Case Study – FWDxSCB กับเทคนิคขายประกันง่ายๆ แต่โดนใจ

Case Study – FWDxSCB กับเทคนิคขายประกันง่ายๆ แต่โดนใจ

ก่อนจะเริ่มอ่าน Case Study ของ FWDxSCB ที่เปลี่ยนเรื่องประกันให้ง่าย ผมอยากให้ทุกคนลองคิดถึงหนังประกันที่อยู่ในหัว เอาอันที่คุณสามารถ Recall มันกลับมาได้ แล้วตอบตัวเองในใจว่าหน้าตาของหนังประกันปกติต้องเป็นยังไง?

แล้วถ้าคุณไม่ได้คิดถึงหนังประกันที่เป็นเชิงดราม่า ดึงอารมณ์ พาลน้ำตาไหล คุณก็อาจจะกำลังคิดถึงหนังประกันเชิงอธิบายแผนความคุ้มครองพร้อมย้ำเบอร์โทรซ้ำ ๆ ใช่ไหมละครับ ?

แต่ผมบอกเลยนะว่า ทั้ง 2 อันนี้ไม่มีอันไหนที่ตรงกับหนังขายประกัน OPD ของ FWD และ SCB เลยครับ

หนังประกันส่วนมาก อย่างที่บอกคือ ถ้าไม่ดึงอารมณ์ให้รู้สึกร่วมก็มักจะเน้นฮาแล้วขายของ แต่ของ FWDxSCB เค้าใช้วิธีการจับหนังฮิต ภาพยนตร์ฮ๊อตที่คนเสพอยู่แล้ว มาปรับให้สอดคล้องกันกับสินค้าและบริการที่จะขาย โดยเน้นเล่าผ่านเทคนิค Storytelling เชิงหนังสั้นให้คนเสพง่าย เข้าใจง่าย เหมือนตอนดูภาพยนตร์ ซึ่งในที่นี้ก็คือหนังเรื่องดังอย่าง “น้อง.พี่.ที่รัก” จากผู้กำกับ คุณบอล วิทยา ทองอยู่ยง ครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจะมาลองวิเคราะห์กันดูว่า หนังเรื่องนี้อธิบายประกัน OPD ได้ง่ายขึ้นได้อย่างไร?

1.จับหนังฮิต ที่คนคุ้นเคย มาปรับใหม่

Case Study จาก FWDxSCB ในการทำหนังขายประกัน OPD ที่ไม่ต้องมีประกันสุขภาพก็คุ้มครองผ่านหนังเรื่อง ‘ น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’

อย่างที่บอกว่าการสื่อสารครั้งนี้ เป็นการ Adjust ของหนังดังและกำกับโดยผู้กำกับเจ้าของหนังเรื่อง “น้อง.พี่.ที่รัก” อยู่แล้ว ซึ่งหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ค่อนข้างฮิต ที่ใคร ๆ ก็ต้องดู

ไม่ว่าจะดูในโรงภาพยนตร์หรือว่าใน Netflix ก็ตาม พอเอามา Adjust และใช้นักแสดงชื่อเดิม ก็ทำให้คนเสพได้ง่ายขึ้น อยากที่จะติดตามต่อให้จบเหมือนตอนชมภาพยนตร์

ซึ่งผมจะบอกว่า เทคนิคเอาของเก่ามาปรับเพื่อเล่าใหม่นั้น เป็นอะไรที่นักการตลาดควรรู้เอาไว้ครับ เพราะมันจะเป็นเหมือนการกระตุ้นความสนใจ ทำให้ได้ทั้ง Awareness และ Attention ภายในครั้งเดียว

บางครั้งสินค้าและบริการมันไม่ได้มีอะไรต่าง ไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่ถ้าเราหยิบจับมันมาเกลา มาเหลา แล้วเล่าในวิธีใหม่ ๆ ก็ทำให้สิ่งนั้นใหม่และน่าสนใจขึ้นมาได้อีกครั้ง เหมือนหนังเรื่องนี้ ที่เปลี่ยนจาก ‘น้อง.พี่.ที่รัก’ กลายเป็น น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’

2. แบ่ง Target Segmentation ผ่าน Storytelling

Case Study จาก FWDxSCB ในการทำหนังขายประกัน OPD ที่ไม่ต้องมีประกันสุขภาพก็คุ้มครองผ่านหนังเรื่อง ‘ น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’

สิ่งหนึ่งที่ผมชอบสำหรับหนังการตลาดของ FWD และ SCB ก็คือ การวาง Connection สายสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ที่ไม่ได้เป็นแค่คนส่งสาร แต่เป็นลักษณะของกลุ่ม Target Audience ที่ถูกแบ่งตาม Behavior หรือ Lifestyle การใช้ชีวิตที่ควรค่าแก่การทำประกัน OPD ด้วย

ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนรักสนุก (มนุษย์ออฟฟิศ) สายปาร์ตี้ที่นำแสดงโดยคุณซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ หรือกลุ่มคนรักงาน (ชาวฟรีแลนซ์) สายปั่นงานยันสว่างกินนอนไม่เป็นเวลา ที่นำแสดงโดยหนุ่มกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา และกลุ่มสุดท้ายก็คือ กลุ่มคนที่รักครอบครัว สายห่วงใย ที่นำแสดงโดยคุณตู่ ภพธร สุนทรญาณกิจ ที่ยังเชื่อมโยงไปหาลูก เมีย และแม่ที่บ้านด้วย ทำให้หนังเรื่องเดียวสามารถยิงนกได้หลายตัวเลยครับ

ข้อนี้ชี้ให้เราเห็นเลยว่า การวางกลุ่ม Target และ Character Lifestyle ของกลุ่มเป้าหมายเอาไว้ให้พร้อมเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างที่เราทุกคนต้องรู้ และพึงแก่ใจเอาไว้ตลอดว่า เรากำลังจะขายใคร ใครจะเป็นลูกค้าของเรา สินค้าของเราเหมาะกับใคร และไม่ใช่แค่รู้จักเค้าแบบ Demographics เท่านั้น แต่มันหมายถึง ลักษณะการใช้ชีวิต Lifestyle และความคิด Insight ที่ถ้าเราเข้าใจจริง ๆ ก็จะสามารถถ่ายทอดออกมาได้เป็นฉาก ๆ เหมือนหนังสั้นเรื่อง น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)

3. จับ Painลูกค้ามาขยี้เป็นจุดเด่น

Case Study จาก FWDxSCB ในการทำหนังขายประกัน OPD ที่ไม่ต้องมีประกันสุขภาพก็คุ้มครองผ่านหนังเรื่อง ‘ น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’

ผมเชื่อว่าที่ผ่านมา ต้องมีหลายคนแหละที่เจอเหตุการณ์ค่ารักษาพยาบาลสุดโหด แต่พอยื่นบัตรประกันอันไหนไป โรงพยาบาลเค้าก็ยื่นกลับทันทีเพราะอย่างที่หลาย ๆ คนทราบกันดีว่า OPD ก็คือผู้ป่วยนอก ซึ่งเวลาเราจะเคลมค่ารักษาแบบ OPD เนี่ย ถ้าประกันสุขภาพที่ทำไว้ไม่มีผลประโยชน์ค่ารักษา OPD ก็จะไม่ Cover ส่วนนี้ ต้องจ่ายเอาเองต่างหาก

หรือใครที่มีประกันอุบัติเหตุแล้วเจ็บป่วยยื่นไป โรงพยาบาลก็ไม่รับในเคสของ OPD เช่นกัน นอกจากนี้คนจะหวังพึ่งประกันกลุ่มหรือสวัสดิการของบริษัทอย่างเดียวก็ไม่ได้เพราะไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะมีสวัสดิการและประกันกลุ่มรองรับพนักงานทุกคนเอาไว้

ดังนั้นหลาย ๆ ครั้งที่คิดจะซื้อประกันสุขภาพ เราก็อาจจะหงุดหงิด รู้สึกว่าจ่ายเงินค่าประกันไปแบบไม่รู้จะได้ใช้ตอนไหน เปล่า ๆ ปลี้ๆ  แต่พอ FWD กับ SCB ออกมาทำประกัน OPD ต่างหากแบบนี้ แถมหนังก็มาขยี้เรื่องนี้ จนผมเองก็อยากจะกดไลก์ กดแชร์ทันทีเลยครับ

ข้อนี้ต้องบอกว่า นักการตลาดต้องรู้จักและเข้าใจจุดเด่นของสินค้าของเราให้ชัด แล้วหยิบมันขึ้นมาเล่าใน Moment ที่ลูกค้าจะ Relate แถมยังขยี้ใจดำสุด ๆ ยิ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่ซ้ำใคร หรือยังไม่มีใครพูด เราก็ต้องรีบพูดให้เป็นคนแรกเพื่อที่จะครอง Positioning นี้เอาไว้ให้ได้ และการที่เราเอาเรื่องจริงมาพูด ก็จะทำให้คนเข้าใจได้ง่ายครับ อย่างที่เราเห็นในหนังเลย

ทั้งโรคที่ใกล้ตัวอย่าง ปวดหัว เจ็บคอ กับโมเม้นท์จ่ายตังค์ที่เคาน์เตอร์ ชำระเงินแล้วโดนพนักงานยื่นบัตรประกันกลับ ต่อให้วันนี้คนดูไม่ได้ซื้อเรา เป็นลูกค้าเรา แต่ผมเชื่อว่า เค้าจะจำเราได้แน่นอน

ส่วนใครที่ดูหนังและอ่านบทความเสร็จแล้ว รู้สึกอยากจะทำประกันขึ้นมาแบบผม สามารถเข้าไปดูและศึกษาเพิ่มได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/health-insurance/opd-worry-free.html

เลยนะครับ เอาจริง ๆ ผมรู้สึกว่าประกันที่มีความคุ้มครอง OPD มีโอกาสที่จะได้ใชมากกว่าประกันชีวิตที่ผมทำเอาไว้เสียอีก ที่ผ่านมาหากใครที่มักเข้าโรงพยายาล เพราะหวัด ไอ ภูมิแพ้ หรืออะไรที่ไม่ต้อง Admit นอนโรงพยาบาลละก็ ผมแนะนำให้ลองทำเลยนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้ หาหมอทีแค่อ้าปากดูคอ กับการเอาที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจเรามาแนบอก พร้อมตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ก็ปาเข้าไปพันปลาย ๆ ถึงสองพันกว่าบาทแล้ว เอาเป็นว่าลองพิจารณาดูนะครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่