สรุป Consumer Research การแสดงความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของชาว Social Media

สรุป Consumer Research การแสดงความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของชาว Social Media

บทความนี้นุ่นจะมาสรุป Consumer Research ในเรื่องที่นักการตลาดยุคดาต้าจำเป็นต้อง Update หากต้องการเข้าใจผู้บริโภคและทำการตลาดบนออนไลน์ค่ะ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าพฤติกรรมของชาว Social Media นั้นมีความน่าสนใจที่สามารถเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา 

โดยเฉพาะหลังจากที่โลกเจอกับวิกฤติร้ายแรงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจเป็นวงกว้างทำให้การแสดงความรู้สึกของผู้คนบนโลกออนไลน์เปลี่ยนไปค่ะ ซึ่งรายงานที่นุ่นนำมาแชร์กันในวันนี้อ้างอิงจากผลวิจัยของ Brandwatch เก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Consumer Research โดยเฉพาะเลย เพื่อจับข้อความที่มีโพสต์ว่า “I Feel” ต้องบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลแม้จะไม่ใช่ของคนไทย แต่มีแง่มุมที่นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้ได้ไม่น้อย รวมทั้ง Update ให้ทันชาวโซเชียลด้วยนะคะ มาดูกันว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง ^^

ชาว Social Media มีการแสดงอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่าที่เคยเป็นมา

ก่อนที่จะเจาะลึกถึงประเภทของอารมณ์และความรู้สึก กราฟนี้แสดงถึงปริมาณที่ผู้คนบนออนไลน์ได้ระบายสิ่งที่รู้สึกผ่าน Social Media มากขึ้นในช่วงเวลาเดือนมกราคม – เมษายน ปี 2019 – 2021 ค่ะ 

กราฟแสดงเปรียบเทียบให้เห็นชัดเลยว่า โพสต์ที่ระบายเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้คนมีเพิ่มขึ้น 37% ส่วนสาเหตุนักการตลาดก็คงจะเดากันไม่ยาก เพราะ Covid-19 ส่งผลต่อเราทุกคนโดยตรง บางคนไม่ได้ออกจากบ้าน ต้องกักตัวเป็นเวลาหลายวัน จนตอนนี้ได้ฉีดวัคชีนและไม่ต้องสวมแมสแล้วในบางประเทศ

แต่ในความเป็นจริงแล้วโควิดก็อาจไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดค่ะ เพราะในต่างประเทศผู้คนยังมีการพูดถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯกันเป็นจำนวนมากด้วย นักการตลาดคงเข้าใจแล้วว่าเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ส่งผลต่อพฤติกรรรมการเล่น Social Media

ต่อไปเรามาเจาะกันว่ากราฟที่พุ่งสูงขึ้น 37% มีการแสดงอารมณ์ประเภทไหนบ้าง และวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กันนะคะ 

Consumer Research ประเภทของความรู้สึกที่ถูกพูดถึงในปี 2020 – 2021

อ่านกราฟครั้งแรกนุ่นก็เซอร์ไพรส์ที่ “Happy” ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ท่ามกลางวิกฤติ แต่หลังจากที่อ่านวิจัยจาก Brandwatch ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า การกล่าวถึงความรู้สึกที่มีความสุข 5.7 ล้านข้อความมีหลายปัจจัย และสับเซตของมันคือ  “happy to hear” แม้หลายคนกำลังประสบกับช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้หยุดให้กำลังใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันให้ฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ 

และอันดับที่สองคือความรู้สึก “Excited” ซึ่งมี Mentions ในเปอร์เซ็นเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาความรู้สึกอื่นๆ สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ น่าจะเป็นเพราะผู้คนรู้สึกตื่นเต้นจากปี 2020 ที่ต้องใส่แมส อยู่แต่บ้าน จะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติในที่สุด เนื่องจากหลายรัฐบาลเริ่มมีทางออก และการแก้ไขปัญหาที่ดีให้กับคนในประเทศแล้ว 

ความรู้สึกของชาว Social Media ในบ้านเราอาจจะมีความคล้ายกัน ในระลอกแรกทุกคนยังหาทางปรับตัวกันอย่างสร้างสรรค์และให้กำลังใจกันเสมอ แต่เมื่อมาถึงตอนนี้ที่หลายธุรกิจอาจจะแบกภาระไม่ไหวหากผู้คนยังไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ทำให้การเล่น Social ของบางคนมีความสนุกน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเจอแต่ข่าวเครียดๆ จนทำให้นุ่นเองรู้สึกแย่แบบไม่รู้ตัวเวลาเข้ามาเช็กไทม์ไลน์ ยิ่งมองประเทศรอบๆ เริ่มมีการจัดการปัญหาที่ดี ยิ่งทำให้ความรู้สึกมีความอ่อนไหวที่จะเสพสื่อมากกว่าเดิมค่ะ 

One emoji, many uses

เมื่อพูดถึงสัญลักษณ์แสดงแทนความรู้สึก เรามักจะใช้ Emoji แต่ 1 Emolj ในปัจจุบันชาว Social Media นำมาใช้ในหลายความหมายมากๆ ค่ะ จากตารางนักการตลาดจะเห็นว่า Emoji ร้องไห้ ถูกใช้หลากหลายบริบทมากที่สุด ทั้ง Happy Excited Sad Scared Stressed Annoyed และ Anxious  

เพราะฉะนั้นการที่เราอ่านรีพอร์ตหรือเช็กคอนเทนต์ว่าโพสต์นี้คนกด Emoji ร้องไห้เยอะไม่ได้หมายถึงเสียใจเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นในความหมายของความปลื้มปริ่มจนน้ำตาไหลก็ได้ค่ะ

สรุป Consumer Research การแสดงความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของชาว Social Media

จากรายงานทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นระดับโลกนั้นส่งผลต่อการแสดงความรู้ที่เพิ่มขึ้น 37% จากปี 2019 – 2021 รวมทั้งประเภทของความรู้สึกที่ทำให้รู้ว่าเรามีความห่วงใยกันท่ามกลางวิกฤติที่เลวร้าย และรอคอยจนกว่าจะถึงวันที่หลุดพ้นจากโควิด19 ในแง่ของการใช้ Emoji เพื่อแทนความรู้สึกก็ลึกซึ้งมากขึ้นกว่าเดิมเป็น One emoji, many uses ที่เป็น Update ที่นักการตลาดยุคดาต้าต้องตามให้ทัน และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้นะคะ

สุดท้ายนุ่นฝากติดตามการตลาดวันละตอนเพิ่มเติมได้ที่ Twitter และ Blockdit เพื่อที่จะไม่พลาดบทความใหม่ๆ สำหรับนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจด้วยนะคะ ^^

Source : https://www.brandwatch.com/

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่