[Brand Experience] กาลเวลาพิสูจน์แบรนด์

[Brand Experience] กาลเวลาพิสูจน์แบรนด์

Brand Experience เท่ากับอยากให้คนจำเราว่าอะไร เป็นประโยคที่ผมใช้สอนนักศึกษา เวลาที่เอา Portfolio มาปรึกษา จุดเริ่มต้นของประโยคนี้มาจากสมัยเป็นทำงานเกี่ยวกับแบรนด์ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งภาษาของคนทำโฆษณาจะเรียกว่า ไปเป็นลูกค้า เพราะจะมีทั้งเอเจนซี่ โปรดักชั่นเฮ้าส์เอา Portfolio มาเสนอ

วิธีการดูงานของผมก็จะไม่ซับซ้อนมาก คือ เมื่อดูจบทุกงาน ผมจะจำได้ว่า เอเจนซี่ที่นี่ราคาเป็นยังไง คุณภาพงาน  ไอเดียดีมั้ย ซึ่งบางครั้งรู้ไปถึงว่ามีปัญหากับลูกค้าอยู่บ่อยๆ? แต่ไม่ใช่เพราะผมจี้ถามว่าคุณทำงานราคาถูกได้มั้ย หรือปัญหาของงานนี้คืออะไร ผมแค่ฟังจากคน present และชวนคุยไปเรื่อยๆ

มันดูเหมือนดูอะไรผิวเผินแต่มันได้ผลครับ เพราะ การเจอกันครั้งแรก First Impression คือสิ่งคุณจะบอกว่า คุณอยากให้คนรู้สึกกับคุณยังไง และ Portfolio คือการยืนยันว่าเป็นอย่างที่ present มั้ย เพราะการที่คุณทำอะไรซ้ำๆ บ่อยๆ งานมันจะยืนยันสิ่งที่คุณพูด แถมบอกด้วยว่างานคุณเป็นแนวไหน ตลก เท่ๆ เสียดสี หรือไอเดียไม่จัดแต่งานสวยมาก

ประสบการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ แล้วก็สามารถต่อเนื่องไปได้ แม้ว่าเราจะจากกันไปแล้วก็ตาม พูดไปพูดมา กลายเป็นเรื่องแนวรักๆใคร่ๆไปซะงั้น 🙂

จริงๆ มันเกิดขึ้นกับทุกเรื่องที่เจอนะครับ เรื่องเล็กๆไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆระดับประเทศ วันนี้ก็เลยจะพูดถึงเรื่องประเทศจริงๆ ถ้าลองนึกเล่นๆเป็นคำๆหนึ่งต่อประเทศนี้ คุณจะนึกถึงอะไร

ญี่ปุ่น : ไฮเทค การ์ตูน
ฝรั่งเศส : น้ำหอม แฟชัน
ฮอลแลนด์ : จักรยาน ดอกทิวลิป

เชื่อมั้ยครับ ฮอลแลนด์หรือเนเธอแลนด์ ส่งออกดอกไม้มากถึง 47.8% ของทั้งโลกเกือบครึ่งนึงของโลกเลยนะครับ ส่วนไทยอยู่อันดับ 10  (วัดจากดอกไม้ที่ใช้จัดเป็นช่อนะครับ ถ้านับเป็นดอกผมว่าแพ้ไทย อินเดียครับ แค่ดาวเรืองกับดอกรักก็กินขาดแล้ว)

การที่ประเทศประเทศหนึ่งทำอะไรต่อเนื่อง (เหมือน Portfolio ที่ผมเล่าตอนแรกใช่มั้ยครับ) จะเห็นได้ว่าคนจะจำภาพนั้นไปนาน อาจจะมีหลายปัจจัยครับ เช่นวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในประเทศ หรือแม้แต่ นโยบายของรัฐ เหมือนจีน ที่คนจำว่า ประเทศแห่งของปลอม ซึ่งถือเป็นความท้าทายของรัฐ ทั้งๆที่ไม่ใช่นโยบาย แต่เป็นการรับรู้ต่อคนส่วนใหญ่ต่อธุรกิจในจีน ทั้งๆที่ความเป็นจริงก็คือ ทั้งโลกต่างให้จีนเป็นโรงงานผลิตสินค้าให้กับตน คุณภาพที่เราใช้กัน ไม่ได้แย่อย่างที่เราคิด 

ผมเคยไปคุยกับผู้บริหารโทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง เขาเล่าให้ฟังว่าโทรศัพท์มือถือ ทุกยี่ห้อ อย่างน้อยก็ต้องมีชิ้นส่วนที่ผลิตจากจีน จนวันนี้ เสิ่นเจิ้นไม่ใช่คำพูดดูถูกคุณภาพสินค้าอีกแล้ว

ฮอลแลนด์ ไม่ได้มองว่าตัวเองจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่เลือกจะเป็นเกษตรกรรม
ดังนั้น การพัฒนาจึงเอื้ออำนวยต่อกัน การจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบน้ำ ที่ไม่ใช่แค่กันน้ำท่วมจากพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างเดียว ในองค์กรก็เช่นกันเมื่อเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน มันจะถูกพัฒนาอย่างเอื้ออำนวยต่อกัน และทำอย่างต่อเนื่อง ผมเชื่อว่า Brand ของคุณจะชัดมากและผู้คนจะรับรู้ได้ครับ

เกาหลี ประเทศที่เคยยากจนกว่าไทย วันนี้สามารถทำให้คนจดจำว่าเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมบันเทิง จนเพลงหลายเพลงอยู่ใน Billboard ชาร์ตได้ เราจะทำให้ประเทศหนึ่งเป็นที่จดจำ ก็ต้องทำอะไรต่อเนื่อง จะด้วยวัฒนธรรม คนในประเทศ ก็ได้ เช่นสยามเมืองยิ้มที่ฝรั่งเคยพูดถึง มันไม่ใช่นโยบาย แต่เป็นวัฒนธรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับองค์กรนะครับ

เป็นอย่างไรครับกับการเล่าเรื่องการสร้างแบรนด์ผ่านการสร้างชาติ พอจะเห็นภาพของ Brand Experience ที่ชัดขึ้นในหัวแล้วใช่มั้ยครับ

อ่านบทความเรื่องการสร้างแบรนด์ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/brand-experience/

BX24

BX24 เกิดจากการรวมตัวกันของนักออกแบบหลายแขนง ทั้ง Interior Designer, Architect, Product Designer, Graphic Designer, Creative ที่เชื่อว่า นอกจากโฆษณาแล้ว งานออกแบบ สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ Brand ได้ (Brand Experience) ถ้าออกแบบให้ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งสายงานออกแบบของแต่ละคน การเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย จึงชวนกัน ผลัดกันแชร์เรื่องราวดีดี เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่