เปลี่ยนวิกฤตขยะล้น มาทำแคมเปญการตลาด ที่ทำให้คนรุ่นใหมหันมาใส่ใจประเทศขยะ

เปลี่ยนวิกฤตขยะล้น มาทำแคมเปญการตลาด ที่ทำให้คนรุ่นใหมหันมาใส่ใจประเทศขยะ

อย่างที่รู้กันดีว่าทุกวันนี้ปัญหาขยะล้นเมืองคือปัญหาใหญ่ของทุกคนบนโลก 

ไม่ว่าจะอาศัยอยู่มุมไหน ประเทศไหน อย่างน้อยๆ คุณก็ต้องได้รับผลกระทบจากขยะเหล่านี้กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ รวมไปถึงความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ทั้งบนบกและในน้ำ

วันนี้การตลาดวันละตอนเลยมีหนึ่งแคมเปญไอเดียเก๋ที่เอาปัญหาวิกฤติขยะนี้มาจัดทำแคมเปญการตลาดดีๆ ที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจกับเรื่องของขยะกันมากขึ้น แคมเปญจะเป็นอย่างไร และน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันครับ

เริ่มต้นคิดจากปัญหา

หลายคนอาจเคยเห็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจของทะเลและมหาสมุทรสีฟ้าสดใส พร้อมหาดทรายขาวละเอียดสวยงามบริสุทธิ์ และเป็นสถานที่ที่หลายคนใฝ่ฝันว่าจะได้ไปเยือนสักครั้ง

แต่ความจริงก็คือ ในทะเลตอนนี้มีทั้งพลาสติกและขยะจํานวนมากได้สะสมอยู่ จนมีขยะจํานวนมากซึ่งสะสม ถ้าหากจะถามถึงปริมาณว่ามีมากขนาดไหน ก็คงจะเปรียบเทียบได้กับขนาดของประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศเลยทีเดียว 

และถ้าหากอัตรามลพิษในปัจจุบันยังคงดําเนินต่อไป ภายในปี 2050 น้ําหนักรวมของขยะทั้งหมดนั้นจะหนักกว่าของปลาทั้งหมดในมหาสมุทร 

พูดมาขนาดนี้ก็คงจะพอเห็นภาพกันชัดขึ้นแล้วใช่ไหมครับ?

เมื่อปัญหาขยะมาถึงขั้นวิกฤตขนาดนี้แล้ว LADBible และ มูลนิธิ Plastic Oceans ก็เลยคิดแคมเปญเปิดประเทศใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกมครอยากที่จะเป็นพลเมืองของประเทศนี้บ้าง มาดูกันครับ 

สร้างประเทศขยะเพื่อแก้ไขวิกฤตขยะ

แนวทางการรณรงค์โดยสร้างประเทศใหม่นี้ไม่เคยมีมาก่อน และหากได้ผลอาจเป็นก้าวที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะในมหาสมุทร

ประเทศที่ถูกสร้างขึ้นนี้ได้รับการขนานนามว่า “Trash Isles” ซึ่งนี่อาจกลายเป็นประเทศล่าสุดที่สหประชาชาติยอมรับ โดยมี Al Gore เป็นพลเมืองคนแรก โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถลงชื่อเข้าเป็นประชากรในประเทศนี้ได้ผ่าน Change.org 

ซึ่งคนที่เป็นพลเมืองในประเทศนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎบัตรสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ที่ระบุว่าประเทศสมาชิกจะต้องร่วมมือกันเพื่อ “อนุรักษ์ปกป้องและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศของโลก”

 ทำไมแคมเปญนี้ถึงน่าสนใจและประสบความสำเร็จ

ที่ LADBible & Plastic Ocean Foundation หยิบเอาวิกฤตขยะมาทำการตลาด เพราะการที่จะทำให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่หันมาใส่ใจวิกฤตขยะ ที่ลอยละล่องอยู่ในทะเลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย LADbible & Plastic Ocean Foundation จึงสร้างภาพให้คนรุ่นใหม่เห็นภาพชัดๆได้ว่า ขยะนั้นมีมากพอที่จะสามารถจดทะเบียนเป็นประเทศ ประเทศหนึ่งได้เลย แถมยังทำการตลาดจริงจังถึงขั้นที่ว่าได้รับการรับรองจาก UN อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแถมยังชวนเชิญให้คนรุ่นใหม่ย้ายเข้ามาอยู่ที่ประเทศขยะแห่งนี้กันอีกด้วย

คุณรู้หรือไม่ ? ว่าทำไมการตลาดลักษณะนี้ถึงประสบความสำเร็จ 

นั่นก็เป็นเพราะการสื่อสารให้เห็นภาพการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน มัน Touch ความรู้สึกเป็นการจุดใต้ตำตอที่คนส่วนใหญ่รู้แต่ไม่เคยนึกถึงภาพใหญ่ออก เมื่อสามารถทำให้คนเหล่านั้นนึกถึงภาพและผลกระทบได้อย่างชัดเจนจึงทำให้กลายเป็นการตลาดที่สัมฤทธิผลได้ไม่ยากนั่นเอง

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *