รู้จักโลโก้ “ttb” การรวมร่างของ 2 แบงค์ใหญ่สู่ “ทีเอ็มบีธนชาต”

รู้จักโลโก้ “ttb” การรวมร่างของ 2 แบงค์ใหญ่สู่ “ทีเอ็มบีธนชาต”

ก่อนหน้านี้เราหลายคนคงรู้แล้วว่า ทีเอ็มบี กับ ธนชาต กำลังจะรวมกันเป็นหนึ่ง แน่นอนว่าในการรวมกันเป็นหนึ่งต้องมีการทำสิ่งที่เรียกว่า Rebranding เข้าหากัน แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาในการตั้งชื่อแบรนด์ของสถาบันการเงินมักจะเลือกใช้ Font ตัวใหญ่ หรือการมีตัวอักษรที่ดูยิ่งใหญ่ขึงขังด้วยเหลี่ยมมุมที่ดูหนักแน่นกันทั้งนั้นโดยเฉพาะในกรณีที่เป็นตัวย่อ แต่การเปิดตัว ttb ในวันนี้นับเป็นครั้งแรกของธนาคารไทยที่มีการเลือกใช้ตัวอักษรตัวเล็กและดีไซน์โลโก้ออกมาให้ดูโค้งมนเรียบง่าย

เรื่องนี้มีเหตุผลทางด้าน Brand Strategy เบื้องหลังที่น่าสนใจ ถ้าอยากรู้ว่าทำไมเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังครับ

“ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)” รีแบรนด์ธนาคารใหม่ ปรับเพื่อร่วมออกแบบชีวิตการเงินคนไทยให้ดีขึ้น

เผย Insight เบื้องหลัง Strategy ของการ Rebranding ครั้งใหญ่ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต เหตุใดจึงเลือกใช้ Font เล็กในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

 เป็นการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของสถาบันการเงินของประเทศไทยของ “ทีเอ็มบีธนชาต” ที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคการเงินของไทย ทั้งการใช้ชื่อย่อ ttb การเลือกใช้สีที่มีส่วนผสมเฉดใหม่ในโลโก้ และการปรับแนวคิด วิธีการทำงานใหม่ โดยได้ประกาศเปิดเผยโฉมภาพลักษณ์ธนาคารใหม่และโลโก้ใหม่ที่จะเริ่มเห็นกันตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่โซเชียลมีเดีย หน้าสาขา ตู้เอทีเอ็ม สมุดบัญชี บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิตและสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยเป็นการปรับใหม่เพื่อร่วมนำเสนอความโดดเด่นและบริการทางการเงินที่ครบครันให้แก่ลูกค้า พร้อมกับการร่วมสร้างสรรค์และออกแบบทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้นอย่างยั่งยืน

เผย Insight เบื้องหลัง Strategy ของการ Rebranding ครั้งใหญ่ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต เหตุใดจึงเลือกใช้ Font เล็กในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

“ทีเอ็มบีธนชาต” มีชื่อภาษาอังกฤษ “TMBThanachart” โดยเป็นชื่อที่มาจากรวมกันของสองธนาคาร TMB และ Thanachart  โดยการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ครั้งนี้มาพร้อมการประกาศทั้งชื่อย่อใหม่ “ttb” หรือ “ทีทีบี” ซึ่งเป็นครั้งแรกของสถาบันการเงินไทยที่มีชื่อตัวย่อเป็นอักษรตัวเล็ก ประกอบด้วยอักษร

t ตัวแรกคือ TMB (ทีเอ็มบี)
t ตัวที่สองคือ Thanachart (ธนชาต) 
และอักษร b มาจาก Bank (ธนาคาร)

สำหรับชื่อย่อใหม่ “ttb” ที่มีการเลือกใช้อักษรตัวเล็ก เพราะต้องการสื่อให้เห็นว่า การรวมกันครั้งนี้ทำให้องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ “ttb”  จะใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น และขอก้าวข้ามไปยืนฝั่งเดียวกับลูกค้าทุกคน ด้วยความเต็มใจให้บริการ 

พร้อมด้วยการวางตัวอักษร ttb ที่มีการเชื่อมต่อกันเปรียบได้กับการรวมกันของสองธนาคาร และการเชื่อมโยงกับลูกค้าและผู้คน เพื่อที่จะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าร่วมกันกับลูกค้าในทุกช่วงการเติบโตของชีวิต

เผย Insight เบื้องหลัง Strategy ของการ Rebranding ครั้งใหญ่ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต เหตุใดจึงเลือกใช้ Font เล็กในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ความโค้งมนของตัว t และ b สะท้อนถึงการทำงานของทีเอ็มบีธนชาต ที่พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลง และสามารถหมุนเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเหลี่ยมมุมมาขวางกั้นหรือฉุดรั้งความมุ่งมั่นในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนไทย

เผย Insight เบื้องหลัง Strategy ของการ Rebranding ครั้งใหญ่ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต เหตุใดจึงเลือกใช้ Font เล็กในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ต่อมาที่การเปลี่ยนโลโก้ที่มีสีใหม่ของธนาคาร ที่มีทั้งสีฟ้า สีส้ม น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีของทีเอ็มบีและธนชาต ที่มีความตั้งใจที่จะสืบทอดเรื่องราวของสองธนาคารเอาไว้ โดยเมื่อมารวมอยู่เป็นหนึ่งเดียว จึงอยากสร้างสิ่งใหม่ด้วยเฉดสีใหม่ 4 เฉดสีคือ

1. Confident Blue

สี่ฟ้าที่เปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมุ่งมั่นให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

2. Refreshing Orange

สีส้มที่มาพร้อมกับความสดใส มีชีวิตชีวา สะท้อนถึงความก้าวหน้า ความอบอุ่น และความกระตือรือร้นที่จะดูแลลูกค้า

3. Trusted Navy

สีน้ำเงินเข้ม ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อสื่อความหมายการเป็นธนาคารที่มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และเป็นที่พึ่งให้แก่ทุกคน

4. Honest White

สีขาว ที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อแสดงถึงการเป็นตัวแทนของความโปร่งใส เปิดเผยและซื่อสัตย์ ที่เป็นหลักการที่ธนาคารยึดมั่นอยู่เสมอ

การผสานจุดเด่นของสีสันและตัวอักษรจนเกิดเป็นโลโก้ใหม่ ttb คือสิ่งที่สะท้อนว่าทั้งสองธนาคารจะนำเอาความโดดเด่นและเชี่ยวชาญมาผสานรวมกัน

โดยความโดดเด่นของทีเอ็มบี คือ การเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นด้านนวัตกรรมเงินฝากและดิจิทัล 

ส่วน ธนชาต ซึ่งถือเป็นผู้นำสินเชื่อรถยนต์ที่บริการลูกค้าในประเทศมายาวนาน มาหลอมรวมกันสู่เป้าหมายเดียวคือการร่วมสร้างชีวิตทางการเงิน (Financial Well-being) ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าทุกคน ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าในการเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าในทุกช่วงของชีวิต

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จึงไม่ได้แต่ส่งผลดีกับเฉพาะกับลูกค้าของสองธนาคารที่มีมากกว่า 10 ล้านคน แต่จะนำมาสู่การเปลี่ยนเพื่อชีวิตการเงินที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคน ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ชีวิตทางการเงินให้ดียิ่งขึ้นให้กับทุกคนในทุกช่วงวัยของชีวิต

เผย Insight เบื้องหลัง Strategy ของการ Rebranding ครั้งใหญ่ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต เหตุใดจึงเลือกใช้ Font เล็กในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

และทั้งหมดนี้ก็คือกลยุทธ์การ Rebranding ของ ttb ว่าเหตุใดจึงเลือกใช้ตัวอักษรตัวเล็กและเลือกที่จะเกลาทุกเหลี่ยมโลโก้ให้เหลือแต่ความโค้งมน แทนที่จะเป็นตัวอักษรใหญ่ๆ อย่างที่เราคุ้นเคยเพราะพวกเขามีเป้าหมายที่จะก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คน พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนมากมายเข้าถึงเป้าหมายใหญ่ทางการเงินกับ ttb ได้นั่นเองครับ

#ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#TMBThanachart
#ttb #MakeRealChange

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *