สสส. เปิดตัวแอพใหม่ “Facetook” แพลตฟอร์มแชร์ความทุกข์ ให้กลับมาสุขอีกครั้ง

สสส. เปิดตัวแอพใหม่ “Facetook” แพลตฟอร์มแชร์ความทุกข์ ให้กลับมาสุขอีกครั้ง

Facetook ไม่ใช่เว็บหรือแอพใหม่โดย Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook ผู้โด่งดังแต่งอย่างไร แต่เป็นโปรเจคใหม่เพื่อคนไทยของโครงการ “ความสุขประเทศไทย” โครงการที่จะชวนให้คนเข้าถึงความสุข จากการรู้จักความจริง แทนความสุขจากการพึ่งพาวัตถุ ที่ได้รับสนับสนุนโดย สสส.

ก่อนจะอ่านต่อเนื้อหาข้างล่าง ผมอยากให้คุณหยุดการไถฟีดเฟซบุ๊กซักนิด แล้วดูวิดีโอนี้ให้จบซักหน่อย บางทีคุณอาจจะเข้าใจจนไม่ต้องอ่านต่อ หรือถ้าคุณอยากจะอ่านต่อผมก็ยินดีครับ

คุณเห็นมั้ยครับว่า Facebook หรือโซเชียลมีเดียที่ทำให้เราติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น อัพเดทข่าวสารต่างๆได้รวดเร็วขึ้น หรือแม้แต่บอกเล่าชีวิตตัวเองได้สะดวกขึ้น อาจกำลังกัดกร่อนความสุขเราลงไปทีละนิดโดยไม่รู้ตัว

เพราะเฟซบุ๊กในวันนี้นั้นเป็นพื้นที่ของการโชว์ หรือโอ้อวดชีวิตตัวเองอย่างเต็มที่ เป็นพื้นที่ๆใครหลายคนเอาไว้โฆษณาตัวเองให้คนอื่นอิจฉา หรือกระทั่งว่าถ้ารูปไหนหรือสเตตัสไหนได้ไลก์น้อย ก็จะรีบลบออกไปเพราะรู้สึกไม่สุขเสียแล้ว

เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา โครงการที่เรียกว่า Facetook หรือพื้นที่แชร์ความทุกข์เพื่อให้คุณรู้สึกสุขขึ้น

สสส Facetook
สสส Facetook
สสส Facetook

เนื่องจากเฟซบุ๊กไม่ใช่พื้นที่ๆใครจะเอาเรื่องแย่ๆเศร้าๆมาโพสกัน เพราะจะถูกมองว่าผิดกับธรรมเนียมการใช้ในวันนี้ https://facetook.org/ เลยเกิดขึ้นมาเพื่อให้คุณสามารถเข้ามาระบายความสุขได้เต็มที่ โดยไม่มีใครมองว่าคุณผิด เพราะใครๆต่างก็เข้ามาเปิดเผยความทุกข์และให้กำลังใจแบบไม่ต้องอาย

ถ้าคุณลองเข้าไปดูในเว็บ https://facetook.org/ นี้ คุณจะเห็นหลายโพสจากคนดังๆที่เราตามกันบนเฟซบุ๊กเป็นประจำ และคุณก็จะได้เห็นอีกด้านที่เป็นความทุกข์ในชีวิตเขาเหล่านั้น เราจะเข้าใจว่าชีวิตของคนเรานั้นก็ทุกข์ได้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นคุณไม่ต้องเก็บความทุกข์ไว้คนเดียว แต่คุณสามารถเข้ามาระบายที่นี่ได้ครับ

สสส Facetook
สสส Facetook
สสส Facetook

คุณคุ้นกับคำว่า FOMO มั้ยครับ คำนี้ย่อมาจาก Fear of Missing Out เป็นคำที่นักการตลาดสายดิจิทัลน่าจะคุ้ยเคยกันดี แต่รู้มั้ยครับว่าหลายคนที่คิดว่ารู้จักความหมายของคำนี้ กลับรู้จักมันผิดๆเหมือนกันหมด ผมก็เป็นคนนึงที่เคยรู้ผิด จนกระทั่งเพิ่งมารู้ถูกเมื่อไม่นานมานี้

จากหนังสือ Global Change 5 ของอาจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ อธิบายแบบดวงตาเห็นธรรมของศัพท์ดิจิทัล FOMO คำนี้ว่า แท้จริงแล้ว FOMO ไม่ใช่นิสัยการติดอินเทอร์เน็ต หรือแค่ชอบอัพเดทข่าวสารผ่านโซเขียลมีเดียตลอดเวลาเท่านั้น

พวกเค้าที่ติดมือถือและอินเทอร์เน็ตไม่ได้แค่อยากรู้เรื่องราวทั่วๆไป แต่สิ่งที่เค้าอยากรู้คือ “ตอนนี้ชีวิตชาวบ้านไปถึงไหนแล้ว ชีวิตเพื่อนเราได้ดิบได้ดีอะไรกว่าเราบ้าง” หรือเอาง่ายๆ เราเข้าไปเพื่อเอาชีวิตตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นประจำ จากนั้นเราก็กลับมานั่งทุกข์กับตัวเอง หรือหาอะไรที่ดีกว่าไปโพสเพื่อทำให้คนอื่นต้องกลับมาอิจฉาและไลก์เราแทน

นี่แหละครับเฟซบุ๊กที่ยิ่งเล่นทำไมยิ่งทุกข์ก็ไม่รู้ ทั้งๆที่ในฟีดเต็มไปด้วยภาพความสุขของเพื่อนๆมากมาย แต่เราต้องยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ให้เป็น ว่าแท้จริงแล้วเราทุกคนต่างก็มีความอิจฉากันเป็นทั้งนั้น เราทุกคนมักจะเอาชีวิตตัวเองไปวัดกับบุคคลรอบตัวเป็นประจำ ดังนั้นพฤติกรรมนี้จึงไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมันเป็นธรรมชาติโดยพันธุกรรม แต่เราแค่ต้องรู้เท่าทันมันครับ

ผมอยากให้คุณลองเข้าไปดู Facetook นี้ ลองเข้าไปดูเมื่อคุณทุกข์ คุณจะได้รู้ว่าไม่ใช่คุณคนเดียวบนโลกที่ทุกข์ แล้วคุณก็จะสุขเพิ่มขึ้นเมื่อออกมาเมื่อได้รู้ว่า ความุทกข์ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด แค่เป็นเรื่องที่ใครๆก็เจอกันทุกวันทุกชนชั้นแบบเป็นประชาธิปไตยสุดๆครับ

ขอชื่นชมเอเจนซี่ที่คิด ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ที่เป็นเอเจนซี่ดีๆเพื่อสังคม เป็นหนึ่งในเอเจนซี่ที่เป็นไอดอลของผมเลย

สสส Facetook

อ่านเคสประเภท CSR เพิ่มเติม https://www.everydaymarketing.co/?s=csr

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน