหวา แต่ก็ก่อตั้งมายาวนานกว่า 50 ปี อีกทั้งยังมีบริการให้เลือกหลากหลาย แถมยังรู้ใจผู้ประกอบการ SME แบบนี้ เชื่อว่าถึงจะเป็นผู้เล่นรายเล็ก แต่ก็เป็นม้านอกสายตาที่น่าจับตามองมากเลยทีเดียว

ถ้าผู้ประกอบการ SME รายไหนสนใจ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อ KKP SME ได้ที่นี่ 

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่