เมื่อ SME ระบบเถ้าแก่ ต้องปรับตัวในสมรภูมิ Data

เมื่อ SME ระบบเถ้าแก่ ต้องปรับตัวในสมรภูมิ Data
Traditional Asian medicine practitioner in black costume standing at counter of herbs store and calculating on abacus

แนวทางการใช้ Data สำหรับธุรกิจ SME

เพราะปัจจุบัน Data เข้ามามีบทบาทและความสำคัญในชีวิตประจำวันของธุรกิจเราเป็นอย่างมาก ใครที่มี Data ลูกค้าอยู่ในมือและสามารถนำมาวิเคราะห์ แล้วนำมาปรับใช้กับธุรกิจ ก็สามารถทำให้เข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภคได้ถูกจุด ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนกับว่าเรารู้ใจเขาไปเสียทุกอย่าง

หลายคนยังเข้าใจว่า Data สำคัญเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ หรือธุรกิจรูปแบบบริษัทเท่านั้น แท้จริงแล้ว Data สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ แม้กระทั่งธุรกิจ SMEs ระบบเถ้าแก่ ก็สามารถนำ Data มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกันค่ะ

แนวทางการใช้ Data ในแบบ SME ที่เถ้าแก่ต้องเรียนรู้กับความแตกต่างระหว่างระบบ Boss System ที่เถ้าแก่เป็นใหญ่กับ Data System ที่ใช้ Data-Driven Decision

วันนี้เป็นหัวข้อพิเศษที่มิ้นท์ใช้เวลาในการศึกษาและทดลองจากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้สัมผัสกับธุรกิจ SMEs ระบบเถ้าแก่จริงๆ โดยเจ้าของเป็นคนมีอายุ 55 ปี ขึ้นไป บ้างก็ยังอยากทำธุรกิจต่อ บ้างก็อยากปลดเกษียณและรอลูกๆมาสืบต่อกิจการ มิ้นท์ได้พบอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจ จึงนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการมาเขียน เผื่อว่าจะเป็นแนวทางให้กับธุรกิจที่ยังเป็นระบบเถ้าแก่ สามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ

Boss System VS Data System

มิ้นท์เชื่อว่าพาดหัวข้อมาอย่างนี้ หลายคนน่าจะเข้าใจความแตกต่างของทั้งสองระบบได้เห็นภาพ มิ้นท์จึงขอมาอธิบายขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่า ระบบเถ้าแก่ กับระบบที่ใช้ Data มีความแตกต่างและข้อดี ข้อเสียอย่างไรค่ะ

Boss System

หรือในความหมายของมิ้นท์ในที่นี้คือ ระบบเถ้าแก่ ค่ะ ระบบบเถ้าแก่มีจุดเด่นตรงที่เป็นระบบที่มีเจ้าของร้านเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ขั้นตอนไม่เยิ่นเย้อมากความ

แนวทางการใช้ Data ในแบบ SME ที่เถ้าแก่ต้องเรียนรู้กับความแตกต่างระหว่างระบบ Boss System ที่เถ้าแก่เป็นใหญ่กับ Data System ที่ใช้ Data-Driven Decision

ข้อดี

ปัญหาการทำงานทุกอย่างจบไว เพราะตัดสินใจได้เด็ดขาด จากเจ้าของร้าน หรือเถ้าแก่ สามารถร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบเข้าถึงได้ง่ายและเป็นกันเอง เพราะเถ้าแก่อยู่หน้าร้านเอง ส่วนใหญ่ที่พบคือเป็นรูปแบบธุรกิจที่เปิดมานานและมีลูกค้าประจำ

ข้อเสีย

จากที่ทำงานร่วมกับ SMEs ระบบเถ้าแก่ คือ กลับมาเรื่องเดิมคือเรื่องการตัดสินใจ แม้ว่าจะมีข้อดีตามที่ได้กล่าวไปด้านบน แต่ข้อเสียที่ตามมา คือ ข้อมูลทุกอย่างอยู่ที่เถ้าแก่เพียงคนเดียว โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลสินค้า ราคาสินค้า รวมไปถึงข้อมูลลูกค้าด้วย เพราะส่วนใหญ่เถ้าแก่จะใช้อาวุธพิเศษที่เรียกว่า ความจำ ทำให้ทุกอย่างมักจะอยู่เพียงในหัวเถ้าแก่

Data System

ข้อดี

แน่นอนว่าระบบนี้ย่อมทำให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ใครๆก็สามารถเข้าใจและทำงานต่อได้ เพราะมีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว การตัดสินใจการแก้ปัญหาแม้จำไม่รวดเร็วเท่าระบบเถ้าแก่ แต่มีความแม่นยำกว่าเพราะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริง

ข้อเสีย

บางครั้งการมีข้อมูลในปริมาณมาก อาจทำให้การตัดสินใจช้าจนเกินไป เพราะดูเพียงแต่ข้อมูล หรือให้ระบบทำงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจ SMEs ยังมีบางอย่างที่เราต้องใช้เวลาและใช้คนร่วมด้วย ไม่สามารถทิ้งให้ระบบทำงานได้เพียงอย่างเดียว

เปรียบเทียบทั้งสองระบบ

จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ SMEs มิ้นท์กลับมองว่าทั้งสองระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะดีกว่าไหมถ้าเรานำสองระบบมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด เช่น

การนำแนวทางการตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาดอย่างรวดเร็วและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบระบบเถ้าแก่หรือ Boss System มาใช้

หรือไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลต่างมาประกอบในการตัดสินใจลงทุน หรือตลาดทำการกับลูกค้าแบบ Data System

แนวทางการใช้ Data ในแบบ SME ที่เถ้าแก่ต้องเรียนรู้กับความแตกต่างระหว่างระบบ Boss System ที่เถ้าแก่เป็นใหญ่กับ Data System ที่ใช้ Data-Driven Decision

9 Checklists ที่ต้องรู้ก่อนปรับตัวเพื่อออกรบ

  • ศึกษาและทำความเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง Boss System VS Data System
  • สื่อสารภายในถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะปรับตัว
  • เก็บข้อมูลเก่าๆเท่าที่มี หรือหาได้ มาเป็นพื้นฐานแรกในการปรับระบบ
  • วางแผนธุรกิจใหม่ สำหรับการปรับตัวทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน
  • หาวิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับธุรกิจและการนำไปใช้
  • หาแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการสอบกลับ ว่าวิธีการเก็บข้อมูลของเราเหมาะสมแล้วหรือไม่
  • เตรียมพร้อมรับมือกับข้อมูลใหม่ๆที่จะถาโถมเข้ามา
  • ให้เวลาในการปรับตัวอย่างเพียงพอ ไม่รีบร้อนจนเกินไป เพราะสุดท้ายจะจะเละเทะทั้งสองระบบ
  • เรียนรู้และประเมินผลการทำงานเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงระบบต่อๆไป

แนวทางการปรับตัวของ SMEs ระบบเถ้าแก่ในสมรภูมิ Data

หลังจากที่ได้อ่าน Checklists ที่ต้องรู้ก่อนปรับตัวกันมาแล้ว มาเรียนรู้วิธีปรับตัวเข้าสู่ Data System กันค่ะ

การปรับเข้าสู่ Data System

ก่อนอื่นเลยคุณต้องทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญของข้อมูลก่อนค่ะ ไม่ใช่ว่าเห็นเขาบอกกันมาว่าต้องเก็บข้อมูล ก็เก็บบ้าง แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะเอาข้อมูลนั้นไปใช้ทำอะไร เก็บๆไว้ก่อน

ถ้ายังไม่เข้าใจอยู่แบบนี้ ต่อให้เก็บข้อมูลไป หรือมีข้อมูลมากมายแค่ไหน ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่มีคุณค่า เพราะไม่เคยถูกนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ

แนวทางการใช้ Data ในแบบ SME ที่เถ้าแก่ต้องเรียนรู้กับความแตกต่างระหว่างระบบ Boss System ที่เถ้าแก่เป็นใหญ่กับ Data System ที่ใช้ Data-Driven Decision

การนำ Data ที่มีมาจัดเก็บให้เป็นระบบ และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

การจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Boss System เข้าสู่ Data System สิ่งที่แรกที่ควรเข้าใจก่อน คือ ข้อมูลที่คุณจะเก็บนั้นกระจัดการกระจาย ต้องตั้งสติและให้เวลาในการเก็บข้อมูล อย่างไรก็ดีควรมี timeline ที่ชัดเจน ไม่อย่างนั้นก็จะเก็บข้อมูลไม่เสร็จสักที สรุปต้องอยู่กับระบบเถ้าแก่เหมือนเดิม

  1. หาวิธีล้วง Data จากแหล่งต่างๆ ในธุรกิจของคุณ จงจำไว้ว่าในเมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บไว้น้อยมาก หรือถูกจัดเก็บอย่างไม่เป็นระบบมาเป็นระยะเวลายาวนาน คุณต้องหาวิธีในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้ และแน่นอนว่าที่ยากที่สุดคือจากรุ่นพ่อแม่ เพราะท่านยังต้องขายของ ดูแลลูกน้องอยู่ทุกวัน
  2. เลือกพื้นที่ในการเก็บข้อมูล หากไม่มีงบประมาณสำหรับ Software แนะนำว่าสามารถเก็บในโปรแกรมง่ายอย่าง Excel ไปก่อนได้ค่ะ โดยสามารถศึกษา Function การใช้งานแล้วมามาประยุต์ใช้ในการเก็บข้อมูลให้เหมาะสม
  3. ประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างไรให้ได้ผล เมื่อได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ และจัดระบบอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งาน แนะนำว่า ควร ศึกษาเรื่องการนำมาใช้กับการตลาดและการขายเพื่อหาลูกค้าในช่องทางใหม่ๆ ที่ธุรกิจของเรายังไม่เคยทำ (จากประสบการณ์ส่วนใหญ่คือมีแนวทางเยอะมาก เพราะขายแต่หน้าร้านอย่างเดียวมาตลอด) โดยควรศึกษาจากฐานข้อมูลเดิม เพื่อนำมาปรับแผนธุรกิจ
  4. เรียนรู้เพิ่มเติม แนะนำว่าเรียนรู้ Business Model Canvas แล้วนำมาปรับใช้กับธุรกิจขนาดเล็กนั้นได้ค่ะ เพราะมิ้นท์ก็ได้มีโอกาสให้ SMEs ที่รู้จักได้ทำแล้วเช่นกัน ทุกคนรู้สึกว่าเป็นประโยชน์และเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

กรณีศึกษา : เรื่องเล่าจากร้านอะไหล่มอเตอร์ไซค์

มิ้นท์มีโอกาสได้เรียนรู้และทำงานร่วมกับ SMEs ที่เป็นร้านขายส่งอะไหล่มอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งยังเป็นระบบเถ้าแก่อยู่ จนกระทั่งรุ่นลูกจะมาสืบทอดกิจการ กลับพบว่า ที่ร้านไม่มีข้อมูลเชิงลึกในทุกๆด้าน เพราะทุกอย่างอยู่ในอาวุธพิเศษที่เรียกว่า ความจำ ของรุ่นก่อนเพียงเท่านั้น ในขณะที่รุ่นพ่อแม่พบว่า การที่รุ่นลูกจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาในการบริหารงานต้องใช้เงินลงทุนหลายอย่างมาก ในฐานะที่มีประสบการณ์มากกว่าก็จะมองความคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องลงทุน

แนวทางการใช้ Data ในแบบ SME ที่เถ้าแก่ต้องเรียนรู้กับความแตกต่างระหว่างระบบ Boss System ที่เถ้าแก่เป็นใหญ่กับ Data System ที่ใช้ Data-Driven Decision

ทั้งสองฝั่งไม่รู้จะไปต่อทางไหน เพราะรุ่นเก่าอยากเห็นความคุ้มค่ากับการลงทุน ในขณะที่รุ่นใหม่อยากให้มีระบบ สุดท้ายมิ้นท์มีโอกาสได้เข้าไปพบ และคลุกคลีกับทั้งสองรุ่น ทำให้เห็นว่าจริงๆการอยู่ตรงกลางของทั้งสองระบบนั้นดีที่สุด คือทั้งสองฝ่ายควรปรับตัวเข้าหากัน

โดยทั้งสองเริ่มจากการเปิดใจ ที่จะเรียนรู้ทั้ง 2 ระบบไปด้วยกัน รวมถึงศึกษาเรื่องการวางแผนธุรกิจ และเขียน Business Model Canvas ใหม่ด้วยตัวเองทุกคน แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับจูนเข้าหากัน เพื่อเป็นภาพเดียวในการทำธุรกิจสำหรับทั้งสองรุ่นต่อไปในอนาคต

สรุปแนวทางการใช้ Data แบบ SME

ต้องยอมรับว่ารุ่นพ่อแม่มีประสบการณ์มากกว่า แต่อาจจะยังไม่เข้าใจหรือเห็นความสำคัญของ Data วลียอดฮิตที่มิ้นท์เจอบ่อยๆก็คือ ก็ทำแบบนี้มาตลอดไม่เห็นมีปัญหาเลย ในขนาดที่รุ่นลูกประสบการณ์น้อย แต่มีแนวทางใหม่ๆในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ

ที่จริงแล้วเราสามารถผสานทั้งสองระบบเข้าด้วยกันได้ เพียงแต่ให้เวลาในการปรับตัว สิ่งที่จะช่วยให้ทั้งทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของทั้งสองระบบได้ คือ ต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนมีความรู้ความเข้าใจทั้งสองระบบอย่างเพียงพอ ซึ่งหากธุรกิจ SMEs ที่เป็นระบบเถ้าแก่ของคุณสามารถปรับตัวได้ คุณก็สามารถสู้รบในธุรกิจแห่งสมรภูมิ Data ได้อย่างเต็มภาคภูมิเช่นเดียวกันค่ะ

อยากรู้แนวทางการทำการตลาดในยุค Digital สำหรับ SME ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/sme/

ติดตามเพจการตลาดวันละตอน > https://www.facebook.com/EverydayMarketing.co/

Panicha Laohamonthonkul

Sales and Marketing Director and Co- Founder of Beginear Co.,Ltd Business Development Director 3M Food Product Co.Ltd

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่